Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 กุมภาพันธ์ 2555 เปิดใจอานนท์ CEOTOT มั้นใจการเมืองไม่มีผลกับ TOT // ปัญหาของ TOT คือ รายได่ พนักงานส่วนใหญ่ 90% ทำงานเต็มที่แล้ว

เปิดใจอานนท์ CEOTOT มั้นใจการเมืองไม่มีผลกับ TOT // ปัญหาของ TOT คือ รายได่ พนักงานส่วนใหญ่ 90% ทำงานเต็มที่แล้ว


ประเด็นหลัก

IT Digest : ปัญหาและอุปสรรค์ในการบริหารงาน
อานนท์ : นอกเหนือจากปัญหาอุทกภัยครั้งล่าสุด องค์กรนี้ยังขาด ต้องยอมรับว่าทีโอทีเติบโตมาจากความเป็นราชการ ได้พยายามปรับการดำเนินงานให้เป็นรูปแบบของบริษัทเอกชนอย่างเต็มตัวในอนาคต ซึ่งต้องใช้เวลาในการขับเคลื่อน ไม่สามารถทำได้โดยทันที ซึ่งในปี 2556 ทุกคนรู้ดีว่า พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ กำหนดว่า รายได้จากคลื่นความถี่สัมปทาน จะถูกส่งไปยังรัฐ เพราะฉะนั้นรายได้ในเวลานั้น ถ้าหากยังไม่รีบเปลี่ยนบุคลิกขององค์กรในปัจจุบัน ก็ปรับตัวค่อนข้างดีมาก จากการที่ได้รางวัลต่างๆ นอกจากนี้ จะต้องพยายามปรับตัวทั้งภายในและภายนอก ให้สามารถอยู่รอดได้ หลังจากวิกฤติในเดือน ธ.ค. 2556

ขณะที่ พนักงานส่วนใหญ่ 90% ทำงานเต็มที่แล้ว ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ซึ่งมีส่วนน้อยที่ไม่เต็มที่ ซึ่งจะต้องใช้วิธีบริหารจัดการทำให้พนักงานทุกส่วนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และนำไปสู่เป้าหมายขององค์กร นอกจากนี้ หัวหน้าในแต่ละส่วนก็มีความสำคัญ เป็นทั้งตัวอย่างในกับผู้ใต้บังคับบัญชา และต้องเป็นองค์กรที่สามารถตรวจสอบได้ บางครั้งการทำงานหากมีคนร้องเรียน ก็จะต้องเปิดเผยงาน หรือโครงการ ซึ่งจะทำให้คู่แข่งทราบ ส่วนเอกชนสามารถทำก่อนได้เลย เพื่อทันความต้องการของลูกค้า เลยทำให้บางครั้งในการทำโครงการต่างๆ จะต้องมีขั้นตอนในการดำเนินการ

อย่าง ไรก็ตาม สิ่งที่ทีโอทีต้องการ คือ ความคล่องตัวมากขึ้นในการทำงาน ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของ 3จี แต่รวมถึงทุกเรื่อง ซึ่งในเวลานี้อยากให้ตระหนักว่า ผ่อนคลายในบางเรื่อง แต่ว่าสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งหมายถึง สามารถทำให้องค์กรนี้เดินหน้าแข่งขันกับองค์กรอื่นได้ ขณะเดียวกัน ในความเห็นส่วนตัว คือ ขอความคล่องตัวในการทำงาน ถ้าไม่คล่องตัว องค์กรนี้อยู่ลำบาก ให้ความเป็นธรรมกับองค์กรนี้ ที่ถูกมัดมือไว้ทุกจุด การจะทำอะไรจะต้องผ่านขั้นตอนมากมาย การผ่อนผันจากการคลายกฎระเบียบ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งกว่าจะออกมาต้องใช้เวลานานมาก รวมทั้งเกี่ยวกับการเรื่องที่เปลี่ยนซีอีโอ หรือบอร์ดบริหารบ่อย การทำงานจะขาดตอน รวมทั้งนโยบายที่เปลี่ยนตามผู้บริหารด้วย

IT Digest : การเมืองในทีโอที ถือว่ารุนแรง?
อานนท์ : ในส่วนตัวผมว่าไม่ เราเป็นพี่น้องกัน ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าฟันจนได้มาทุกวันนี้ แต่บอร์ดอาจจะมองอีกมุมหนึ่ง



