Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 ตุลาคม 2555 เสวนาร้อน! รุมจวก “บอร์ด กสทช.” ออกกฎปิดปากเสียงข้างน้อยไม่ได้ ชี้ขัด รธน.ชัดเจน

เสวนาร้อน! รุมจวก “บอร์ด กสทช.” ออกกฎปิดปากเสียงข้างน้อยไม่ได้ ชี้ขัด รธน.ชัดเจน


ประเด็นหลัก


ชี้อ้างรับผิดชอบร่วมปิดปากข้างน้อยไม่ได้

รศ.สมชาย กล่าวว่า กสทช.กับความรับผิดร่วมกันควรจะมีหน้าตาอย่างไร จะต้องดูคุณลักษณะ 3 อย่าง คือที่มา การดำรงอยู่ และเป้าหมาย ซึ่ง กสทช.แตกต่างจากรัฐบาลหรือ ครม.แน่นอน โดยเฉพาะเรื่องเป้าหมายที่เราเชื่อกันว่าองค์กรอย่าง กสทช.มีขึ้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะได้ดีกว่าที่ระบบราชการทำ นี่คือหัวใจสำคัญ แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นในเวลานี้ก็คือ หากความรับผิดร่วมกันขัดกับประโยชน์สาธารณะจะทำอย่างไร ส่วนตัวเห็นว่าถ้าดูเป้าหมายการก่อตั้ง กสทช. กสทช.ไม่ได้ตั้งขึ้นเพื่อให้อยู่ได้อย่างมั่น แต่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะ ดังนั้นที่อ้างเรื่องความรับผิดร่วมกันเพื่อไม่ให้ไปปากโป้งข้างนอก จึงเป็นสิ่งที่ผิดพลาดอย่างสำคัญ

“ในความเห็นผม สิ่งที่กสทช.ทำด้วยการโต้แย้งในที่ประชุม และการออกมาในทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊ก อันนั้นจิ๊บจ๊อย จริงๆ กสทช.ควรจะทำอะไรมากกว่านั้น เพราะเราคาดหวังว่า กสทช.ต้องปกป้องสาธารณะ ซึ่งการโพสต์ในเฟซบุ๊กมันต่ำสุดแล้ว จริงๆ ควรจะทำมากกว่านั้น”

รศ.สมชาย กล่าวว่า เพราะองค์กรใดๆ ไม่มีใครเป็นเทวดา ทุกคนมีผลประโยชน์หนุนหลังอยู่ สิ่งที่ทำให้เกิดความโปร่งใส คือข้อมูลที่สังคมได้รับ สิ่งมากเท่าไรยิ่งทำให้มติที่บิดเบี้ยวเป็นไปได้น้อยลง ที่ห้ามเปิดเผยข้อมูลภายนอก ผมสงสัยว่านี่กำลังจะสร้างแดนสนธยากันหรือ เวลานี้เรามีองค์กรอิสระเยอะมาก แต่สังคมกลับวิพากษ์ได้น้อย เพราะ 1.สิ่งที่องค์กรอิสระทำเป็นเรื่องเทคนิคสูง และ 2.คนที่มาเป็นกรรมการองค์กรอิสระ มักถูกมองเป็นเทวดาน้อยๆ คือเป็นผุ้ทรงคุณธรรมความรู้ ทำให้กระทั่ง กสทช.ใช้เงินอีลุ่ยฉุกแฉกผลาญเงินประชาชนมาก ก็ยังไม่ถูกวิพากษ์เท่าที่ประธานรัฐสภาพาสื่อไปเที่ยวเมืองนอก โดยใช้เงิน 7-8 ล้านบาท

แนะ กสทช.เปิดเผยข้อมูลให้มากที่สุด

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในหัวข้อ “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและความรับผิดชอบต่อการใช้ social media” ว่า ผมเห็นว่า กสทช.ควรจะทำทุกอย่างเพื่อเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับสาธารณชน โดยใข้เครื่องมือแม้กระทั่งสื่อใหม่อย่าง social media เพราะเท่าที่ได้ยินแรกๆ ว่าห้ามไม่ให้ใช้ social media ยังสงสัยว่าตกลง กสทช.อยู่ยุคไหนกันแน่ จริงๆ กรรมการ กสทช.ควรจะใช้สื่อทุกช่องทางเพื่อบอกว่า ในเรื่องนั้นๆ แต่ละคนจุดยืนอย่างไร เนื่องจากผลประโยชน์ใน กสทช.นั้นมหาศาล

