Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 พฤศจิกายน 2554 TOT เตรียมแผนป้องกันระบบสื่อสาร รับมือน้ำท่วมกรุง24ชม. (( น้ำท่วมหลายพื้นที่ อาจแก้ไขล่าช้าบ้าง ))

TOT เตรียมแผนป้องกันระบบสื่อสาร รับมือน้ำท่วมกรุง24ชม. (( น้ำท่วมหลายพื้นที่ อาจแก้ไขล่าช้าบ้าง ))


ประเด็นหลัก

ประสานงานแก้ไขเหตุเสียของ ลูกค้าดังกล่าวเป็นการเฉพาะ เนื่องจากภาวะน้ำท่วมได้ขยายหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ เป็นเหตุให้การตรวจแก้เหตุเสียของ ทีโอที ล่าช้าไปบ้าง ทีโอที ต้องขออภัยท่านผู้ใช้บริการโดยเฉพาะในพื้นที่ที่ประสบน้ำท่วมสูง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางไปพื้นที่ตรวจแก้มากขึ้น จากปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ และอัตรากำลังที่มีอยู่ลดลงเนื่องจากเจ้าหน้าที่บางส่วน ประสบปัญหาน้ำท่วม รวมถึง อัตรากำลังที่เหลืออยู่จะต้องปฏิบัติหน้าที่เพิ่มขึ้น นอกจากการตรวจแก้จะต้องดำเนินการป้องกันกั้นน้ำท่วมพื้นที่ชุมสาย รวมถึงการแก้ไขชุมสายที่ถูกนํ้าท่วมไปแล้วให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว ที่สุด ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถแจ้งเหตุเสียได้ที่ โทร.1177 และตามด้วยเลขหมายที่ขัดข้อง หรือทีโอที คอลเซ็นเตอร์ โทร.1100
_________________________________________________________

ทีโอที เตรียมแผนป้องกันระบบสื่อสาร รับมือน้ำท่วมกรุง24ชม.

ที โอที เตรียมแผนป้องกันระบบสื่อสารโทรคมนาคมรับมือน้ำท่วมกรุงเทพฯ 24 ชั่วโมง พร้อมเตรียม IDC รองรับให้บริการกับองค์กรธุรกิจที่ต้องการความปลอดภัยของระบบโทรคมนาคม…

วัน ที่ 31 ต.ค. นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากภาวะวิกฤติน้ำท่วมในหลายพื้นที่กรุงเทพฯ ทีโอที ได้จัดตั้งศูนย์ติดตามและเฝ้าระวังน้ำท่วม หรือ วอร์รูม เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจในการดูแลสถานีฐาน และเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้ประชาชนและองค์กรธุรกิจสามารถใช้งาน สื่อสารได้ โดยมีการจัดทำแนวป้องกันชุมสายโทรคมนาคมหลักระดับนํ้าท่วมสูง 3 เมตร ที่ชุมสาย กรุงเกษม ชุมสายลาดหญ้า ชุมสายพระโขนง ชุมสายหลักสี่ และชุมสาย แจ้งวัฒนะ พร้อมจัดทีมเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงจัดทำแผนป้องกันระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อรับมือน้ำท่วม ทั้งนี้กรณีน้ำท่วม ไม่เกิน 1 เมตร ระบบสื่อสารโทรคมนาคมของทีโอทีจะยังสามารถรองรับให้บริการได้กว่า 90% กรณีน้ำท่วมไม่เกิน 2 เมตร ระบบสื่อสารโทรคมนาคมจะสามารถรองรับให้บริการ ได้กว่า 80% และกรณีน้ำท่วมเกิน 2-3 เมตร สามารถให้บริการได้ 60-70%



