Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 มิถุนายน 2554 ยินดีด้วย!!!! กสทช.อนุมัติ CAT-TRUEMOVE H อัปเกรด CDMA เป็น HSPA// หลัง CAT ถอนฟ้องโดย กสทช. อ้างเพื่อนส่วนร่วม!!

ยินดีด้วย!!!! กสทช.อนุมัติ CAT-TRUEMOVE H อัปเกรด CDMA เป็น HSPA// หลัง CAT ถอนฟ้องโดย กสทช. อ้างเพื่อนส่วนร่วม!!

ยินดีด้วย!!!! กสทช.อนุมัติ CAT-TRUEMOVE H อัปเกรด CDMA เป็น HSPA// หลัง CAT ถอนฟ้องโดย กสทช. อ้างเพื่อนส่วนร่วม!!
ประเด็นหลัก

ที่ประชุมยังอนุมัติให้ กสท พัฒนาโครงข่ายเดิมที่ให้บริการมือถือด้วยคลื่นความถี่ 800 เมกะเฮิรตซ์ จากเทคโนโลยี CDMA เป็น HSPA ทำให้ กสท สามารถให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมได้ เพื่อให้ผู้บริโภคที่ใช้งานอยู่แล้วได้รับสิทธิเทียบเท่าหรือดีกว่าเดิมแต่ จะต้องไม่กระทบประโยชน์สาธารณะ ส่วนกรณีที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) อาจจะไม่มีการอนุมัติงบลงทุนของ กสทที่จะส่งผลกระทบกับสัญญาของ กสท และทรู เพื่อให้บริการ 3G นั้น จะไม่เกี่ยวกับการอนุมัติให้ กสท อัปเกรดเทคโนโลยีแต่อย่างใด ทั้งนี้ หากกระทรวงไอซีทีไม่อนุมัติ กสทก็มีสิทธิที่จะร่วมดำเนินธุรกิจ 3G กับผู้ให้บริการรายอื่นได้ที่ไม่ขัดกับพ.ร.บ. กสทช.


__________________________________________________________

กสทช.อนุมัติ กสท อัปเกรด CDMA เป็น HSPA

บอร์ด กสทช.ไฟเขียว กสท อัปเกรดเทคโนโลยี CDMA เป็น HSPA ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการตรวจสอบสัญญาให้บริการมือถือรูปแบบใหม่กับกลุ่มทรู พร้อมตั้งคณะทำงานตรวจสอบสัญญา กสท-ทรู 2 ทีม หวังเคลียร์ปมแก้ข้อครหา

พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวหลังการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ว่าที่ประชุมได้พิจารณาสัญญาการให้บริการมือถือรูปแบบใหม่ระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่นเนื่องจากเป็นสัญญาที่ทุกฝ่ายให้ความสนใจ โดยมีมติให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 2 ชุด เพื่อตรวจสอบเรื่องการแข่งขัน มีดร.ศักดา ธนิตกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นประธาน และคณะทำงานอีกชุดจะเน้นเรื่องการวางกรอบการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.กสทช. เพื่อนำไปสู่การพิจารณาสัญญามีศ.ดร.ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ ประธานกสทช.เป็นประธาน
โดยจะใช้เวลาพิจารณา 45 วัน

ที่ประชุมยังอนุมัติให้ กสท พัฒนาโครงข่ายเดิมที่ให้บริการมือถือด้วยคลื่นความถี่ 800 เมกะเฮิรตซ์ จากเทคโนโลยี CDMA เป็น HSPA ทำให้ กสท สามารถให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมได้ เพื่อให้ผู้บริโภคที่ใช้งานอยู่แล้วได้รับสิทธิเทียบเท่าหรือดีกว่าเดิมแต่ จะต้องไม่กระทบประโยชน์สาธารณะ ส่วนกรณีที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) อาจจะไม่มีการอนุมัติงบลงทุนของ กสทที่จะส่งผลกระทบกับสัญญาของ กสท และทรู เพื่อให้บริการ 3G นั้น จะไม่เกี่ยวกับการอนุมัติให้ กสท อัปเกรดเทคโนโลยีแต่อย่างใด ทั้งนี้ หากกระทรวงไอซีทีไม่อนุมัติ กสทก็มีสิทธิที่จะร่วมดำเนินธุรกิจ 3G กับผู้ให้บริการรายอื่นได้ที่ไม่ขัดกับพ.ร.บ. กสทช.