_________________________________________________________

เปิดใจ 'อานนท์ ทับเที่ยง' ซีอีโอลูกหม้อทีโอที 'ภูมิใจในองค์กร...วันนี้ทำดีที่สุดแล้ว'

ดร.อานนท์ ทับเที่ยง ซีอีโอทีโอที เปิดใจครั้งแรก และครั้งเดียว กับการทำงานกว่า 27 ปี ในองค์กรความฝัน พร้อมการไขข้อข้องใจ หลังปิดปากเงียบ ตั้งแต่บอร์ดมีมติเลิกจ้าง...

เหลืออีกเพียงไม่กี่วันแล้วที่ ดร.อานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จะกลายเป็นเพียงอดีต หลังจากคณะกรรมการ หรือ บอร์ด ทีโอที ชุดที่มีนายพันธ์เทพ จำรัสโรมรัน เป็นประธาน มีมติ “เลิกจ้าง” ด้วยเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ 1.โครงการ 3 จีไม่คืบ 2.ขาดสภาวะผู้นำ และ 3.ทำงานไม่สอดคล้องกับนโยบายของบอร์ดใหม่ แม้ว่า นายธีรวุฒิ บุณยโสภณ อดีตประธานบอร์ดทีโอที ที่เคยบริหารงานร่วมกับ ดร.อานนท์ มาก่อน เคยออกมาโต้ว่าเหตุผลทั้ง 3 ประการ ที่บอร์ดชุดปัจจุบันระบุมา ไม่สอดคล้องกับการทำงานของ ดร.อานนท์แม้แต่ข้อเดียว

หลังจากมติบอร์ด ออกมา สื่อทุกแขนงพยายามติดต่อ ดร.อานนท์ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ขณะที่ มีกระแสข่าวระบุว่า ดร.อานนท์ เครียดจนถึงขั้นล้มป่วยจนเข้าโรงพยาบาล และไม่พร้อมตอบคำถามใดใดทั้งสิ้น บ้างก็ว่าเคารพในการทำงานของบอร์ด บ้างก็ว่าทำใจไม่ได้ กระทั่งวันนี้ ดร.อานนท์ ยอมเปิดใจทุกเรื่อง ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้นติดตามได้ ณ บัดนี้...

“คิดกลับกัน เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งเท่านั้น ที่เริ่มจากเด็กจบมหาวิทยาลัยใหม่ๆ อยากเข้าองค์กรนี้ จนได้เข้ามากระทั่งเป็นผู้บริหารสูงสุด ซึ่งมีความภูมิใจที่ได้ทำงาน และนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จในระดับหนึ่ง อย่างน้อยในช่วงเวลาที่ได้ทำงาน แม้ว่าจะออกจากองค์กรนี้แล้วก็ตาม ก็ยังคงเฝ้ามององค์กรนี้” ดร.อานนท์ กล่าวถ้อยคำเริ่มสนทนาอย่างเป็นกันเอง ก่อนเข้าสู่การพูดคุยที่พร้อมตอบทุกคำถาม

IT Digest : ความประทับใจในการทำงานที่ทีโอที
อานนท์ : กว่า 27 ปี ที่อยู่ทีโอที ภูมิใจที่ได้เข้ามาทำงานในองค์กรแห่งนี้ ซึ่งเป็นองค์กรที่อยากเข้ามาก ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษา เพราะชอบวิชาฟิกส์ เกี่ยวกับคลื่นมาก พอเข้ามหาวิทยาลัยเลยเลือกเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาโทรคมนาคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากนั้นเข้าทำงานที่ทีโอที หรือ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในสมัยนั้น ในความคิดเห็น เป็นองค์กรที่มั่นคง และมีชื่อเสียง พอเข้ามาดีใจที่มีโอกาสได้รับทุนต่างๆ จากการสอบชิงทุน เพื่อศึกษาดูงาน ทั้งทุนไจก้า ไปดูงานองค์การโทรศัพท์ญี่ปุ่น ทุนไปดูงานฝรั่งเศส ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากผู้บริหารเห็นคุณค่า เมื่อกลับมาก็ได้รับมอบหมายงานที่ดีตลอด จนมีผลงานหลายอย่าง