“แต่จะต้องใช้อย่างเข้าใจธรรมชาติของสื่อใหม่ด้วย เพราะยังเห็นกรรมการ กสทช.บางคนใช้ทวิตเตอร์แบบสื่อเก่า เหมือนร่างแถลงการณ์แล้วนำมาตัดแปะลงในทวิตเตอร์” ดร.มานะ กล่าว


นางรุ่งมณี กล่าวว่า การที่อ้างความรับผิดร่วมกัน มันเหมือนเป็นระเบียบเพื่อ ”ปิดปากเสียงข้างน้อย” ทั้งที่จริงๆ กรรมการ กสทช.ทุกคนมีอภินิหารทั้งนั้น ซึ่งมันจะแสวงออกทั้งในที่ประชุม รวมถึงการใช้สื่อ ซึ่งอภินิหารเหล่านี้ เป็นหน้าที่ของสื่อจะต้องไปตามต่อ ไม่ใช่แค่รอ น.ส.เอ็กซ์ หรือนายวาย ทวิตอะไร

“แล้วองค์กรอิสระต้องไม่มีความลับ เพราะท้ายที่สุดองค์กรอิสระ จะต้องโปร่งใส รายการการประชุมต้องแถลงให้สาธารณชนได้รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น การปากโป้งไม่ใช่ประเด็น การปิดปากต่างหากสิเป็นประเด็น การปากโป้งเป็นความกล้าหาญ มันเป็นเรื่องใหญ่ สื่อและภาคประชาชนต้องดูแล ถ้าเราคิดว่าใครทำงานเพื่อส่วนรวม เราก็ต้องดูแลเขาด้วย และการดูแลที่ดีที่สุด ก็คือการเปิดโปง การขุดคุ้ย นั่นคือการป้องกันตัวเอง ป้องกันคนที่ทำประโยชน์ให้กับสาธารณะ ไม่เช่นนั้นเราจะอยู่กับความเคยชิน แล้วท้ายสุดอาจคิดว่าการฉ้อฉลต่างๆ เป็นเรื่องปกติ” นางรุ่งมณีกล่าว











________________________________________

เสวนาร้อน! รุมจวก “บอร์ด กสทช.” ออกกฎปิดปากเสียงข้างน้อยไม่ได้ ชี้ขัด รธน.ชัดเจน


เมื่อเวลา 13.45 น. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยร่วมกับมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ จัดเวทีเสวนา “เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและจรรยาบรรณา กสทช.” โดยมีกรรมการ กสทช.จำนวน 2 คน ได้แก่ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ และ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.มาร่วมรับฟังและแสดงความเห็น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการเสวนานี้เกิดขึ้นหลังจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กรณีที่บอร์ด กสทช.เตรียมออกร่างจรรยาบรรณกรรมการ กสทช.ที่มีสาระสำคัญคือไม่ให้กรรมการ กสทช.ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อย ไปแสดงความเห็นต่อมติ กสทช.เรื่องต่างๆ ในที่สาธารณะ โดยว่ากันว่า มีเป้าหมายคือต้องการปิดปาก น.ส.สุภิญญาที่มักแสดงความคิดเห็นต่างเรื่องต่างๆ ผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว @supinya อยู่บ่อยครั้ง

ชี้อ้างรับผิดชอบร่วมปิดปากข้างน้อยไม่ได้

รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวในหัวข้อ “เสียงข้างน้อยกับหลักความรับผิดชอบร่วมกัน” ว่า เรื่องที่ผมอยากพูดมี 3 ประเด็น 1.สิ่งที่เรียกว่าความรับผิดร่วมกันในเชิงองค์กร 2.กสทช.กับความรับผิดร่วมกันควรมีหน้าตาอย่างไร และ 3.ข้อควรระวังของสิ่งที่เรียกว่าความรับผิดร่วมกัน ทั้งนี้ เวลาเราพูดถึงความรับผิดร่วมกัน มีที่มาจาก ครม.ในระบบรัฐสภาของอังกฤษ ที่เวลามีมติ ครม.ใดๆ ออกมาแล้วจะต้องรับผิดร่วมกัน ถ้าอยากจะปากโป้งก็ต้องออกจาก ครม.เพราะสมัยนั้นรัฐบาลอังกฤษมักเป็นรัฐบาบลผสม จึงมีต้องมีหลักความรับผิดร่วมกัน เพื่อให้รัฐบาลอยู่ร่วมกันได้นานๆ

