Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 เมษายน 2555 กสทช.ขับเคลื่อน 3G เล็งเช่าโครงข่าย ประหยัดต้นทุน << เอาเสาเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ >>

กสทช.ขับเคลื่อน 3G เล็งเช่าโครงข่าย ประหยัดต้นทุน << เอาเสาเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ >>


ประเด็นหลัก

"สมมติว่าได้คลื่นความถี่ไปแล้ว ก็ต้องไปสร้างเน็ตเวิร์กต่อ ไม่ใช่ซื้อความถี่แพงๆแล้วไม่มีเงินไปสร้างเน็ตเวิร์ก ขณะนี้ในหลายประเทศมีการประมูลคลื่นความถี่ที่แพงมาก จนไม่สามารถมีเงินพอไปลงทุนซึ่งประชาชนและประเทศชาติก็ไม่ได้ประโยชน์ด้วย ตรงนี้เองที่ทำให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมคิดต่อไปว่า เราต้องไปดูโมเดลเหล่านี้ในต่างประเทศ ก็พบว่า การลงทุนที่ไม่สูงมากจะเกิดขึ้นจากการบริหารทรัพยากรที่มีคุณภาพ เช่น การมีแนวคิดที่จะออกใบอนุญาตประเภททาวเวอร์โค คือการใช้ทรัพยากรเสาโทรคมนาคมที่มีอยู่แล้ว อย่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)หรือทีโอที ที่มีเสาประมาณ 15,000 ต้น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือCAT มีเสา ประมาณ 10,000 ต้น ทำไมไม่เอาเสาเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์"
__________________________________________________________


กสทช.ขับเคลื่อน3จีเล็งเช่าโครงข่าย

พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)มีมติเห็นชอบ 3 ร่างแผนแม่บทหลัก ประกอบด้วยแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ.....)

ร่าง แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ฉบับที่1 (พ.ศ. 2555-2559) และร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม (พ.ศ.2555-2559)ไปแล้ว ล่าสุด"ฐานเศรษฐกิจ"สัมภาษณ์ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.)ถึงภารกิจในซีกของก ทค. ที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคมต่อจากนี้ไปโดยเฉพาะการวางแผนทำงานในเรื่อง ของ 3จี

5เดือนดันผลงานชิ้นโบแดง

ถ้าประเมินการทำงานของกสทช.ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาถือว่า ได้เดินไปตามแผนที่กำหนดไว้ และผลงานชิ้นโบแดงคือ ทำเรื่องแผนแม่บทที่เข็นออกมาได้แล้วตามสัญญา ทั้งที่ให้เวลากสทช. 1 ปี ซึ่งแผนแม่บทนี้มีการแก้ไขจากเดิมบ้าง แต่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะมีประเด็นเรื่องความไม่ชัดเจนในการวัดผลความสำเร็จ และเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องแก้ไขให้ชัดเจนมากขึ้น รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม มีกระบวนการไกล่เกลี่ย ที่กำลังทำให้มีประสิทธิภาพ มีคอมเมนต์เข้ามาก็ต้องรับฟัง

อย่างกรณีที่มีนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่าแผนแม่บทนี้ ไม่ได้กำหนดกลยุทธ์ ในเรื่องระบบใบอนุญาต ค่าเชื่อมต่อเครือข่ายและการกำหนดราคาใบอนุญาต และไม่กำหนดกติกาในการให้บริการ 3จีนั้น เรื่องนี้ยอมรับว่าในอดีตที่ผ่านมาการออกประกาศ ออกหลักเกณฑ์ต่างๆ ไม่ทันสมัย และมีประกาศจำนวนมากที่ขัดต่อการเจริญเติบโตของกิจการโทรคมนาคม

"ตอนนี้จึงตั้งคณะอนุกรรมการบูรณาการกฎหมาย แล้วประกาศหลักเกณฑ์ของกสทช.ขึ้นมา ซึ่งอยู่ในระหว่างปรับปรุง มีหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องให้ใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ เพราะบางอย่างไม่จำเป็นต้องไปเสียเวลา 3-4 เดือน เป็นธุรกรรมธรรมดา และกสทช.ก็ได้ออกประกาศใหม่ๆออกมา เช่น ประกาศควบคุมอัตราขั้นสูงของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้านเสียง และเตรียมจะออกประกาศใช้ ขณะนี้กำลังดำเนินการใกล้จะเสร็จแล้วในเรื่องประกาศควบคุมคุณภาพการให้ บริการข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่กำลังจะนำออกมาใช้ในเร็วๆนี้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เห็นด้วยในหลายๆประเด็นกับนักวิชาการและกำลังดำเนินการ ให้ดีขึ้น

