Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กุมภาพันธ์ 2555 CAT ส่อ โมฆียะ(สัญญาFTTXไม่สมบูรณ์) ( เซ็นยุคจิรายุทธ)ตั้งกรรมกราสอบ // สตง. มองว่าไม่ประมูลตกลงราคาเฉพาะรายเท่านั้น

CAT ส่อ โมฆียะ(สัญญาFTTXไม่สมบูรณ์) ( เซ็นยุคจิรายุทธ)ตั้งกรรมกราสอบ // สตง. มองว่าไม่ประมูลตกลงราคาเฉพาะรายเท่านั้น


ประเด็นหลัก

แหล่งข่าว กสท กล่าวต่อว่า พบความไม่ถูกต้องอย่างน้อย 5 เรื่อง ได้แก่ 1. ไม่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการโครงการ 2.ไม่มีการเขียนข้อกำหนด หรือทีโออาร์ในตอนต้น แต่หลังจากเริ่มมีกระแสความไม่พอใจ กลับมีการทีโออาร์ภายหลัง 3. ไม่ได้กำหนดความต้องการที่เฉพาะเจาะจง ระบุเพียงว่าใช้เทคโนโลยีเคเบิลใยแก้ว (เอฟทีทีเอ็กซ์) เท่านั้น ประเด็นความผิดปกติต่อมา คือ ไม่มีตัวแทนจากผู้บริหารฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรับรู้ หรือร่วมเป็นตัวแทนพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายการเงิน หรือ ฝ่ายวิศวกร และ 5. บางสัญญาเข้าข่ายต้องผ่าน พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วม หรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ แต่กลับไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด


สำหรับ สัญญาดังกล่าว ทางสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้รับเอกสารข้อมูลว่า โครงการดังกล่าวจัดทำสัญญาที่ไม่มีการเปิดประมูลแต่ประการใด เป็นเพียงการตกลงราคาเฉพาะรายเท่านั้น และมีการดำเนินการที่ขัดต่อระเบียบแบบแผนที่ กสท กำหนด สะท้อนถึงการกระทำที่ไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้านบริหารจัดการ และทำให้รัฐต้องเสียหายจากการลงทุน


ด้านนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่าได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งสามารถอนุมัติการลงทุนได้ 20 ล้านบาทต่อสัญญาต่อเดือน หรือ 240ล้านบาทต่อสัญญาในหนึ่งปี และ สัญญาต่างๆนั้นมีการตรวจสอบจากฝ่ายกฎหมายทั้งหมด และได้ผ่านการพิจารณาของบอร์ดแล้วทั้งๆที่ในทางปฏิบัติอยู่ในอำนาจของฝ่าย บริหารได้เลย

________________________________________________________



คาดสัญญาเช่า FTTX กสทส่อ 'โมฆียะ'



งามไส้ สัญญาเช่า FTTX และอุปกรณ์กว่า 10 สัญญามูลค่ากว่า 4 พันล้านบาท ส่อโมฆียะ หลังกรรมการตรวจสอบพบ 5 ประเด็นต้องสงสัย เช่น ไม่มีการตั้งกรรมการขึ้นมาดำเนินการ ไม่มีทีโออาร์ตอนแรก ไม่ระบุความต้องการที่ชัดเจนแค่บอกใช้เทคโนโลยี FTTX และไม่มีการประมูลคัดเลือก

แหล่งข่าวจากบอร์ดบริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าบอร์ดได้ตั้งกรรมการสอบสวนกรณีนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท เซ็นสัญญาเช่าโครงข่ายพร้อมอุปกรณ์เพื่อให้บริการ FTTX กว่า 10 สัญญา รวมมูลค่ากว่า 4 พันล้านบาท ซึ่งผลการสอบสวนเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่าสัญญาที่เซ็นไปให้ถือเป็นโมฆียะ เนื่องจากพบความไม่ถูกต้องอย่างน้อย 5 เรื่อง คือ 1.ไม่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการโครงการ

