Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 กันยายน 2554 เบื้องลึก จ้องล้มสรรหา11 กสทช.

เบื้องลึก จ้องล้มสรรหา11 กสทช.


ประเด็นหลัก


ขณะที่นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ว่าที่ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค (ภาคกระจายเสียงและโทรทัศน์) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจชะลอรายชื่อเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถ้าชะลอกระบวนการเสนอรายชื่อเท่ากับว่าต้องการล้มกระบวนการสรรหา กสทช.

"หน้าที่ ของนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถ้าเพิกเฉยเท่ากับว่าล้วงลูกฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะฉะนั้นควรนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯส่วนกระบวนการก็ทำหน้าที่ตรวจสอบต่อไป ถ้าตรวจสอบในภายหลังแล้วว่าผิดจริงค่อยพิจารณาในภายหลัง"



ทาง ด้านพ.อ.นที ศุกลรัตน์ ว่าที่ กสทช.ด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า กรณีที่ ดีเอสไอ นำเรื่องกระบวนการสรรหาเป็นคดีพิเศษนั้น "ผมไม่ต้องการพูดในเรื่องนี้ พูดไปแล้วเสียหาย เพราะผมมีส่วนได้ส่วนเสียเดี๋ยวจะหาว่าก้าวก่าย"

พ.อ.นที ยังกล่าวอีกว่า เป้าหมายหลังได้รับการโปรดเกล้ฯอย่างเป็นทางการมีหลายอย่างที่ต้องการทำ เช่น การออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี และ การจัดระเบียบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป็นต้น แต่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบอร์ดใหญ่ คือ กสทช.ทั้ง11 คน




__________________________________________________________

เบื้องลึก จ้องล้มสรรหา11 กสทช.

แม้ กระบวนการสรรหา กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จำนวน 11 คนได้ผ่านการลงคะแนนลับจากสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)ไปแล้วเมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา แต่เส้นทางกลับไม่ราบรื่นอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวัง ไม่เฉพาะแต่คำถาม กรณีที่มีนายทหารได้รับคัดเลือกเข้ามาถึง 5 คน

แต่ ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนไล่หลังตามมาคือการเปิดเกมกดดันของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ไปนั่งหัวโต๊ะเป็นประธานคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) แทน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แล้วพูดเสียงดังฟังชัดจนทำให้ว่าที่ กสทช.จำนวน 11 คน และ วุฒิสภา สะเทือนไปตาม ๆ กัน

เพราะ ร.ต.อ.เฉลิม เชื่อว่ากระบวนการสรรหาครั้งนี้ไม่ตรงไปตรงมา พร้อมกับมอบหมายให้เรื่องนี้เป็นคดีพิเศษ มิหนำซ้ำ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอออกมารับลูกจะรีบตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็วเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำ ไปประกอบการพิจารณา

คำถามและข้อสงสัยจึงตามมาอีกว่าในเมื่อ กระบวนการสรรหาผ่านขั้นตอนจากวุฒิสภาตามกฎหมายแล้ว และ ทำไม รองนายกฯร.ต.อ.เฉลิม ต้องนำเรื่องนี้มาพิจารณาเป็นคดีพิเศษ และ เรื่องนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ดีเอสไอ โดยตรงหรือไม่

ในขณะที่ ว่าที่ กสทช.ทั้ง 11 คน ก็พร้อมเดินหน้าและเตรียมประชุมลับเพื่อคัดเลือกประธาน และ รองประธาน ในวันจันทร์ที่ 12 กันยายนนี้ ก่อนที่ประธานวุฒิสภาจะส่งต่อให้กับนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ
*** "หมอรี่" ไม่หวั่น

นาย ประวิทย์ ลี่สถาพร ว่าที่ กสทช. สาขาด้านคุ้มครองผู้บริโภค กิจการโทรคมนาคม เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กรณีที่ ดีเอสไอ จะตรวจสอบขั้นตอนการสรรหานั้นไม่มีปัญหาเพราะเป็นอำนาจตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามหลังจากวุฒิสภาเสนอรายชื่อแล้วภายใน 15 วันต้องมีการเลือกประธานและรองประธานตามกฎหมาย พ.ร.บ.กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ.2553 หรือ พ.ร.บ.กสทช. หลังจากนั้นทางประธานวุฒิสภา ต้องส่งเรื่องให้กับนายกรัฐมนตรีเพื่อนำรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกขึ้น ทูลเกล้าฯ

