Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 สิงหาคม 2555 “เพาเวอร์ ออกชั่น” คว้าที่ปรึกษาประมูล 3G กสทช. ( ทางสำนักงานจะต่อรองราคาให้ต่ำกว่า 15 ล้านบาท )

“เพาเวอร์ ออกชั่น” คว้าที่ปรึกษาประมูล 3G กสทช. ( ทางสำนักงานจะต่อรองราคาให้ต่ำกว่า 15 ล้านบาท )


ประเด็นหลัก


ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.เปิดเผยความคืบหน้าการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการประมูล ใบอนุญาต 3G โดยมีเพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่ยื่นข้อเสนอคือบริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น กับ บริษัท เนร่า ซึ่งหลังจากพิจารณาข้อมูลด้านเทคนิคแล้ว ได้เลือกบริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น เป็นบริษัทที่ปรึกษาแต่เนื่องจากราคาที่บริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น เสนอมา 15.2 ล้านบาทเป็นราคาที่สูงกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ที่ 15 ล้านบาท ทำให้ขณะนี้อยู่ระหว่างการต่อรองราคา โดยคาดว่าจะรู้ผลภายในวันที่ 15 ส.ค.นี้

'กสทช.จะไม่พิจารณาบริษัทในลำดับรองลงมาคือ บริษัท เนร่า เนื่องจากข้อมูลทางเทคนิคมีความห่างกันมาก ซึ่งหากการเจรจาต่อรองราคากับเพาเวอร์ ออกชั่นไม่สำเร็จก็ต้องให้เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ในการยกเลิก และดำเนินการสรรหาใหม่อีกครั้งหนึ่ง'
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงาน กสทช. ได้รายชื่อบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ไอเอ็ม ที ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการ 3จี แล้ว คือ บริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น ซึ่งนำเสนอคุณสมบัติทางเทคนิคที่ใช้ในการประมูลสูงที่สุด ส่วนราคาที่เสนอมาอยู่ที่ 15.1-15.2 ล้านบาท สูงกว่าราคากลางที่สำนักงานกสทช.ตั้งไว้ อยู่ที่ 15 ล้านบาท โดยจากนี้ทางสำนักงานจะต่อรองราคาให้ต่ำกว่า 15 ล้านบาท โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนวันที่ 15 ส.ค.2555 และยืนยันว่าการประมูลใบอนุญาต 3จี ของ กสทช.จะจัดขึ้นตามกำหนดในเดือนต.ค.นี้


___________________________________________

“เพาเวอร์ ออกชั่น” คว้าที่ปรึกษาประมูล 3จี กสทช.

เลขาฯ กสทช. เผยเลือก เพาเวอร์ ออกชั่น เป็นที่ปรึกษาประมูล 3จี หลังเสนอคุณสมบัติทางเทคนิคสูงสุด ขณะที่ เนร่าตกไป และอยู่ระหว่างต่อรองราคา คาดสรุปได้ 15 ส.ค. ยืนยันเปิดประมูลได้ ต.ค.นี้...

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงาน กสทช. ได้รายชื่อบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ไอเอ็ม ที ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการ 3จี แล้ว คือ บริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น ซึ่งนำเสนอคุณสมบัติทางเทคนิคที่ใช้ในการประมูลสูงที่สุด ส่วนราคาที่เสนอมาอยู่ที่ 15.1-15.2 ล้านบาท สูงกว่าราคากลางที่สำนักงานกสทช.ตั้งไว้ อยู่ที่ 15 ล้านบาท โดยจากนี้ทางสำนักงานจะต่อรองราคาให้ต่ำกว่า 15 ล้านบาท โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนวันที่ 15 ส.ค.2555 และยืนยันว่าการประมูลใบอนุญาต 3จี ของ กสทช.จะจัดขึ้นตามกำหนดในเดือนต.ค.นี้

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช. ได้ประกาศยกเลิกเงื่อนไข หรือ ทีโออาร์ การจ้างที่ปรึกษาดำเนินการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ไอเอ็มที ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการ 3จี เนื่องจากพบว่าสำนักงาน กสทช. เขียนแผนการดำเนินงานไม่ชัดเจน ส่งผลให้บริษัทที่ปรึกษาซึ่งเข้าร่วมการเสนอราคาในการเป็นที่ปรึกษา ได้ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคารวมมาในซองเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณาข้อเสนอซึ่งจะต้องผูกพันด้านเทคนิคกับ ด้านราคาไปพร้อมกัน รวมทั้งได้กำหนดแผนการจัดประมูล 3จี ในเดือนที่แตกต่างกัน โดยในวันเดียวกันหลังยกเลิกเงื่อนไขดังกล่าว สำนักงาน กสทช.ได้จัดส่งเงื่อนไขใหม่ที่ชัดเจนให้กับบริษัทที่จะเข้าร่วมประมูล เพื่อให้วางแผนการจัดประมูลมาใหม่ โดยซึ่งมีเพียง 2 บริษัท ที่เสนอ คือ บริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น กับ บริษัท เนร่า กับ บริษัท ออคชั่น เทคโนโลยี โดยบริษัท เนร่า เสนอคุณสมบัติทางเทคนิคต่ำกว่า และเพิ่งเสนอซองมาช้ากว่ากำหนดทำให้ตกไป

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/282033



___________________________________________


คาดเลือก 'เพาเวอร์ ออกชั่น' ที่ปรึกษาประมูล 3G



กทค.เลื่อนสรุปร่าง IM ประมูล 3G เป็นสัปดาห์หน้า ล่าสุดเลือก 'เพาเวอร์ ออกชั่น' เป็นที่ปรึกษาเหลือเพียงแค่ต่อรองราคาให้เหลือตามงบ 15 ล้านบาท

