Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 เมษายน 2555 CAT เจิด+ จีบค่ายมือถือร่วมเข้าประมูล 3G 2100 // แต่ยังไม่มีเงินจ่ายค่า IC(ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย)และกำลังมีค่าปรับ

CAT เจิด+ จีบค่ายมือถือร่วมเข้าประมูล 3G 2100 // แต่ยังไม่มีเงินจ่ายค่า IC(ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย)และกำลังมีค่าปรับ


ประเด็นหลัก

และไม่ใช่ แค่คลื่น2.1GHz เท่านั้นที่ กสท โทรคมนาคมสนใจที่จะหาพาร์ตเนอร์ที่เป็นโอเปอเรเตอร์มือถือเดิมเข้าร่วม ประมูลแต่ยังรวมถึงคลื่นอื่นๆ ในอนาคตจาก กสทช.อีกต่างหาก


ที่ ผ่านมาติดปัญหาไม่ มีงบฯลงทุนเพราะโครงการไม่เคยผ่านการอนุมัติของ ครม.มาก่อน ทำให้ไม่มีงบฯ อีกทั้งค่าไอซี (ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย) กสทฯก็ยังไม่ได้จ่ายเพราะไม่มีงบฯ และกำลังจะเริ่มมีค่าปรับเพิ่ม หากได้อนุมัติมาจะนำมาเป็นค่าไอซี ค่าซื้อซิม ค่าโปรโมชั่นต่าง ๆ และในปีนี้ตั้งเป้าลูกค้าไว้ 500,000 ราย รวมบริการพรีเพดที่กำลังจะเปิดเร็ว ๆ นี้ หลังกำหนดให้ยื่นซองประกวดราคาจัดซื้อระบบ "เรียลไทม์ชาร์จจิ้ง" ใช้งบประมาณราว 300 ล้านบาท
_______________________________________________________


"กสท" ยุคใหม่ ไอเดียบรรเจิด จีบค่ายมือถือเข้าประมูล 3G


กลับ ตาลปัตรกันเลยทีเดียว สำหรับ "กสท โทรคมนาคม" หลังเปลี่ยนแม่ทัพธุรกิจ จากหนก่อนยื่นฟ้องศาลปกครองระงับการประมูลใบอนุญาต 3G ของ กทช.จนเป็นเหตุให้การประมูลล้มคว่ำไม่เป็นท่า ท่ามกลางเสียงวิจารณ์เซ็งแซ่จากทั่วสารทิศ

เวลาเปลี่ยน นโยบายและจุดยืน อะไรต่าง ๆ ขององค์กรที่เปลี่ยน คนบริหารย่อมเปลี่ยนแปลง

เหมือน ที่แม่ทัพคนใหม่ "กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม พูดถึงจุดยืนล่าสุดที่บอกว่า พร้อมเดินหน้าหาพันธมิตรเพื่อเข้าร่วมการประมูล 3G ใบอนุญาตใหม่จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภายในไตรมาส 3 ปีนี้จากการเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตบริการ 3G ย่านความถี่ 2.1GHzมากกว่านั้น ซีอีโอใหม่ กสท โทรคมนาคมยังพูดชัดถ้อยชัดคำด้วยว่า จะไม่ขายสินทรัพย์ทั้งหลายภายใต้สัมปทานด้วย

เรียกว่าพลิกเกมกันเลย ทีเดียว เพราะซีอีโอคนก่อน บอร์ดชุดก่อนอนุมัติหลักการเรียบร้อยในกรณีที่ทรูมูฟเสนอไอเดียซื้อ ทรัพย์สิน (โครงข่าย) หลังสัมปทานหมดอายุ

สวนทางกับแนวคิดของซีอีโอใหม่โดยสิ้นเชิง โดย "กิตติศักดิ์"อธิบายแนวคิดของตนเองละเอียดยิบว่า

"ถ้า รวมโครงข่ายตามสัมปทานของดีแทค ทรูมูฟ ดีพีซี รวมถึงที่มีอยู่ในบีเอฟเคที (เจ้าของโครงข่าย HSPA+) จะทำให้ กสทฯมีทรัพย์สินที่เป็นโครงข่ายมือถือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ สามารถนำมาพัฒนาเพื่อเข้าสู่ธุรกิจมือถือให้มากขึ้นได้"

และไม่ใช่ แค่คลื่น2.1GHz เท่านั้นที่ กสท โทรคมนาคมสนใจที่จะหาพาร์ตเนอร์ที่เป็นโอเปอเรเตอร์มือถือเดิมเข้าร่วม ประมูลแต่ยังรวมถึงคลื่นอื่นๆ ในอนาคตจาก กสทช.อีกต่างหาก

"กิตติศักดิ์" บอกว่า เป้าหมายเดียวคือเพื่อนำโครงข่ายที่เป็นทรัพย์สินสัมปทานมาสร้างรายได้ที่ยั่งยืน แทนที่จะขายทรัพย์สินทิ้งไป

"แต่ คงต้องให้บอร์ดพิจารณาอีกครั้ง เพราะกระบวนการตัดสินใจซีอีโอทำไม่ได้เพียงลำพัง แต่มองการนำทรัพย์สิน BTO แปลงเป็นหุ้นเป็นแนวทางที่เป็นไปได้"

แม้ว่าที่ผ่านมา กสทฯจะมีปัญหากับผู้รับสัมปทานบริการโทรศัพท์มือถือเกี่ยวกับการโอน "ทรัพย์สิน" ตามสัญญาสัมปทานทั้งหลายที่กำหนดให้ใช้รูปแบบ สร้าง-โอน-ดำเนินการ (BTO : Built-Transfer-Operate) โดยผู้ได้รับสัมปทานไม่ว่าจะเป็นดีแทค ทรูมูฟ หรือดีพีซี เป็นผู้สร้างเครือข่ายและโอนให้ กสทฯก่อนได้สิทธิ์นำโครงข่ายดังกล่าวไปให้บริการประชาชน