รศ.สมชาย กล่าวว่า กสทช.กับความรับผิดร่วมกันควรจะมีหน้าตาอย่างไร จะต้องดูคุณลักษณะ 3 อย่าง คือที่มา การดำรงอยู่ และเป้าหมาย ซึ่ง กสทช.แตกต่างจากรัฐบาลหรือ ครม.แน่นอน โดยเฉพาะเรื่องเป้าหมายที่เราเชื่อกันว่าองค์กรอย่าง กสทช.มีขึ้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะได้ดีกว่าที่ระบบราชการทำ นี่คือหัวใจสำคัญ แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นในเวลานี้ก็คือ หากความรับผิดร่วมกันขัดกับประโยชน์สาธารณะจะทำอย่างไร ส่วนตัวเห็นว่าถ้าดูเป้าหมายการก่อตั้ง กสทช. กสทช.ไม่ได้ตั้งขึ้นเพื่อให้อยู่ได้อย่างมั่น แต่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะ ดังนั้นที่อ้างเรื่องความรับผิดร่วมกันเพื่อไม่ให้ไปปากโป้งข้างนอก จึงเป็นสิ่งที่ผิดพลาดอย่างสำคัญ

“ในความเห็นผม สิ่งที่กสทช.ทำด้วยการโต้แย้งในที่ประชุม และการออกมาในทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊ก อันนั้นจิ๊บจ๊อย จริงๆ กสทช.ควรจะทำอะไรมากกว่านั้น เพราะเราคาดหวังว่า กสทช.ต้องปกป้องสาธารณะ ซึ่งการโพสต์ในเฟซบุ๊กมันต่ำสุดแล้ว จริงๆ ควรจะทำมากกว่านั้น”

รศ.สมชาย กล่าวว่า เพราะองค์กรใดๆ ไม่มีใครเป็นเทวดา ทุกคนมีผลประโยชน์หนุนหลังอยู่ สิ่งที่ทำให้เกิดความโปร่งใส คือข้อมูลที่สังคมได้รับ สิ่งมากเท่าไรยิ่งทำให้มติที่บิดเบี้ยวเป็นไปได้น้อยลง ที่ห้ามเปิดเผยข้อมูลภายนอก ผมสงสัยว่านี่กำลังจะสร้างแดนสนธยากันหรือ เวลานี้เรามีองค์กรอิสระเยอะมาก แต่สังคมกลับวิพากษ์ได้น้อย เพราะ 1.สิ่งที่องค์กรอิสระทำเป็นเรื่องเทคนิคสูง และ 2.คนที่มาเป็นกรรมการองค์กรอิสระ มักถูกมองเป็นเทวดาน้อยๆ คือเป็นผุ้ทรงคุณธรรมความรู้ ทำให้กระทั่ง กสทช.ใช้เงินอีลุ่ยฉุกแฉกผลาญเงินประชาชนมาก ก็ยังไม่ถูกวิพากษ์เท่าที่ประธานรัฐสภาพาสื่อไปเที่ยวเมืองนอก โดยใช้เงิน 7-8 ล้านบาท

แนะ กสทช.เปิดเผยข้อมูลให้มากที่สุด

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในหัวข้อ “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและความรับผิดชอบต่อการใช้ social media” ว่า ผมเห็นว่า กสทช.ควรจะทำทุกอย่างเพื่อเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับสาธารณชน โดยใข้เครื่องมือแม้กระทั่งสื่อใหม่อย่าง social media เพราะเท่าที่ได้ยินแรกๆ ว่าห้ามไม่ให้ใช้ social media ยังสงสัยว่าตกลง กสทช.อยู่ยุคไหนกันแน่ จริงๆ กรรมการ กสทช.ควรจะใช้สื่อทุกช่องทางเพื่อบอกว่า ในเรื่องนั้นๆ แต่ละคนจุดยืนอย่างไร เนื่องจากผลประโยชน์ใน กสทช.นั้นมหาศาล

