Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 กรกฎาคม 2555 (เกาะติดประมูล 3G ) TRUE ชี้ไร้เงา ผู้ประมูลรายที่ 4 // แต่ละโอเปอเรเตอร์ต้องมี 15MHz หากถามว่ามี 10MHz ทำได้ไหม

(เกาะติดประมูล 3G ) TRUE ชี้ไร้เงา ผู้ประมูลรายที่ 4 // แต่ละโอเปอเรเตอร์ต้องมี 15MHz หากถามว่ามี 10MHz ทำได้ไหม


ประเด็นหลัก


สิ่งที่ทรูต้องการ ยังน้อยกว่าสิ่งที่ประเทศไทยต้องการ


อติ รุฒม์ กล่าวถึงจำนวนคลื่นความถี่ที่ทรูต้องการว่า “สิ่งที่ทรูต้องการยังสำคัญน้อยกว่าสิ่งที่ประเทศไทยต้องการ แต่ละโอเปอเรเตอร์ต้องมี 15MHz หากถามว่ามี 10MHz ทำได้ไหม ทำได้ แต่การลงทุนเรื่องโครงข่ายจะแพงกว่า ไม่ได้ลดลงไป 1 ส่วน 3 ประมูลคลื่นน้อยลง ไม่ใช่ลงทุนลดลง 1 ส่วน 3 แต่ลงทุนเน็ตเวิร์คแพงขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งจะส่งผลระยะยาว คือผู้ประกอบการรายนั้นก็จะแข่งลำบากเพราะต้นทุนแตกต่างกัน เป็นการบีบให้ผู้ประกอบการรายนั้นแพ้อีก 2 ราย และจะกลับไปเป็น duopoly ซึ่งจะทำให้ราคาขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะไม่มีการแข่งขัน ตรงนี้ต้องมองว่าประเทศไทยต้องการอะไรมากกว่า ถามทรูว่าต้องการอะไร เพราะไม่มีประโยชน์ ในเมื่อประเทศไทยต้องการ 15MHz เท่ากัน”


อติ รุฒม์ กล่าวต่อว่า “หากถามว่าทำไมต้อง 15MHz ก็เป็นเพราะว่า ทีโอที ได้คลื่นนี้ไปที่ 15MHz แล้ว ถ้าให้รายใหม่ 20MHz ทีโอที อาจฟ้องว่าเป็นการกีดกันเพราะแพ้รายใหม่ แล้วการที่ให้ 20MHz สำหรับขนาดของประเทศไทยมันเกินไป ในต่างประเทศ การที่เอาคลื่นเกินไป เพราะ Regulator ให้นั้น เหตุผลคือ การกีดกันคู่แข่ง ไม่ให้มีคู่แข่งได้เท่ากัน ผู้ประกอบการที่ได้ 5MHz ในต่างประเทศ เขาเอาไว้ขาย โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่ได้ 5MHz ก็จะถูก Takeover และถูก Consolidated โดยรายใหญ่ โดยปริยาย”

“Spectrum Cap คลื่น 2,100 เปิดให้ 4 ล็อต ก็หมายความว่าการที่มีโอเปอเรเตอร์รายหนึ่งที่มีเงินเยอะกว่าคนอื่น สามารถประมูลได้ 20MHz จาก 45MHz ถ้ามีคนหนึ่งได้ไป 20MHz แล้ว เพราะฉะนั้น จะเหลืออยู่ที่ 25MHz ไม่รู้ว่าจะชนะกันอีกเท่าไร แต่สำหรับประเทศไทย จุดที่ Optimal ที่สุดที่ กทช.เขาทำการศึกษาแล้ว เพราะฉะนั้น การที่ได้ 10MHz น้อยกว่า 15MHz ก็จะเสียเปรียบอย่างมากในการลงทุนครั้งนี้ และสุดท้ายก็จะแพ้ แต่ถ้าประมูลได้ 5MHz ก็เตรียมขายคนอื่นได้เลย” อติรุฒม์ กล่าว

“ปัจจุบัน เอไอเอส มี Spectrum อยู่ 30MHz ดีแทค 60MHz ทรูมูฟ 12.5MHz CAT 12.5MHz ทีโอที 15MHz เพราะฉะนั้น ถ้ามี Global Spectrum Cap ออกมาวันนี้ ทุก Operator จะได้แพลนได้ว่าคลื่นที่ต้องการที่สุดคือคลื่นอะไรบ้าง ต้องประมูลครั้งไหน ไม่ใช่ว่าพอเป็นทรัพยากรของประเทศอื่น ก็ต้องการทั้งหมด” อติรุฒม์ กล่าว




