Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มีนาคม 2555 ( เป็นข่าวแรกที่ กสทช. บ่นว่า แพง!!! ) ไม่อยากจ้างที่ปรึกษาเนร่าเพราะแพง จ้างคนไทยบ้างดีกว่า ( เพราะ ศึกษากันมานานแล้ว

( เป็นข่าวแรกที่ กสทช. บ่นว่า แพง!!! ) ไม่อยากจ้างที่ปรึกษาเนร่าเพราะแพง จ้างคนไทยบ้างดีกว่า ( เพราะ ศึกษากันมานานแล้ว


ประเด็นหลัก

อย่างไรก็ดีคณะอนุฯ 3G ได้มีมติหันมาจ้างที่ปรึกษาเป็นคนไทยแทน โดยเบื้องต้นได้มอบหมายให้ นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกสทช. เป็นผู้รับผิดชอบการในส่วนหาที่ปรึกษาที่เป็นนักวิชาการทั้งด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ โดยอิงจากข้อมูลเดิมที่เคยศึกษาไว้ อาทิในเรื่อง ราคากลาง, N-1, จำนวนใบอนุญาต นอกจากนี้ยังจะตั้งคณะทำงานอีก 2 ชุดคือคณะทำงานกฏหมาย และคณะทำงานวิชาการขึ้นมาเพื่อช่วยบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นคนไทยที่คณะอนุฯจะ จ้างขึ้นมาใหม่เพื่อช่วยในการดำเนินการ

ขณะที่การจัดการประมูลใบอนุญาตนั้น ทางกสทช.มองว่ายังคงต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาดำเนินการอยู่ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ซับซ้อน โดยเบื้องต้นมีหลายบริษัทที่กสทช.กำลังพิจารณาอยู่ในตอนนี้ อาทิเช่น บริษัท ออคชั่นเทคโนโลยี และบริษัท เนร่า

ส่วนรูปแบบในการดำเนินการนั้น คงต้องรอศึกษารูปแบบจากต่างประเทศก่อน ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเรื่องของหลักเกณฑ์ต่างๆอาทิ วิธีการประมูล จำนวนใบอนุญาต ราคาเริ่มต้นการประมูล รวมถึงข้อเสนอแนะการประมูลจากทุกภาคส่วน ภายในเดือนพ.ค.นี้

________________________________________________________


กสทช.ไม่เลือก 'เนร่า' เหตุคิดแพง ทักทีโอทีต้องชัดเจนก่อนลุย 2.3 GHz



กสทช.เผยที่ประชุมคณะอนุฯ 3G ระบุไม่เลือกเนร่า เป็นที่ปรึกษาจัดทำขอมูลหลักเกณฑ์ และหนังสือชี้ชวนการประมูล (ไอเอ็ม) เหตุเพราะคิดแพง หันมาจ้างที่ปรึกษาคนไทยแทน พร้อมยืนยันเปิดประมูล 3G ตามเป้าเดิมภายในไตรมาส 3 ปีนี้ ด้านกทค.ระบุทีโอทีต้องเข้ามาพูดคุยก่อนว่าจะทำอะไรกับคลื่น 2.3 GHz แม้จะอยู่ในมือก็ตาม พร้อมเตรียมประกาศมาตรฐานดาต้าฯ หลังมีมติเห็นชอบในร่างฯ

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนคม (กทค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมบริหารคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz เพื่อรองรับเทคโนโลยี IMT Advanced หรือ การประมูล 3G มีมติไม่จ้างบริษัท เนร่า จำกัด มาเป็นที่ปรึกษาจัดทำขอมูลหลักเกณฑ์ และหนังสือชี้ชวนการประมูล (ไอเอ็ม) คลื่นความถี่และใบอนุญาต 3G เนื่องจากบริษัท เนร่า เสนอราคาค่าที่ปรึกษาสูงถึง 16-20 ล้านบาท ทั้งที่เป็นเพียงการทบทวนผลการศึกษาจากการครั้งที่ผ่านมาเท่านั้น

อย่างไรก็ดีคณะอนุฯ 3G ได้มีมติหันมาจ้างที่ปรึกษาเป็นคนไทยแทน โดยเบื้องต้นได้มอบหมายให้ นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกสทช. เป็นผู้รับผิดชอบการในส่วนหาที่ปรึกษาที่เป็นนักวิชาการทั้งด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ โดยอิงจากข้อมูลเดิมที่เคยศึกษาไว้ อาทิในเรื่อง ราคากลาง, N-1, จำนวนใบอนุญาต นอกจากนี้ยังจะตั้งคณะทำงานอีก 2 ชุดคือคณะทำงานกฏหมาย และคณะทำงานวิชาการขึ้นมาเพื่อช่วยบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นคนไทยที่คณะอนุฯจะ จ้างขึ้นมาใหม่เพื่อช่วยในการดำเนินการ

ขณะที่การจัดการประมูลใบอนุญาตนั้น ทางกสทช.มองว่ายังคงต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาดำเนินการอยู่ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ซับซ้อน โดยเบื้องต้นมีหลายบริษัทที่กสทช.กำลังพิจารณาอยู่ในตอนนี้ อาทิเช่น บริษัท ออคชั่นเทคโนโลยี และบริษัท เนร่า