IT Digest : ผลงานที่ภาคภูมิใจ
อานนท์ : ผลงานแรกที่ภูมิใจ คือช่วงที่เกิด Y2K ในปี 2000 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่บางระบบคอมพิวเตอร์จะจบลงที่ 1999 เมื่อเปลี่ยนเป็น 2000 บางระบบอาจจะแฮงค์ได้ โดยได้รับมอบหมายเป็นเลขานุการ ทำหน้าที่ในการดูแลทุกระบบ ทั้งไอทีและคอมพิวเตอร์ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว สามารถจัดการได้เป็นที่เรียบร้อย และประหยัดงบประมาณในการจัดการ

ผล งานที่สอง คือ ในช่วงที่มีการเพิ่มเลขหมายของระบบโทรศัพท์เป็น 9 หลัก ในโทรศัพท์บ้าน และ 10 หลักในโทรศัพท์มือถือ เป็นระบบเลขหมายใหม่ทั่วประเทศ ซึ่งตั้งคณะทำงานใหญ่ และได้รับมอบหมายเป็นทีมเลขานุการ

ผลงานที่ สาม คือ การเอ็นดูจากผู้ใหญ่ โดยปกติแล้วจะเป็นคนที่มาทำงานเช้าประมาณ 7.00 น. และออกค่ำ ทำมาอย่างต่อเนื่อง และการทำงานที่วิเคราะห์ รวดเร็ว ผู้ใหญ่อาจจะเห็น และมอบหมายงานให้ ไม่ว่าจะมอบหมายให้ไปประชุมระหว่างประเทศ รวมทั้ง ถูกมอบหมายงานเป็นประธานคณะทำงานด้านโทรคมนาคมและการสื่อสาร ของที่ประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิค หรือ เอเปค ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม และล่าสุด ในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง สามารถทำให้ทีโอทีได้รับรางวัล TQC จากสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นรางวัลที่คัดเลือกมาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่บริหารงานอย่างมีคุณภาพ โดยมีคณะกรรมการประเมินจากหลายองค์ประกอบ ทั้งการนำองค์กร ยุทธศาสตร์ กระบวนการภายในองค์กร ผลลัพธ์ขององค์กร รวมทั้งเป็นครั้งแรกที่องค์กรขนาดใหญ่ได้รับ นอกจากนี้ ยังได้รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นทางด้านนวัตกรรม ปี 2555 และล่าสุด รางวัลเกี่ยวกับนวัตกรรมจากสภาวิจัยแห่งชาติ อีกทั้ง ในปีที่ผ่านมายังสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้น จากการคาดการณ์ว่าจะได้กำไร 5,800 ล้านบาท ผลออกมาในการปิดบัญชีเบื้องต้น กำไรอยู่ที่ 9,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือขององค์กร

IT Digest : กว่า 27 ปี ถือว่าเป็นลูกรักของทีโอที
อานนท์ : น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะจากความรู้สึกของตัวเอง ทุกๆ คนเมตตา ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ เพื่อนร่วมงาน คนรอบข้าง

IT Digest : ปัญหาและอุปสรรค์ในการบริหารงาน
อานนท์ : นอกเหนือจากปัญหาอุทกภัยครั้งล่าสุด องค์กรนี้ยังขาด ต้องยอมรับว่าทีโอทีเติบโตมาจากความเป็นราชการ ได้พยายามปรับการดำเนินงานให้เป็นรูปแบบของบริษัทเอกชนอย่างเต็มตัวในอนาคต ซึ่งต้องใช้เวลาในการขับเคลื่อน ไม่สามารถทำได้โดยทันที ซึ่งในปี 2556 ทุกคนรู้ดีว่า พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ กำหนดว่า รายได้จากคลื่นความถี่สัมปทาน จะถูกส่งไปยังรัฐ เพราะฉะนั้นรายได้ในเวลานั้น ถ้าหากยังไม่รีบเปลี่ยนบุคลิกขององค์กรในปัจจุบัน ก็ปรับตัวค่อนข้างดีมาก จากการที่ได้รางวัลต่างๆ นอกจากนี้ จะต้องพยายามปรับตัวทั้งภายในและภายนอก ให้สามารถอยู่รอดได้ หลังจากวิกฤติในเดือน ธ.ค. 2556

