Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 พฤษภาคม 2555 ( ชี้ให้ละเอียดกว่าเดิม CAT TRUE ) CAT เข้าไปที่โครงข่ายไม่ได้ // จะคิดเงินได้ต้องขอบ.ลูกTRUE(บีเอฟเคที)เป็นครั้ง

( ชี้ให้ละเอียดกว่าเดิม CAT TRUE ) CAT เข้าไปที่โครงข่ายไม่ได้ // จะคิดเงินได้ต้องขอบ.ลูกTRUE(บีเอฟเคที)เป็นครั้ง


ประเด็นหลัก

นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่า


“กรณี นี้มีข้อมูลสนับสนุน 2 ส่วน คือ การที่ กสท ไม่สามารถเข้าไปในส่วนของเน็ตเวิร์ค โอปอเรชั่น หรือที่ปฏิบัติการโครงข่าย ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลชี้วัดคุณภาพ และข้อมูลเซลล์ไซส์ที่เปิดดำเนินการแล้ว และไม่สามารถนำข้อมูลคอลดีเทลเร็คคอร์ดเพื่อนำมาทำบิลได้ กสท จะคิดเงินได้ตามข้อมูลที่บริษัท บีเอฟเคที ส่งให้เท่านั้น ถ้าต้องการข้อมูลจะต้องขอเป็นครั้งๆ ไป”

“กสท จะคิดเงินได้ตามข้อมูลที่บริษัทบีเอฟเคทีให้มาและต้องขอเป็นครั้งๆ ไป ซึ่งทาง กสท จะส่งรายงานเรื่องนี้ไปให้สำนักงานกสทช. ที่เป็นผู้ดูแล พ.ร.บ. ฉบับนี้ ดำเนินการต่อ เพื่อให้พิจารณาว่าสัญญานี้อาจเข้าข่ายว่ากสท เป็นเจ้าของคลื่นแต่ไม่ได้บริหารจัดการคลื่นด้วยตัวเองได้”
________________________________________________________

“ไอซีที” บี้สัญญา3จีกสท-ทรู เปิดประเด็นฉีกสัญญากสทซื้อฮัทช์


เวลา 16.00 น. (3 พ.ค.) ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) แถลงข่าวด่วนเรื่องการทำสัญญาธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ หรือ 3จีระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับ กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่า ก่อนหน้านี้ไอซีทีตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงสัญญาทรู-กสท ซึ่งพบพิรุธในสัญญา 5 ประเด็น และได้ส่งผลสอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อ ซึ่งในวันนี้ ทาง กสท ได้ส่งผลสอบเบื้องต้นที่ได้สะท้อนผลกระทบที่เกิดขึ้นในส่วนของกสท กลับมาที่ไอซีทีแล้ว

น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวต่อว่า ผลสอบของไอซีทีระบุชัดว่ามีการดำเนินการเป็นกระบวนการ และได้มีการฉีกสัญญาซื้อกิจการฮัทช์เพื่อหลีกทางให้ทรูเข้าซื้อกิจการแทน ดังนั้นวันนี้ไอซีทีจึงเชิญให้ทางกรมสอบสวนคดีพเศษ (ดีเอสไอ) นำเอกสารสัญญาซื้อขายไปตรวจสอบ เพราะถ้าพบว่ามีการฉีกสัญญาจริงถือเป็นเรื่องใหญ่ ผิดทั้งกฎหมายไทยและต่างประเทศหลายฉบับ เป็นการกระทำที่เย้ยกฎหมาย เป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของประเทศชาติอย่างน่าละอาย

“เรื่อง นี้ให้ดีเอสไอรับไปดำเนินการต่อ ทางรองอธิบดีดีเอสไอได้มารับข้อมูลด้วยตนเอง พร้อมขอให้ประสานกับ คณะกรรมการปราบปรามการคอรัปชั่นและป้องกันการทุจริตระหว่างประเทศ (ICAC)” รมว.ไอซีที กล่าว

รมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า เมื่อได้สัญญานี้มา ได้มีการตรวจสอบเบื้องต้นกับฝ่ายบริหารของ กสท แล้ว พบว่าเป็นการสัญญาที่ทั้ง 2 บริษัทได้ลงนามไว้จริง แต่เป็นตัวสำเนา โดยวันที่ลงนามห่างจากระยะเวลาที่ทรูซื้อกิจการฮัทช์ 6 เดือน แต่เป็นราคาเดิมที่ยังไม่ได้มีคำสั่งจากอดีตรัฐมนตรีไอซีทีสั่งให้ไปเจรจา ราคาซื้อขายใหม่ คือ ราว 7พันกว่าล้านบาท ขณะที่กลุ่มทรูซื้อกิจการฮัทช์ด้วยวงเงิน 6,300 ล้านบาท