เชื่อ ไม่มีรายที่ 4



เขา กล่าวถึงความคาดหวังที่จะมีผู้ประกอบการรายที่ 4 เข้ามาประมูลหรือไม่ ว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่ง เห็นได้ชัด คือ ราคาตั้งต้น 12,800 ล้าน ถูกกว่า ณ ปัจจุบัน ที่ตั้งราคาไว้ 13,500 ล้าน ณ วันนั้น กทช. ได้ออกเดินสาย Road Show ทั่วโลก ทุกทวีป แต่ถึงเวลาประมูลก็มีเพียง 3 รายเดิมที่สัมปทานจะหมดแล้ว และไม่รู้จะทำอย่างไรกับลูกค้าจึงต้องมาประมูล”








__________________________________________


สิ่งที่ทรูต้องการ ยังเทียบไม่ได้ กับที่ประเทศไทยต้องการ

แม้ จะมีมรสุมโหมกระหน่ำ แต่นาวาที่มีนามว่า ทรู ก็ยังพร้อมที่จะฟันฝ่าต่อไป ภายใต้ความรู้สึกอันแรงกล้า “สิ่งที่ทรูต้องการ ยังเทียบไม่ได้ กับที่ประเทศชาติต้องการ”


ขณะที่การประมูลครั้งประวัติศาสตร์ของวงการโทรคมฯ ไทย ก็ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ โดยมี กสทช. ขับเคลื่อนให้เดินหน้าอย่างสุดกำลัง

ดัง นั้น การประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz ที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงเป็นภารกิจสำคัญของทรู และภารกิจดังกล่าว คงไม่อาจสำเร็จราบรื่นได้ หากไร้ซึ่งชายที่ชื่อว่า อติรุฒม์ โตทวีแสนสุข หนึ่งในขุนพลผู้ขับเคลื่อน ทรู ให้ถึงฝั่งฝัน


อติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโมบายล์ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยกับ เทเลคอม เจอร์นัล ต่อประเด็นการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz ที่จะเกิดขึ้นในปลายปีนี้ ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า


ทรู พร้อมประมูลมา 2 ปีแล้ว

“สำหรับ การเตรียมตัวในการประมูล 3G ทรู เตรียมพร้อมเสร็จตั้งแต่ปี 2010 แล้ว จนกระทั่งศาลปกครองสั่งยับยั้งการประมูล หลังจากนั้นเราก็ไม่ได้หยุดนิ่ง ได้ดำเนินการตามที่เราเตรียมการไว้เลย เราได้รีไฟแนนซ์ ทำ Partnership กับ กสท โดยคาดว่างบประมาณสำหรับ 3G ที่จะให้บริการได้ทั่วประเทศ อยู่ในวงเงินกู้ที่เราได้มาแล้วในปี 2011 จำนวน 49,600 ล้านบาท ซึ่งเราก็ได้ใช้ไปส่วนหนึ่งแล้ว”

ทั้งนี้ อติรุฒม์ กล่าวว่า งบประมาณในการประมูลคลื่นเท่าไร ไม่สามารถให้คำตอบได้ เนื่องจากเป็น Competitive Information

อติ รุฒม์ กล่าวต่อว่า “สำหรับการลงทุนประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือการลงทุนเพื่อประมูลคลื่นความถี่ อีกส่วนหนึ่งคือการ Roll Out Network เพื่อไปให้บริการกับประชาชนจริงๆ ถ้าส่วนหนึ่งมาก อีกส่วนหนึ่งก็น้อย ตลาดเมืองไทยมี 66 ล้านคน ลงทุนได้ถึงจุดหนึ่ง ถึงจะมีจุดคุ้มทุน ไม่ใช่จะลงทุนเท่าไรก็ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าราคาประมูลยิ่งสูง ถูกตั้งให้สูง ทุกอย่างสูงหมด เงินก็ไปเข้าสู่ กสทช. ก็มีเงินเหลือน้อยที่จะเอาไป Roll Out”

