Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 กรกฎาคม 2555 TRUE ประกาศชัดๆๆ(ไม่เห็นด้วย CAT TOT ต่อเวลาใช้คลื่นเดิม900 1800ควรประมูล)แต่ถ้าเอาจริงเราพร้อมเป็น MVNO

TRUE ประกาศชัดๆๆ(ไม่เห็นด้วย CAT TOT ต่อเวลาใช้คลื่นเดิม900 1800ควรประมูล)แต่ถ้าเอาจริงเราพร้อมเป็น MVNO

TRUE ประกาศชัดๆๆ(ไม่เห็นด้วย CAT TOT ต่อเวลาใช้คลื่นเดิม900 1800ควรประมูล)แต่หากเป็น CAT TOT เอาจริงเราพร้อมเป็น MVNO
ประเด็นหลัก

- ทีโอที-กสทฯ ต้องการต่อเวลาใช้คลื่นเดิม

ผมไม่ค่อยเห็นด้วย แต่เข้าใจว่าเขาต้องปกป้องผลประโยชน์ขององค์กรให้มากที่สุด

- กสทฯ จะเข้ามาดูโครงข่ายบีเอฟเคที

เป็น เรื่องที่เรายินดีเลย จริง ๆ บีเอฟเคทีเองก็เหมือนเป็นเวนเดอร์อยู่แล้ว ถ้า กสทฯ จะทำเรื่องกลั่นแกล้งก็ทำได้ แต่ไม่คิดว่าเขาจะทำอะไรที่ผิดไปจากกฎหมาย ผมคิดว่าเขาไม่ทำแน่ เพราะ กสทฯ ก็ต้องพยายามทำให้ดี การที่มีเราเข้ามาเสริม ก็ยิ่งทำให้การขยายเครือข่าย 3G การบริการเร็วขึ้นและดีขึ้น

ถ้า กสทฯ อยากซื้อบีเอฟเคที และทำตรงนั้นได้ด้วยตัวเอง ก็ไม่ปิดกั้น ส่วนเรื่องการแก้ไขสัญญา ทั้งคู่ก็คุยกันรู้เรื่องดี

- อยู่ที่เดิมเป็นลูกค้าใคร

ทรูมูฟไง สัมปทานหมด คลื่น 1800 MHz ก็ต้องประมูลต่อ

- ถ้ายืดการใช้ออกไป

ถ้า ไม่มีการประมูลใหม่ ก็จะอยู่กับ กสทฯ หรือทีโอที เราก็ต้องไปเอ็มวีเอ็นโอ กสทฯ คงไม่น่าจะมีปัญหา เพราะดิสทริบิวชั่นก็ไม่มี ต้องใช้คนใช้โครงสร้างมหาศาล ต้องยอมรับความจริง แต่เราก็ไม่อยาก ให้เป็นแบบนั้น หมดสัมปทานก็เริ่มต้นใหม่ได้ น่าจะดีที่สุด






_____________________________________________


อนาคตทรูมูฟ (เอช) จุดยืนธุรกิจบนรอยต่อสัมปทาน



สู้ มาตลอดในสมรภูมิธุรกิจสื่อสาร แต่ก็ล้มลุกคลุกคลานมาเรื่อย จะเพราะมาทีหลัง หรือโชคไม่เข้าข้าง โดนไปเต็ม ๆ ตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งมาถึงฟองสบู่เทเลคอมแตก แต่ก็สู้มาเรื่อยจนกลายมาเป็นบริษัทเจ้าของไทยเจ้าเดียวในสังเวียนธุรกิจ โทรศัพท์มือถือ จาก "ออเร้นจ์" มาเป็น "ทรูมูฟ" และล่าสุด "ทรูมูฟ เอช" นอกจากยังสู้ไม่ถอยเหมือนเดิมแล้ว ยังกล้าเสี่ยงเพราะอายุสัมปทานที่เหลือไม่ถึง 2 ปี หรือเห็นโอกาสพลิกขึ้นมาเป็นผู้นำบนเกม 3G บ้าง เป็นที่มาของการตัดสินใจซื้อ "ฮัทช์" พร้อมทำสัญญาธุรกิจกับ "กสทฯ" ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์อึงมี่ตั้งแต่เริ่มต้นจนปิดดีลสมัยรัฐบาลที่ แล้ว

