Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 สิงหาคม 2555 TOT ตั้งโต๊ะ สู้ กสทช. จะขโมยคลื่นคืน ( อ้างชัด คลื่น 900 ถูกจัดสรรมาแล้วจาก กรมไปรษณีย์โทรเลข ( หรือรุ่นปู่.กสทช.)

TOT ตั้งโต๊ะ สู้ กสทช. จะขโมยคลื่นคืน ( อ้างชัด คลื่น 900 ถูกจัดสรรมาแล้วจาก กรมไปรษณีย์โทรเลข ( หรือรุ่นปู่.กสทช.)
ประเด็นหลัก

    ***ทีโอทีตั้งคณะทำงานบริหารคลื่นรับมือ
     
      นายพันธุ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานบอร์ด บริษัท ทีโอที กล่าวภายหลังประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 27 ส.ค.ว่าได้สั่งการให้ฝ่ายบริหาร จัดตั้งคณะทำงาน เพื่อศึกษารายละเอียด แผนเรียกคืนคลื่นความถี่เดิมของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการ ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) และแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ เพื่อใช้เป็นแนวทางการเจรจาร่วมกับคณะกรรมการร่วมระหว่าง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ซึ่งภายในคณะทำงานดังกล่าว จะแยกเป็นคณะย่อย เพื่อศึกษา คลื่นแต่ละช่วงความถี่ ที่ทีโอที มีอยู่ ได้แก่ 2.1 GHz และคลื่นความถี่ที่กำลังจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน คลื่นความถี่ ย่าน 900 MHz ที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส)จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2558
     
      ทั้งนี้คลื่น 900 MHz ทีโอทีมองว่าไม่จำเป็นต้องคืน กสทช. เนื่องจาก เป็นคลื่นที่ได้มาจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารคลื่นความถี่วิทยุ แห่งชาติ (กบถ.) เป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม และกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง
     
      เช่น เดียวกันกับคลื่นความถี่ 2.3 GHz ที่ทีโอทีมีอยู่ 64MHz ซึ่งในตอนแรกจะแบ่งคืนให้กับกสทช.แต่ล่าสุดกระทรวงไอซีทีได้ขอคลื่นดังกล่าว จำนวน 20 MHz เพื่อไปดำเนินการเกี่ยวกับนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์ ดังนั้นทีโอทีจึงเหลือเพียง 44 MHz ซึ่งไม่เพียงพอหากจะต้องแบ่งความถี่คืนให้กสทช.เนื่องจากทีโอทีต้องนำไปให้ บริการ ต่างๆอาทิ เทคโนโลยี LTE

_______________________________________


ไอซีทีถกกสทช.ตั้งกก.ร่วมเคลียร์ 10 ประเด็น



      รมว.ไอซีทีถกกสทช. ตั้งกรรมการร่วมพิจารณา10 ประเด็น ด้านทีโอทีตั้งคณะทำงานบริหารความถี่ที่ถือครองอยู่ทั้งหมดรับมือปัญหาต่างๆ เชื่อคลื่น 900 MHz ไม่ต้องคืนกสทช.ตามสิทธิที่มีอยู่เดิม
     
      น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยภายหลัง เข้าร่วมประชุมหารือถึงแนวทางการดำเนินการร่วมกัน กับพล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.เศรษฐพงค์ เศรษฐพงค์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ว่า การหารือดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้ไอซีทีกับกสทช. ได้ดำเนินการร่วมกันตามนโยบายรัฐบาลตามที่มีการแถลงนโยบายด้านไอซีทีต่อ รัฐสภา และเพื่อให้เป็นไปตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.)
     