เขา ยังกล่าวด้วยว่า “จำนวนเงินที่ผู้ประกอบการบางค่ายตั้งไว้ว่า 40,000-50,000 ล้านบาทนั้น น่าจะเป็นทั้งโครงการ หากมีการเตรียมเงินถึง 50,000 ล้าน สำหรับการประมูล ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่จะมีเงินเข้าประเทศ แต่ก็ต้องมองอีกมุมที่ว่าผู้บริโภคก็ต้องจ่ายอย่างมหาศาล จนอาจใช้งานไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ประเทศอังกฤษ ประมูลราคาสูงเป็นแสนล้าน ซึ่งจนวันนี้ การเข้าถึง 3G ของอังกฤษยังไม่ถึงครึ่งประเทศเลย เพราะราคาแพง ไม่สามารถใช้ได้ จนกระทั่ง Regulator บางประเทศที่ยุโรปเขาเอาเงินมาคืน หรือที่เยอรมนี ส.ว. เขาจะปลด Regulator เลย เพราะประมูลได้เงินมามากมายแล้ว แต่ไม่มีใครสามารถ Roll Out ได้ ทุกรายต้องปิดกิจการ ขายบริษัทกัน จนประเทศเยอรมนีไม่ต้องใช้ 3G เมื่อ ส.ว.เขาจะปลด Regulator ก็เลยต้องเอาเงินมาคืนให้ผู้ประกอบการที่ประมูลชนะ ซึ่งคนที่ประมูลแพ้ก็จะฟ้องร้องอีก”


สิ่งที่ทรูต้องการ ยังน้อยกว่าสิ่งที่ประเทศไทยต้องการ


อติ รุฒม์ กล่าวถึงจำนวนคลื่นความถี่ที่ทรูต้องการว่า “สิ่งที่ทรูต้องการยังสำคัญน้อยกว่าสิ่งที่ประเทศไทยต้องการ แต่ละโอเปอเรเตอร์ต้องมี 15MHz หากถามว่ามี 10MHz ทำได้ไหม ทำได้ แต่การลงทุนเรื่องโครงข่ายจะแพงกว่า ไม่ได้ลดลงไป 1 ส่วน 3 ประมูลคลื่นน้อยลง ไม่ใช่ลงทุนลดลง 1 ส่วน 3 แต่ลงทุนเน็ตเวิร์คแพงขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งจะส่งผลระยะยาว คือผู้ประกอบการรายนั้นก็จะแข่งลำบากเพราะต้นทุนแตกต่างกัน เป็นการบีบให้ผู้ประกอบการรายนั้นแพ้อีก 2 ราย และจะกลับไปเป็น duopoly ซึ่งจะทำให้ราคาขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะไม่มีการแข่งขัน ตรงนี้ต้องมองว่าประเทศไทยต้องการอะไรมากกว่า ถามทรูว่าต้องการอะไร เพราะไม่มีประโยชน์ ในเมื่อประเทศไทยต้องการ 15MHz เท่ากัน”


อติ รุฒม์ กล่าวต่อว่า “หากถามว่าทำไมต้อง 15MHz ก็เป็นเพราะว่า ทีโอที ได้คลื่นนี้ไปที่ 15MHz แล้ว ถ้าให้รายใหม่ 20MHz ทีโอที อาจฟ้องว่าเป็นการกีดกันเพราะแพ้รายใหม่ แล้วการที่ให้ 20MHz สำหรับขนาดของประเทศไทยมันเกินไป ในต่างประเทศ การที่เอาคลื่นเกินไป เพราะ Regulator ให้นั้น เหตุผลคือ การกีดกันคู่แข่ง ไม่ให้มีคู่แข่งได้เท่ากัน ผู้ประกอบการที่ได้ 5MHz ในต่างประเทศ เขาเอาไว้ขาย โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่ได้ 5MHz ก็จะถูก Takeover และถูก Consolidated โดยรายใหญ่ โดยปริยาย”



ราคา คือต้นทุนของผู้บริโภค



ใน ส่วนของราคาตั้งต้น ซึ่งกำหนดไว้ที่ 4,500 ล้านบาท ต่อ 5MHz อติรุฒม์ กล่าวว่า “ราคา เป็น Relative Term ราคาจะเป็นเท่าไรก็ได้ ราคาเป็นแสนล้านก็มีมาแล้ว แต่ผู้บริโภคต้องจ่ายเท่าไร จ่ายแพงจนไม่มีใครใช้ เพราะราคา คือต้นทุนของผู้บริโภค”



อติ รุฒม์ กล่าวต่อว่า “สำหรับเรื่อง Sunk Cost นั้น ราคาคลื่นจะเป็น Sunk Cost ได้ ก็ต่อเมื่อประมูลได้แล้ว ไม่มีอายุการใช้งาน แต่ว่าการประมูลนี้ไม่ใช่ เพราะมีอายุ 15 ปี มันต้องถูก Amortize ตัดเป็นค่าเสื่อมจึงไม่เป็น Sunk Cost”