“แต่จะต้องใช้อย่างเข้าใจธรรมชาติของสื่อใหม่ด้วย เพราะยังเห็นกรรมการ กสทช.บางคนใช้ทวิตเตอร์แบบสื่อเก่า เหมือนร่างแถลงการณ์แล้วนำมาตัดแปะลงในทวิตเตอร์” ดร.มานะ กล่าว

ดร.มานะ กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการใช้ social media คือข้อเท็จจริง หรือ fact ไม่ว่าจะเป็นนักข่าวมืออาชีพหรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ และการแสดงความเห็นจะต้องอยู่บนหลักการและเหตุผล ไม่ใช่อยากจะด่าใครหรือปล่อยข่าวลืออะไรก็ทำ หลายๆ องค์กรจึงมีการวางกรอบกติกาในการใช้ social media อย่างของสมาคมนักข่าวฯก็มี แม้จะยังเป็นเพียงกรอบกว้างๆ ขณะที่บางองค์กรธุรกิจอาจจะลงรายละเอียดมากกว่า เช่นห้ามเปิดเผยความลับของบริษัท กลับมาที่ กสทช.ถามว่าบางเรื่องเป็นความลับจริงหรือไม่ เพราะมันก็ดูตลกๆ ในขณะที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรู้หมดเลยว่าในที่ประชุม กสทช.คุยอะไรกันบ้าง แต่กลับจะไม่ยอมให้ประชาชนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น

“เมื่อเกิดความลักลั่นในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ทำไมไม่ใช้สื่อใหม่เผยแพร่ข้อมูลให้ปราชนรู้ข้อเท็จจริงล่ะ แน่นอนเรื่องของความรับผิดชอบต้องมีอยู่ แต่อย่าใช้มาจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็น ต้องแยกให้ถูกต้อง” ดร.มานะกล่าว

ยกปากโป้งเพื่อรักษา ปย.ชาติเป็นความกล้าหาญ

นางรุ่งมณี เมฆโสภณ สื่อมวลชนอิสระ กล่าวในหัวข้อ “จรรยาบรรณของกรรมการและองค์กรกำกับดูแลสื่อจากมุมมองของสื่อมวลชน” ว่า ประเด็นที่น่าสนใจคือ สื่อมององค์กรอิสระเป็นเทพ ไม่ค่อยไปแตะ หรือแตะก็เบา ไม่ค่อยทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน ทั้งนี้ เจตนาหลักของ กสทช.คือรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทั้งกรณีของคลื่น จึงเป็นเรื่องของทุกคน ถามว่าสื่อได้ทำหน้าที่ตรงนั้นครบถ้วนหรือไม่ สื่อต้องไม่เคยชิน ต้องรู้สึกว่ามีอะไรผิดปกติ ไม่ใช่เฉพาะ กสทช.แต่องค์กรอิสระอื่นๆ ที่อาสามาทำงานเพื่อผลประโยชน์ส่วนร่วม สำนึกพวกนี้เป็นเรื่องสำคัญ สื่อต้องติดตามในระยะยาว ไม่ใช่แค่ระยะสั้นๆ ที่สำคัญสื่อไม่ควรจะทำข่าวโดยอาศัยมือหรือสมองของคนอื่น แต่เราควรจะริเริ่มทำงานด้วยตัวเอง

นางรุ่งมณี กล่าวว่า การที่อ้างความรับผิดร่วมกัน มันเหมือนเป็นระเบียบเพื่อ ”ปิดปากเสียงข้างน้อย” ทั้งที่จริงๆ กรรมการ กสทช.ทุกคนมีอภินิหารทั้งนั้น ซึ่งมันจะแสวงออกทั้งในที่ประชุม รวมถึงการใช้สื่อ ซึ่งอภินิหารเหล่านี้ เป็นหน้าที่ของสื่อจะต้องไปตามต่อ ไม่ใช่แค่รอ น.ส.เอ็กซ์ หรือนายวาย ทวิตอะไร

