Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 สิงหาคม 2555 แหล่งCATพนักงานและผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นด้วย(15สิงหาคม) ฉีกสัญญา CAT TRUE เพื่อทำใหม่/พร้อมทำแบบจำลองใครได้ใครเสีย

แหล่งCATพนักงานและผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นด้วย(15สิงหาคม) ฉีกสัญญา CAT TRUE เพื่อทำใหม่/พร้อมทำแบบจำลองใครได้ใครเสีย


ประเด็นหลัก ( ยาวมาก ขอไม่ตัดส่วนสำคัญ ออกนะครับ )

แหล่ง ข่าวจากบริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าพนักงานและผู้บริหารส่วนใหญ่ของกสทต่างเห็นด้วยกับแนวคิดของนาย กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสทที่ต้องการให้มีการทำสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G HSPA ระหว่างกลุ่มทรูกับกสทขึ้นมาใหม่ และยังยืนยันในความเป็นพันธมิตรระหว่างกลุ่มทรูกับกสทต่อไป

เนื่องจากคณะทำงาน 3G ของกสทได้ทำแบบจำลองทางการเงินเปรียบเทียบผลประโยชน์ทางการเงิน ใครได้ใครเสีย ระหว่างบริษัท เรียลมูฟที่ทำการตลาด, บริษัท BFKT ที่สร้างโครงข่ายแล้วให้กสทเช่า, กสท และ หากเปลี่ยนเป็นสัญญาสัมปทานกสทจะได้ผลประโยชน์มากน้อยแค่ไหน

โดยแบบจำลองดังกล่าว ตั้งสมมติฐานในการประเมินโครงการนี้ตลอดอายุสัญญา 14 ปี จะมีสถานีฐานจำนวนทั้งสิ้น 9,948 สถานี มีลูกค้าทั้งสิ้นใน 14 ปี จำนวน 21.98 ล้านคน มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโครงข่าย ค่าใช้จ่ายในการดูแลสถานีฐาน (OPEX), ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 2% (อ้างอิงตามวิธีคำนวณ LRIC ของ กสทช.) และยังมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกค้า 36-72 บาท/เลขหมาย, ค่าใช้จ่ายในการขาย 10-20% ของรายได้ รวมถึงรายได้การให้บริการและค่าใช้จ่ายในการให้บริการ การขาย การดำเนินงาน (ใช้สถิติอ้างอิงจากรายงานตลาดหลักทรัพย์ฯของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ทั้ง 3 ราย)

ตามแบบจำลองพบว่าตลอดอายุสัญญา 14 ปี ผลประกอบการของเรียลมูฟ จะมีรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์มือถือตลอดสัญญาทั้งสิ้น 465,754 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายในการสร้างความจุเพื่อรองรับผู้ใช้บริการ 170,552 ล้านบาท รวมทั้งมีต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นๆด้านการตลาดอีกประมาณ 102,975 ล้านบาท สรุปแล้ว เรียลมูฟ มีกำไรทั้งสิ้น 192,226 ล้านบาท

ในส่วนของกสท ที่อดีตผู้บริหารเคยชี้แจงว่าสัญญานี้จะทำกำไรให้กสทกว่า 3 หมื่นล้านบาทนั้น ถูกแค่ครึ่งเดียว เพราะ กสทไม่นำต้นทุนค่าคลื่นความถี่ 850 MHz จำนวน 15 MHz และค่าธรรมเนียมอื่นๆที่ต้องจ่ายให้กสทช.อย่างค่าเลขหมาย และค่าใช้จ่ายบริหาร (OPEX) มารวมเป็นค่าใช้จ่ายด้วย เพราะตามแบบจำลองจะพบว่า กสทจะมีรายได้ จากเรียลมูฟ 170,552 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายหรือค่าเช่าโครงข่ายของ BFKT ประมาณ 139,848 ล้านบาท หักกลบลบหนี้ทำให้กสท มีกำไรประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่จะไม่เกิดขึ้นจริงเด็ดขาด