ขณะที่ พนักงานส่วนใหญ่ 90% ทำงานเต็มที่แล้ว ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ซึ่งมีส่วนน้อยที่ไม่เต็มที่ ซึ่งจะต้องใช้วิธีบริหารจัดการทำให้พนักงานทุกส่วนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และนำไปสู่เป้าหมายขององค์กร นอกจากนี้ หัวหน้าในแต่ละส่วนก็มีความสำคัญ เป็นทั้งตัวอย่างในกับผู้ใต้บังคับบัญชา และต้องเป็นองค์กรที่สามารถตรวจสอบได้ บางครั้งการทำงานหากมีคนร้องเรียน ก็จะต้องเปิดเผยงาน หรือโครงการ ซึ่งจะทำให้คู่แข่งทราบ ส่วนเอกชนสามารถทำก่อนได้เลย เพื่อทันความต้องการของลูกค้า เลยทำให้บางครั้งในการทำโครงการต่างๆ จะต้องมีขั้นตอนในการดำเนินการ

อย่าง ไรก็ตาม สิ่งที่ทีโอทีต้องการ คือ ความคล่องตัวมากขึ้นในการทำงาน ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของ 3จี แต่รวมถึงทุกเรื่อง ซึ่งในเวลานี้อยากให้ตระหนักว่า ผ่อนคลายในบางเรื่อง แต่ว่าสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งหมายถึง สามารถทำให้องค์กรนี้เดินหน้าแข่งขันกับองค์กรอื่นได้ ขณะเดียวกัน ในความเห็นส่วนตัว คือ ขอความคล่องตัวในการทำงาน ถ้าไม่คล่องตัว องค์กรนี้อยู่ลำบาก ให้ความเป็นธรรมกับองค์กรนี้ ที่ถูกมัดมือไว้ทุกจุด การจะทำอะไรจะต้องผ่านขั้นตอนมากมาย การผ่อนผันจากการคลายกฎระเบียบ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งกว่าจะออกมาต้องใช้เวลานานมาก รวมทั้งเกี่ยวกับการเรื่องที่เปลี่ยนซีอีโอ หรือบอร์ดบริหารบ่อย การทำงานจะขาดตอน รวมทั้งนโยบายที่เปลี่ยนตามผู้บริหารด้วย

IT Digest : เรื่องหนักใจที่สุดตลอด 27 ปีที่อยู่กับ ทีโอที
อานนท์ : ที่หนักใจที่สุดอาจจะไม่มี เพราะผมเป็นคนกระจายอำนาจ

IT Digest : อุปสรรค์อย่างหนึ่งมาจากการเปลี่ยนผู้บริหารบ่อย
อานนท์ : เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ อยากจะฝากว่าคนต่อไปคงจะอยู่นาน เพื่อองค์กรจะได้ฝ่าวิกฤติ ปี 2556 ไปให้ได้

IT Digest : วิธีที่จะทำให้นโยบายเดินหน้าต่อ แม้มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร
อานนท์ : ไม่ได้ ที่จริงมีข้อบังคับบริษัท คือ บอร์ดจะเปลี่ยน 3 ปี

IT Digest : หลังจากมีข่าวออกมา มีโอกาสได้พบบอร์ดหรือยัง
อานนท์ : ยังไม่มีโอกาส เป็นที่รับรู้กัน และยอมรับเรื่องเหล่านี้ได้ ส่วนตัวคิดว่า คงต้องไปหาสิ่งดีๆ ทำ จากที่คิดเห็นว่า ประเทศไทยยังขาดนวัตกรรม ซึ่งอ่อนกว่าประเทศอื่น ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศผู้ซื้อ ต้องเริ่มจากการมีมหาวิทยาลัยดีๆ ที่ให้คนคิดเป็น และสามารถขายผลงานได้ในประเทศ จากที่ได้อยู่กับอุตสาหกรรมนี้มายาวนาน คิดว่า กำลังมองหาสถานศึกษาสักแห่งหนึ่ง อาจจะไปร่วมทำอะไรบางอย่าง