บอร์ด กสทช. ยังอนุมัติให้ บริษัท ทรูมูฟ รับใบอนุญาตวิทยุคมนาคม สำหรับทดลองการให้บริการ HSPA ย่านความถี่ 800 เมกะเฮิรตซ์ โดยอนุญาตให้ปรับปรุงโครงข่ายที่ใช้ความถี่ 800 เมกะเฮิรตซ์ โดยใช้เทคโนโลยี HSPA ไม่เชิงพาณิชย์จำนวน 656 สถานี ตามมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2551 อีกทั้งยังอนุมัติให้ทรูใช้เครื่องวิทยุคมนาคม HSPAในย่าน 800 เมกะเฮิรตซ์ แบบไม่เชิงพาณิชย์จำนวน 456 เครื่อง ทั้งนี้ การทดลองให้บริการ 3G ของทรูจะเป็นการให้บริการเชิงพาณิชย์หรือไม่เชิงพาณิชย์นั้น ขึ้นอยู่กับคู่สัญญาสัมปทานตกลงกันว่าจะดำเนินการอย่างไร

นอกจากนี้กสทช. ยังอนุมัติให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ปรับเปลี่ยนพื้นที่การให้บริการ 3G Inband Migration (การให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิม 900 เมกะเฮิรตซ์) ตามกรอบจำนวนสถานีฐานที่ได้รับอนุญาตเดิมรวมจำนวน 1,884 สถานี เช่น เดิมเป็นจังหวัดเลย 50 สถานีแต่เปลี่ยนเป็น 40 สถานี เชียงใหม่ 80 สถานี เป็น 90 สถานี เป็นต้น และได้แจ้งให้ทีโอทีในฐานะคู่สัญญาสัมปทานรับทราบแล้ว

การดำเนินการดังกล่าวแบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 1,340 สถานีฐาน ส่วนต่างจังหวัดอาทิ ประจวบคีรีขันธ์ 7 สถานีฐาน ชลบุรี 152 สถานีฐาน เชียงใหม่ 148 สถานีฐาน เชียงราย 48 สถานีฐาน ลำปาง 10 สถานีฐาน ภูเก็ต 78 สถานีฐาน นครราชสีมา 30 สถานีฐาน และขอนแก่น 25 สถานีฐาน

พ.อ.นทีกล่าวถึงการรักษาสิทธิ์วงโคจรดาวเทียม 120 องศาตะวันออกว่า กสทช. ได้มอบหมายให้รองเลขาธิการ กสทช. ไปตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดว่ามีการดำเนินการอย่างไรบ้าง ซึ่ง กสทช. พยายามหาแนวทางแก้ไข โดยให้เวลา 7 วันเพื่อนำข้อมูลมาเสนอต่อการประชุมบอร์ด กสทช. ครั้งต่อไป อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวเป็นหน้าที่ของกระทรวงไอซีที แต่ กสทช.ก็ต้องการรับทราบจึงตรวจสอบด้วยเช่นกัน โดยเรื่องของวงโคจรเป็นของประเทศ แต่หน้าที่เป็นของกระทรวงไอซีที

'เรื่องรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียมเหลือเวลาไม่นาน ทาง กสทช. ก็ต้องการร่วมมือกับกระทรวงไอซีทีว่าจะช่วยกันรักษาวงโคจรอย่างไรได้บ้าง'

ASTV ผู้จัดการ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.