เขากล่าวต่อว่า “ในส่วนของ Spectrum Cap นั้น มีอยู่ 2 ตัว คือ Spectrum Cap ในคลื่น 2,100 MHzที่ทุกคนกำลังพูดอยู่ ขณะที่ที่สำคัญไม่แพ้กัน และไม่มีใครพูดถึงคือ Global Spectrum Cap”



“Spectrum Cap คลื่น 2,100 เปิดให้ 4 ล็อต ก็หมายความว่าการที่มีโอเปอเรเตอร์รายหนึ่งที่มีเงินเยอะกว่าคนอื่น สามารถประมูลได้ 20MHz จาก 45MHz ถ้ามีคนหนึ่งได้ไป 20MHz แล้ว เพราะฉะนั้น จะเหลืออยู่ที่ 25MHz ไม่รู้ว่าจะชนะกันอีกเท่าไร แต่สำหรับประเทศไทย จุดที่ Optimal ที่สุดที่ กทช.เขาทำการศึกษาแล้ว เพราะฉะนั้น การที่ได้ 10MHz น้อยกว่า 15MHz ก็จะเสียเปรียบอย่างมากในการลงทุนครั้งนี้ และสุดท้ายก็จะแพ้ แต่ถ้าประมูลได้ 5MHz ก็เตรียมขายคนอื่นได้เลย” อติรุฒม์ กล่าว



อติรุฒม์ กล่าวต่อว่า “สำหรับ Global Spectrum Cap ในต่างประเทศมีกฎ แต่ประเทศไทยยังไม่มี ซึ่งมีความสำคัญเท่าตัวแรก การมี Global Spectrum Cap จะช่วยไม่ให้เกิด Monopoly โดยจะกำหนดว่าโอเปอเรเตอร์แต่ละรายจะมีคลื่นความถี่ได้สูงสุดเท่าไร ถ้าถึงจุดนั้นแล้ว ต้องแบ่งให้คนอื่นไปทำธุรกิจบ้าง ประเทศอื่นกำหนดที่ 35, 45, 50MHz ในย่านนั้น”



“ปัจจุบัน เอไอเอส มี Spectrum อยู่ 30MHz ดีแทค 60MHz ทรูมูฟ 12.5MHz CAT 12.5MHz ทีโอที 15MHz เพราะฉะนั้น ถ้ามี Global Spectrum Cap ออกมาวันนี้ ทุก Operator จะได้แพลนได้ว่าคลื่นที่ต้องการที่สุดคือคลื่นอะไรบ้าง ต้องประมูลครั้งไหน ไม่ใช่ว่าพอเป็นทรัพยากรของประเทศอื่น ก็ต้องการทั้งหมด” อติรุฒม์ กล่าว



การแข่งขันในตลาด ยังเป็น Monopoly



อติ รุฒน์ กล่าวถึง สถาพการแข่งขันของตลาดโทรคมฯ ไทยว่า “ณ วันนี้ เรายังอยู่ภายใต้ Monopoly แต่ชอบเรียกตัวเองว่าเป็นการเปิดเสรี เพราะจริงๆ ภายใต้การแข่งขันมือถือนี้มีผู้ประกอบการอยู่ 2 รายแค่นั้นเอง คือ ทีโอที กับ กสท ที่เหลือเป็นผู้อยู่ใต้สัญญาสัมปทานของ 2 รายนี้ เพราะฉะนั้น มองอย่าง Monopoly ที่เราเป็นมา 40–50 ปี ก็ยังเหมือนเดิม ไม่ได้ต่างอะไร”



เชื่อ ไม่มีรายที่ 4



เขา กล่าวถึงความคาดหวังที่จะมีผู้ประกอบการรายที่ 4 เข้ามาประมูลหรือไม่ ว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่ง เห็นได้ชัด คือ ราคาตั้งต้น 12,800 ล้าน ถูกกว่า ณ ปัจจุบัน ที่ตั้งราคาไว้ 13,500 ล้าน ณ วันนั้น กทช. ได้ออกเดินสาย Road Show ทั่วโลก ทุกทวีป แต่ถึงเวลาประมูลก็มีเพียง 3 รายเดิมที่สัมปทานจะหมดแล้ว และไม่รู้จะทำอย่างไรกับลูกค้าจึงต้องมาประมูล”