“แล้วองค์กรอิสระต้องไม่มีความลับ เพราะท้ายที่สุดองค์กรอิสระ จะต้องโปร่งใส รายการการประชุมต้องแถลงให้สาธารณชนได้รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น การปากโป้งไม่ใช่ประเด็น การปิดปากต่างหากสิเป็นประเด็น การปากโป้งเป็นความกล้าหาญ มันเป็นเรื่องใหญ่ สื่อและภาคประชาชนต้องดูแล ถ้าเราคิดว่าใครทำงานเพื่อส่วนรวม เราก็ต้องดูแลเขาด้วย และการดูแลที่ดีที่สุด ก็คือการเปิดโปง การขุดคุ้ย นั่นคือการป้องกันตัวเอง ป้องกันคนที่ทำประโยชน์ให้กับสาธารณะ ไม่เช่นนั้นเราจะอยู่กับความเคยชิน แล้วท้ายสุดอาจคิดว่าการฉ้อฉลต่างๆ เป็นเรื่องปกติ” นางรุ่งมณีกล่าว

นางรุ่งมณี ยังกล่าวว่า ในตระเทศอย่างกรณี fcc หรือ กสทช.ของสหรัฐอเมริกา มีการพูดกันอยู่ตลอด คือการเปลี่ยนสถานะจากคนออกนโยบาย เผลอแป๊บเดียวไปเป็นล็อบบี้ยิสต์ของบริษัทโทรคมนาคมขนาดใหญ่ วันนี้กรรมการ กสทช.ไทยยังไม่มีใครลาออกไปอยู่บริษัทโทรคมนาคมขนาดใหญ่ แต่วันข้างหน้าไม่แน่

เผยวิจัยทั่วโลกก็มี ปห.เรื่องการตรวจสอบได้

นายกานต์ ยืนยง ผู้อำนวยการ Siam Intelligence Unit กล่าวในหัวข้อ “จรรยาบรรณองค์กรกำกับดูแลด้านการสื่อสารในประเทศ” ว่า วิชารัฐศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์ มีหลักการสำคัญอย่างหนึ่ง คือหลักของการเป็นตัวแทน หรือ principle agent คือประชาชนเป็นนายของรัฐ แต่ความขัดแย้งคือทั้งรัฐและประชาชนต่างก็มีผลประโยชน์ของตัวเอง ฉะนั้นเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ารัฐจะทำตามเจตนารมย์ของประชาชนจริงๆ เพราะเป้นไปได้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐอาจจะทำอะไรเพื่อรักษาผลประโชน์ของตัวเอง มากกว่าประชาชน โดยที่ประชาชนตรวจสอบไม่ได้ เพราะมีความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลข่าวสาร ทางแก้มี 3 ข้อ 1.เปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบมากที่สุด 2.มีการตรวจสอบรัฐอยู่สม่ำเสมอ และ 3.มีการควบคุมองค์กรรัฐนั้นๆ

“เรื่องของจริยธรรมที่มีปัญหาเวลานี้ มี 3 คำต้องพูด 1.จริยธรรม 2.แนวทางจริยธรรม 3.จรรยาบรรณ คือจริยธรรมขึ้นอยู่กับกรอบของสังคมของวัฒนธรรม ว่าสิ่งที่ควรปฏิบัติหรือไม่ควรปฎิบัติเป็นอย่างไร แต่องค์กรนั้นๆ อาจจะร่างแนวทางจริยธรรมกว้างๆ ว่าสิ่งที่ควรหรือไทม่ควรปฏิบัติคืออะไร ส่วนจรรยาบรรณจะมีลักษณะจำเพาะมากขึ้น ว่าต้องทำหรือต้องไม่ทำอะไร” นายกานต์กล่าว

นายกานต์ กล่าวว่า การกำหนดเรื่อง “จรรยาบรรณ” ขึ้นอยู่กับค่านิยมหลักหรือ core value ขององค์กรนั้นๆ ซึ่งเท่าที่ศึกษาจากต่างประเทศ เคยมีงานวิจัยที่พูดถึงเรื่องนี้ไว้อยู่แล้ว โดยเปรียบเทียบกับองค์กรในทวีปยุโรป 23 ประเทศ ซึ่งกำหนด core value ไว้ 5-6 ประการ อาทิ การปฎิบัติตามกฎหมาย การไม่เลือกปฏิบัติ ความโปร่งใส การตรวจสอบได้ความเป็นมืออาชีพ ฯลฯ ซึ่งจากการสำรวจพบว่ายังถูกปฏิบัติได้ไม่เต็มที่ สิ่งที่ขาดมากที่สุดคือการตรวจสอบได้