"ผมว่าเรื่องนี้ก้าวก่ายไม่ได้หรอกเมื่อมีการคัดเลือก ประธานและรองประธาน ขั้นตอนต่อไปสำนักเลขาธิการวุฒิสภาต้องส่งเรื่องต่อไปยังประธานวุฒิสภาหาก เลขาฯวุฒิสภา หยุดการพิจารณาก็จะถูกกล่าวหาว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่ และ ก็ไม่กังวลเพราะกระบวนการสรรหาเป็นไปตามขั้นตอนทั้งหมดแล้ว หากจะสะดุดอะไรก็ต้องรอจนกว่าศาลจะพิจารณา"

นอกจากนี้ นายประวิทย์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สิ่งแรกที่ต้องการเข้ามาดำเนินการ คือ การปรับโครงสร้างภายใน คือ ตำแหน่ง เลขาธิการ กสทช. กฎหมายระบุไว้ชัดเจนเมื่อมีการแต่งตั้ง กสทช.อย่างเป็นทางการต้องเลือก เลขาธิการ ภายใน 90 วัน โดยคณะกรรมการ กสทช.จะทำหน้าที่เลือกบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งดังกล่าว และตำแหน่งนี้ก็ควรจะมีคุณสมบัติเป็นนักบริหารไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญเรื่อง กิจการวิทยุโทรคมนาคม และ กิจการโทรทัศน์

"รูปแบบคณะกรรมการบอร์ด ได้เปลี่ยนไปแล้วจากเดิม กทช.(สำนักงานกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ: ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช.) ประกอบด้วยคณะกรรมการบอร์ดเพียง 7 คนเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้เพิ่มขึ้นเป็น 11 คนดังนั้น เลขาธิการ จะต้องมีคุณสมบัติเป็นนักบริหาร"

***นายกฯไม่มีอำนาจชะลอรายชื่อ
ขณะ ที่นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ว่าที่ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค (ภาคกระจายเสียงและโทรทัศน์) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจชะลอรายชื่อเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถ้าชะลอกระบวนการเสนอรายชื่อเท่ากับว่าต้องการล้มกระบวนการสรรหา กสทช.

"หน้าที่ ของนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถ้าเพิกเฉยเท่ากับว่าล้วงลูกฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะฉะนั้นควรนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯส่วนกระบวนการก็ทำหน้าที่ตรวจสอบต่อไป ถ้าตรวจสอบในภายหลังแล้วว่าผิดจริงค่อยพิจารณาในภายหลัง"

*** "นที"ปิดปาก
ทาง ด้านพ.อ.นที ศุกลรัตน์ ว่าที่ กสทช.ด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า กรณีที่ ดีเอสไอ นำเรื่องกระบวนการสรรหาเป็นคดีพิเศษนั้น "ผมไม่ต้องการพูดในเรื่องนี้ พูดไปแล้วเสียหาย เพราะผมมีส่วนได้ส่วนเสียเดี๋ยวจะหาว่าก้าวก่าย"

พ.อ.นที ยังกล่าวอีกว่า เป้าหมายหลังได้รับการโปรดเกล้ฯอย่างเป็นทางการมีหลายอย่างที่ต้องการทำ เช่น การออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี และ การจัดระเบียบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป็นต้น แต่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบอร์ดใหญ่ คือ กสทช.ทั้ง11 คน

***เลือกประธาน/รอง กสทช.
ส่วน นายสุทธิพล ทวีชัยการ ว่าที่ กสทช.ด้านนิติศาสตร์ กล่าวสั้นๆว่า ในเบื้องต้นผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นว่าที่ กสทช.ได้มีการเจรจากันบ้างแล้วเพื่อที่จะเลือกประธาน และ รองประธาน กสทช. ตามกฎหมายกำหนดภายในระยะเวลา 15 วันในวันจันทร์ที่ 12 กันยายนนี้

ต้อง จับและติดตามอย่างใกล้ชิดว่า เส้นทาง11 กสทช. จากนี้ไปจะถูกเกมกดดันของรัฐบาลปู 1 กรณีกระบวนการสรรหา จะจบลงอย่างไร ขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สมาชิกวุฒิสภา ต่างมั่นใจว่าขั้นตอนกระบวนการสรรหากสทช.เดินตามกฎหมายทุกประการแล้ว ขณะที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลกลับมองว่าไม่โปร่งใส

อีกไม่นานก็คงรู้ เพราะ เรื่องนี้ถูกเปิดเกมล้มมาอย่างต่อเนื่องและเป็นขบวนการโดยมีผลประโยชน์นับแสนล้านเป็นเดิมพัน!

ฐานเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.