Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 กรกฎาคม 2555 ได้คืบเอาศอก +++ TOT เล็งไม่คืนความถี่ 2.3 GHz หวังทำ 4G ทันที่โดยไม่ต้องประมูล ไร้ต้นทุน!! ( โดยทำพร้อง 3G เลย )

ได้คืบเอาศอก +++ TOT เล็งไม่คืนความถี่ 2.3 GHz หวังทำ 4G ทันที่โดยไม่ต้องประมูล ไร้ต้นทุน!! ( โดยทำพร้อง 3G เลย )


ประเด็นหลัก


นายพันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ยอมรับว่า ก่อนหน้านี้ ทีโอทีไม่รู้ว่า เราจะต้องใช้เทคโนโลยีอะไร แต่เฟส 2 ที่เรากำลังจะขยาย ไม่ได้ใช้แค่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ แต่เราต้องใช้ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ ที่เป็น 4จี มาเป็นที่สำรองข้อมูลของเรา โดยไม่ต้องลงทุนใหม่อีกครั้ง เพราะหากใช้แค่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ บริการทั้งวอยซ์และดาต้า ไม่เพียงพอต่อการให้บริการอย่างแน่นอน


เบื้องต้น ได้มีการหารือว่าทีโอทีจะเสนอคืนคลื่น 2.3 จำนวน 34 เมกะเฮิรตซ์ จากเดิมที่ถือครองอยู่ทั้งหมด 64 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับใบอนุญาตให้บริการใหม่ บนเทคโนโลยีแอลทีอี หรือ 4จี ซึ่ง กสทช.คาดว่า จะเรียกคืนคลื่นความถี่ได้ 40 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาเปิดประมูลไลเซ่น ให้บริการ 4จี จำนวน 2 ใบ และแลกกับการได้ใบอนุญาตใหม่แก่ทีโอที


แหล่งข่าวจากทีโอที กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ มีการประชุมของคณะกรรมการร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และ กสทช.เพื่อศึกษาความเป็นไปและเรียกคืนคลื่นความถี่มาจัดสรรใหม่ หรือรีฟาร์มมิ่ง

เบื้องต้น ได้มีการหารือว่าทีโอทีจะเสนอคืนคลื่น 2.3 จำนวน 34 เมกะเฮิรตซ์ จากเดิมที่ถือครองอยู่ทั้งหมด 64 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับใบอนุญาตให้บริการใหม่ บนเทคโนโลยีแอลทีอี หรือ 4จี ซึ่ง กสทช.คาดว่า จะเรียกคืนคลื่นความถี่ได้ 40 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาเปิดประมูลไลเซ่น ให้บริการ 4จี จำนวน 2 ใบ และแลกกับการได้ใบอนุญาตใหม่แก่ทีโอที



__________________________________________

ทีโอทีเกาะโมเดลยึดคลื่นมือถือร่อนหนังสือขอกสทช.ใช้คลื่น 2.3

ทีโอทีพร้อมทำหนังสือถึง กสทช.ไม่ขอคืนคลื่นย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์ อ้างหวังใช้ขยาย 3จีเฟส 2 บนแอลทีอี-โมบายบรอดแบนด์

นายพันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ทีโอที เตรียมทำหนังสือถึง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ชี้แจงเหตุผล กรณีไม่คืนคลื่นความถี่ย่าน 2.3 กิกะเฮิรตซ์ ที่ทีโอที ถือครองอยู่เป็นจำนวน 64 เมกะเฮิรตซ์

เขาให้เหตุผลการไม่คืนคลื่น ย่านดังกล่าวว่า ต้องนำไปขยายการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ในเฟส 2 ที่ทีโอทีกำลังจะขยายโครงข่ายการให้บริการ รวมถึงการทำธุรกิจการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) เพื่อเป็นการพัฒนาการให้บริการใหม่บนเทคโนโลยีแอลทีอี หรือ 4จี โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม

"ตอนนี้ให้ฝ่ายเทคนิคสรุปกันว่าทีโอที จำเป็นต้องใช้คลื่น 2.3 กิกะเฮิรตซ์ เป็นจำนวนทั้งหมดเท่าไหร่ เนื่องจากทีโอทีจะต้องมีการให้บริการโมบายบรอดแบนด์ แทนการลงทุนโครงการโครงข่ายอัจฉริยะเพื่ออนาคต หรือเอ็นจีเอ็น" นายพันธ์เทพ กล่าว

เขายอมรับว่า ก่อนหน้านี้ ทีโอทีไม่รู้ว่า เราจะต้องใช้เทคโนโลยีอะไร แต่เฟส 2 ที่เรากำลังจะขยาย ไม่ได้ใช้แค่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ แต่เราต้องใช้ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ ที่เป็น 4จี มาเป็นที่สำรองข้อมูลของเรา โดยไม่ต้องลงทุนใหม่อีกครั้ง เพราะหากใช้แค่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ บริการทั้งวอยซ์และดาต้า ไม่เพียงพอต่อการให้บริการอย่างแน่นอน