หวั่นผล ปย.ทับซ้อนทำสื่อตรวจสอบไม่ได้

จากนั้นเป็นช่วงถามตอบ เมื่อถามว่ากฎหมายปัจจุบันให้การคุ้มครองคนปากโป้งที่นำข้อมูลลับออกมาเปิด เผยแล้วสังคมได้รับประโยชน์แค่ไหน รศ.สมชาย กล่าวว่า เสรีภาพในการแสดงความเห็นเป็นสิ่งที่รัฐธรรมนูญกฎหมายไว้ ตนอยากจะท้าให้ กสทช.ออกระเบียบห้ามพูดมา แล้วจะเป็นคนไปโยนทิ้ง เพราะรัฐธรรมนูญใหญ่ที่สุด กสทข.จะออกระเบียบที่ขัดกับรัฐธรรมนูญได้อย่างไร การแสดงความเห็นของกรรมการ กสทช.เป็นสิ่งที่ทำได้ และหลักการในระบอบประชาธิปไตยต้องคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะจากเสียงข้างน้อย

เมื่อถามว่าจุดพอดีในการนำข้อมูลลับมาเปิดเผยต่อสาธารณะควรจะอยู่ตรงไหน ดร.มานะ กล่าวว่า อยู่ที่หลักการในแต่ละเรื่อง แต่ละประเด็น คงจะไม่มีใครทวิตทุกอย่างในที่ประชุม แต่องค์กรอิสระอย่าง กสทช.ควรจะทำตัวให้เป็นสังคมเปิด หรือ open society เพื่อให้สื่อหรือประชาชนได้หยิบข้อมูลที่เปิดเผยนำไปตรวจสอบ กสทช.อีกที

“โซเชียลมีเดียแค่เครื่องมือหนึ่ง แต่ยังมีตัวอื่นๆอีกมาก ปัญหาคือในอนาคต กสทช.จะเปิดกว้างแค่ไหน และองค์กรตรวจสอบอื่นๆ จะเปิดกว้างแค่ไหน เพราะเวลานี้ กสทช.แค่เพิ่งเริ่มทำงาน สื่อยังตามไม่ค่อยทัน ถ้าต่อไปมีบารมีมากขึ้น แล้วสื่อจะยังเสียงดังอยู่ไหม โดยเฉพาะสื่อที่มีผลประโยชน์เกี่ยวกับคลื่น ที่เกี่ยวพันกับวิทยุและโทรทัศน์ พลังการตรวจสอบจะเท่าเดิมหรือไม่” ดร.มานะกล่าว

เมื่อถามว่าระหว่างห่างระหว่างสื่อกับ กสทช.ที่พัวพันกับผลประโยชน์จำนวนมากควรจะอยู่ที่ไหน นางรุ่งมณี กล่าวว่า โดยหลักคือเราต้องตระหนักว่ามาอยู่ในวิชาชีพนี้ไม่ใช่เพื่อใช้เป็นสปริง บอร์ดไปสู่ที่อื่น สื่อเวลาจะไปพบใครต้องชัดเจนและเป็นมืออาชีพ มีระยะชิดหรือระยะห่างที่เหมาะสม ถามว่าที่เหมาะสมมันอยู่ตรงไหน มันเป็นสิ่งที่เราจะรู้ได้เอง เช่น ไม่ควรไปพบแหล่งข่าวในที่ปิดลับ หรือไม่ควรไปรับของกำนัลใดๆ จากแหล่งข่าว

"เรื่องการทวิตพอถึงจุดหนึ่งต้องเป็นผู้ใหญ่ นักข่าวเวลาทวิตควรจะมีนามสกุลใช้ชัดเจน และควรจะแยกเป็น 2 บัญชี อันหนึ่งเรื่องงาน อีกอันเรื่องส่วนตัว กรรมการ กสทช.ก็ควรจะแยกเป็น 2 บัญชีให้เกิดความชัดเจน” นางรุ่งมณีกล่าว


สำนักข่าวอิสรา
http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B
2%E0%B8%A7/57-2012-08-12-13-59-01/16894-
%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8
%B2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99-
%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%
A7%E0%B8%81-
%E2%80%9C%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9
%8C%E0%B8%94-
%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A-
%E2%80%9D-%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8
%8E%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%
B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E
0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2
%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%
A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-
%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%B
1%E0%B8%94-%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%99-
%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%
88%E0%B8%99.html



ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.