      ทั้งนี้ การหารือร่วมกันยังไม่ได้มีข้อสรุปอะไรออกมาอย่างเป็นทางการ แต่ได้เห็นตรงกันที่จะตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมาพิจารณาในทุกหัวข้อที่ได้นำ มาหารือกัน 10 ประเด็น ได้แก่ 1.การแบ่งหน้าที่กำกับดูแลในกิจการดาวเทียม 2.การจัดสรรคลื่นความถี่ให้แก่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของไอ ซีที คือ ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม 3.การประสานงานการกำกับดูแลคลื่นความถี่โทรคมนาคมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่าง ประเทศ (ไอทียู) และการจัดสรรคลื่นความถี่ตามแนวชายแดน 4.การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ในพื้นที่สาธารณะ
     
      5.แนวทางการพัฒนาโครงข่ายหลัก (คอร์เน็ตเวิร์ก) ให้แก่หน่วยงานราชการ 6.การเปลี่ยนระบบแพร่ภาพจากแอนาล็อกสู่ระบบดิจิตอล 7.การตั้งศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน 8.การพัฒนาสังคมผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคมด้วยไอซีที 9.การจัดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ (ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้) และ 10.การเข้าร่วมงาน ไอทียู เทเลคอม เวิล์ด 2012 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3-14 ธ.ค.ที่สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์นี้ โดยคณะกรรมการร่วมชุดดังกล่าว จะมีประธานคณะกรรมการร่วม คือ ปลัดกระทรวงไอซีที และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ซึ่งภายใน 90 วัน จะได้ข้อสรุปร่วมกัน
     
      'มีการแบ่งเรื่องเร่งด่วนอย่างการเข้าร่วมงานไอทียูที่ดูไบที่ต้องได้ข้อ สรุป ภายใน 2-3 สัปดาห์ ส่วนเรื่องอื่นๆต้องรอให้คณะกรรมการร่วมพิจารณาให้ได้ข้อสรุปก่อนภายใน 90 วัน'
     
      ขณะ ที่พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวเพียงว่า ประเด็นเรื่องคลื่นยังต้องหารือกันอีกครั้งหนึ่ง โดยในโครงข่ายเหล่านี้มีผู้ใช้บริการอยู่กว่า 70 ล้านเลขหมาย เพื่อมิให้เกิดความเดือดร้อนกับผู้ใช้บริการ น่าจะมีการหารือกันในประเด็นการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อใช้ในกิจการโทร คมนาคม ส่วนกรณีกิจการดาวเทียมนั้น มีการหารือเบื้องต้น เช่น เรื่องของการเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเข้าร่วมประชุม/เจรจากับรัฐบาลต่าง ประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศในภารกิจด้านสื่อสารผ่านดาวเทียม การบริหารและกำกับดูแลรวมถึงการอนุญาตในกิจการดาวเทียม และการให้บริการวงจรดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ การจองตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม การกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการแข่งขันการให้บริการใช้วงจรดาวเทียมสื่อสารภาย ในประเทศและระหว่างประเทศ การจัดสรรตำแหน่งวงโคจรที่ได้รับมาให้กับเอกชนรายใหม่ และการรักษาวงโคจรดาวเทียมจะมีแนวทางดำเนินการรักษาสิทธิอย่างไร
     
      ในเรื่องของการพัฒนาสังคมผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอการทางสังคมด้วยไอซีทีนั้น กสทช. ได้ประกาศใช้แผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อ สังคม (พ.ศ. 2555 - 2559) หรือ (USO) ส่วนกระทรวงไอซีทีก็ได้มีการกำหนดกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นภารกิจที่มีความสอดคล้องกันจึงได้นำมาหารือถึงแนวทางการดำเนิน โครงการร่วมกันเพื่อสนับสนุนภารกิจข้างต้น
     
      อนึ่งสาเหตุที่ไอซีทีต้องเดินทางมาพบกสทช.เพราะต้องการให้กสทช.ให้สิทธิ์ที โอที และกสท ได้ใช้คลื่นความถี่เดิมในสัญญาสัมปทานต่อไป แม้ว่าในพ.ร.บ.กสทช.จะกำหนดให้คลื่นความถี่ที่หมดสัมปทานแล้ว ต้องส่งคืนกลับมายังกสทช.เพื่อดำเนินการจัดสรรใหม่ ซึ่งคลื่นแรกที่กสทช.จะนำมาเปิดประมูลคือ คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ ที่จะหมดสัมปทานลงในเดือน ก.ย. 2556
     