แหล่งข่าวจากทีโอที กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ มีการประชุมของคณะกรรมการร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และ กสทช.เพื่อศึกษาความเป็นไปและเรียกคืนคลื่นความถี่มาจัดสรรใหม่ หรือรีฟาร์มมิ่ง

เบื้องต้น ได้มีการหารือว่าทีโอทีจะเสนอคืนคลื่น 2.3 จำนวน 34 เมกะเฮิรตซ์ จากเดิมที่ถือครองอยู่ทั้งหมด 64 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับใบอนุญาตให้บริการใหม่ บนเทคโนโลยีแอลทีอี หรือ 4จี ซึ่ง กสทช.คาดว่า จะเรียกคืนคลื่นความถี่ได้ 40 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาเปิดประมูลไลเซ่น ให้บริการ 4จี จำนวน 2 ใบ และแลกกับการได้ใบอนุญาตใหม่แก่ทีโอที

ส่วนการประกอบกิจการประเภท อื่นในเชิงพาณิชย์ อาทิเช่น การให้บริการบรอดแบนด์ หรือไวแม็กซ์ จากที่ปัจจุบัน ทีโอทีสามารถใช้คลื่นดังกล่าวได้เฉพาะบริการโทรศัพท์สาธารณะ (TDMA) เท่านั้น

แหล่งข่าวรายเดิม กล่าวอีกว่า คลื่นย่าน 2.3 จะนำมารีฟาร์มมิ่งได้ จะต้องนำมาจัดสรรช่วงคลื่นความถี่ใหม่ เนื่องจากแถบความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) มีคลื่นบางส่วนที่ติดกับแถบความถี่ ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ซึ่งกำลังจะหมดอายุสัมปทานในเดือน ก.ย.2556

โดยคลื่นทั้ง 2 บริษัทดังกล่าว มีแถบความถี่ที่แคบเพียง 12.5 เมกะเฮิรตซ์ ไม่เพียงพอจะนำไปให้บริการ 4จี โดยมีคลื่นที่ดีแทคใช้งานอยู่คั่นกลาง

กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20120716/46
1656/%B7%D5%E2%CD%B7%D5%E0%A1%D2%D0%E2%C1%E
0%B4%C5%C2%D6%B4%A4%C5%D7%E8%B9%C1%D7%CD%B
6%D7%CD%C3%E8%CD%B9%CB%B9%D1%A7%CA%D7%CD%A
2%CD%A1%CA%B7%AA.%E3%AA%E9%A4%C5%D7%E8%B9-2.3.html


_______________________________________________

ทีโอทีเล็งไม่คืนความถี่ 2.3 GHz


ทีโอทีเตรียมส่งหนังสือถึงกสทช. ชี้แจงเหตุผลไม่คืนความถี่ 2.3 GHz จำนวน 34 MHz ตามที่เคยเจรจากันไว้ เพราะต้องการนำไปให้บริการฟิกซ์ โมบาย บรอดแบนด์ เสริมศักยภาพ 3G เฟส 2 ที่กำลังดำเนินการในขณะนี้

นายพันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานบอร์ดบริษัท ทีโอที กล่าวว่า ทีโอที กำลังดำเนินการยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อชี้แจงเหตุผลกรณีไม่สามารถส่งคืนความถี่ย่าน 2.3 GHz ที่ทีโอที ถือครองอยู่จำนวน 64 MHz เนื่องจากทีโอทีต้องการนำความถี่ดังกล่าวไปขยายการให้บริการโทรศัพท์มือถือ ระบบ 3G ในเฟส 2 ที่ทีโอที กำลังจะขยายโครงข่ายการให้บริการ รวมถึงการทำธุรกิจการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (ฟิกซ์ โมบาย บรอดแบนด์) เพื่อเป็นการพัฒนาการให้บริการใหม่ๆบนเทคโนโลยี LTE หรือ 4G

ทั้งนี้ทีโอทีกำลังให้ฝ่ายเทคนิคสรุปว่าทีโอที จำเป็นต้องใช้ความถี่ 2.3 GHz จำนวนทั้งหมดเท่าไหร่ สำหรับการขยายการให้บริการ3G ในเฟส2 เนื่องจากทีโอทีมีเป้าหมายให้บริการโมบายบรอดแบนด์ และการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้บริการโทรคมนาคมแบบครบวงจรถึงบ้าน แทนการลงทุนโครงการโครงข่ายอัจฉริยะเพื่ออนาคต หรือ NGN