ส่วนรูปแบบในการดำเนินการนั้น คงต้องรอศึกษารูปแบบจากต่างประเทศก่อน ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเรื่องของหลักเกณฑ์ต่างๆอาทิ วิธีการประมูล จำนวนใบอนุญาต ราคาเริ่มต้นการประมูล รวมถึงข้อเสนอแนะการประมูลจากทุกภาคส่วน ภายในเดือนพ.ค.นี้

เบื้องต้นกสทช.ตั้งงบในการจ้างบริษัทจัดทำการประมูล 3G (ออกชั่น) ไว้ที่ประมาณ 20-30 ล้านบาทซึ่งเป็นราคาเดิมของบอร์ดชุดเก่าเคยตั้งเอาไว้ก่อนหน้านี้

“กสทช.ยังคงมั่นใจว่าจะสามารถเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ได้แน่นอนภายในเดือน ต.ค. 2555 หรือไตรมาส 3 นี้”

***กทค.ทักทีโอทีต้องชัดเจนก่อนลุย 2.3 GHz

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวต่อว่า ในกรณีที่โอทีที่จะเดินหน้าทำตลาดเทคโนโลยี LTE บนคลื่น 2.3 GHz ซึ่งทีโอทีมีคลื่นอยู่ 64 MHz แต่คาดว่าจะคืนให้กสทช.เพียง 30 MHz ที่เหลือจะนำมาต่อยอดธุรกิจ 3G ของทีโอทีนั้น มองว่าทีโอทีนั้นจะต้องเข้ามาเจรจาพูดคุย และชี้แจงกับทางกสทช.ก่อนว่าจะนำคลื่นดังกล่าวไปทำอะไร บนเทคโนโลยีอะไร ฟิกซ์ไลน์ หรือโมบาย เพราะอาจจะทำให้เกิดความเลื่อมล้ำทางธุรกิจของรายอื่นในตลาดได้

ขณะเดียวกันบอร์ดได้พิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐาน และคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน ที่ บอร์ดมีมติเห็นชอบในร่างดังกล่าวที่ทางสำนักงานกสทช.เสนอมา แต่ให้ปรับแก้ถ้อยคำ และนิยามศัพท์ทางเทคนิคที่ชัดเจนเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยเฉพาะในส่วนตัวชี้วัดเกณฑ์ต่างๆ ไม่ให้เป็นศัพท์เทคนิคมากเกินไป ก่อนจะนำกลับเข้ามาให้ กทค. พิจารณาในการประชุมครั้งหน้า เพื่อเตรียมเสนอเข้าที่ประชุมใหญ่ กสทช. ในครั้งถัดไป

อีกทั้งบอร์ดกทค.ยังเห็นชอบในแนวทางที่สำนักงาน กสทช. เสนอให้มีการปรับลดขั้นตอนการขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เช่น สถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ สถานีวิทยุวอล์คกี้ทอล์คกี้ วิทยุสมัครเล่น และการขออนุญาตใช้เครื่องรับวิทยุคมนาคม รวมไปถึงเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่

เนื่องจากเดิมต้องใช้เวลาในการอนุญาตตั้งสถานี 2 เดือน โดยทางสำนักงานมองว่าใช้เวลานานเกินไปจึงเสนอแนวทางให้มีการมอบอำนาจ และจัดทำด้วยระบบใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ รวมไปถึงลดขั้นตอนต่างๆลง เพื่อให้ใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 15 วัน ซึ่ง กทค. มีมัติเห็นชอบในหลักการ และเตรียมร่างเป็นประกาศทางการต่อไป จากนั้นนำออกประชาพิจารณ์ก่อนลงราชกิจจานุเบกษา

"เรามองว่าที่ผ่านมาผู้ประกอบการเดือนร้อนมากในการดำเนินขออนุญาตเนื่องจากต้องใช้เวลานานเกือบ 2 เดือนถึงจะแล้วเสร็จ"

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บอร์ดกทค.ยังอนุมัติเลขหมายเพิ่มเติมให้กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) จำนวน 1.1 ล้านเลขหมายซึ่งเป็นเลขหมายที่ขอไว้ตั้งแต่ปี 54 เพื่อมาทำตลาดในปีนี้ โดยแบ่งการอนุมัติเป็น 2 ล็อตคือ 3 เดือนแรกให้ 550,000 เลขหมาย อีก 3 เดือนหลังได้อีก 550,000 เลขหมาย

ขณะที่ทางกลุ่มทรูซึ่งมีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ว่าจะขอเลขหมายจำนวน 16 ล้านเลขหมาย แต่เรื่องยังไม่มาถึงบอร์ดกทค. แต่อย่างใด ส่วนค่ายอื่นๆกำลังทยอยขอเลขหมายเช่นเดียวกัน แต่ยังไม่ผ่านกระบวนการของอนุกรรมการ เรื่องจึงยังไม่มาถึง กทค.

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000029929

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.