Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

กสทช. เผยผู้รับเอกสารประมูล 1800 MHz จำนวน 5 ชุด ( AIS 2 ชุด DTAC 2 ชุด และ TRUE 1 ชุด ) คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่จะนํามาประมูลครั้งนี้ มีจํานวนทั้งหมด 45 MHZ โ




กสทช. เผย TURE-AIS-DTAC ยื่นซองประมูลคลื่น 1800 MHZ ในวันแรก ก่อนกําหนดยื่นใบขอรับอนุญาต 15 มิ.ย. เป็นขั้นตอนต่อไป นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองเลขาธิการ กสทช.)กล่าวว่า วันนี้ (15 พ.ค. 2561) สํานักงาน กสทช. เปิดให้ผู้สนใจเข้ารับเอกสารการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz เป็นวันแรก และจะเปิดให้รับเอกสารฯ ไปจนถึงวันที่ 14 มิ.ย. 2561โดยวันนี้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 รายหลักของประเทศไทย ได้เข้ารับเอกสารการประมูลคลื่นความถี่ฯ โดยกลุ่มบริษัท AIS รับเอกสารไป 2 ชุด ในนามบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) (AIS) และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จํากัด (AWN) กลุ่มบริษัท DTAC รับเอกสารไป 2 ชุด ในนามบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จํากัด (DTN) และบริษัท ดีแทค บรอดแบนด์ จํากัด (DBB) ส่วนกลุ่มบริษัท TRUE รับเอกสารไป 1 ชุด ในนามบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จํากัด (TUC)

สํานักงานฯ เห็นว่า คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ยังเป็นที่สนใจของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม เป็นความต้องการของตลาด เพื่อที่จะรองรับการให้บริการโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพผู้ให้บริการจําเป็นต้องมีคลื่นความถี่เพื่อให้บริการอย่างเพียงพอ

นายก่อกิจ กล่าวว่า ขั้นตอนต่อจากนี้ สํานักงาน กสทช. กําหนดให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตในวันที่ 15 มิ.ย. 2561 จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติขั้นแรก ระหว่างวันที่ 16-28 มิ.ย. 2561 หลังจากนั้นจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติเป็นผู้เข้าร่วมประมูลภายในวันที่ 29 มิ.ย. 2561 ส่วนในระหว่างวันที่ 1-3 ส.ค. 2561 จะทําการจัด ชี้แจงการประมูล (Information Session) และการทดสอบการประมูล (Mock Auction) สําหรับผู้เข้าร่วมการประมูล และกําหนดจัดการประมูลในวันที่ 4 ส.ค. 2561 ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถจัดการประมูลคลื่นความถี่ได้ทันก่อนที่สัญญาสัมปทานระหว่าง DTAC กับ CAT จะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ก.ย. 2561
สําหรับ คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่จะนํามาประมูลครั้งนี้ มีจํานวนทั้งหมด 45 MHZ โดยกําหนดขนาดคลื่นความถี่ที่จะประมูลออกเป็น 3 ชุดๆ ละ 15 MHz ต่อ 1 ใบอนุญาต มีการจํากัดเพดานการถือครองคลื่นที่ 40% ของขนาดคลื่นความถี่ที่นํามาประมูล โดยกําหนดราคาเริ่มต้นของการประมูลไว้ที่ 37,457 ล้านบาท และกําหนดหลักประกันการประมูล เท่ากับ 1,880 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาสุดท้ายจากการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ในครั้งก่อน โดยใช้สูตร N-1 ใบอนุญาตมีระยะเวลาการอนุญาต 15 ปี ราคาที่เพิ่มต่อการเคาะในแต่ละครั้ง 75 ล้านบาท กรณีที่จะมีการทิ้งการประมูลสํานักงาน กสทช. จะยึดหลักประกันการประมูล 1,880 ล้านบาท และการคิดค่าปรับอีก 5,620 ล้านบาท เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 7,500 ล้านบาท อีกทั้งยังตัดสิทธิ์ JAS ไม่ให้เข้าร่วมการประมูล ครั้งนี้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.