‘ก่อนหน้านี้ทีโอทียังไม่รู้ว่าจะต้องใช้เทคโนโลยีอะไร แต่เฟส 2 ของบริการ 3G ที่กำลังจะขยายโครงข่าย ไม่ได้ใช้แค่ความถี่ 1.9 GHz - 2.1 GHz แต่เราต้องการใช้ความถี่ 2.3 GHz ที่จะใช้ LTE มาให้บริการข้อมูลความเร็วสูงมาให้บริการควบคู่กันไปด้วย เพราะหากใช้ความถี่แค่ย่าน 1.9 GHz - 2.1 GHz ใช้ทั้งวอยซ ์และดาต้า ไม่เพียงพอต่อการให้บริการอย่างแน่นอน’

นายพันธ์เทพกล่าวว่าที่ผ่านมาทีโอทีเข้าใจตามเวนเดอร์มาโดยตลอดว่า หากคืนความถี่ 2.3 GHz จำนวนหนึ่งที่เหลือก็สามารถให้บริการได้อย่างเพียงพอ แต่หลังการเป็นพันธมิตรกับซอฟต์แบงก์ ทำให้ทีโอทีหูตาสว่างมากขึ้น และเห็นว่าความถี่ 2.3 GHz ที่มีอยู่จำเป็นต้องนำมาใช้เสริมกับโครงข่าย 3G เพื่อให้บริการฟิกซ์ โมบาย บรอดแบนด์ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของทีโอทีอย่างเดียว แต่เพื่อประโยชน์ประเทศชาติตามนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์ของรมว.ไอซีทีด้วย

แหล่งข่าวจากทีโอที กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีการประชุมของคณะกรรมการร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร (ไอซีที) และ กสทช.เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และเรียกคืนความถี่มาจัดสรรใหม่ (รีฟาร์มมิ่ง) ซึ่งก็ได้มีการหารือเบื้องต้นว่าทีโอทีจะเสนอคืนความถี่ 2.3 GHz จำนวน 34 MHz จากที่ถือครองอยู่ทั้งหมด 64 MHz เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่กสทช.ออกใบอนุญาตให้บริการใหม่เชิงพาณิชย์ หรือ ไลเซ่นส์บนเทคโนโลยี LTE (การให้บริการบรอดแบนด์ หรือไว-แม็กซ์ หรือ 4G) ซึ่งกสทช.ต้องการจะเรียกคืนความถี่จากทีโอทีให้ได้ 40 MHz เพื่อนำมาเปิดประมูลไลเซ่นส์ให้บริการ 4G จำนวน 2 ใบ

แหล่งข่าวจากกสทช.กล่าวว่าหาก กสทช. สามารถเรียกคืนความถี่ย่าน 2.3 GHz จากทีโอทีได้ ก็จะต้องนำมาจัดสรรช่วงความถี่ใหม่ เนื่องจากแถบความถี่ย่าน 1800 MHz ของบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) มีความถี่บางส่วนที่ติดกับแถบความถี่ของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ที่ใช้งานอยู่ ซึ่งกำลังจะหมดอายุสัมปทานในเดือนก.ย.2556 ซึ่งความถี่ทั้ง 2 บริษัทดังกล่าว มีแถบความถี่ที่แคบเพียง 12.5 MHz จึงไม่เพียงพอจะนำไปให้บริการ 4G เนื่องจากมีคลื่นที่ดีแทคใช้งานอยู่คั่นกลาง

ขณะเดียวกันการเรียกคืนความถี่ของกสทช.นั้น ท้ายที่สุดแล้วต้องกลับไปดูว่าสิทธิความเป็นเจ้าของที่ทีโอทีได้รับจากกรมไป รษณีโทรเลขเดิม ซึ่งระบุไว้ว่ามีสิทธิในการให้บริการสาธารณะเท่านั้นไม่มีสิทธิเอาไปทำอย่าง อื่น แต่สามารถที่จะเปลี่ยนเทคโนโลยีได้ แต่เปลี่ยนวัตถุประสงค์ที่ได้สิทธิเดิมไม่ได้ จะทำให้ทีโอทีสามารถนำความถี่ 2.3 GHz ไปให้บริการเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่

ขณะที่ใบอนุญาตใช้ความถี่ย่าน 2.3 GHz ของทีโอทีมีสิทธิใช้อีก 15 ปี กสทช.จึงไม่มีอำนาจไปทวงคืนได้ในตอนนี้ โดยต้องให้ทีโอทียินดีคืนให้เอง ขณะเดียวกันทีโอทีก็ไม่สามารถนำความถี่ดังกล่าวไปพัฒนาหรือต่อยอดอะไรได้ เนื่องจากใบอนุญาตถูกกำหนดให้ใช้เฉพาะโทรศัพท์สาธารณะ (TDMA) เท่านั้น

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000086993

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.