นายกิตติ ศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่า สำนักงานตรวจสอบภายในของ กสท ค้นพบ มีความเป็นไปได้ที่จะผิดพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการ ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ พ.ร.บ.กสทช. มาตรา 46 ที่ให้การใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้ รับใบอนุญาต จะโอนแก่กันมิได้ แต่ในขณะนี้เจ้าหน้าที่ของกสท กลับไม่สามารถเข้าไปในสถานีฐาน 3จีได้ จึงมีสภาพเหมือนทรูเป็นเจ้าของโครงข่ายเอง จึงขัดต่อ พ.ร.บ. ดังกล่าว

“กรณี นี้มีข้อมูลสนับสนุน 2 ส่วน คือ การที่ กสท ไม่สามารถเข้าไปในส่วนของเน็ตเวิร์ค โอปอเรชั่น หรือที่ปฏิบัติการโครงข่าย ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลชี้วัดคุณภาพ และข้อมูลเซลล์ไซส์ที่เปิดดำเนินการแล้ว และไม่สามารถนำข้อมูลคอลดีเทลเร็คคอร์ดเพื่อนำมาทำบิลได้ กสท จะคิดเงินได้ตามข้อมูลที่บริษัท บีเอฟเคที ส่งให้เท่านั้น ถ้าต้องการข้อมูลจะต้องขอเป็นครั้งๆ ไป”

พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)กล่าวว่า ตามกระบวนการสอบสวนของดีเอสไอ จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงของสัญญาก่อนว่ามีสัญญานี้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ถ้ามีจริง เงื่อนไขเป็นอย่างไร แล้วมีการยกเลิกกันเพราะอะไร ต้องเป็นขั้นเป็นตอน เบื้องต้นไม่ทราบว่าฉบับจริงอยู่ที่ไหนเพราะที่ได้รับเป็นฉบับสำเนา การยกเลิกทำให้ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ ใช้เวลานานแค่ไหนยังไม่สามารถบอกได้เพราะยังไม่เห็นข้อเท็จจริง แต่จะพยายามทำให้ความจริงปรากฏโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงจึงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความผิดในหมวดใด บ้าง ถ้าพบว่ามีการเซ็นสัญญาจริงแล้วก่อให้เกิดการผิดกฎหมายจริง จึงต้องหาพยานหลักฐานเพิ่ม ในกรณีนี้ก็อาจเข้าข่ายกฎหมายฟอกเงินด้วย

“ถ้า ทุกคนให้ความร่วมมือ มีการยอมรับว่าคนเซ็นๆ จริง ก็ง่ายขึ้น ไม่น่าจะใช้เวลาถึงเดือนก็น่าจะรู้ว่าหลักฐานฉบับนี้มีจริงไหม ต้นฉบับจริงอยู่ที่ไหน กสท อาจไม่มี แต่คู่กรณีอย่างฮัทช์อาจจะเก็บไว้ ซึ่งการจะยกเลิกสัญญาหรือไม่ต้องดูที่ผู้รับผิดชอบ”

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา น.อ.อนุดิษฐ์ ได้แถลงผลการตรวจสอบการทำสัญญาธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ หรือ 3จีระหว่าง กสท กับ กลุ่มบริษัท ทรู ของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จซึ่งใช้เวลาตรวจสอบ 120 วัน โดยมีพ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัยอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งพบพิรุธ 5 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1 ฝ่ายการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้เอกชน ประเด็นที่ 2 การยกเลิกสัญญาการให้บริการซีดีเอ็มเอใน 25 จังหวัดเดิม เพื่อเข้าสู่การให้บริการ 3จี แบบเอชเอสพีเอไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ประเด็นที่ 3 การเดินเอกสารต่าง ๆ ที่จะต้องขออนุมัติจากกระทรวงไอซีทีในช่วงเวลานั้นมีการออกหนังสือล่วงหน้า และการยื่นเอกสารไม่ตรงตามหน่วยงานที่รับผิดชอบ

ประเด็นที่ 4 แม้ครม.จะเห็นชอบให้ดำเนินการโครงการใหม่ แต่ให้ กสท ขอความเห็นจาก สศช. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่ปรากฏว่าการดำเนินงานของ กสท ไม่ผ่านความเห็นชอบจากทั้ง 2 หน่วยงานประเด็นที่ 5 การดำเนินงานดังกล่าวหลีกเลี่ยง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ และประกาศ กสทช.ว่าด้วยการใช้และเช่าต่อโครงข่าย

จาก นั้น ไอซีทีได้สั่งการข้อเสนอแนะ 3 ข้อเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อแล้ว คือ ให้กระทรวงไอซีทีแจ้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อให้ดำเนินการต่อไปเมื่อพบเจ้าหน้าที่กระทรวงดำเนินการโดยมิชอบก็ให้ ดำเนินการตรวจสอบต่อไปและส่งเรื่องให้คณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) กสท นำไปพิจารณาภายใน 15 วันแล้วส่งกลับมาที่กระทรวงไอซีที โดยบอร์ด กสท จะส่งกลับมาให้ไอซีทีวันที่ 8 พ.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่คณะอนุกรรมการไต่สวนสอบข้อเท็จจริงกรณีการทำสัญญา 3จี กสท-ทรูจะมีการประชุมประชุมร่วมเพิ่มเติมอีกครั้ง หลังจากที่ เมื่อวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมาคณะอนุฯ ยังไม่มีการชี้มูลความผิดของสัญญาอย่างเป็นทางการ เพียงแต่ระบุว่ามีแนวโน้มที่เข้าข่ายมีความผิด แต่เนื่องด้วยรายละเอียดและเอกสารจำนวนมาก และคณะกรรมการมีความเห็นไม่ตรงกัน ทั้งข้ออธิบายที่มียังไม่มีน้ำหนักหรือความหนาแน่นเพียงพอจะชี้ความผิดพลาด ว่าอยู่ในระดับไหน

เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/112868

_________________________________________________________

3ประสานเช็คบิลอภิดีล3Gทรู "ไอซีที"ดึง"ดีเอสไอ"สอบต่อ ฟาก"กสท"ดันกสทช.ชี้ขาดขัดไม่ขัดม.46


ผู้ สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ"รายงานจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) วันนี้ (3พ.ค.2555) ว่า ในเวลาบ่าย 4 โมงเย็น รัฐมนตรีไอซีที "น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ พร้อมด้วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม "นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ" และรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) "พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข"ได้เปิดแถลงข่าวร่วมกัน ถึงการสอบสวนสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ระหว่างบมจ.กสท โทรคมนาคม กับกลุ่มทรู

น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า ในวันนี้มีผู้มอบสำเนาสัญญาซื้อกิจการบริษัทฮัทชิสันที่ผู้บริหาร กสท ลงนามกับกลุ่มฮัทชิสันตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2553 ที่อนุมัติให้กสท ซื้อกิจการฮัทช์ได้ในวงเงิน 7,500 ล้านบาท แต่ไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ตามสัญญาซื้อขายให้เสร็จสิ้น เพื่อเปิดโอกาสและรวบรัดให้กลุ่มทรู เข้าควบรวมกิจการของฮัทช์และดำเนินการเพื่อให้บริการในรูปแบบใหม่ตามโครงการ โทรศัพท์เคลื่อนที่3G ระบบ HSPA


และกระทรวงไอซีทีได้ส่งผลสอบของ คณะกรรมการสอบสวนรวมถึงสำเนาสัญญาซื้อขายที่เพิ่งได้รับมาใหม่ให้กรมสอบสวน คดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไปดำเนินการต่อ พร้อมขอให้ประสานกับองค์กรอิสระต่อต้านคอร์รัปชั่น(Independent Commission Against Corruption- ICAC) ด้วยเนื่องจากคู่สัญญาคือบริษัทต่างประเทศ

นอก จากนี้ ฝ่ายบริหารของกสท ได้ส่งผลสอบเบื้องต้นกลับมาให้กระทรวงไอซีทีแล้ว ระบุว่า พบความเป็นไปได้ที่สัญญาดังกล่าวจะเข้าข่ายขัดกับพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม มาตรา 46 ที่ห้ามไม่ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคลื่นความถี่ไปให้ผู้อื่นบริหารจัดการแทน

โดย นายกิติศักดิ์เสริมว่า กสทไม่สามารถเข้าไปในส่วนของการบริหารจัดการโครงข่ายได้ทำให้ไม่สามารถเข้า ถึงข้อมูลการชี้วัดคุณภาพ และข้อมูลสถานีฐาน ไม่สามารถนำข้อมูลบันทึกการโทรเพื่อออกใบแจ้งหนี้ให้ลูกค้าได้

“กสท จะคิดเงินได้ตามข้อมูลที่บริษัทบีเอฟเคทีให้มาและต้องขอเป็นครั้งๆ ไป ซึ่งทาง กสท จะส่งรายงานเรื่องนี้ไปให้สำนักงานกสทช. ที่เป็นผู้ดูแล พ.ร.บ. ฉบับนี้ ดำเนินการต่อ เพื่อให้พิจารณาว่าสัญญานี้อาจเข้าข่ายว่ากสท เป็นเจ้าของคลื่นแต่ไม่ได้บริหารจัดการคลื่นด้วยตัวเองได้”


ขณะ ที่พ.ต.อ.ประเวศน์ รองอธิบดี ดีเอสไอ กล่าวว่า ตามกระบวนการสอบสวนจากนี้ต้องตรวจสอบว่า มีสัญญาฉบับนี้จริงหรือไม่ ถ้าจริงเงื่อนไขเป็นอย่างไร มีการยกเลิกเพราะอะไรทำให้ใครได้หรือเสียประโยชน์ ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงจึงไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นความผิดในหมวดใดบ้างหรือเปล่า

"ขั้นตอนสอบสวนว่าใครผิดถูกอย่าง ไรคงต้องใช้เวลา ส่วนจะยกเลิกสัญญาหรือไม่ เป็นอำนาจผู้ที่รับผิดชอบตามสัญญานี้ หรือเป็นอำนาจศาล ผลสอบของดีเอสไอ ถ้าเป็นความผิดที่เกิดจากนักการเมืองหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องส่งให้ป.ป.ช. ดำเนินการต่อ ไม่สามารถยื่นฟ้องเองได้"

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1336043139&grpid=00&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.