เนื่องจากกสทไม่ได้คิดมูลค่าความถี่จำนวน 15 MHz ซึ่งอย่างน้อยเมื่อเทียบกับความถี่ 2.1 GHz ที่กสทช.จะเปิดประมูลเร็วๆนี้ มูลค่าขั้นต้นคือ 13,500 ล้านบาท และหากเกิดการแข่งขันประมูลจริง มูลค่าน่าจะเพิ่มขึ้นถึงระดับกว่า 2 หมื่นล้านบาทก็เป็นไปได้ ซึ่งหากคิดค่าความถี่เข้าไปด้วยจากต่ำสุด 13,500 ล้านบาท ตามแบบจำลองจะพบว่ากสทจะเหลือกำไรเพียงประมาณ 3 พันล้านบาท และยิ่งมูลค่าความถี่สูงขึ้น แตะเกือบ 2 หมื่นล้านบาท กสทจะกลับขาดทุนหรือติดลบเกือบ 3 พันล้านบาท ตลอดอายุสัญญาทาสนี้ (โดยคิดต้นทุนค่าความถี่ ค่าธรรมเนียมเลขหมายและค่าใช้จ่ายบริหาร (OPEX) เฉลี่ย 3 หมื่นล้านบาท)

ตามแบบจำลองดังกล่าวสรุปได้ว่าสัญญาเดิม กสทจะขาดทุนในทุกกรณี โดยเฉพาะหากมูลค่าความถี่ที่กสทช.จัดประมูล 3G ยิ่งสูงขึ้น ขณะที่เรียลมูฟจะมีกำไร 192,226 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปแบบสัญญาสัมปทาน ในอัตราส่วนแบ่งรายได้ปัจจุบันที่ทรูมูฟจ่ายให้กสทคือ 30% ไม่ว่ามูลค่าความถี่จะเพิ่มขึ้นสูงมากขนาดไหน กสทจะกำไรทุกกรณีในขณะที่เรียลมูฟก็ยังมีกำไรเกือบ 1 หมื่นล้านบาท แต่กสทยังได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินโครงข่ายด้วย


















_______________________________________


วอนบอร์ดกสทปลดล็อกสัญญาทาส 3G


คาด บอร์ดกสทตัดสินอนาคตสัญญา 3G HSPA 15 ส.ค.นี้ เผยแบบจำลองการเงินสัญญาทาส ชี้ชัดกสทเสียเปรียบมหาศาล ผู้บริหารหนุน 'กิตติศักดิ์' ทำสัญญาใหม่ทดแทนสัญญาเดิม เป็นทางออกที่ดีที่สุด เลี่ยงปัญหาบอร์ดและซีอีโอโดนมาตรา157

แหล่งข่าวจากบริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าพนักงานและผู้บริหารส่วนใหญ่ของกสทต่างเห็นด้วยกับแนวคิดของนาย กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสทที่ต้องการให้มีการทำสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G HSPA ระหว่างกลุ่มทรูกับกสทขึ้นมาใหม่ และยังยืนยันในความเป็นพันธมิตรระหว่างกลุ่มทรูกับกสทต่อไป

เนื่องจากคณะทำงาน 3G ของกสทได้ทำแบบจำลองทางการเงินเปรียบเทียบผลประโยชน์ทางการเงิน ใครได้ใครเสีย ระหว่างบริษัท เรียลมูฟที่ทำการตลาด, บริษัท BFKT ที่สร้างโครงข่ายแล้วให้กสทเช่า, กสท และ หากเปลี่ยนเป็นสัญญาสัมปทานกสทจะได้ผลประโยชน์มากน้อยแค่ไหน

โดยแบบจำลองดังกล่าว ตั้งสมมติฐานในการประเมินโครงการนี้ตลอดอายุสัญญา 14 ปี จะมีสถานีฐานจำนวนทั้งสิ้น 9,948 สถานี มีลูกค้าทั้งสิ้นใน 14 ปี จำนวน 21.98 ล้านคน มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโครงข่าย ค่าใช้จ่ายในการดูแลสถานีฐาน (OPEX), ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 2% (อ้างอิงตามวิธีคำนวณ LRIC ของ กสทช.) และยังมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกค้า 36-72 บาท/เลขหมาย, ค่าใช้จ่ายในการขาย 10-20% ของรายได้ รวมถึงรายได้การให้บริการและค่าใช้จ่ายในการให้บริการ การขาย การดำเนินงาน (ใช้สถิติอ้างอิงจากรายงานตลาดหลักทรัพย์ฯของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ทั้ง 3 ราย)

ตามแบบจำลองพบว่าตลอดอายุสัญญา 14 ปี ผลประกอบการของเรียลมูฟ จะมีรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์มือถือตลอดสัญญาทั้งสิ้น 465,754 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายในการสร้างความจุเพื่อรองรับผู้ใช้บริการ 170,552 ล้านบาท รวมทั้งมีต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นๆด้านการตลาดอีกประมาณ 102,975 ล้านบาท สรุปแล้ว เรียลมูฟ มีกำไรทั้งสิ้น 192,226 ล้านบาท