จะเรียกว่าเช็กบิลหรืออะไรไม่ถูกก็ต้องแก้ ปัจจุบันสัญญาดังกล่าวอยู่ระหว่างการแก้ไขสัญญาในรัฐบาลชุดนี้

ใน เบื้องต้น "ทรูมูฟ" (เอช) ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ 3G ได้สมใจ เพียงแต่จะยืนระยะได้นานแค่ไหน จากสารพัดอุปสรรคระหว่างทาง ทั้งเรื่องการจัดสรรเลขหมาย, การติดตั้งโครงข่ายกับปัญหาใบอนุญาตนำเข้าอุปกรณ์ เป็นต้น

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับบิ๊กบอสกลุ่มทรู "ศุภชัย เจียรวนนท์" ดังนี้

- ทีโอที-กสทฯ ต้องการต่อเวลาใช้คลื่นเดิม

ผมไม่ค่อยเห็นด้วย แต่เข้าใจว่าเขาต้องปกป้องผลประโยชน์ขององค์กรให้มากที่สุด

- เกี่ยวกับการดูแลลูกค้าช่วงเปลี่ยนผ่านด้วย

คน ที่ดูแลตรงนี้น่าจะเป็น กสทช.มากกว่า ไม่งั้นจะตั้ง กสทช.ทำไม เมื่อสัมปทานหมดแล้ว ก็ต้องเดินเข้าสู่ระบบปกติได้แล้ว แต่เรื่องนี้คงต้องรอดูต่อไปว่าจะออกมายังไง เราเองก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำงานกับ กสทฯ กับทีโอทีไม่ได้ แต่อยากเห็นความชัดเจน และคิดว่าถึงจังหวะที่สัมปทานหมด ก็ควรเปิดเสรี

- กรณีทรูมูฟ เอช เป็นอย่างไรบ้าง

ใน ภาพรวมถือว่าโอเค อาจโดนคนโน้นคนนี้ดึงซ้ายที ขวาที แต่ก็ยังเดินหน้าได้ สถานการณ์วันนี้คงต้องบอกว่าดูดีขึ้น เป็นการบอกว่าสัญญาที่ทำไม่ผิดกฎหมาย กสทช.ให้มีการแก้ไขใน 6 ประเด็น ทั้งสองฝ่าย

คือทั้งเรา ทั้ง กสทฯ ก็ยอมแก้

- กสทฯ จะเข้ามาดูโครงข่ายบีเอฟเคที

เป็น เรื่องที่เรายินดีเลย จริง ๆ บีเอฟเคทีเองก็เหมือนเป็นเวนเดอร์อยู่แล้ว ถ้า กสทฯ จะทำเรื่องกลั่นแกล้งก็ทำได้ แต่ไม่คิดว่าเขาจะทำอะไรที่ผิดไปจากกฎหมาย ผมคิดว่าเขาไม่ทำแน่ เพราะ กสทฯ ก็ต้องพยายามทำให้ดี การที่มีเราเข้ามาเสริม ก็ยิ่งทำให้การขยายเครือข่าย 3G การบริการเร็วขึ้นและดีขึ้น

ถ้า กสทฯ อยากซื้อบีเอฟเคที และทำตรงนั้นได้ด้วยตัวเอง ก็ไม่ปิดกั้น ส่วนเรื่องการแก้ไขสัญญา ทั้งคู่ก็คุยกันรู้เรื่องดี