ระบุ Infrastructure Sharing ควรมีนานแล้ว



อติ รุฒม์ กล่าวถึงการทำ Infrastructure Sharing ว่าเป็นสิ่งที่ควรจะทำมานานมากแล้ว เขากล่าวว่า “สมัยที่ตั้งทรูมูฟ สิ่งที่เป็นเรื่องยากลำบากมากที่สุด คือการต้องไปหาที่ที่จะวางเสา ใช้เวลานานกว่าที่จะเข้ามาในตลาดแข่งขันได้ ซึ่งจริงๆ ประเทศนี้ต้องการการแข่งขัน เพราะสมัยก่อนมีมือถืออยู่ 2 ราย ราคามือถือเครื่องละ 70,000 – 80,000 บาท ค่าโทร 12 บาทต่อนาที เมื่อเกิดรายที่ 3 ขึ้นมา ทุกคนก็กีดกันทั้งนั้น ไม่ให้ไป Share อะไรด้วย อยากจะตั้งก็ตั้งกันเอง ประเทศไทยทุกที่ที่มีเสา จะมีเสา 3 ต้นอยู่ด้วยกัน จนคนต่างประเทศมาถามว่า สงสัยประเทศไทยจะเป็นผู้ Export เสาสูงทั่วโลก เพราะรัฐบาลส่งเสริมให้มีการสร้างเสา Trade off กับการทำลายทัศนียภาพทั่วประเทศทั้งหมด”



“นี่เป็นเรื่องที่ ควรจะทำมานานแล้ว แต่เราไม่ตอกย้ำเรื่องประโยชน์ของประเทศ เสาทุกต้นต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งนั้น เพราะประเทศไทยไม่มีเหล็ก Infrastructure ของโทรคมนาคมต้อง Share กัน แล้วตั้งราคามาเลย ถ้ามีคนไปขอแล้วไม่ได้ ก็ปรับหรือริบใบอนุญาตเลย” อติรุฒม์ กล่าว



หนุนร่างครอบงำฯ ลั่น ต่างชาติ จะเข้ามาทำธุรกิจแล้วไม่เคารพกฎหมายไทยไม่ได้



อติ รุฒม์ แสดงความเห็นต่อร่างประกาศครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ของ กสทช. ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการไทยว่า “หากคนต่างชาติบอกว่าอยากมาทำธุรกิจที่ประเทศไทย แล้วไม่เคารพกฎหมายไทย โดยบอกว่าไม่ผิดกฎหมายประเทศตัวเอง เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง”



เขา ยังกล่าวด้วยว่า “การทำธุรกิจในประเทศอื่น ซึ่งมีกฎเกณฑ์ของประเทศนั้นๆ แต่บอกว่าไม่ทำตาม อ้างว่าสามารถพัฒนาได้ดีกว่า และมีนักวิชาการที่เห็นใจ จึงไม่ทำตามกฎหมายประเทศนั้น พูดง่ายๆ ว่าจะทำผิดกฎหมายหรือถูกกฎหมาย ถ้าทำผิดกฎหมาย แล้วนักวิชาการยังมาบอกอีกว่า ถ้าไม่ปล่อยให้ทำผิดกฎหมาย จะเกิดอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งการมาขู่เช่นนี้ ดูแปลกมาก”



ระบุ เคารพ มติ กสทช.



จาก มติของ กทค. ที่ระบุว่าให้ทรูลดบทบาทลงเสมือนเป็น MVNO จากการแก้ไขสัญญา 3G กับ กสท นั้น อติรุฒม์ กล่าวว่า ทรู เคารพในการตัดสินใจของ กสทช. หากเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับประเทศชาติ



“ทรูเคารพในอำนาจ การตัดสินใจของ กสทช. หาก กสทช. เห็นว่าแก้ไขเช่นนี้แล้วจะดีที่สุดสำหรับประเทศ เราก็ยินดีปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา เราไม่มีปัญหาอะไรกับ กสท ยังเป็นพันธมิตรกันมาจนถึงทุกวันนี้”



ยัน ลูกค้าไม่กระทบ ดีล 3G



จาก การตรวจสอบดีล 3G ระหว่างทรู กับ กสท ที่ทำให้ลูกค้าเกิดความกังวลว่า จะมีผลกระทบต่อตนเองหรือไม่นั้น อติรุฒม์ ยืนยันว่า จะไม่มีการกระทบกับลูกค้าอย่างแน่นอน



“เรื่องนี้ไม่ได้กระทบ กับลูกค้าแต่อย่างใด ทรู ยังทำการตลาด และมีลูกค้าใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ ทรู มีการชี้แจงต่อสังคมมาโดยตลอด เพื่อสร้างความเข้าใจว่าลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้น”


tjinnovation
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=2236

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.