Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 มิถุนายน 2555 ( ดีใจด้วย THAILAND 3G ) กสทช.ไฟเขียวร่างประกาศประมูล3G // 2Gไม่ต่ำกว่า48Kbps ส่วน3Gไม่ต่ำกว่า345Kbps

( ดีใจด้วย THAILAND 3G ) กสทช.ไฟเขียวร่างประกาศประมูล3G // 2Gไม่ต่ำกว่า48Kbps ส่วน3Gไม่ต่ำกว่า345Kbps


ประเด็นหลัก

เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า เพื่อให้การเดินหน้าสู่การเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์มือถือ 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิตรซ์ ในเดือน ต.ค.2555 นี้ ได้อย่างสมบูรณ์และถูกต้อง ที่ประชุมบอร์ด กสทช. จึงได้เห็นชอบร่างประกาศ 4 ฉบับ ประกอบด้วย ร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่านความถี่ 2.1 GHz เรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรคมนาคม เรื่อง การให้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ และเรื่องบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน หรือเอ็มวีเอ็นโอ

ทั้ง นี้ หลังจากบอร์ด กสทช.เห็นชอบแล้ว ทางสำนักงาน กสทช. ก็จะนำร่างดังกล่าวเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์ กสทช. ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป และเปิดเวทีรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 45-60 วัน และก็จะนำเข้าสู่ขั้นตอนการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อประกาศบังคับใช้ต่อไป คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ไม่เกินเดือน ส.ค.นี้ เพื่อให้เกิดการประมูลในเดือน ต. ค.นี้


นายฐากร กล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบประกาศกสทช.เรื่อง มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูล (ดาต้า)สำหรับโครงข่ายโทรศัทพ์เคลื่อนที่ โดยประกาศฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือนับตั้งแต่วันที่บอร์ดกสทช.มีการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่น 2.1 GHz สำหรับการให้บริการ 3G อาทิ การส่งข้อความมัลติมีเดีย (MMS) ต้องสำเร็จภายใน 5 นาที การดาวน์โหลด 2G ความเร็วกำหนดไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 48 Kbps ส่วน 3G ไม่ต่ำกว่า 345 Kbps

นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติอนุมัติร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ Broadcast โดยอนุมัติร่างประกาศ กสทช. เรื่องกำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะแล้ว ซึ่งมีการกำหนดลักษณะประเภทของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 4 ลักษณะ ประกอบด้วย การให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ / การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ / การให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ / และการให้บริการแบบประยุกต์


_________________________________________________


กสทช.ไฟเขียวร่างประกาศประมูล3จี ควบกิจการวิทยุ-โทรทัศน์

บอร์ด กสทช.ไฟเขียวร่างประกาศประมูล 3จี ผ่านประกาศลักษณะประเภทกิจการวิทยุและโทรทัศน์....

เมื่อ วันที่ 27 มิ.ย. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า เพื่อให้การเดินหน้าสู่การเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์มือถือ 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิตรซ์ ในเดือน ต.ค.2555 นี้ ได้อย่างสมบูรณ์และถูกต้อง ที่ประชุมบอร์ด กสทช. จึงได้เห็นชอบร่างประกาศ 4 ฉบับ ประกอบด้วย ร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่านความถี่ 2.1 GHz เรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรคมนาคม เรื่อง การให้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ และเรื่องบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน หรือเอ็มวีเอ็นโอ

ทั้ง นี้ หลังจากบอร์ด กสทช.เห็นชอบแล้ว ทางสำนักงาน กสทช. ก็จะนำร่างดังกล่าวเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์ กสทช. ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป และเปิดเวทีรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 45-60 วัน และก็จะนำเข้าสู่ขั้นตอนการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อประกาศบังคับใช้ต่อไป คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ไม่เกินเดือน ส.ค.นี้ เพื่อให้เกิดการประมูลในเดือน ต. ค.นี้

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบร่างประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อนำไปเปิดเวทีรับฟังความเห็นชอบ ซึ่งประกาศดังกล่าว จะเป็นการตรวจสัญญาสัมปทานของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ เนื่องจากปัจจุบันไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ากิจการวิทยุและโทรทัศน์ มีลักษณะใดบ้างและมีสัญญาแบบใดบ้าง ทั้งนี้ เป็นไปตามกฎหมายกำหนดให้ตรวจสอบ เพื่อนำไปสู่การจัดระเบียบและออกใบอนุญาตประกอบกิจการในอนาคต