- ปัญหาเรื่องเลขหมาย

ทั้ง หมดกลับมาขมวดปมที่เรื่องการแก้สัญญา เพราะเป็นการแก้บางส่วนในบริษัทเรียลมูฟ และบางส่วนในบริษัทบีเอฟเคที ทีนี้ถ้าตรงนี้จบ ก็หมายความว่ากระบวนการต่าง ๆ จะจบ รวมถึงข้อกังขาต่าง ๆ การที่ กสทฯ บอกว่าต้องมีงบประมาณ รอโน่นนี่ ก็จะจบไปด้วย

- คิดว่าจะคลี่คลายได้

ผม คิดอย่างนี้นะ กสทช.ออกมาให้แก้ตามนี้ เมื่อทั้งสองฝั่งยอม ก็ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ แต่ที่สำคัญกว่านั้นอีก กสทฯ ก็คงรู้ว่าเวลาของเขาค่อย ๆ หมดลง ต่อไปเขาไม่มีแล้วส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทาน ผู้นำกลุ่มใหม่ที่เข้ามาก็คงค่อย ๆ เรียนรู้ว่าอะไรจำเป็นไม่จำเป็น สิ่งที่ทำมาก็ดีกับ กสทฯ อยู่แล้ว เข้ามาใหม่ ก็อาจต้องมาปรับอะไรบ้าง เป็นเรื่องปกติ

- ไม่คิดว่าจะโดนดึงให้ช้า

จะดึงได้ยังไง ถ้า กสทฯ เอาจริงเรื่องคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ของทีโอที ที่จะเอาคลื่นกลับมาทำเอง โครงสร้างสัญญาต้องเป็นแบบที่เรียลมูฟและบีเอฟเคทีทำ รับรองได้ว่าไม่มีทางอื่น เราศึกษามาหมดแล้ว อันนี้อาจเป็นอีกตัว ถ้าทำให้สัญญาเราเละ จะเดินต่อยังไง อันหนึ่งเป็นเอ็มวีเอ็นโอ อีกอันเป็น Operation&Maintennance

- ต่อไปมีประมูล 3G ก็มีทั้งไลเซนส์ทั้งสัญญาแบบที่ทรูทำ มี 2 ขา

ก็ ต้องเดินไปได้ แต่ดีที่สุดคือการเปิดเสรี ถ้าเรามองว่าจะให้เวลา กสทฯ กับทีโอที แล้วดึงเวลาไปเรื่อย ๆ ตรง 2G ไม่น่าจะถูกต้อง ในแง่หลักการ ควรเปิดเสรี ต้องเป็นระบบใบอนุญาต ไม่ต้องกังวลว่าลูกค้าจะมีปัญหา ไม่มีใครมีสิทธิเป็นเจ้าของลูกค้า นอกจากลูกค้าเอง เขาก็มีสิทธิเลือก

- จะมีกระบวนการอะไรสักอย่างในอีกไม่กี่เดือนก่อนสัมปทานหมด

ไม่น่ามีประเด็น ถ้าสัมปทานหมด ลูกค้ามีสิทธิเลือกว่าจะอยู่ที่เดิม หรือไปอยู่ที่ กสทฯ

- อยู่ที่เดิมเป็นลูกค้าใคร

ทรูมูฟไง สัมปทานหมด คลื่น 1800 MHz ก็ต้องประมูลต่อ

- ถ้ายืดการใช้ออกไป

ถ้า ไม่มีการประมูลใหม่ ก็จะอยู่กับ กสทฯ หรือทีโอที เราก็ต้องไปเอ็มวีเอ็นโอ กสทฯ คงไม่น่าจะมีปัญหา เพราะดิสทริบิวชั่นก็ไม่มี ต้องใช้คนใช้โครงสร้างมหาศาล ต้องยอมรับความจริง แต่เราก็ไม่อยาก ให้เป็นแบบนั้น หมดสัมปทานก็เริ่มต้นใหม่ได้ น่าจะดีที่สุด

