Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 พฤษภาคม 2555 คำสารภาพของ 'จิรายุทธ' การเมืองบีบสัญญา CAT TRUE แล้ว แลกกับความมั่นคงของเก้าอี้กรรมการผู้จัดการใหญ่

คำสารภาพของ 'จิรายุทธ' การเมืองบีบสัญญา CAT TRUE แล้ว แลกกับความมั่นคงของเก้าอี้กรรมการผู้จัดการใหญ่

( ทั้งหมด คิดการอ้างแหล่งข่าวเท่านั้น เป็นสิ่งที่ต้องตั้งข้องสังเกตในข่าวนี้ )
ประเด็นหลัก

แหล่ง ข่าวในกสทกล่าวว่าการเจรจาซื้อกิจการฮัทช์ของกสท ได้ดำเนินการถึงขั้นตอนเซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการเปลี่ยนตัวรมว.ไอซีทีพอดี และเมื่อได้รมว.ไอซีทีคนใหม่จึงมีการสั่งการด้วยวาจาให้ฉีกสัญญาทิ้ง และมอบนโยบายใหม่ให้จิรายุทธ ทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดสัญญาให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่โดยแลกกับ ความมั่นคงของเก้าอี้กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทุกอย่างจึงเสร็จเรียบร้อย

'ว่ากันว่ามีการเปิดแชมเปญฉลองความสำเร็จพันล้าน ที่บ้านพิษณุโลกกันเลย'

แหล่งข่าวกล่าวว่าคำสารภาพนายจิรายุทธ สอดคล้องกับผลของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของกระทรวงไอซีทีข้อ 1. ที่ระบุว่าเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงาน ในการทำสัญญาเปิดให้บริการโครงการโทรศัพท์มือถือ 3G ระบบ HSPA ระหว่าง กสท กับ กลุ่มทรู อาจกล่าวได้ว่ามีการเตรียมการวางแผนและดำเนินการโดยผู้เกี่ยวข้องอย่างมีนัย สำคัญ
_________________________________________________________

คำสารภาพของ 'จิรายุทธ' การเมืองบีบสัญญาทรู/กสท


'จิ รายุทธ' อดีตซีอีโอกสท ฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้เกิดสัญญามือถือรูปแบบใหม่ระหว่างกลุ่มทรู กับ กสท สารภาพการเมืองบีบ ให้ฉีกสัญญาทิ้ง เปิดทางให้กลุ่มทรูซื้อฮัทช์ด้วยราคาเท่ากับกสทซื้อ

นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม ผู้สร้างสัญญาประวัติศาสตร์กลุ่มทรูกับกสท เพื่อให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G HSPA กล่าวเปิดใจว่าราคาที่กลุ่มทรูซื้อกิจการบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย (ฮัทช์) ถือเป็นราคาที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับราคา 7,200 ล้านบาทที่กสทตกลงซื้อในตอนแรก เพราะกสทได้รับอนุมัติจากครม.ให้ซื้อฮัทช์ในวงเงินประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐหรือราว 7,200 ล้านบาท และเนื่องจากการเจรจาซื้อขายอิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มีความผันผวนตามค่าเงิน ซึ่งตัวเลขสุดท้ายหากกสทซื้อฮัทช์จะอยู่ที่ประมาณ 6 พันกว่าล้านบาทเท่านั้น

'เราเป็นผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น ต้องดำเนินการตามคำสั่งและนโยบาย ซึ่งราคาที่ฝั่งนโยบายกำหนดใหม่ที่ 4,000ล้านบาทนั้น ก็คาดได้ตั้งแต่แรกแล้วว่าคนขายคงไม่ยอมขายแน่นอน และ นโยบายใหม่ที่กำหนดให้ซื้อไม่เกิน 4,000 ล้านบาทก็ไม่ชัดเจนว่าเป็นการคำนวณจากพื้นฐานอะไร'

