Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กรกฎาคม 2554 จับตาสมรภูมิ 3G AIS ปะทะ TRUEMOVE // โดย AIS เซ็นสัญญาลับ TOT // CAT-TRUEMOVE ไร้ปัญหาไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนจา

จับตาสมรภูมิ 3G AIS ปะทะ TRUEMOVE // โดย AIS เซ็นสัญญาลับ TOT // CAT-TRUEMOVE ไร้ปัญหาไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนจา

จับตาสมรภูมิ 3G AIS ปะทะ TRUEMOVE // โดย AIS เซ็นสัญญาลับ TOT // CAT-TRUEMOVE ไร้ปัญหาไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนจากอัยการ
ประเด็นหลัก

ผ่าเงื่อนไขสัญญาโรมมิ่ง
ว่า กันว่าในตอนนี้ทั้ง ทีโอที และ เอไอเอส ได้มีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการแบบลับ ๆ กันไปแล้วหลังคณะกรรมการบอร์ดอนุมัติอย่างเป็นทางการ

ไม่เพียงเท่า นี้หาก ทีโอที จะนำความจุของโครงข่ายไปให้บริการกับผู้ให้บริการรายอื่นจะต้องแจ้งให้ เอไอเอส ทราบหรือยื่นข้อเสนอให้ เอไอเอส ก่อนเป็นอันดับแรก หาก เอไอเอส ไม่ต้องการเพิ่มเติมก็สามารถนำโครงข่ายไปให้ผู้ประกอบการรายอื่นโรมมิ่ง สัญญาณได้

***สัญญา "ทรู-แคท" ผ่านฉลุย

แต่ปรากฏว่า กระทรวงไอซีที ได้รับคำยืนยันจากสำนักงานอัยการสูงสุดไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน เนื่องจากเป็นการเช่าเครื่องอุปกรณ์โทรคมนาคมตามระเบียบของ กสท ว่าด้วยการพัสดุ โดยวิธีการตกลงราคาร่วมกัน และ แคท มีสถานภาพเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด เป็นเพียงผู้รับใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคมเหมือนกับเอกชนรายอื่น ที่ต้องปฏิบัติตามประกาศ ของ กสทช. ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่ แคท นำคลื่นความถี่ไปจัดสรรให้สัมปทาน เมื่อ กสทช.ได้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมแล้ว จึงไม่ใช่เป็นการใช้ทรัพย์สินของส่วนราชการหรือของหน่วยงานรัฐตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 แต่เป็นการดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และ พ.ร.บ. กสทช. 2553

______________________________________________________

จับตาสมรภูมิ 3 จี เอไอเอส ปะทะ ทรูมูฟ

อีก ไม่นานนับจากนี้!! ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี จะมีการแข่งขันอย่างรุนแรง เพราะในตอนนี้ค่ายมือถือเบอร์หนึ่ง คือ เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