ขณะที่ BFKTซึ่งเป็นเจ้าของโครงข่าย 3G HSPA จะมีรายได้จากค่าเช่าจากกสท 139,848 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายในการสร้างและบริหารโครงข่าย ประมาณ 126,074 ล้านบาท สรุปแล้ว BFKTมีกำไร 13,774 ล้านบาท

ในส่วนของกสท ที่อดีตผู้บริหารเคยชี้แจงว่าสัญญานี้จะทำกำไรให้กสทกว่า 3 หมื่นล้านบาทนั้น ถูกแค่ครึ่งเดียว เพราะ กสทไม่นำต้นทุนค่าคลื่นความถี่ 850 MHz จำนวน 15 MHz และค่าธรรมเนียมอื่นๆที่ต้องจ่ายให้กสทช.อย่างค่าเลขหมาย และค่าใช้จ่ายบริหาร (OPEX) มารวมเป็นค่าใช้จ่ายด้วย เพราะตามแบบจำลองจะพบว่า กสทจะมีรายได้ จากเรียลมูฟ 170,552 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายหรือค่าเช่าโครงข่ายของ BFKT ประมาณ 139,848 ล้านบาท หักกลบลบหนี้ทำให้กสท มีกำไรประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่จะไม่เกิดขึ้นจริงเด็ดขาด

เนื่องจากกสทไม่ได้คิดมูลค่าความถี่จำนวน 15 MHz ซึ่งอย่างน้อยเมื่อเทียบกับความถี่ 2.1 GHz ที่กสทช.จะเปิดประมูลเร็วๆนี้ มูลค่าขั้นต้นคือ 13,500 ล้านบาท และหากเกิดการแข่งขันประมูลจริง มูลค่าน่าจะเพิ่มขึ้นถึงระดับกว่า 2 หมื่นล้านบาทก็เป็นไปได้ ซึ่งหากคิดค่าความถี่เข้าไปด้วยจากต่ำสุด 13,500 ล้านบาท ตามแบบจำลองจะพบว่ากสทจะเหลือกำไรเพียงประมาณ 3 พันล้านบาท และยิ่งมูลค่าความถี่สูงขึ้น แตะเกือบ 2 หมื่นล้านบาท กสทจะกลับขาดทุนหรือติดลบเกือบ 3 พันล้านบาท ตลอดอายุสัญญาทาสนี้ (โดยคิดต้นทุนค่าความถี่ ค่าธรรมเนียมเลขหมายและค่าใช้จ่ายบริหาร (OPEX) เฉลี่ย 3 หมื่นล้านบาท)

ตามแบบจำลองดังกล่าวสรุปได้ว่าสัญญาเดิม กสทจะขาดทุนในทุกกรณี โดยเฉพาะหากมูลค่าความถี่ที่กสทช.จัดประมูล 3G ยิ่งสูงขึ้น ขณะที่เรียลมูฟจะมีกำไร 192,226 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปแบบสัญญาสัมปทาน ในอัตราส่วนแบ่งรายได้ปัจจุบันที่ทรูมูฟจ่ายให้กสทคือ 30% ไม่ว่ามูลค่าความถี่จะเพิ่มขึ้นสูงมากขนาดไหน กสทจะกำไรทุกกรณีในขณะที่เรียลมูฟก็ยังมีกำไรเกือบ 1 หมื่นล้านบาท แต่กสทยังได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินโครงข่ายด้วย

'บอร์ดคงต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เช่นนั้นอาจโดนคนฟ้องมาตรา 157 ได้ เพราะกทค.ชี้แล้วว่าสัญญาผิดกม.'

นายกิตติศักดิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่กสท กล่าวก่อนหน้านี้ว่าในวันที่ 15 ส.ค.นี้ บอร์ดกสทจะมีการประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขสัญญา 3G ที่คณะทำงานได้เสนอมา ซึ่งไม่อยากให้ใช้คำว่ากสทจะยกเลิกสัญญา 3G กับทรู แต่อยากให้เรียกว่าเป็นการเขียนสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมาร่วมกัน เพราะหากใช้คำว่าเลิกสัญญาก็เท่ากับกสท และทรูจะไม่ได้พันธมิตรกันต่อไปแต่หากเป็นการเขียนสัญญาใหม่ ก็เท่ากับความร่วมมือของ 2 บริษัทจะยังคงอยู่

ด้านพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กสทช.ในฐานะประธานกทค.กล่าวว่าการจะยกเลิกสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่าง คู่สัญญาจะตกลงกัน กทค.ได้ชี้แล้วว่าต้องแก้ไข 6 ประเด็นหลักเพื่อให้สัญญาเป็นไปตามมาตรา 46 ของพ.ร.บ.กสทช.

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000099626

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.