Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 พฤศจิกายน 2554 (ยังไม่จบ) ล่าสุด!! CAT กำลังแก้สัญญาโดยส่งกลับคืนไปให้ TRUE // ประเด็นหลัก แก้ ตามมาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช.

(ยังไม่จบ) ล่าสุด!! CAT กำลังแก้สัญญาโดยส่งกลับคืนไปให้ TRUE // ประเด็นหลัก แก้ ตามมาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช.


ประเด็นหลัก


“ตอนนี้ กสท กำลังแก้ไขสัญญาบางข้ออยู่ และกำลังจะส่งกลับคืนไปให้ทรู โดยไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่จะมีจุดที่จะต้องแก้ไขเพียงนิดหน่อยเท่านั้น ไม่ได้ยุ่งยากอะไร ซึ่งเรากำลังแก้ไข และจะรีบส่งกลับคืนไปให้ทรูทันที หลังจากแก้ไขเสร็จ” นายจิรายุทธ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รักษาการ กสทช.โดยมีมติในที่ประชุมเมื่อวันที่ 28 ก.ย.2554 ที่ผ่านมา 3 ข้อหลักๆ คือ 1. ให้ กสท มีการแก้ไขสัญญาที่ทำร่วมกับทรู เพื่อเป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ที่เกี่ยวกับการป้องกันการผูกขาด คือ ห้ามระบุว่าใครได้สัดส่วนเช่าใช้โครงข่าย 80% ให้แล้วเสร็จใน 30 วัน 2. ประเด็นเกี่ยวกับการให้ผู้อื่นร่วมประกอบกิจการ ตามมาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช. ซึ่งเป็นเรื่องที่ กสทช.ชุดปฏิบัติงานจริง จะต้องมาวินิจฉัย โดยประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ จึงจะต้องส่งเรื่องให้แก่ที่ประชุม กสทช. ที่เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแล ตาม พ.ร.บ. เป็นผู้พิจารณาต่อไป อีกทั้งที่ประชุมรักษา กสทช. มีความเห็นแตกต่างกันโดยเสียงที่ออกมายังไม่เป็นเอกฉันท์ และ 3. ประเด็นสัญญาฯ อาจเข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หรือไม่ โดยที่ประชุมมีมติส่งเรื่องไปให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กระทรวงการคลัง และคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ เป็นผู้วินิจฉัยในฐานะกำกับดู ตามใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุนดังกล่าว

__________________________________________________________



“จิรายุทธ” เผยแก้ไขสัญญาทรู ตามมติบอร์ด กสทช.แล้ว

กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ กสท เผยอยู่ระหว่างแก้สัญญาทำ 3จี กับทรู ตามมติบอร์ดชุดรักษาการ กสทช.แล้ว ยืนยันไม่พบข้อผิดพลาดของสัญญา เล็งส่งกลับทรูรับทราบเร็วๆ นี้...

นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวว่า หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการ หรือบอร์ด รักษาการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีมติบอร์ดรักษาการเมื่อวันที่ 28 ก.ย.2554 ที่ผ่านมา ให้ กสท กลับไปแก้ไขสัญญาการให้บริการ 3จี เอชสเอพีเอ กับ กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยให้เวลา 30 วันนั้น ขณะนี้ กสท อยู่ระหว่างการแก้ไขสัญญาดังกล่าว ให้เป็นไปตามความต้องการของรักษาการ กสทช.

กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบสัญญาการดำเนินธุรกิจดังกล่าว เบื้องต้นสัญญาดังกล่าว ถือว่าเป็นการดำเนินการปกติ และยังไม่พบปัญหาแต่อย่างใด โดยคาดการณ์ว่าจะส่งให้ทรูเร็วๆ นี้ แต่ด้วยสถานการณ์ในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้เกิดอุทกภัยรุนแรง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ จึงมีอุปสรรคต่อการทำงาน เพราะช่วงนี้ถนนแจ้งวัฒนะน้ำท่วม และรัฐบาลก็มีคำสั่งให้มีการปิดทางจราจร

“ตอน นี้ กสท กำลังแก้ไขสัญญาบางข้ออยู่ และกำลังจะส่งกลับคืนไปให้ทรู โดยไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่จะมีจุดที่จะต้องแก้ไขเพียงนิดหน่อยเท่านั้น ไม่ได้ยุ่งยากอะไร ซึ่งเรากำลังแก้ไข และจะรีบส่งกลับคืนไปให้ทรูทันที หลังจากแก้ไขเสร็จ” นายจิรายุทธ กล่าว

พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้ กสทช. อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดในเรื่องสัญญากับกลุ่มทรู เนื่องจากเรื่องดังกล่าวอยู่ในความสนใจของสังคม ซึ่งรักษาการ กสทช. ชุดเดิมได้สรุปไว้แล้วในเบื้องต้นว่า การให้บริการ 3จี ขัดต่อมาตรา 46 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 หรือ พ.ร.บ.กสทช. ซึ่งมาตรานี้ กำหนดให้ผู้ได้รับสิทธิ์ในคลื่นความถี่ จะต้องทำหน้าที่ให้บริการด้วยตัวเอง ไม่สามารถโอนให้กับผู้อื่นได้ โดยสัญญาดังกล่าวผิดมาตรานี้ชัดเจน รวมทั้ง กสท ยังเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทรู เป็นผู้ทำสัญญาร่วมเปิดบริการ 3จี เอสเชอพีเอ โดยไม่มีการประมูล และไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า รักษาการ กสทช.โดยมีมติในที่ประชุมเมื่อวันที่ 28 ก.ย.2554 ที่ผ่านมา 3 ข้อหลักๆ คือ 1. ให้ กสท มีการแก้ไขสัญญาที่ทำร่วมกับทรู เพื่อเป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ที่เกี่ยวกับการป้องกันการผูกขาด คือ ห้ามระบุว่าใครได้สัดส่วนเช่าใช้โครงข่าย 80% ให้แล้วเสร็จใน 30 วัน 2. ประเด็นเกี่ยวกับการให้ผู้อื่นร่วมประกอบกิจการ ตามมาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช. ซึ่งเป็นเรื่องที่ กสทช.ชุดปฏิบัติงานจริง จะต้องมาวินิจฉัย โดยประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ จึงจะต้องส่งเรื่องให้แก่ที่ประชุม กสทช. ที่เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแล ตาม พ.ร.บ. เป็นผู้พิจารณาต่อไป อีกทั้งที่ประชุมรักษา กสทช. มีความเห็นแตกต่างกันโดยเสียงที่ออกมายังไม่เป็นเอกฉันท์ และ 3. ประเด็นสัญญาฯ อาจเข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หรือไม่ โดยที่ประชุมมีมติส่งเรื่องไปให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กระทรวงการคลัง และคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ เป็นผู้วินิจฉัยในฐานะกำกับดู ตามใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุนดังกล่าว

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/214679

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.