Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

สหภาพแรงงาน CAT ยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง , ปปช. , ผู้ตรวจการแผ่นดิน ล้มบริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์และบริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเตอร์เน็ตแห่งชาติ



ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2560 เห็นชอบในหลักการให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จัดตั้งบริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติจำกัด (NBN Co) และบริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเตอร์เน็ตจำกัด ( NGDC Co) ตามที่กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอนั้น (ตามรายละเอียด ของมติ ครม. 13 มิถุนายน 2560) และได้มีการจัดตั้งและจดทะเบียนทั้งสองบริษัทแล้วเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 ด้วยทุนจดทะเบียนบริษัทละ 20 ล้านบาท

ข้อเท็จจริงจะเห็นว่าการดำเนินการแยกทรัพย์สินที่เป็นโครงข่ายและบริการหลักของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ไปจัดตั้งบริษัทลูกยังไม่มีความชัดเจนจากแผนปรับเปลี่ยนธุรกิจและแผนคุ้มครองผู้ใช้บริการที่อยู่ระหว่างบริษัทที่ปรึกษาพิจารณาดำเนินการและที่ต้องจัดทำแผนดำเนินการที่สมบูรณ์เพื่อให้สะท้อนค่าทรัพย์สินประมาณการรายได้ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนทางการเงินที่แท้จริงก็ยังไม่เห็นแผนถ่ายโอนทรัพย์สินแผนการถ่ายโอนพนักงานและแนวทางในการกำกับดูแลการดำเนินการและแผนเพิ่มประสิทธิภาพของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ยังไม่ปรากฏจึงเป็นการดำเนินการที่ขัดแย้งกับมติขอเรามอเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2550 เรื่องหลักเกณฑ์การจัดตั้งร่วมทุนและกำกับดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจเจ้าคือบริษัทในเครือต้องไม่ดำเนินกิจการที่เป็นภารกิจหลักของ รัฐวิสาหกิจแม่และต้องพิจารณาผลกระทบและประโยชน์ที่บริษัทแม่จะได้รับก่อนจึงจะขอ อนุมัติความเห็นชอบ ครม. ต่อไป

การจัดตั้งบริษัทลูก (NBN Co,NGDC Co) ที่เห็นชอบหลักการซึ่งได้รับการยกเว้นเหมือนกับที่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับเมื่อตอนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจพุทธศักราช 2542 ดังนั้นหากจะมีการโอนทรัพย์สินออกจาก. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะต้องดำเนินการตามกฏหมายก่อนเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและรัฐวิสาหกิจต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 (9) โดยให้ ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงเป็นลำดับแรก และต้องมีการกำหนดกิจการ สิทธิ์ หนี้ ความรับผิดชอบและสินทรัพย์ที่จะโอนไปให้มีขั้นตอนความชัดเจนโปร่งใสและปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฏหมายก่อนเพราะที่ผ่านมา สร.กสท ได้ทำหนังสือคัดค้านและสอบถามข้อเท็จจริงขอทราบความชัดเจนไปยังนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมหลายฉบับและมติครม. 13 มิถุนายน 2560 ก็ได้ให้ ดศ. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เร่งประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับพนักงานและสหภาพรัฐวิสาหกิจของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แต่ก็ไม่ได้รับการชี้แจงหรือคำตอบแต่อย่างใด

สร.กสท พิจารณาว่าหากรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมยังไม่นำหลักเกณฑ์ คำสั่งกฎระเบียบและมติ ครม. ที่เกี่ยวข้องมาปฏิบัติรวมถึงคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ข้อ6.14 พัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายและมาตรการที่จะแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูกิจการรัฐวิสาหกิจเพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพของรัฐในการพัฒนาประเทศและพัฒนากลไกการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศส่วนรวมคุ้มครองผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถ ให้บริการประชาชนได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พุทธศักราช 2543 มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการและให้ความร่วมมือเพื่อให้เกิดประโยชน์ของรัฐทวิศาลกฤษจึงได้นำเรื่องร้องต่อศาลปกครองกลางในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อพิจารณาการดำเนินงานดังกล่าวที่ขัดต่อหลักนิติรัฐและขาดตอนนโยบายและมติขอเรามอที่อาจจะทำให้หน่วยงานเกิดความเสียหาย

สร.กสท จึงมีความเห็นว่าการจัดตั้งบริษัทลูกตั้งกาวที่ยังไม่มีความชัดเจนและไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์คำสั่งกฎระเบียบและมติ ครม. ที่เกี่ยวข้องแต่ประการใดและการแยกทรัพย์สินที่เป็นโครงข่ายและบริการหลักออกไปจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จึงขัดต่อนโยบายไม่ใช่เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล แต่ทำให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) NBN Co NGDC Co อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัดรัฐจะขาดเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจแทนรัฐ เพื่อประโยชน์ของสังคมและการพัฒนาในพื้นที่ห่างไกลที่ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการใหม่ใหม่เพราะหากไม่มีหน่วยงานรัฐถ่วงดุลราคาและค่าบริการและปล่อยให้เอกชนดำเนินการจะเกิดการผูกขาดในกิจการเพราะคมมนาคมผู้ใช้บริการหรือประชาชนจะถูกเอาเปรียบและที่สำคัญคือความมั่นคงของราชอาณาจักรไทยจะหายไป

ล่าสุดได้ยื่น ปปช. และผู้ตรวจการแผ่นดิน














ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.