ได้รับไฟเขียว จาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้สิทธิ์ดำเนินการโรมมิ่งเชื่อมโยงเครือข่ายร่วม (Roaming) โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี ในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ในจำนวนไม่เกิน 1 ล้านเลขหมาย
การอนุมัติของ ทีโอที ในครั้งนี้เป็นช่วงเวลาที่ พรรคเพื่อไทย ได้รับการชนะเลือกตั้งแบบถล่มทลายด้วยคะแนนเสียง 265 เสียงจากจำนวนผู้ลงคะแนนเสียงถึง 15 ล้านคน
*** ผ่าเงื่อนไขสัญญาโรมมิ่ง
ว่า กันว่าในตอนนี้ทั้ง ทีโอที และ เอไอเอส ได้มีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการแบบลับ ๆ กันไปแล้วหลังคณะกรรมการบอร์ดอนุมัติอย่างเป็นทางการ
โดยเงื่อนไขสัญญา โรมมิ่งในครั้งนี้แบ่งเป็น ทีโอที ขอบริการโรมมิ่งประเภทเสียง จำนวน 200,000 เลขหมายแต่ไม่เกิน 1 ล้านเลขหมาย อัตราค่าบริการ 1.10 ต่อนาที บริการข้อความสั้น 1 บาทต่อข้อความ การบริการข้อมูลดาต้า 0.85 บาทต่อ 1 เมกะบิต
ขณะที่ เอไอเอส ขอโรมมิ่งสัญญาณระบบ 3 จี ของ ทีโอที ในส่วนของบริการข้อมูล (ดาต้า) หรือการให้บริการอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 60,000 เลขหมายแต่ไม่เกิน 1 ล้านเลขหมาย อัตราค่าบริการ 0.85 บาทต่อ 1 เมกะบิต การให้บริการโทรศัพท์พร้อมกับภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ คอลล์) 2.00 บาทต่อนาที
ไม่ เพียงเท่านี้หาก ทีโอที จะนำความจุของโครงข่ายไปให้บริการกับผู้ให้บริการรายอื่นจะต้องแจ้งให้ เอไอเอส ทราบหรือยื่นข้อเสนอให้ เอไอเอส ก่อนเป็นอันดับแรก หาก เอไอเอส ไม่ต้องการเพิ่มเติมก็สามารถนำโครงข่ายไปให้ผู้ประกอบการรายอื่นโรมมิ่ง สัญญาณได้
****เตรียมแผนลอนช์บริการ
อย่างไรก็ตาม หลัง ทีโอที เปิดไฟเขียวให้ เอไอเอส สามารถโรมมิ่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีได้แล้วว่ากันว่าภายในไม่เกินสิ้นปีนี้ เอไอเอส เตรียมแผนบุกตลาดอย่างเต็มรูปแบบ เพราะการที่ เอไอเอส ได้ทำการโรมมิ่งสัญญาณในครั้งนี้ ข้อดีก็คือ ลูกค้าที่อยู่ในระบบของ เอไอเอส สามารถใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จีได้ โดยเฉพาะการให้บริการข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงและรวดเร็ว เพราะในขณะนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่รองรับระบบ 3 จีเกือบหมดแล้ว และที่สำคัญโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบสมาร์ทโฟน (เป็นมากกว่าการใช้งานโทร.เข้า และ ออก) กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงโซเชียล เน็ตเวิร์กผ่านบนโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น
แต่ถ้า เอไอเอส ยังไม่ได้ข้อสรุปในการโรมมิ่งสัญญาณกับ ทีโอที ในครั้งนี้ นั้นหมายความว่าลูกค้า เอไอเอส บางส่วนอาจจะไหลออกไปอยู่ในระบบของ ทรูมูฟ อย่างปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นทางเดียวที่ไม่ตกเป็นรองค่ายเบอร์สอง ดีแทค และ เบอร์สาม ทรูมูฟ ทำให้ เอไอเอส ต้องเดินเกมรุกเพื่อทำสัญญาแลกเปลี่ยนกับ ทีโอที และรักษาส่วนแบ่งการตลาดเบอร์หนึ่ง
***สัญญา "ทรู-แคท" ผ่านฉลุย
ถูก ตั้งคำถามมาอย่างต่อเนื่องเรื่องการทำสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีด้วยเทคโนโลยี เอชเอสพีเอ บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) และ ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2535 หรือไม่อย่างไร
แต่ปรากฏ ว่า กระทรวงไอซีที ได้รับคำยืนยันจากสำนักงานอัยการสูงสุดไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน เนื่องจากเป็นการเช่าเครื่องอุปกรณ์โทรคมนาคมตามระเบียบของ กสท ว่าด้วยการพัสดุ โดยวิธีการตกลงราคาร่วมกัน และ แคท มีสถานภาพเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด เป็นเพียงผู้รับใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคมเหมือนกับเอกชนรายอื่น ที่ต้องปฏิบัติตามประกาศ ของ กสทช. ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่ แคท นำคลื่นความถี่ไปจัดสรรให้สัมปทาน เมื่อ กสทช.ได้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมแล้ว จึงไม่ใช่เป็นการใช้ทรัพย์สินของส่วนราชการหรือของหน่วยงานรัฐตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 แต่เป็นการดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และ พ.ร.บ. กสทช. 2553
นั้นหมายความว่าทุกคำถามที่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยก็ยุติ....
แต่ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้กลุ่มทรู เตรียมแผนรุกตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี เช่นเดียวกันเพราะก่อนหน้านี้เองกลุ่มทรู ได้เปิดทดลองให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีอย่างไม่เป็นทางการแล้วพร้อมกับปูพรมโครงข่ายไปยังพื้นที่บางส่วนแล้วก่อน หน้านี้
ส่วนสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างทั้งสองฝ่ายนั้น ทรู เตรียมปรับเปลี่ยนโครงข่าย ซีดีเอ็มเอ เป็นเทคโนโลยีเอชเอสพีเอส ให้แล้วเสร็จภายในปี 2554 โดยติดตั้งเครือข่ายทั้งหมดจำนวน 3,000 สถานีแบ่งเป็นเครือข่ายของ ฮัทช์ จำนวน 1,400 สถานี และในส่วนของ แคท จำนวน 1,600 สถานี และ ทรู มีแผนเตรียมลอนช์แบรนด์ "Truemove H" และ ภายในระยะเวลา 3 ปีลงทุนจำนวน 12,000 ล้านบาทเพื่อติดตั้งเครือข่ายเรียลมูฟให้ได้จำนวน 4,500 สถานี
อย่างไรก็ ตามภายในสิ้นปี 2554 เชื่อว่าสมรภูมิมือถือ 3 จีจะแข่งขันอย่างรุนแรงระหว่างสองค่าย คือ เอไอเอส และ ทรูมูฟ เพราะทั้งสองฝ่ายเตรียมแผนวางกลยุทธ์การตลาดในเรื่องนี้
เพียงแต่รอเรื่องสัญญาณเครือข่ายระบบ 3 จีที่ทุกฝ่ายกำลังติวเข้มติดตั้งเครือข่ายอยู่ในขณะนี้

ฐานเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.