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่าในการประชุมบอร์ดกทค.ในวันที่ 8 ส.ค.นี้ยังไม่มีวาระเรื่องการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดหนังสือชี้ชวนการลงทุน (IM) สำหรับการประมูลใบอนุญาต 3G ในย่านความถี่ 2.1GHz ที่จะเกิดขึ้นในเดือนต.ค.นี้ เนื่องจากในการประชุมคณะอนุกรรมการประมูล 3G เมื่อวันที่ 7 ส.ค. ยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจนเรื่องการแก้ไข IM และ ตารางการใช้ความถี่ โดยคณะอนุกรรมการ 3G เห็นควรให้ฝ่ายกฎหมาย และสำนักงานกสทช.กลับไป สรุปรายละเอียดเพื่อนำเข้าบอร์ดกทค.ในสัปดาห์หน้า

'หากการแก้ไขรายละเอียดร่างประกาศสำหรับการประมูล 3G และ IM ผ่านความเห็นชอบจากบอร์ดกทค.ในสัปดาห์หน้า ขั้นตอนต่อไปก็จะนำเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทช.ได้ในวันที่ 22 ส.ค.นี้ หลังจากนั้นจะมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ทันภายในสิ้นเดือนส.ค.นี้'

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.เปิดเผยความคืบหน้าการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการประมูล ใบอนุญาต 3G โดยมีเพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่ยื่นข้อเสนอคือบริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น กับ บริษัท เนร่า ซึ่งหลังจากพิจารณาข้อมูลด้านเทคนิคแล้ว ได้เลือกบริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น เป็นบริษัทที่ปรึกษาแต่เนื่องจากราคาที่บริษัท เพาเวอร์ ออกชั่น เสนอมา 15.2 ล้านบาทเป็นราคาที่สูงกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ที่ 15 ล้านบาท ทำให้ขณะนี้อยู่ระหว่างการต่อรองราคา โดยคาดว่าจะรู้ผลภายในวันที่ 15 ส.ค.นี้

'กสทช.จะไม่พิจารณาบริษัทในลำดับรองลงมาคือ บริษัท เนร่า เนื่องจากข้อมูลทางเทคนิคมีความห่างกันมาก ซึ่งหากการเจรจาต่อรองราคากับเพาเวอร์ ออกชั่นไม่สำเร็จก็ต้องให้เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ในการยกเลิก และดำเนินการสรรหาใหม่อีกครั้งหนึ่ง'

ส่วนกรณีกรุงเทพมหานคร (กทม.) เสนอให้กสทช.เข้ามาดูแลปัญหาสายเคเบิลหย่อน และเสาไฟฟ้าเอน ที่มีกระจายอยู่ทั่วทุกเขตกรุงเทพฯ นั้น จริงๆแล้ว กสทช. มีหน้าที่กำกับดูแลให้ผู้ประกอบการด้านกิจการโทรคมนาคมที่มีความประสงค์จะ วางสาย วางท่อ หรือตั้งเสา ต้องมายื่นขออนุญาตกสทช. ตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 จากนั้นเมื่อกสทช. เห็นชอบแล้วผู้ประกอบการจะต้องไปดำเนินการยื่นเรื่องขออนุญาตยังเจ้าของสถาน ที่ หรือเจ้าของเสาเอง อาทิ การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในการเข้าไปติดตั้งสายเคเบิลต่างๆ

'เรามีอำนาจเพียงให้อนุญาตเท่านั้น หลังจากนั้นเขาก็ไปยื่นขอเจ้าของสถานที่เอง ซึ่งในส่วนนี้จะอนุญาตหรือไม่จะต้องขึ้นกับดุลพินิจและข้อมูลทางเทคนิค จากการประเมินของเจ้าของสถานที่หรืออุปกรณ์นั้นๆเอง แต่ที่ผ่านมาเมื่อนำเอกสารที่ได้ไปเสนอต่อการไฟฟ้าฯ การไฟฟ้าฯก็จะอนุมัติทันที โดยไม่ได้เข้าไปตรวจสอบทางเทคนิคเลยว่าสายเคเบิลที่พาดในจุดนั้นจะหนักเกิน ไป หรือเสาไฟฟ้าจะสามารถรองรับน้ำหนักไหวหรือไม่จนเกิดปัญหาตามมา'

อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการอีกจำนวนไม่น้อยที่ข้ามขั้นตอนการขออนุญาตกสทช. โดยไปขออนุญาตจากการไฟฟ้าฯโดยตรง ซึ่งในขณะนี้กสทช.อยู่ในระหว่างการตรวจสอบเพื่อแจ้งบทลงโทษต่อไปด้วย ขณะที่ในการแก้ปัญหาระยะยาวนั้น กสทช.มีแนวคิดภายหลังการประชุมร่วมกับผู้ประกอบการโดยการนำสายเคเบิลทั้ง หมดย้ายไปไว้ใต้ดินซึ่งด้านผู้ประกอบการเองก็เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว

สำหรับขั้นตอนต่อไปกสทช.จะหาเวลาที่เหมาะสมเข้าไปร่วมหารือกับกทม.ถึง ประเด็นดังกล่าว โดยให้เป็นดุลพินิจของกทม.ในการตัดสินใจว่าจะแก้ไขปัญหาด้วยแนวคิดที่ กสทช.เสนอไปหรือไม่ เนื่องจากการนำสายเคเบิลจากบนดินไปวางไว้ใต้ดิน ต้องมีการเจาะถนนและมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000097164

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.