เล็งเช่าเสาทีโอที-CAT

เช่นเดียวกับการวางแผนการทำงานในเรื่อง3จี ที่ขณะนี้ยังอยู่ในกรอบเวลา ที่คณะทำงานเริ่มทำงานแล้ว และกำลังพิจารณาในเรื่องมูลค่าคลื่นความถี่ว่ามีราคาเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสมและสามารถอธิบายกับประชาชนได้ว่าเป็นราคาที่เป็นธรรม และได้ประโยชน์ต่อประเทศชาติสูงสุด โดยในหลักการก็คือคลื่นความถี่นี้กสทช.ไม่ได้ขาย แต่จะจัดสรรออกมา

"สมมติว่าได้คลื่นความถี่ไปแล้วก็ต้องไปสร้างเน็ตเวิร์กต่อ ไม่ใช่ซื้อความถี่แพงๆแล้วไม่มีเงินไปสร้างเน็ตเวิร์ก ขณะนี้ในหลายประเทศมีการประมูลคลื่นความถี่ที่แพงมาก จนไม่สามารถมีเงินพอไปลงทุนซึ่งประชาชนและประเทศชาติก็ไม่ได้ประโยชน์ด้วย ตรงนี้เองที่ทำให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมคิดต่อไปว่า เราต้องไปดูโมเดลเหล่านี้ในต่างประเทศ ก็พบว่า การลงทุนที่ไม่สูงมากจะเกิดขึ้นจากการบริหารทรัพยากรที่มีคุณภาพ เช่น การมีแนวคิดที่จะออกใบอนุญาตประเภททาวเวอร์โค คือการใช้ทรัพยากรเสาโทรคมนาคมที่มีอยู่แล้ว อย่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)หรือทีโอที ที่มีเสาประมาณ 15,000 ต้น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือCAT มีเสา ประมาณ 10,000 ต้น ทำไมไม่เอาเสาเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์"

ในต่างประเทศจะมีบริษัทที่เรียกว่า ทาวเวอร์โค คัมพานี ให้เช่าเสาโทรคมนาคม ทำให้บริษัทที่ได้คลื่นความถี่ไม่ต้องสร้างเสาเอง สร้างเพียงบางจุดเท่านั้น ไปเช่าเสาที่มีอยู่แล้ว และมาติดอุปกรณ์ทำซอฟต์แวร์ก็สามารถสร้างโครงข่ายได้อย่างรวดเร็ว อเมริกา อินเดีย ประเทศในแอฟริกาก็ทำกันแล้ว ซึ่งบริษัทเหล่านี้อาจจะตั้งโดยทีโอทีได้ ก็จะทำให้ทีโอทีมีรายได้ต่อไปได้อีก ซึ่งเรื่องนี้เรากำลังร่างประกาศในการให้ใบอนุญาตตั้งบริษัท ทาวเวอร์โคอยู่

นอกจากนี้ยังมีเรื่องไฟเบอร์โคที่ทีโอที , CATมีไฟเบอร์เป็นแสนกิโลเมตรถ้านับรวมกันแล้ว ฉะนั้นบริษัทที่ได้รับคลื่นความถี่ไปไม่ต้องไปวางเคเบิลเองให้ไปเช่าต่อ หรืออาจจะวางเองในบางส่วนที่มันขาด ก็จะทำให้การลงทุนต่ำลง ส่วนการคิดค่าเช่าก็ต้องไปวางโมเดลทางธุรกิจเอาเอง

ใช้ทรัพยากรร่วมกันลดลงทุน

สำหรับแอกชันแพลนในการใช้ทรัพยากรร่วมกันในกิจการโทรคมนาคม ก็จะทำให้การลงทุนของบริษัทผู้ประกอบกิจการลดลง20-40% เมื่อดูเปรียบเทียบกับหลายประเทศ อย่าง อินเดีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศไทยยังไม่จริงจังในเรื่องนี้ ดังนั้นการที่สัญญาสัมปทานจะหมดลงก็เป็นโอกาสที่ดี เมื่อสัญญาสัมปทานหมดโครงสร้างทุกอย่างจะโอนไปอยู่ที่ ทีโอที ที่CAT ซึ่งทั้ง2องค์กรนี้ จะต้องเอาโครงสร้างพื้นฐานที่มีไปใช้ประโยชน์ให้ได้ เพราะถ้ากลายเป็นซากไป ก็จะเป็นเงินที่สูญเสียไปมาก ตรงนี้ก็จะทำให้คนได้ประโยชน์ ประเทศชาติไม่ต้องลงทุนมาก ไม่ต้องลงทุนซ้ำซ้อน ผู้บริโภคก็ได้ใช้บริการที่ราคาถูกขณะที่ทีโอทีก็มีช่องทางทางธุรกิจ เพราะทีโอทีกับCATประสบปัญหาจากการเปิดเสรีในกิจการโทรคมนาคมทำรายได้ลดลง เช่น CAT รายได้ลดลงมากกว่า 30-40%