2.ไม่มีการเขียนข้อกำหนดหรือทีโออาร์แต่อย่างใด แต่เมื่อเรื่องกำลังจะแดงขึ้นก็มีการเขียนทีโออาร์ตามหลัง 3. ไม่มีการกำหนดความต้องการที่เฉพาะเจาะจง เลือกแต่จะบอกว่าใช้เทคโนโลยีเคเบิลใยแก้วหรือ FTTX เท่านั้น 4.ไม่มีตัวแทนจากผู้บริหารฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องรับรู้หรือร่วมเป็นตัวแทน พิจารณา ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกม. ฝ่ายการเงิน หรือ ฝ่ายวิศวกร และ 5.บางสัญญาเข้าข่ายต้องผ่านพ.ร.บ.ร่วมการงานปี 2535 แต่กลับไม่ได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด และที่สำคัญไม่ได้มีการประกวดราคาคัดเลือกผู้เข้ามาดำเนินการ

'เรียกได้ว่าในส่วนของกสท มีคนรู้เห็นน้อยมาก แค่นายจิรายุทธ กจญ.ที่เป็นคนเซ็นสัญญา กับนายสมพล จันทร์ประเสริฐ รองกจญ.ที่เซ็นในฐานะพยานเท่านั้น ทำให้กรรมการตรวจสอบเห็นว่า สัญญาทั้งหมด ไม่มีการรับรู้ในกสทเลย เท่ากับต้องโมฆียะไปตามระเบียบ'

หลังจากนั้นกรรมการตรวจสอบจะนำผลเข้าที่ประชุมบอร์ดกสท เพื่อพิจารณาแต่ละสัญญาว่าอันไหนถูกต้อง สามารถให้สัตยาบรรณเพื่อให้สัญญามีผลผูกพัน หรือ สัญญาไหนต้องเป็นโมฆะ เลิกแล้วต่อกันและอาจต้องตั้งกรรมการสอบวินัยผู้บริหารที่เกี่ยวข้องต่อไป

โครงการเช่า FTTX พร้อมอุปกรณ์ ถูกแฉโดยสหภาพฯกสท ที่ร้องเรียนไปยังน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีทีถึงความไม่ชอบมาพากล เพราะเห็นว่าโครงการดังกล่าวซ้ำซ้อนกับโครงการ FTTX ของกสทเอง และไม่รู้ว่าเป็นผลดีหรือผลเสียกับกสทแต่อนย่างใด รวมทั้งขาดรายละเอียดของโครงการ มีเพียงแค่บอร์ดกสท ได้อนุมัติหลักการให้กสทเช่าโครงข่ายพร้อมอุปกรณ์เพื่อให้บริการ FTTX ในพื้นที่ 10 จังหวัด เมื่อวันที่ 24 ก.พ.2554 โดยให้นำร่องในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี เชียงใหม่ และนครราชสีมา

แต่ปรากฏว่าในความเป็นจริงกสท ได้มีการลงนามในสัญญาเช่าโครงข่ายพร้อมอุปกรณ์ FTTX จำนวน 9 สัญญาและข้อมูลเบื้องต้น 3 สัญญาในพื้นที่ให้บริการ 11 จังหวัด คิดเป็นมูลค่าการเช่ารวม 4,690.40 ล้านบาท อาทิ ในพื้นที่ชลบุรี กสทลงนามในสัญญากับคอนซอเตียมเอ็มเอสที เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2553 ระยะเวลา 36 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 18.44 ล้านบาท ,ระยองลงนามกับเอ.แอล.ที.อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น เมื่อวันที่ 5 ม.ค.2554 เวลา 36 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 14.44 ล้านบาท

นครราชสีมา ลงนามกับบริษัท ไซแมท เทคโนโลยี เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2554 เวลา 60 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 8.2 ล้านบาท เชียงใหม่กับบริษัท ไซแมท เทคโนโลยี เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2554 เวลา 60 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 6.9 ล้านบาท ขอนแก่นกับบริษัท อินเนอร์เทค คอร์ปอเรชั่น เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2554 เวลา 60 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 6.9 ล้านบาท

สำหรับที่ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา กสทลงนามกับบริษัท อินเนอร์เทค คอร์ปอเรชั่น เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2554 เวลา 60 เดือนค่าเช่าที่ภูเก็ตเดือนละ 6.9 ล้านบาท ส่วนสุราษฎ์ธานี และสงขลา ค่าเช่าเดือนละ 4.6 ล้านบาท