IT Digest : ตกใจมั้ยพอทราบเรื่อง
อานนท์ : รู้สึกเล็กน้อย รู้สึกแปลกใจ ว่าเราทำผลงานมาโดยตลอด รู้สึกน้อยใจเล็กน้อยในช่วงนั้น ซึ่งบางคนอาจคิดว่ามาจากไหน มีที่มาอย่างไร แต่ในเมื่อประเทศไทยเป็นเช่นนั้น ก็ต้องยอมรับ แต่ผมก็จะเดินหน้าต่อไปในอีกมิติหนึ่งก็ได้

IT Digest : ป่วย เครียด เพราะทราบข่าว จนต้องเข้าโรงพยาบาล
อานนท์ : เครียดเล็กน้อย ซึ่งเป็นวันเดียวที่มึนศีรษะ และความดันขึ้นมาจากการทำงาน

IT Digest : มีกระแสข่าวระบุว่าช่วงนั้น เข้าหา น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ
อานนท์ : ไม่ได้เข้าหา อาจจะเป็นเพราะว่า ด้วยความที่หากใครเชิญ รมว.ไอซีที มีภารกิจในช่วงนั้นไม่มีบอร์ด ก็จะต้องทำงานตรงกัน บอร์ดชุดเก่าก็ทยอยลาออกไป ซึ่ง รมว.ไอซีที ก็มาใหม่ เป็นเหตุให้ต้องทำงานร่วมกับ รมว.ไอซีที เป็นเรื่องปกติ ซึ่งมีอยู่อย่างหนึ่งที่ไม่ทำ คือ การวิ่งเข้าหาใครก่อน ถ้าหากเรียกพบหรือประชุมจึงไป

IT Digest : ดร.อานนท์ คือ ยุคพรรคประชาธิปัตย์ ส่วน รมว.ไอซีที (ยุคนี้) คือ พรรคเพื่อไทย เลยไม่ช่วย
อานนท์ : ไม่ จากการที่สัมผัสจากการทำงานมา ท่านก็เมตตา

IT Digest : ใช้เงินรั้งเก้าอี้
อานนท์ : ไม่มีเลย

IT Digest : โครงการที่ต้องแลกมาด้วยตำแหน่ง
อานนท์ : ไม่มี

IT Digest : จากวันนั้นที่ข่าวออกมามีโอกาสได้คุยกับประธานบอร์ดบ้างหรือยัง
อานนท์ : ยังไม่ได้คุยเลย

IT Digest : เหตุผลที่บอร์ดให้มา มีข้อไหนที่อยากชี้แจงบ้าง
อานนท์ : เรื่องไม่ตอบโจทย์บอร์ด ก็ตอบโจทย์ทุกข้อ เพียงแต่ว่าเรารอที่จะทำเวิร์คชอปร่วมกัน ระหว่างฝ่ายบริหารระดับสูงกับบอร์ด เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ทั้งนี้ ตระหนักดีว่าบอร์ดใหม่มา ปีงบประมาณ 2555 ถูกเซตไว้ล่วงหน้า ต้องผ่านกระบวนการต่างๆ กว่าจะผ่านคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ซึ่งตระหนักดี จึงได้ขอว่าจะจัดเวิร์คชอปร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน ว่าโครงการใดจะทำ โครงการใดมีความสำคัญระดับต้น กลาง และต่ำ หรือรอได้ ซึ่งกำลังรอจะทำสิ่งนั้นอยู่ กำลังตอบโจทย์ทุกคนอยู่ เพื่อจะได้ความชัดเจนว่าในปี 2555 จะมีโครงการใดบ้าง

IT Digest : คิดว่าบอร์ดทำเกินไปมั้ย
อานนท์ : เป็นวิถีชีวิต ต้องเข้าใจ คิดว่ารุนแรง แต่รับได้ ส่วนตัวคิดว่า ผมเป็นผู้บริหารมืออาชีพ เข้าใจวัฒนธรรมการเมืองประเทศไทย คิดว่าอายุยังน้อย ยังมีสิ่งดีๆ อีกมากมายรออยู่

IT Digest : จะฟ้องศาลปกครองมั้ย
อานนท์ : ผมเป็นคนมองโลกในแง่ดี

IT Digest : การเมืองในทีโอที ถือว่ารุนแรง?
อานนท์ : ในส่วนตัวผมว่าไม่ เราเป็นพี่น้องกัน ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าฟันจนได้มาทุกวันนี้ แต่บอร์ดอาจจะมองอีกมุมหนึ่ง