เลขาฯ กสทช. กล่าวอีกว่า ที่ประชุมประกาศเรื่องกำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ เพื่อเดินหน้าจัดระเบียบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของไทย ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 โดยแบ่งเป็น 4 ลักษณะดังนี้ การให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงและโทรทัศน์ คือ การให้บริการระบบเชื่อมโยงของกลุ่มเครื่องส่ง หรือถ่ายทอดสัญญาณเสียง หรือภาพ ที่ใช้จากสถานีไปยังเครื่องรับ การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก คือ การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นอาคาร เสา ระบบสาย หรือท่อ หรืออื่นๆ การให้บริการกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ คือ การให้บริการส่งข่าวสารสารารณะ หรือรายการไปยังเครื่องรับที่สามารถรับชม หรือรับฟังได้ และการให้บริการแบบประยุกต์ คือ การให้บริการเสียง ข้อมูล สื่อผสม ที่ผ่านโครงข่ายวิทยุและโทรทัศน์ ทั้งเรียกเก็บเงิน หรือไม่เก็บเงิน.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/271668


_________________________________________________

กสทช.เร่งเครื่อง 3G เดินหน้าร่างประกาศ 4 ฉบับ


บอร์ดกสทช.มีมติเดินหน้าร่างประกาศเกี่ยวกับการประมูล 3G จำนวน 4 ฉบับพร้อมเล็งประชาพิจารณ์เดือนส.ค.และประมูล 3G ในเดือนต.ค. ด้านเลขาฯกสทช.'ฐากร' ยันพร้อมส่งคำสั่งให้กสทแก้ไขสัญญากับกลุ่มทรู 6 ประเด็นหลักภายในสัปดาห์นี้

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวภายหลังประชุมบอร์ดกสทช.เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างประกาศกสทช.จำนวน 4 ฉบับอย่างเป็นทางการแล้ว ได้แก่ 1. ร่างประกาศกสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับ กิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1GHz และร่างประกาศกสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่านความถี่วิทยุ 1920-1980/2110-2170MHz และย่านความถี่วิทยุ 2010-2025MHz ซึ่งร่างประกาศการใช้คลื่นโทรคมนาคมและความถี่วิทยุนี้ จะบรรจุลงไปหนังสือชี้ชวนการลงทุน (IM) สำหรับการเปิดประมูล 3G ในเดือนต.ค.นี้

2. ร่างประกาศกสทช. เรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (อินฟาร์สตรักเจอร์ แชร์ริ่ง) 3. ร่างประกาศกสทช. เรื่องการใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ (โรมมิ่ง) กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องเชื่อมต่อโครงข่าย 2G ไปยัง 3G ได้และ 4.ร่างประกาศ กสทช.เรื่อง บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน (MVNO) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องกันความจุโครงข่าย (คาปาซิตี้) จำนวน 10% สำหรับให้ MVNO มีสิทธิเข้ามาทำตลาด

ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไปสำนักงานกสทช.จะนำร่างทั้ง 4 ฉบับไปเผยแพร่บน เว็บไซต์กสทช. เป็นเวลา30วัน ก่อนจะเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ต่อไปในช่วงเดือนส.ค.จากนั้นจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเปิดประมูล 3G ได้ในเดือนต.ค.นี้

นายฐากร กล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบประกาศกสทช.เรื่อง มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูล (ดาต้า)สำหรับโครงข่ายโทรศัทพ์เคลื่อนที่ โดยประกาศฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือนับตั้งแต่วันที่บอร์ดกสทช.มีการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่น 2.1 GHz สำหรับการให้บริการ 3G อาทิ การส่งข้อความมัลติมีเดีย (MMS) ต้องสำเร็จภายใน 5 นาที การดาวน์โหลด 2G ความเร็วกำหนดไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 48 Kbps ส่วน 3G ไม่ต่ำกว่า 345 Kbps

นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติอนุมัติร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ Broadcast โดยอนุมัติร่างประกาศ กสทช. เรื่องกำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะแล้ว ซึ่งมีการกำหนดลักษณะประเภทของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 4 ลักษณะ ประกอบด้วย การให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ / การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ / การให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ / และการให้บริการแบบประยุกต์

นอกจากนี้บอร์ดกสทช. ยังได้อนุมัติร่างประกาศกสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พรบ.กสทช.) ให้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาต สัมปทาน หรือ สัญญา รวมถึงอายุสัญญาและค่าตอบแทน พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลและผลการตรวจสอบให้สาธารณชนทราบ

ทั้งนี้ให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณารายละเอียดภายใน 30 วันหลังจากได้รับทราบข้อมูล จากนั้นจึงเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน และคณะกรรมการนำมาพิจารณาภายใน 60 วัน จากนั้นให้สำนักงาน กสทช.มีหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบส่งให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานอื่นของรัฐ และกระทรวงเจ้าสังกัด รวมทั้งกระทรวงการคลังภายใน 7 วัน และเผยแพร่ต่อสาธารณะชน โดยคณะกรรมการสามารถระบุว่าการดำเนินการสัญญาเป็นไปอย่างถูกต้องหรือไม่ แต่ไม่สามารถลงโทษหรือชี้ว่าสัญญาถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง และยกเลิกสัญญาได้ โดยจะมีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เพื่อให้คณะกรรมการ กสทช.พิจารณาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

