Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

TOT กดดัน กสทช. ต้องออกมติคลื่น 2300 ทำร่วมกับ DTAC >> ไม่ขัด ม.46 << เหตุแม่แบบ CAT -TRUE ( คลื่น850 )

ไม่สนนโยบายใหม่ คืนคลื่น 2300 !! เลขานุการกสทช. กับมือ TOT ชี้คลื่น 2300 ที่ร่วมมือ DTAC ยังเดินหน้าต่อทำตาม CAT และ TRUE สรุปประเด็นข่าว กรณี กสทช.ตระบัตย์สัตย์ ยึด“คลื่น2300” "ทีโอที"สูญรายได้3.6 หมื่นล้าน ส่อปิดตำนาน"องค์การฮัลโหล" (https://mgronline.com/politics/detail/9600000113975 )โดยใช้รูปประกอบเพื่อชี้ทิศทางของข่าว จากข่าวดังกล่าวให้บล็อก Magawn19 พยายามค้นหาข้อมูล ค้นพบว่าเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 บล.บัวหลวง ระบุในบทวิเคราะห์ฯว่า บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) มีประเด็นจากข่าวที่ออกมาว่า พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ซึ่งเพิ่งเข้ามาทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คนใหม่ ประกาศนโยบายว่าจะประมูลคลื่น 2300 MHz รอบใหม่ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตรงกันกับ หนังสือพิมม์ผู้จัดการ หลังจากนั้น ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ระบุ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กสทช.ไม่เคยพูดว่าจะขอคลื่นความถี่ 2300 MHz คืนจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT เนื่องจากมติที่ประชุมกสทช.เมื่อปี 2558 ได้อนุมัติให้ TOT ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz จำนวน 60 MHz เพื่อนำไปใช้งาน Broadband Wireless Access จนถึงปี 2568 . ทั้งนี้ ขั้นตอนที่ TOT ดำเนินการขอความเห็นชอบในการลงนามในสัญญาอย่างเป็นทางการ หลังจากคัดเลือกบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC เป็นคู่ค้าในการให้บริการ 4G LTE-TDD บนคลื่นความถี่ 2300 MHz จะต้องส่งไป 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกสทช. . โดยในส่วนของกสทช.มีส่วนที่เกี่ยวข้องอยู่เพียง 2 เรื่อง คือ เป็นไปตามมติที่ประชุม กสทช.ที่อนุมัติไปเมื่อปี 2558 หรือไม่ และขัดแย้งกับมาตรา 46 เป็นการใช้คลื่นเฉพาะของตนเองหรือไม่ ซึ่งในวันที่ 15 พ.ย. 2560 จะนำเรื่องดังกล่าวสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงานของ กสทช.ด้านกิจการโทรคมนาคม และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช. ต่อไป ต่อมาทาง TOT ได้ออกแถลงการณ์ ในผ่านทางเว็บไซต์ ระบุ วันที่ 14 พฤศจิกายน2560 ที่ สำนักงานใหญ่ ทีโอที แจ้งวัฒนะ นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวเกี่ยวกับการพัฒนาคลื่น 2300 เมกกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการ 4G LTE-TDD ซึ่งเมื่อ 25 ธันวาคม 2558 และ 22 เมษายน 2559 กสทช.ได้เห็นชอบแผนการปรับปรุงการใช้งานคลื่น 2300 MHz. เพื่อปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเป็นแอลที จำนวน 60 MHz. โดยสามารถให้บริการ Fixed Wireless และ Mobile Broadband ได้ ทั้งนี้ การพัฒนาคลื่น 2300 MHz. เพื่อให้บริการ 4G LTE-TDD ของ ทีโอที เป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาใช้ทรัพยากรของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างประโยชน์กับประชาชนทั้งในพื้นที่เมืองและในพื้นที่ห่างไกลเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการให้ประชาชนคนไทยทุกภาคได้มีโอกาสในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างเท่าเทียม รองรับกับความต้องการในการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ของตลาดทั้งภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงเป็นการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพตามนโยบายประเทศไทย 4.0 สำหรับการพัฒนาคลื่น 2300 MHz. เพื่อให้บริการ 4G LTE-TDD ทีโอที ได้สรรหาพันธมิตรธุรกิจโดยได้พิจารณาคัดเลือกให้ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เป็นคู่ค้าทางธุรกิจ โดย ทีโอที เป็นผู้บริหารคลื่นรวมถึงการบริหารจัดการโครงข่ายปฏิบัติกลาง (เน็ตเวิร์คโอเปอเรชั่นเซ็นเตอร์) และควบคุมการเข้าถึงระบบข้อมูลการใช้งานของลูกค้าโดยตรง ซึ่งการเป็นพันธมิตรกับดีแทคเป็นการทำสัญญาลักษณะเดียวกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า ทีโอที ได้ส่งร่างสัญญาดังกล่าวไปยัง กสทช.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นการดำเนินงานของ ทีโอที สอดคล้องกับมาตรา 46 ของ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 ทีโอที ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาจาก กสทช. ซึ่ง ทีโอที เข้าใจว่า กสทช. จำเป็นต้องมีกระบวนการในการพิจารณาให้รอบคอบบนพื้นฐานของประโยชน์สูงสุดของประเทศ อย่างไรก็ตาม ทีโอที ต้องขอขอบคุณ กสทช.ที่ได้ให้การสนับสนุนเห็นชอบแผนการปรับปรุงการใช้งานคลื่น 2300 MHz. เพื่อปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเป็นแอลทีมาตั้งแต่ต้น และเชื่อมั่นว่า กสทช.จะยังคงให้การสนับสนุนการที่ ทีโอที นำทรัพยากรที่มีอยู่แล้วคือคลื่นมาสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดกับประเทศ และเชื่อว่าหลังจากการประชุมวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 นี้ จะมีผลประชุมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการและต่อประเทศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพตามนโยบายประเทศไทย 4.0

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.