ที่น่าตั้งข้อสังเกตุคือการลงนามสัญญานั้นไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากบอร์ดกสท โดยอ้างว่าจากบอร์ดได้อนุมัติในหลักการแล้ว ฉะนั้นการดำเนินการจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร แต่การลงนามในสัญญาเป็นไปด้วยความเร่งรีบ เพราะระยะเวลาเพียง 1 เดือน ได้มีการลงนามในสัญญาถึง 6 ฉบับ อีกทั้งในสัญญา 6 ฉบับนั้น มีเอกชน 1 ราย ที่เป็นคู่สัญญากับกสท 4 สัญญา

นอกจากนี้สตง.ยังทำส่งหนังสือสอบถามไปถึงกสท เป็นครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. 2555 เรื่อง ขอให้ทบทวนตรวจสอบการดำเนินการเช่าใช้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงและ อุปกรณ์ประกอบ ตามโครงการ Fiber To The Home (FTTH) โดยระบุว่าได้รับเอกสารข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการทำสัญญาใช้ บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงและอุปกรณ์ มีการดำเนินการตามสัญญาแล้วกว่า 10 สัญญา ซึ่งมีวงเงินตามสัญญาทั้งหมดเป็นวงเงินมากกว่า 4,000 ล้านบาท เป็นการจัดทำสัญญาที่ไม่มีการเปิดประมูลแต่ประการใด ( ใช้การตกลงราคาเฉพาะรายเท่านั้น ) คาดว่าจะเป็นการกระทำที่ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการ และไม่ได้ผลตามเป้าหมายคุ้มค่า รวมทั้งมีการดำเนินการที่ขัดต่อ ระเบียบแบบแผนที่กสท กำหนด อันส่งผลทำให้รัฐต้องเสียหายจากการลงทุน ย่อมถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ด้านนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่าได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งสามารถอนุมัติการลงทุนได้ 20 ล้านบาทต่อสัญญาต่อเดือน หรือ 240ล้านบาทต่อสัญญาในหนึ่งปี และ สัญญาต่างๆนั้นมีการตรวจสอบจากฝ่ายกฎหมายทั้งหมด และได้ผ่านการพิจารณาของบอร์ดแล้วทั้งๆที่ในทางปฏิบัติอยู่ในอำนาจของฝ่าย บริหารได้เลย

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000020222

________________________________________________________


เล็งชงบอร์ด กสท ล้มโครงการ FTTx มูลค่า 4 พันล.บาท


กรรมการ สอบให้โครงการบริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟเบอร์ ชี้สัญญาเป็นโมฆียะ เล็งชงบอร์ดยกเลิกทั้งหมด มูลค่ารวม 4 พันล้านบาท ขณะที่แหล่งข่าวไอซีทีเผย รมว.ไอซีที เห็นเอกสารโครงการทั้งหมดแล้ว...

แหล่งข่าวจากคณะ กรรมการ (บอร์ด) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวว่า บอร์ดได้ตั้งกรรมการสอบสวนกรณี นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท เซ็นสัญญาเช่าโครงข่าย พร้อมอุปกรณ์เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟเบอร์ (เอฟทีทีเอ็กซ์) กว่า 10 สัญญา รวมมูลค่ากว่า 4 พันล้านบาท ซึ่งผลการสอบสวนเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า สัญญาที่เซ็นไปให้ถือเป็นโมฆียะ

แหล่ง ข่าว กสท กล่าวต่อว่า พบความไม่ถูกต้องอย่างน้อย 5 เรื่อง ได้แก่ 1. ไม่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการโครงการ 2.ไม่มีการเขียนข้อกำหนด หรือทีโออาร์ในตอนต้น แต่หลังจากเริ่มมีกระแสความไม่พอใจ กลับมีการทีโออาร์ภายหลัง 3. ไม่ได้กำหนดความต้องการที่เฉพาะเจาะจง ระบุเพียงว่าใช้เทคโนโลยีเคเบิลใยแก้ว (เอฟทีทีเอ็กซ์) เท่านั้น ประเด็นความผิดปกติต่อมา คือ ไม่มีตัวแทนจากผู้บริหารฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรับรู้ หรือร่วมเป็นตัวแทนพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายการเงิน หรือ ฝ่ายวิศวกร และ 5. บางสัญญาเข้าข่ายต้องผ่าน พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วม หรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ แต่กลับไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด

ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบจะนำผลเข้าที่ประชุมบอร์ด กสท เพื่อพิจารณาแต่ละสัญญาว่าฉบับใดถูกต้อง สามารถให้สัตยาบรรณเพื่อให้สัญญามีผลผูกพัน หรือสัญญาไหนต้องเป็นโมฆะ เลิกแล้วต่อกัน และต้องตั้งกรรมการสอบวินัยผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง

สำหรับ สัญญาดังกล่าว ทางสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้รับเอกสารข้อมูลว่า โครงการดังกล่าวจัดทำสัญญาที่ไม่มีการเปิดประมูลแต่ประการใด เป็นเพียงการตกลงราคาเฉพาะรายเท่านั้น และมีการดำเนินการที่ขัดต่อระเบียบแบบแผนที่ กสท กำหนด สะท้อนถึงการกระทำที่ไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้านบริหารจัดการ และทำให้รัฐต้องเสียหายจากการลงทุน

ด้านนายจิรายุทธ กล่าวว่า ดำเนินการถูกต้องตามหลักการทุกอย่าง เพราะตามอำนาจหน้าที่สามารถอนุมัติการลงทุน 20 ล้านบาทต่อสัญญาต่อเดือน หรือ 240 ล้านบาท ต่อสัญญาหนึ่งใน 1 ปี และยืนยันว่า สัญญาต่างๆ นั้นมีการตรวจสอบจากฝ่ายกฎหมายทั้งหมด รวมทั้งผ่านการพิจารณาของบอร์ดแล้ว ทั้งที่ในทางปฏิบัตินั้น ฝ่ายบริหารมีอำนาจดำเนินการได้เลยโดยไม่ต้องเสนอบอร์ดแต่อย่างใด

อย่าง ไรก็ตาม หลังจากที่นายจิรายุทธพ้นตำแหน่งไปเมื่อ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา กสท ได้ตอบหนังสือไปที่ สตง.แล้วครั้งหนึ่ง เหลือพียงฉบับที่ 2 ซึ่งสัญญาเอฟทีทีเอ็กซ์นั้น ให้บริการ 10 จังหวัด กับ 2 นิคมอุตสาหกรรม โดยครึ่งหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่แล้ว และครึ่งหนึ่งในรัฐบาลปัจจุบัน

ขณะ ที่แหล่งข่าวจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีไอซีที เห็นเอกสารโครงการทั้งหมด และรับทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/238160

________________________________________________________


'จิรายุทธ' โดนอีก! กสทฯ ตั้งกรรมการสอบทุจริตโครงการ FTTX


แหล่ง ข่าวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยว่า บอร์ดได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีที่นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสทฯ ได้มีการเซ็นสัญญาเพื่อเช่าโครงข่ายพร้อมอุปกรณ์เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ต ผ่านสายไฟเบอร์ ( FTTX) กว่า 10 สัญญา รวมมูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ผลการสอบสวนเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่าสัญญาที่เซ็นไปให้ถือเป็นโมฆีฆะ

อย่าง ไรก็ตาม การตรวจสอบสัญญาดังกล่าวพบความไม่ถูกกต้องอย่างน้อย 5 ประเด็น คือ 1.ไม่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการโครงการ 2.ไม่มีการเขียนข้อกำหนด (ทีโออาร์) ในตอนต้น แต่หลังจากเริ่มมีกระแสความไม่พอใจ กลับมีการทีโออาร์ภายหลัง 3.ไม่ได้มีการกำหนดความต้องการที่เฉพาะเจาะจง ระบุเพียงว่าใช้เทคโนโลยีเคเบิลใยแก้ว (FTTX) เท่านั้น