IT Digest : อดีตประธานบอร์ดทีโอทีคนหนึ่ง บอกการเมืองในทีโอทีรุนแรงมาก
อานนท์ : แล้วแต่มุมมอง เพราะผมเป็นคนทำงาน ซึ่งอาจจะไม่เห็น ผมเป็นคนมองโลกในแง่ดีเป็นหลัก

IT Digest : มองทิศทางทีโอทีในอนาคต หลังจากหมดสัญญาสัมปทานอย่างไรบ้าง
อานนท์ : ทีโอที เป็นเสาหลักหนึ่งของประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นคงของการสื่อสาร และร่วมกับเอกชนในการขับเคลื่อนไปสู่ความพร้อม ยกระดับประเทศไทย

IT Digest : สาเหตุที่ 3จี ไม่เกิด หรือช้า เพราะไม่จัดการ ในขณะที่บอร์ดก็ให้ข่าวเช่นเดียวกัน
อานนท์ : ในเรื่อง 3จี มองความจริงอยู่ 2 อย่าง คือ ทีโอทีผ่านสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ คือ มหาอุทกภัย แม้ว่าบางจุดน้ำจะไม่ท่วม แต่ส่งผลกระทบทั้งหมด และเรื่องของการเจรจา โคไซต์ (การใช้สถานีฐานร่วม) เรื่องของโมเดลที่รัฐบาลอนุมัติให้องค์กรนี้ คือ จะต้องใช้งานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ที่ต้องมีการเจรจา ในช่วงยุคหนึ่งที่ยังไม่มีบอร์ด ไม่สามารถอนุมัติที่จะทำด้วยตังเองได้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้มีความล่าช้า

IT Digest : มีแต่คนโทษทีโอที ที่ทำ 3จีไม่ได้ แต่ไม่มีคนโทษบริษัทที่ประมูลได้
อานนท์ : เป็นธรรมดา ทุกๆ คนต้องช่วยกัน ส่วนตัวมองว่าสิ่งนี้จะสำเร็จในเวลาที่กำหนด ตามสัญญา คือ วันที่ 18 พ.ค. 2555 ซึ่งไม่ยากที่จะเป็นไปได้ เพราะสิ่งต่างๆ ได้ผ่านวิกฤติต่างๆ มาแล้ว

IT Digest : การดำเนินชีวิตหลังจากนี้
หลังจากนี้จะพักผ่อนบ้าง จาก 27 ปี ได้อยู่กับครอบครัวมากขึ้น จนกว่าจะได้สิ่งใหม่ขึ้นมา
อานนท์ : “คิดกลับกัน เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งเท่านั้น ที่เริ่มจากเด็กจบมหาวิทยาลัยใหม่ๆ อยากเข้าองค์กรนี้ ก็ได้เข้า จนกระทั่งเป็นผู้บริหารสูงสุด ซึ่งมีความภูมิใจที่ได้ทำงาน และนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จในระดับหนึ่ง อย่างน้อยในช่วงเวลาที่ได้ทำงาน แม้ว่าจะออกจากองค์กรนี้แล้วก็ตาม ก็ยังคงเฝ้ามององค์กรนี้”

IT Digest : มีใครทาบทามเป็นที่ปรึกษาบ้างหรือยัง
อานนท์ : ยังครับ ตอนนี้อยากเป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัย ซึ่งกำลังมองอยู่ในด้านนวัตกรรม การบริหาร จากประสบการณ์ความรู้และการบริหารน่าจะทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติในแง่มุม อื่นได้อีก อย่ามองว่าที่นี่จะเป็นที่สุดท้ายที่เราอยู่ ส่วนตัวแสดงให้เห็นว่าได้ทำตามความฝันและได้สร้างผลงานแล้ว

IT Digest : วันที่ 24 ก.พ.2555 ถือว่าเป็นวันสุดท้ายในการดำรงตำแหน่ง
อานนท์ : วันอำลาตำแหน่งจริงๆ คือ วันที่ 1 มี.ค.2555

IT Digest : เสียใจมั้ยที่ไม่ได้ทำงานต่อ
อานนท์ : ไม่เสียใจ เพราะถือว่าได้ทำตามความฝันแล้ว