- การประมูล 3G กับปัญหาการถือหุ้นของต่างชาติ

เชื่อ ว่าทุกคนรอประมูลไลเซ่นส์ใหม่ ต่อไปจะได้ไม่ต้องอยู่ภายใต้รูปแบบเดิมที่รัฐผูกขาด เปลี่ยนไปสู่ระบบใบอนุญาต สิ่งที่ตามมาคือกฎ ระเบียบต่างด้าว เพื่อไม่ให้เข้ามาครอบงำ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและสื่อ ซึ่งทั้งโลกเหมือนกัน ที่คำนึงถึงเรื่องความมั่นคง กฎหมายข้อนี้บอกว่าต่างประเทศไม่ควรถือหุ้นเกิน 49% เพื่อทำให้การบริหารมีความสมดุล

จุดยืนทรูชัดเจน เราไม่ได้ต้องการแค่ปกป้องธุรกิจไทย เพราะในฐานะนักธุรกิจขายได้ 100% ก็ดี แต่ในฐานะคนไทย ถ้าข้อมูลเกี่ยวกับคนในประเทศโอเปอเรตได้โดยไม่มีการเช็กแอนด์บาลานซ์ คน

ต่าง ประเทศส่งคนมาเก็บข้อมูลสำคัญของประเทศเราไป กลับไปประเทศเขา เขาเป็นฮีโร่ แต่ถ้าเราเป็นแบบนั้น เราเป็นทรราชย์ ถึงจุดหนึ่งในบางอุตสาหกรรม ต้องมีจุดยืนเพื่อให้เกิดความสมดุล

ต่างประเทศถือหุ้นใหญ่ได้ แต่ก็ยังต้องมีวิธีการตรวจสอบให้เกิดความสมดุล

- พรีเมียร์ลีกหลายค่ายจับกันสู้ทรู

ก็ไม่นะ เราก็เปิด เพียงแต่ไม่ได้เป็นข่าว แต่ก็มีหลายคนอ้างว่าได้คุยกับทรูด้วย (หัวเราะ) แต่เขาไม่พูดทั้งหมดเท่านั้นเอง

- มีแนวคิดใหม่ว่าควรรวมกันไปประมูล

ก็ เป็นแนวคิดที่ดี ถ้าหาจุดที่เป็นประโยชน์ร่วมกันได้ คือก็ต้องดูว่าสามารถจัดสรรได้ลงตัวไหม ถ้าจัดสรรได้ลงตัว ทำได้ก็น่าสนใจ อาจมีคอร์หลัก ๆ รวมทั้งเรามาคุยกัน เราก็คุยกับหลายเจ้า แต่ยังบอกไม่ได้ว่าจะมีพาร์ตเนอร์หรือไม่มี ยังไม่มีบทสรุป ในแง่เงินเทียบกับครั้งที่แล้ว การประมูลครั้งนี้ก็น่าจะสูงกว่า

- บางเจ้าบอกว่าไม่กำไรไม่เอา

คือ ในที่สุดคงหาแนวทางที่ร่วมกันได้ หรือแม้ร่วมกันไม่ได้ การแข่งขันก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นจุดจบ ใครได้ไปก็ยังมาคุยกันต่อได้ เราได้ไปก็คุยกับเจ้าอื่นได้ หรือเจ้าอื่นได้ก็มาคุยกับเราได้ ถ้าจัดสรรได้ถูกต้อง ทรูวิชั่นส์ไม่ได้มองทุกคนเป็นคู่แข่ง ตลาดเราก็แตกต่างจากตลาดอื่นพอสมควร มองจุดร่วมได้ ถ้าจัดสรรไม่ลงตัวไม่ได้ต้องแข่งกันโดยตรงก็ต้องแข่ง

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1343032762&grpid=09&catid=06&subcatid=0600

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.