ขณะเดียวกันสัมปทานที่เข้าข่ายตามประกาศดังกล่าว ประกอบด้วย ช่อง 3 ได้รับสัมปทานจากบริษัท อสมท. หมดอายุสัญญาสัมปทานปี 2563 ช่อง 7 สีได้รับสัมปทานจากกองทัพบก หมดอายุสัญญาสัมปทานปี 2566 และทรูวิชั่นส์ ได้รับสัมปทานจาก บริษัท อสมท. ระยะเวลา 25 ปี หมดอายุสัญญาสัมปทานผ่านดาวเทียมวันที่ 30 กันยายน 2557 และบริการผ่านเคเบิล วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ส่วนกิจการกระจายเสียง หรือวิทยุ ปัจจุบันไม่มีสัญญาสัมปทานแล้ว เป็นเพียงสัญญาการเช่าเวลา หรือ สัญญาร่วมผลิตรายการ เช่น สำนักงาน กสทช.ให้บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย เช่าเวลารายการกรีนเวฟ ทางสถานีวิทยุ 1 ปณ. FM.106.5 MHz ของสำนักงาน กสทช.ไม่เข้าข่ายดังกล่าว

นายฐากร กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีการส่งหนังสือคำสั่งให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แก้ไขสัญญาโครงการโทรศัพท์มือถือ 3G บนเทคโนโลยี HSPA ระหว่าง กสท กับกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่น ที่ก่อนหน้านี้บอร์ดกทค.มีมติพิจารณาให้กสทกลับไปแก้ไขสัญญาดังกล่าวใน 6 ประเด็น ซึ่งล่าสุดทางสำนักงานกสทช.ยังคงไม่ได้จัดส่งคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากอยู่ระหว่างการยกร่างคำสั่งอยู่ แต่คาดว่าจะสามารถจัดส่งได้ภายในสัปดาห์นี้แน่นอน

'เหตุที่ล่าช้าเนื่องจากบอร์ดกทค.เพิ่งจะรับรองรายงานกรณีดังกล่าวไปเมื่อ วันที่ 26มิ.ย.ซึ่งในตอนนี้สำนักงานกสทช.จะเร่งดำเนินการยกร่างคำสั่งส่งไปให้กสท ภายใน 1-2 วันนี้'

ทั้งนี้การแก้ไขในสัญญาดังกล่าวทั้ง 6 ข้อกสทจะต้องดำเนินการแก้ไขภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่ง หลังจากนั้นจะนำสัญญาที่แก้ไขเสร็จแล้วเสนอต่อบอร์ดกทค.เพื่อพิจารณาต่อไป ซึ่งหากกสทไม่มีการแก้ไขหรือดำเนินการใดใดกับสัญญาดังกล่าวอาจมีโทษทาง ปกครอง ถึงขั้นยึดใบอนุญาตประกอบกิจการได้

เช่น เดียวกับกรณีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฏหมายเกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่วันที่เข้าทำสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบ ใหม่บนคลื่นความถี่ 800MHz กับกสท เป็นต้นมาว่าเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 67 หรือไม่ ซึ่งยังไม่มีความคืบหน้าเนื่องจากบอร์ดกทค.เพิ่งจะรับรองรายงานการประชุม

อนึ่งสัญญาที่กสทต้องดำเนินการแก้ไขใน 6 ข้อได้แก่ 1. บริษัท กสท โทรคมนาคม ต้องสามารถนำคลื่นความถี่ย่าน 800 MHz (Band V) ไปใช้กับเครื่อง และอุปกรณ์ของตนเองหรือของบริษัทอื่นได้ 2. กสทต้องเร่งรัดดำเนินการให้ตนเองสามารถควบคุมดูแลและบริหารจัดการคลื่นความ ถี่ ได้อย่างสมบูรณ์ผ่าน network operation (NOC) 3. กสท ต้องเร่งรัดดำเนินการให้ตนเองสามารถเข้าถึงข้อมูลการใช้งาน (call detail record : CDR) เพื่อการควบคุมดูแลและบริหารจัดการคลื่นความถี่ด้วยตนเองอย่างสมบูรณ์ 4. กสท ต้องเร่งรัดดำเนินการให้อำนาจของคณะกรรมการควบคุมการปฏิบัติงาน (Operation Supervision Committee) ตามสัญญามีความชัดเจน โดยแสดงให้เห็นถึงอำนาจในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ของตนเองโดยชัดแจ้ง

5. กสท ต้องเร่งรัดดำเนินการให้ตนเองเป็นผู้ควบคุมและบริหารจัดการคลื่นความถี่ด้วย ตนเองอย่างสมบูรณ์ผ่านกระบวนการสร้างและจัดหาความจุของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) โดยรวมถึง frequency planning, network roll-out และ network operation และ 6. กสทต้องเร่งรัดดำเนินการให้ตนเองเป็นผู้ควบคุมและบริหารจัดการคลื่นความถี่ ด้วย ตนเองอย่างสมบูรณ์ผ่านการเจรจาให้บริการบริการข้ามโครงข่ายภายในประเทศ (inbound domestic roaming) และการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับผู้ประกอบการรายอื่น

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000079017


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.