IT Digest : หากย้อนเวลากลับไปได้ อยากจะมานั่งตำแหน่งสุงสุดของทีโอทีอยู่หรือเปล่า
อานนท์ : เป็นความใฝ่ฝันสูงสุด ซึ่งเป็นความตั้งใจในการทำงาน

IT Digest : ฝากถึงซีอีโอคนใหม่
อานนท์ : ขอให้ช่วยให้ทีโอทีรอดพ้นจากวิกฤติ และอยู่ในตำแหน่งนานๆ เพื่อให้มั่นคงในเรื่องของนโยบาย

IT Digest : จำเป็นต้องเป็นคนในมั้ย
อานนท์ : ส่วนตัวมองว่าควรจะเป็นคนใน ซึ่งคนในจะได้ทั้งสองอย่าง อย่างไรก็ตาม คงจะต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการสรรหา

IT Digest : ฝากถึงผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์บ้าง
อานนท์ : โลกไอทีเปลี่ยนเร็วมาก เพราะฉะนั้นต้องติดตาม เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ให้กับตัวเอง ครอบครัว และประเทศชาติ ไอซีที ไม่ใช่เพียงแต่ถนนหนทาง แอพพลิเคชั่นก็มีประโยชน์มาก ทั้งตัวเอง ชีวิตประจำวัน ต่อธุรกิจ การเรียนรู้ ถ้าทุกคนช่วยกันมองแง่บวกของไอซีที นำไปต่อยอด สามารถพัฒนาได้ ไม่เอาไปใช้ในแง่ลบ พยายามให้ทุกคนคิดแบบนี้ ประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้า



ประวัติโดยสังเขป
คณะกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีคำสั่งแต่งตั้งให้ นายอานนท์ ทับเที่ยง ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีผลตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย. 2554 และประกาศกระทรวงการคลัง วันที่ 25 เม.ย. 2554 โดยเข้าทำงานที่ ทีโอที ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2528 มีประวัติดังนี้

การศึกษา
ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า สาขาโทรคมนาคม) เกียรตินิยมอันดับ 2 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปริญญาโท Computer Network มหาวิทยาลัยปารีส 6 (มหาวิทยาลัยปิแอร์-มารี่-คูรี่) ประเทศฝรั่งเศส
ปริญญาเอก Computer Network เกียรตินิยมดีมาก มหาวิทยาลัยปารีส 6 (มหาวิทยาลัยปิแอร์-มารี่-คูรี่) ประเทศฝรั่งเศส
การอบรม
ประกาศนีย บัตรหลักสูตร SOE Executive Program 2006 ตามโครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)
ประกาศนียบัตรหลักสูตรการบริหารชั้นสูง รุ่นที่ 171 (Advance Management Program) Harvard Business School ประเทศสหรัฐฯ
ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 104 โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
กำลัง ศึกษาในหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 53 ประจำปีการศึกษา 2553 – 2554 ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

การทำงาน
2528 นายช่างอันดับ 1 สังกัดกองวิศวกรรมเครื่องชุมสาย ฝ่ายวิศวกรรม
2538 หัวหน้าแผนกวางแผนเครื่องชุมสาย ฝ่ายวิศวกรรม
2540 ผู้อำนวยการกองมาตรฐานระบบชุมสาย ฝ่ายวิศวกรรมระบบโทรคมนาคม
2544 ผู้อำนวยการส่วนการฝึกอบรม ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล
2546 ผู้จัดการสำนักนโยบายเทคโนโลยีโทรคมนาคม
2547 ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์องค์กร
2549 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักกลยุทธ์
2551 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานทรัพยากรบุคคล
2552 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานโครงข่าย

ตำแหน่งปัจจุบัน
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

ประสบการณ์การทำงานอื่น
กรรมการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส
กรรมการ บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
นายกกิตติมศักดิ์ของสมาคม IPV6 ประเทศไทย
ประธานคณะทำงานเอเปคด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศในกรอบเอเปค
ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้าน APEC

รางวัลที่ได้รับ
นัก ทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 (Thailand Top 100 HR) ประเภทผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ ประจำปี 2552 จากสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศิษย์เก่าเกียรติยศ 50 ปี ด้านความสำเร็จในอาชีพ/หน้าที่การงาน ประจำปี 2552 จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/240762

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.