ในเรื่องของโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ทีโอทีก็ประสบปัญหาในเรื่องของรายได้ที่เป็นการแบ่งสัดส่วนรายได้ที่ได้ ประมาณ กว่า10,000 ล้านบาทกับเอไอเอส หลังจากที่สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง ก็ทำให้รายได้ตรงนี้จะหายไปด้วย พอมีทรัพย์สินตรงนี้ก็กลับมาใช้ได้ สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ก็กลับไปเป็นเน็ตเวิร์กโอเปอเรเตอร์ หรือทาวเวอร์โอเปอเรเตอร์ไป คือเอาทรัพย์สินที่มีอยู่มาหากินต่อ ก็จะได้เงินกลับไปเพื่อมาลงทุน 3จีต่อไปอีกในย่านความถี่1900 เมกะเฮิรตซ์ ก็จะเป็นเรื่องที่ดี

สิ่งเหล่านี้จะต้องชัดเจนว่าจะทำอะไร นักลงทุนก็จะได้เตรียมตัว ความโปร่งใสก็มี ไม่ได้ทำแบบเงียบๆ ถ้าทำไม่ได้ หรือมีปัญหาก็มาคุยกัน
เปิดรับหมื่นเลขหมาย/วันรับ3จี

ในเรื่อง3จีนั้นจะต้องปรับนัมเบอร์พอตก่อนเพื่อรับการประมูล3จี ซึ่งเรื่องนี้กำลังทำอย่างเร่งด่วนโดยเชิญโอเปอเรเตอร์ค่ายต่างๆมาคุยกัน เพราะปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาทางเทคนิค แต่เป็นปัญหาความกังวลใจของโอเปอเรเตอร์ ซึ่งจริงๆแล้ว มันเป็นประโยชน์กับประชาชน และทำให้กลไกตลาดมันขับเคลื่อนอย่างแท้จริง อยู่ที่ว่าโอเปอเรเตอร์ค่ายไหนจะปรับปรุงคุณภาพของตัวเอง ฉะนั้นเราจะต้องเปิดการรองรับเลขหมายให้มากขึ้นจากไม่เกิน 1,000 เลขหมายต่อวัน มาเป็น 10,000 เลขหมายต่อวัน เพราะในอนาคตจะเกิดคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์และ 1.8 กิกะเฮิรตซ์ ในโครงสร้างใหม่ก็เปิดให้เต็มที่ไปก่อน พอประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์เสร็จ โครงสร้างต่างๆก็จะเริ่มใช้งานได้ 4-5 เดือนหลังจากนั้นในเมืองใหญ่ๆ คนก็จะเริ่มเข้ามาย้ายโครงข่าย หรือซื้อเบอร์ใหม่ในโครงข่ายเดิมก็ได้

ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าถ้าทรูมูฟกับดีพีซีหมดสัญญาสัมปทานในปี 2556 ก็จะมีลูกค้าย้ายค่ายจำนวนมากหรือไม่นั้น ก็ไม่จริงเสมอไป ถ้าคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์มีผู้ประมูลได้ และผู้ที่ประมูลได้ไปเทกโอเวอร์โครงข่ายนี้แล้วบริหารจัดการดีๆ ลูกค้าอาจจะอยู่ต่อได้ เพราะคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์มันเป็น 2.5จี เป็นเสียง ซึ่งขณะนี้ตลาดเทเลคอมมีการใช้ 2 จีอยู่จำนวนมากถึง 70% มากกว่า3 จี จึงต้องดูแลลูกค้า 2 จีต่อไป เพราะมีกลุ่มลูกค้าที่ไม่มีกำลังซื้อไอโฟนเหมือนคนในเมือง คนในเมืองใช้ไอโฟนก็ใช้เดลต้าบน 3จี แต่คนจำนวนมากเป็นสิบๆล้านใช้ 2จี ฉะนั้นลูกค้าก็ไม่ต้องตกใจรีบย้ายไปไหน เพราะหลังจากที่มีการประมูลได้แล้ว ก็ยังมีการบริการเดิมอยู่

ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=114888:3-cat&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.