Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

กสทช. ออกประกาศประมูล 1800 เพิ่มเติม!! สืบศักดิ์ สืบภักดี ชี้ผู้ประกอบการทุกรายมีสิทธิรวมคลื่น 20 MHz (เดิมและใหม่)





ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1740-1785/1835-1880 MHz กำหนดเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนการใช้คลื่น ในภาคผนวก ข กฎการประมูล ข้อ 3 กำหนดให้ ผู้ชนะการประมูลจะเป็นผู้เลือกย่านความถี่จากรูปแบบที่ กสทช. กำหนดตามลำดับของผลรวมในการเสนอราคาที่ชนะการประมูล โดยผู้ชนะการประมูลที่มีผลรวมของการเสนอราคาสูงที่สุดจะได้เลือกย่านความถี่เป็นลำดับแรก ในกรณีที่มีผู้ชนะการประมูลที่มีผลรวมของการเสนอราคาเท่ากัน กสทช. จะใช้วิธีการจับสลากเพื่อกำหนดผู้ที่จะได้เลือกย่านความถี่ก่อน โดยย่านความถี่สำหรับผู้ชนะการประมูลแต่ละรายจะเป็นชุดคลื่นความถี่ที่อยู่ติดกัน ซึ่งผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่จะเข้าร่วมการประมูลอยากให้สำนักงาน กสทช. ประกาศกำหนดเงื่อนไขในการที่จัดเรียงช่องคลื่นความถี่ดังกล่าว ให้มีความชัดเจน ก่อนที่จะมีการยื่นเข้าร่วมการประมูลในวันที่ 8 ส.ค. 2561 นั้น




กสทช. มีมติเมื่อ 25 ก.ค. 2561ให้สำนักงาน กสทช. ออกประกาศดังกล่าวต่อไป โดยเงื่อนไขที่สำคัญที่ระบุเข้าไปมีดังนี้

1. หากผู้มีสิทธิเลือกช่องความถี่ก่อน (ผู้ที่ชนะการประมูลด้วยการประมูลสูงสุด) เป็นผู้ที่ไม่ได้ถือครองคลื่นความถี่ 1800 MHz อยู่เดิม จะต้องไม่เลือกคลื่นความถี่ที่ทำให้ผู้ถือครองคลื่นความถี่รายเดิมและเป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้ ไม่สามารถใช้คลื่นความถี่ที่เรียงติดกับคลื่นความถี่เดิมได้



2. หากผู้มีสิทธิเลือกช่องคลื่นความถี่ก่อน เป็นผู้ที่ถือครองคลื่นความถี่ 1800 MHz เดิมอยู่ก่อนแล้ว และไม่สามารถเลือกช่องความถี่ใหม่ให้เรียงติดกับคลื่นความถี่เดิมได้ ให้ผู้ใช้งานคลื่นดังกล่าวสามารถย้ายการใช้งานคลื่นความถี่ตามสิทธิทั้งหมดไปยังช่วงความถี่ที่ว่างพอสำหรับตัวเองได้



3. หลังจากผู้ชนะการประมูลเลือกช่องความถี่แล้วสำนักงาน กสทช. จะนำเสนอที่ประชุม กสทช. ให้ความเห็นชอบต่อไป



นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิชาการโทรคมนาคม ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติม

ซึ่ง ทั้งนี้ต้องเป็นช่วงคลื่นความถี่ย่าน 1740-1785/1835-1880 เมกะเฮิรตซ์ แต่ต้องไม่กระทบกับผู้ใช้งานเดิมด้วย ตามประกาศของ กสทช. ที่มีเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการ ดังนี้

- หากผู้มีสิทธิเลือกช่องความถี่ก่อน (ผู้ที่ชนะการประมูลด้วยการประมูลสูงสุด) เป็นผู้ที่ไม่ได้ถือครองคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ อยู่เดิม จะต้องไม่เลือกคลื่นความถี่ที่ทำให้ผู้ถือครองคลื่นความถี่รายเดิมและเป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้ ไม่สามารถใช้คลื่นความถี่ที่เรียงติดกับคลื่นความถี่เดิมได้

(ความหมายคือ หากมีคนชนะสองราย ค่าย x ที่ชนะการประมูลด้วยราคาสูงสุด (แต่ครั้งที่แล้วไม่ได้เข้าประมูล 1800 ไว้) จะเลือกความถี่ Lot 1 ที่ติดกับค่าย y ถือครองไว้จากการประมูลครั้งก่อนไม่ได้ เพราะค่าย y อาจประมูลและชนะ 5MHz แม้จะเป็นราคารอง แต่ต้องการนำ 5MHz นั้นเพื่อเอาไปบวกกับ 15 MHz เดิมที่ตัวเองมี ให้เป็น ฺBW 15 + 5 = 20 MHz)


- หากผู้มีสิทธิเลือกช่องคลื่นความถี่ก่อน เป็นผู้ที่ถือครองคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เดิมอยู่ก่อนแล้ว และไม่สามารถเลือกช่องความถี่ใหม่ให้เรียงติดกับคลื่นความถี่เดิมได้ ให้ผู้ใช้งานคลื่นดังกล่าวสามารถย้ายการใช้งานคลื่นความถี่ตามสิทธิทั้งหมดไปยังช่วงความถี่ที่ว่างพอสำหรับตัวเองได


(ความหมายคือ หากค่าย x ชนะการประมูลด้วยราคาสูงสุด แต่คลื่นเดิมของตนมีค่าย y ที่ประมูลได้จากการประมูลครั้งก่อนคั่นไว้ หากค่าย x ต้องการย้ายสิทธิ์การใช้คลื่นของตนทั้งหมด (เดิมและใหม่) เพื่อให้ได้ BW รวมเป็นผืนเดียวกันก็สามารถทำได้ เช่นโยก 15 เดิม มารวมกับ 5 ใหม่ = ผืนรวม 20)

- หลังจากผู้ชนะการประมูลเลือกช่องความถี่แล้วสำนักงาน กสทช. จะนำเสนอที่ประชุม กสทช. ให้ความเห็นชอบต่อไป

(ความหมายคือ ถึงจะเลือกอย่างไรต้องนำเสนอเข้าบอร์ด กสทช. พิจารณาอนุมัติก่อน)

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.