ทั้ง นี้ แผนรองรับเพื่อให้บริการระบบสื่อสารโทรคมนาคมของ ทีโอที สามารถให้บริการได้เต็มที่ และต่อเนื่องกรณีน้ำท่วมเป็นระยะเวลานานโดยชุมสายโทรคมนาคมหลัก ทีโอที จัดทำผนังป้องกันน้ำ ดำเนินการประสานงานกับการไฟฟ้านครหลวง เพื่อให้สามารถเตรียมการรองรับได้อย่างใกล้ชิด หากกรณีการไฟฟ้าฯ ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ การจัดเตรียมเครื่องปั่นไฟนํ้ามันเต็มถังพร้อมแผนลําเลียงนํ้ามัน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีระบบแบตเตอรี่กรณีฉุกเฉินที่ไม่สามารถขนส่งน้ำมันเข้าไปใน พื้นที่ได้ โดยสามาถใช้งานได้อีกประมาณ 6-7 ชั่วโมง การจัดเตรียมเครี่องสูบน้ำกรณีน้ำรั่วซึมทุกสถานี รวมถึงการจัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ และทีมวิศวกร เฝ้าระวัง เพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง




สำหรับ วงจรอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ของ ทีโอที เป็นเคเบิลใยแก้วนำแสง 2 เส้นทาง คือ เส้นทางจากกรุงเกษมไปหาดใหญ่ และจากแจ้งวัฒนะไปควนรัง ซึ่งทั้ง 2 เส้นทางจะเชื่อมต่อออกอินเทอร์เน็ตที่ประเทศมาเลเซีย โดยทั้ง 2 เส้นทางจะเป็น back up ซึ่งกันและกัน ในกรณีที่เส้นทางใดเส้นทางหนึ่งประสบปัญหาระบบจะสวิตช์ ไปยังอีกเส้นทางหนึ่งทันที โดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

นอก จากนี้ ทีโอที ยังมีบริการอินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเทอร์ หรือ ไอดีซี (Internet data Center : IDC) จำนวน 4 แห่ง คือที่แจ้งวัฒนะ กรุงเกษม หาดใหญ่ และแหลมฉบัง เพื่อรองรับให้บริการกับองค์กรธุรกิจ ที่ไม่มั่นใจในระบบโทรคมนาคมขององค์กรในกรณีที่น้ำท่วม โดยไอดีซี ของ ทีโอที อยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยสูงสุด มีระบบเครื่องปั่นไฟที่รองรับการใช้งานระยะเวลา 1 เดือน และมีช่องทางออกอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่บนโครงข่ายหลักระดับประเทศ IP Board Band ของทีโอที

กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ กล่าวต่อว่า เนื่องจาก ทีโอที มีลูกค้าระดับองค์กรทั้งภาครัฐและธุรกิจจำนวนมาก จึงจัดศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจเพื่อดูแลลูกค้าโดยตรงตั้งอยู่ที่สำนักงาน ใหญ่แจ้งวัฒนะ มีหน้าที่อำนวยการประสานการปฏิบัติเพื่อให้การติดต่อสื่อสารไปด้วยความเรียบ ร้อย ประสานงานแก้ไขเหตุเสียของลูกค้าดังกล่าวเป็นการเฉพาะ เนื่องจากภาวะน้ำท่วมได้ขยายหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ เป็นเหตุให้การตรวจแก้เหตุเสียของ ทีโอที ล่าช้าไปบ้าง ทีโอที ต้องขออภัยท่านผู้ใช้บริการโดยเฉพาะในพื้นที่ที่ประสบน้ำท่วมสูง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางไปพื้นที่ตรวจแก้มากขึ้น จากปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ และอัตรากำลังที่มีอยู่ลดลงเนื่องจากเจ้าหน้าที่บางส่วน ประสบปัญหาน้ำท่วม รวมถึง อัตรากำลังที่เหลืออยู่จะต้องปฏิบัติหน้าที่เพิ่มขึ้น นอกจากการตรวจแก้จะต้องดำเนินการป้องกันกั้นน้ำท่วมพื้นที่ชุมสาย รวมถึงการแก้ไขชุมสายที่ถูกนํ้าท่วมไปแล้วให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว ที่สุด ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถแจ้งเหตุเสียได้ที่ โทร.1177 และตามด้วยเลขหมายที่ขัดข้อง หรือทีโอที คอลเซ็นเตอร์ โทร.1100

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/213311

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.