      อีกทั้งไอซีทีได้อ้างว่า ทีโอที และกสท ได้รับสิทธิการใช้คลื่นความถี่มาจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหาร คลื่นความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.) ซึ่งอย่างน้อยจะสามารถใช้งานได้จนถึงปี 2568 และยังสอดคล้องกับบทเฉพาะกาลของพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม มาตรา 79 ที่รองรับสิทธิตามหน้าที่ของทีโอที และกสท อย่างไรก็ดี แม้ว่า มาตรา 80 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯกำหนดให้มีการคืนคลื่นความถี่มาให้กสทช.จัดสรรและ เปิดประมูล แต่กสทช.ก็สามารถใช้มาตรา 84 ของพ.ร.บ.กสทช.เพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ให้ทีโอที และกสท โดยใช้มาตรา 83 วรรค 3 ที่กำหนดให้กสทช.คำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ
     
      ***ทีโอทีตั้งคณะทำงานบริหารคลื่นรับมือ
     
      นายพันธุ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานบอร์ด บริษัท ทีโอที กล่าวภายหลังประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 27 ส.ค.ว่าได้สั่งการให้ฝ่ายบริหาร จัดตั้งคณะทำงาน เพื่อศึกษารายละเอียด แผนเรียกคืนคลื่นความถี่เดิมของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการ ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) และแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ เพื่อใช้เป็นแนวทางการเจรจาร่วมกับคณะกรรมการร่วมระหว่าง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ซึ่งภายในคณะทำงานดังกล่าว จะแยกเป็นคณะย่อย เพื่อศึกษา คลื่นแต่ละช่วงความถี่ ที่ทีโอที มีอยู่ ได้แก่ 2.1 GHz และคลื่นความถี่ที่กำลังจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน คลื่นความถี่ ย่าน 900 MHz ที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส)จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2558
     
      ทั้งนี้คลื่น 900 MHz ทีโอทีมองว่าไม่จำเป็นต้องคืน กสทช. เนื่องจาก เป็นคลื่นที่ได้มาจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารคลื่นความถี่วิทยุ แห่งชาติ (กบถ.) เป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม และกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง
     
      เช่น เดียวกันกับคลื่นความถี่ 2.3 GHz ที่ทีโอทีมีอยู่ 64MHz ซึ่งในตอนแรกจะแบ่งคืนให้กับกสทช.แต่ล่าสุดกระทรวงไอซีทีได้ขอคลื่นดังกล่าว จำนวน 20 MHz เพื่อไปดำเนินการเกี่ยวกับนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์ ดังนั้นทีโอทีจึงเหลือเพียง 44 MHz ซึ่งไม่เพียงพอหากจะต้องแบ่งความถี่คืนให้กสทช.เนื่องจากทีโอทีต้องนำไปให้ บริการ ต่างๆอาทิ เทคโนโลยี LTE
     
      ส่วนกรณีการฟ้องร้องระหว่างทีโอทีกับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ผู้รับสัมปทานโทรศัพท์พื้นฐานจำนวน 2.6 ล้านเลขหมาย ที่เรียกร้องให้จ่ายส่วนแบ่งค่าเชื่อมโยงโครงข่ายมูลค่า 9,175 ล้านบาท ซึ่งเรื่องดังกล่าวมีการยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางไปตั้งแต่เมื่อปี 2549 ที่ผ่านมาว่า ในตอนนี้เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นของตุลาการศาลปกครองเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามได้เตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดหากเกิดแพ้คดีขึ้นมา จริงๆ
     
      'เราไม่สามารถตอบได้ว่าใครจะชนะคดีต้องให้ศาลตัดสินเท่านั้น ดังนั้นผลสรุปสุดท้ายสามารถออกมาได้ทั้ง 2 ทาง แต่เพื่อไม่ประมาทเราก็เตรียมยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสุดแล้ว ซึ่งเชื่อว่าใครแพ้ก็ต้องยื่นอุทธรณ์อยู่ดี'


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000105567

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.