นอกจากนี้ ในส่วนของประเด็นความผิดปกติต่อมา คือ ไม่มีตัวแทนจากผู้บริหารฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรับรู้หรือร่วมเป็นตัวแทนพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายการเงิน หรือ ฝ่ายวิศวกร และ 5.บางสัญญาเข้าข่ายต้องผ่านพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินงาน ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน แต่กลับไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบจะนำผลเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทฯ เพื่อพิจารณาแต่ละสัญญาว่าฉบับใดถูกต้อง สามารถให้สัตยาบรรณเพื่อให้สัญญามีผลผูกพัน หรือ สัญญาไหนต้องเป็นโมฆะ เลิกแล้วต่อกันและต้องตั้งกรรมการสอบวินัยผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง

สำหรับ สัญญาดังกล่าวทางสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้รับเอกสารข้อมูลว่าโครงการดังกล่าวจัดทำสัญญาที่ไม่มีการเปิดประมูลแต่ ประการใด เป็นเพียงการตกลงราคาเฉพาะรายเท่านั้น และมีการดำเนินการที่ขัดต่อ ระเบียบแบบแผนที่ กสทฯ กำหนด ซึ่งสะท้อนถึงการกระทำที่ไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้านบริหารจัดการ และทำให้รัฐต้องเสียหายจากการลงทุน

ทั้งนี้ เรื่องของสัญญาดังกล่าวนั้น ทำให้ กสทฯ ต้องสูญเงินจำนวนากโดยไม่ใช่เหตุ ซึ่งหลังจากบอร์ดชุดปัจจุบันได้รับรายงานและมีเรื่องร้องเรียนก็ได้มีการ ตั้งกรรมการตรวจสอบทันที โดยขณะนี้ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ก็รับทราบแล้วและให้บอร์ดตรวจสอบอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการร้อง เรียนตามมาทีหลังอีก นอกจากนี้ ในส่วนของโครงการ FTTX ที่มีมูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท ที่ กสทฯ ได้ขอให้กระทรวงไอซีทีอนุมัติเพื่อติดตั้งโครงการล่าสุดนั้น ขณะนี้ อยู่ระหว่างศึกษาแผนการลงทุน เนื่องจากจะต้องไม่ลงทุนซ้ำซ้อนกับ บมจ.ทีโอที (TOT)

“สิ่งที่บอร์ดต้องพิจารณาและเข้าไปศึกษาและตรวจสอบไม่ใช่ เพียงแค่สัญญาต่างๆ ที่ดำเนินการ แต่ในโครงการแต่ละโครงการก็จะต้องพิจารณาร่วมกันหลายฝ่าย เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาอีก ซึ่งโครงการจะต้องสนองนโยบายของกระทรวงไอซีทีด้วย” แหล่งข่าว กล่าว

ด้าน นายจิรายุทธ กล่าวว่า ได้ดำเนินการถูกต้องตามหลักการทุกอย่าง เพราะตามอำนาจหน้าที่สามารถอนุมัติการลงทุน 20 ล้านบาทต่อสัญญาต่อเดือน หรือ 240 ล้านบาท ต่อสัญญาหนึ่งใน 1 ปี และยืนยันว่าสัญญาต่างๆ นั้นมีการตรวจสอบจากฝ่ายกฎหมายทั้งหมด รวมทั้งได้ผ่านการพิจารณาของบอร์ดแล้ว ทั้งที่ในทางปฏิบัตินั้นฝ่ายบริหารมีอำนาจดำเนินการได้เลยโดยไม่ต้องเสนอ บอร์ดแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่นายจิรายุทธพ้นตำแหน่งไปเมื่อ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทางกสทฯ ได้ตอบหนังสือไปที่สตง.แล้วครั้งหนึ่งเหลือพียงฉบับที่ 2 ซึ่งสัญญา FTTX นั้นให้บริการ 10 จังหวัดกับ 2 นิคมอุตสาหกรรม โดยครึ่งหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่แล้ว และครึ่งหนึ่งในรัฐบาลปัจจุบัน


ข่าวหุ้นธุรกิจ
http://www.kaohoon.com/online/30784/%A8%D4%C3%D2%C2%
D8%B7%B8-%E2%B4%B9%CD%D5%A1-%A1%CA%B7%CF-
%B5%D1%E9%A7%A1%C3%C3%C1%A1%D2%C3%CA%CD%BA
%B7%D8%A8%C3%D4%B5%E2%A4%C3%A7%A1%D2%C3--
FTTX-.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.