แหล่งข่าวในกสทกล่าวว่าการเจรจาซื้อกิจการฮัทช์ของกสท ได้ดำเนินการถึงขั้นตอนเซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการเปลี่ยนตัวรมว.ไอซีทีพอดี และเมื่อได้รมว.ไอซีทีคนใหม่จึงมีการสั่งการด้วยวาจาให้ฉีกสัญญาทิ้ง และมอบนโยบายใหม่ให้จิรายุทธ ทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดสัญญาให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่โดยแลกกับ ความมั่นคงของเก้าอี้กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทุกอย่างจึงเสร็จเรียบร้อย

'ว่ากันว่ามีการเปิดแชมเปญฉลองความสำเร็จพันล้าน ที่บ้านพิษณุโลกกันเลย'

แหล่งข่าวกล่าวว่าคำสารภาพนายจิรายุทธ สอดคล้องกับผลของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของกระทรวงไอซีทีข้อ 1. ที่ระบุว่าเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงาน ในการทำสัญญาเปิดให้บริการโครงการโทรศัพท์มือถือ 3G ระบบ HSPA ระหว่าง กสท กับ กลุ่มทรู อาจกล่าวได้ว่ามีการเตรียมการวางแผนและดำเนินการโดยผู้เกี่ยวข้องอย่างมีนัย สำคัญ

เริ่มตั้งแต่หลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนรมว.ไอซีทีจากว่าที่ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็นนายจุติ ไกรฤกษ์ ได้มอบนโยบาย เรื่อง การเข้าซื้อกิจการ CDMA ในส่วนกลาง จากบริษัท ฮัทชิสันฯ โดยให้ กสท ทำการเจรจาต่อรองราคาเข้าซื้อกิจการภายในวงเงินไม่เกิน 4,000 ล้านบาท และหากเกินกว่านี้ไม่ให้ซื้อ (จากเดิมที่กำหนดวงเงิน 7,500ล้านบาท และครม.ได้อนุมัติไปแล้ว เมื่อวันที่ 7เม.ย.2553) ซึ่งส่งผลทำให้การเจรจาเข้าซื้อกิจการกับบริษัท ฮัทชิสันฯ ไม่ประสบผลสำเร็จ

'จากข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงมีความเป็นไปได้ว่า การกำหนดนโยบายการต่อรองราคาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์หรือมีความมุ่งหมายที่จะทำให้กสท ไม่สามารถเข้าซื้อกิจการ CDMA ในส่วนกลางจากบริษัท ฮัทชิสันฯ ได้ เพื่อเปิดโอกาสและรวบรัดให้กลุ่มบริษัท ทรูฯ เข้าควบรวมกิจการและดำเนินการเพื่อให้บริการในรูปแบบใหม่ตามโครงการโทรศัพท์ มือถือ 3Gระบบ HSPA ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มบริษัท ทรูฯ'

นอกจากนี้นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ยังยอมรับว่าสัญญาดังกล่าวอาจขัดมาตรา 46 ของพ.ร.บ.กสทช. ในประเด็นห้ามโอนสิทธิ์ในการใช้ความถี่ให้คนอื่น และการได้สัญญา 14.5 ปีก็อาจขัดกับกม.ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานผลการตรวจสอบภายในของกสท ที่ยืนยันว่ากสทไม่สามารถเข้าไปในไซต์ 3G ของกลุ่มทรูได้ เท่ากับไม่มีสิทธิ์ในการบริหารหรือจัดการความถี่

แหล่งข่าวกล่าวว่าขณะนี้พนักงานกสท และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม กำลังรอการประชุมในวันที่ 8 พ.ค.ของคณะอนุกรรมการป.ป.ช.ที่มีนายเมธี ครองแก้ว เป็นประธานอย่างใจจดใจจ่อหลังจากคณะอนุกก.ชุดนี้ทั้งเลื่อนประชุม และประชุมโดยไม่ได้ข้อสรุปมาหลายครั้ง

'ทุกอย่างชัดขึ้นเรื่อยๆ แต่ตราบเท่าที่อนุป.ป.ช. ยังไม่ยอมสรุป เรื่องก็คงไม่จบง่ายๆ ถึงแม้สรุปแล้วจะต้องส่งให้ป.ป.ช.ชุดใหญ่พิจารณาก็ตาม'


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000054181


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.