"ปัญหาฟ้อง ร้องเกี่ยวกับทรัพย์สิน BTO หลัก ๆ อยู่ที่การโอนเสาสัญญาณต่าง ๆ ซึ่งเข้าสู่กระบวนการศาลเพื่อหาข้อยุติแล้ว โดยเสาของดีแทค 7,000 กว่าเสาโอนมาประมาณ 1,000 กว่าเสา ฝั่งทรูมูฟมี 6,000 กว่าเสา กำลังหาข้อยุติจากทั้ง 2 ฝ่าย"

"กิตติศักดิ์" พูดถึงประเด็นร้อนที่คาราคาซังอยู่อีกเรื่องด้วยว่า กรณีอภิดีล "กสทฯ-ทรู" ผลสอบของกระทรวงไอซีทีเพิ่งมาถึง กสทฯเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทคงต้องประเมินว่ามีผลกระทบในเชิงธุรกิจอย่างไร ก่อนตอบกลับไปยังกระทรวงไอซีที พร้อมหารือกับคู่สัญญาอย่างกลุ่มทรูเพิ่มเติมในเร็ว ๆ นี้

นอกเหนือ จากได้หารือกันไปบ้างแล้วก่อนหน้านี้ "ทั้ง กสทฯ และทรูไม่มีอำนาจทางกฎหมายในการตัดสิน ระหว่างนี้ต้องตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยงไปก่อน แต่เชื่อว่าบริการที่ให้บริการผู้บริโภคจะไม่มีผลกระทบ อย่างไรก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ เพราะต่อให้ กสทช.หรือหน่วยงานอื่นตีความหรือชี้มูลให้มีผลกระทบต่อสัญญาเดิม เรียลมูฟก็มีเครือข่ายใช้เพราะมีฐานะเป็น MVNO หรือผู้เช่าใช้โครงข่าย"

จาก การสอบถามทางอัยการสูงสุดได้ให้ความเห็นมาว่า กสทช.ต้องเป็นผู้ชี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 46 พ.ร.บ. กสทช. เท่ากับว่าปัจจุบันปัญหานี้ยังไม่มีคำตอบ ซึ่งในมาตรา 46 ระบุชัด

ว่า ห้ามไม่ให้ผู้อื่นมาบริหารโครงข่ายเองหรือบางส่วน ดังนั้นที่ทำกันอยู่จึงลำบากที่จะตอบ ต้องรอ กสทช. ถ้าเห็นว่าผิดก็ต้องหาโซลูชั่นที่จะเข้ามาแก้ไข ส่วนผลของ ป.ป.ช.ไม่แน่ใจว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง

สำหรับรายได้และค่าใช้จ่าย จากบริการHSPA+ ภายใต้แบรนด์ "ทรูมูฟ เอช" ทั้ง กสทฯ และกลุ่มทรูยังไม่ได้มีการนำส่งเงินให้แก่กัน เป็นเพียงการตั้งตัวเลขทางบัญชีไว้ก่อนจนกว่าจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับปัญหาของ สัญญา

ส่วนการนำความจุโครงข่าย HSPA+ ไปขายส่งให้ผู้ให้บริการรายอื่น กสทฯจะพยายามเปิดให้ทุกรายเข้ามาเป็น MVNO ได้ แต่ต้องเร่งแก้ปัญหาข้อสัญญาต่าง ๆเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อได้ เชื่อว่า ทุกโอเปอเรเตอร์ไม่มีใครอยากขึ้นศาล ถ้ามีสภาพแวดล้อมที่ทุกรายแข่งขันได้เท่าเทียมกัน

ด้านการทำตลาด บริการ HSPA+ ภายใต้แบรนด์ "my" ของ กสทฯ ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังกระทรวงการคลังและสภาพัฒน์ เพื่อสอบถามเรื่องการของบประมาณเป็นกรณีฉุกเฉินเพื่อนำมาใช้ในโครงการนี้ว่า ดำเนินการได้หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับลูกค้าที่ใช้งานในปัจจุบันโดยงบประมาณที่ขอ ไว้ 7,840 ล้านบาท สำหรับทำการตลาดเพิ่มขึ้น

ที่ผ่านมาติดปัญหาไม่ มีงบฯลงทุนเพราะโครงการไม่เคยผ่านการอนุมัติของ ครม.มาก่อน ทำให้ไม่มีงบฯ อีกทั้งค่าไอซี (ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย) กสทฯก็ยังไม่ได้จ่ายเพราะไม่มีงบฯ และกำลังจะเริ่มมีค่าปรับเพิ่ม หากได้อนุมัติมาจะนำมาเป็นค่าไอซี ค่าซื้อซิม ค่าโปรโมชั่นต่าง ๆ และในปีนี้ตั้งเป้าลูกค้าไว้ 500,000 ราย รวมบริการพรีเพดที่กำลังจะเปิดเร็ว ๆ นี้ หลังกำหนดให้ยื่นซองประกวดราคาจัดซื้อระบบ "เรียลไทม์ชาร์จจิ้ง" ใช้งบประมาณราว 300 ล้านบาท

"โครงข่ายทรูเป็นแค่ subset ที่ กสทฯมี ณ เวลานี้ต้องมองที่องค์รวม ผนึกโครงข่ายทรูมูฟ ดีพีซี ดีแทค บีเอฟเคที เพื่อให้ กสทฯก้าวสู่การเป็นเจ้าของโครงข่ายยักษ์ใหญ่แบบเดียวกับ กฟภ."

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1335000216&grpid=&catid=06&subcatid=


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.