Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 มกราคม 2555 TOT3G ชัดเจน ( ใต้องให้บริการ MVNO แข่งกันได้โดยตัวเองจะไม่ไปแข่งขันด้วย ) // การคัดเลือก MVNO ใหม่จะไม่ใช้การประมูล

TOT3G ชัดเจน ( ใต้องให้บริการ MVNO แข่งกันได้โดยตัวเองจะไม่ไปแข่งขันด้วย ) // การคัดเลือก MVNO ใหม่จะไม่ใช้การประมูล


ประเด็นหลัก

เขากล่าวว่า แผนเงื่อนไข MVNO ใหม่เสร็จแล้ว โดยหลักการคือการเลือก MVNO จะใช้การเจรจา ไม่ใช่การประมูล เพราะเงื่อนไขของ MVNO มีต่างประเภทกัน ทั้งแบบที่เป็นพันธมิตร หรือ strategic partner ที่ควรได้รับเงื่อนไขที่ดีทั้งราคาและเงื่อนไขอื่นๆ กับแบบที่เป็นตัวแทนขายเลขหมายเป็นหลักอย่างเดียว

เขายังกล่าวด้วย ว่า "วิชั่นของทีโอทียังชัดเจนว่าจะต้องให้บริการผ่าน MVNO ซึ่งน่าจะเป็นโอเปอเรเตอร์รายแรกที่ไม่ทำธุรกิจเพื่อมาแข่งกับ MVNO ของตนเอง"


อย่างไรก็ดี แม้สัญญาณของ TOT 3G จะไปได้สวย แต่เมื่อเราย้อนกลับไปมองปัญหาที่ผ่านมาในอดีต โดยเฉพาะด้าน MVNO นั้น ผู้สังเกตการณ์ในวงการโทรคมนาคมรายหนึ่ง กล่าวว่า ปัญหา TOT 3G ที่ผ่านมาทั้งหมดมาจาก 3 เหตุผลสำคัญ คือ

1. MVNO ที่เข้ามาร่วมขายให้ TOT 3G phase1 ที่ดำเนินการมาแต่แรกไม่มีความชัดเจนในธุรกิจ หรือฐานลูกค้าของตัวเอง ยกเว้นสามารถ ที่มีไอโมบายอยู่ในมือ หรือ Loxley ทำให้เมื่อนำบริการไปขายในโครงข่ายTOT 3G ที่มีอยู่ราว 600 สถานีฐานใน กทม. ณ เวลานั้น จึงไม่มีกิจกรรมต่อเนื่องดึงดูดลูกค้า

2. ทีโอที วางกลยุทธ์ในการสร้าง MVNO ผิด เพราะทีโอทีกำหนดเงื่อนไขไม่เอื้อให้ MVNO เกิดได้ เช่น ทีโอที ขาย TOT 3G SIM cardให้ MVNO อันละ 70 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงเกินความเป็นจริงในทางธุรกิจ หรือการกำหนดให้ MVNO หากจะให้บริการ voice นอกเขต 3G ใน กทม. ก็ต้องจ่ายค่า voice roaming ให้ AIS โดยจ่ายผ่านทีโอทีในราคานาทีละ 1.10 บาท ทำให้ที่ผ่านมา ไม่มีการให้บริการ voice serviceจาก TOT 3G SIM เลย เพราะ MVNO ไม่ต้องการมี extra cost เกิดขึ้น

3. ทีโอที และรัฐกำหนดเงื่อนไข TOT 3G ทั่วประเทศ ณ ตอนนั้น ว่าการลงทุน 1.9 หมื่นล้าน จะเป็นแบบ MVNO เท่านั้น โดยทีโอทีจะเป็นแค่ Mobile Network Operator (MNO) ดังนั้น เมื่อมาตรา 46 ใน พ.ร.บ.กสทช. คลุมเครือ ก็จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่โต เพราะสถาบันการเงินจะกล้าปล่อยกู้ให้ทีโอทีหรือไม่ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องกฎหมาย

________________________________________________________

สองค่ายมือถือยุโรปเล็ง MVNO ระบุโครงข่าย TOT 3G ควรขยายเต็มที่

วันนี้ TOT 3G ของทีโอที กำลังอยู่ในช่วงการฟูมฟักให้แข็งแรง ก่อนที่จะออกสู่ตลาดให้ถูกที่ถูกเวลาที่สุด พร้อมๆ กับความรีบเร่งและการเลือกหาตำแหน่งทางการตลาดที่ดีที่สุด และเครื่องมือในการขายที่เหมาะสมที่สุด


พันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานกรรมการบอร์ดทีโอที กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้มีตัวแทนจากโอเปอเรเตอร์ยุโรปสองราย เข้ามาแสดงความยินดีในฐานะบอร์ดใหม่ และเขาได้แสดงความสนใจที่จะเข้ามาเป็น MVNO กับ TOT แต่เขาก็อยากเห็นความจริงจังในการขยายโครงข่ายมากกว่านี้ เพื่อครอบคลุมการบริการทีมให้เกิดได้จริงทั่วประเทศ โดยเฉพาะการขยายให้ได้ 20,000 สถานี ตามที่เป็นข่าวไปนั้น


ทั้งนี้ โอเปอเรเตอร์นี้โตมาจากการเป็น MVNO จึงเข้าใจและเห็นศักยภาพว่าหากทำได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้วจะเป็นตลาดที่โตได้อีกมาก


นอก จากนี้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ปลายเดือนมกราคม กรรมการบางส่วนที่มาจากสายวิศวกรรม ได้เดินทางรับรู้ข้อมูลเพิ่มเติมจาก SoftBank ที่ญี่ปุ่น เป็นการเดินทางหนึ่งสัปดาห์ เพื่อมาอัพเดท เพราะโอเปอเรเตอร์รายนี้มีการวางติดตั้งระบบไฮสปีดบรอดแบนด์ที่เร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูง


ในขณะที่ก่อนหน้านี้เมื่อ 4 ปีก่อน ทีโอที เคยมีการจ้างบริติช เทเลคอม หรือ BT มาทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ในการวางโครงส้รางใหญ่ขององค์กร และแนวรุกธุรกิจ 3G ในการทำแผนพึ่งพารายได้ด้วยตัวเอง

ดังนั้น การได้ข้อมูลมารอบด้านเป็นประโยชน์ในการปรับใช้เพื่อนำมาพัฒนาบริการที่ควร จะดำเนินไปด้วยความเข้าใจและมั่นใจว่าต้องอยู่ให้รอดจากนี้ไป

เขา กล่าวว่า แผนเงื่อนไข MVNO ใหม่เสร็จแล้ว โดยหลักการคือการเลือก MVNO จะใช้การเจรจา ไม่ใช่การประมูล เพราะเงื่อนไขของ MVNO มีต่างประเภทกัน ทั้งแบบที่เป็นพันธมิตร หรือ strategic partner ที่ควรได้รับเงื่อนไขที่ดีทั้งราคาและเงื่อนไขอื่นๆ กับแบบที่เป็นตัวแทนขายเลขหมายเป็นหลักอย่างเดียว

ทีโอที วางเป้าหมายที่จะออกบริการ TOT 3G ใน18 จังหวัดในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และออกบริหารครอบคลุมทั้ง 5,200 สถานีฐานในเดือนพฤษภาคมนี้

ย้อนปูม เมื่อสายการบิน อยากเป็น MVNO

สำหรับ MVNO ของ TOT 3G นั้น ก่อนหน้านี้ ก็มีบริษัทยักษ์ใหญ่จากต่างชาติ แสดงความสนใจจะเข้ามาทำเช่นกัน ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2553 มีการจัดตั้งบริษัท Tune Talk Thailand ขึ้น โดย โทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับ ทอม เครือโสภณ ในสัดส่วน 49/51 การจดทะเบียนตั้งบริษัทดังกล่าว เป็นที่กล่าวขานว่า นี่คือการกลับมาของ “เดอะทอม”

ในขณะที่วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้ง Tune Talk Thailand นั้น คือ การเข้าร่วมเป็น MVNO ของ TOT 3G ซึ่งขณะนั้นกำลังจะเปิดให้ผู้สนใจยื่นซองประมูลโครงข่าย ซึ่งภายหลังตามมาด้วย คดีประวัติศาสตร์ของอีริคสัน และ ZTE โดยมีผู้ชนะเป็น เอสแอล คอนซอร์เตียม ที่นำโดยกลุ่มสามารถ

ทั้งนี้ ทุนจดทะเบียนของ Tune Talk Thailand นั้น เริ่มต้นที่ 100 ล้านบาท และมี วิเชียร นาคสีนวล อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที ในสถานะประธานกรรมการ Tune Talk Thailand ร่วมด้วย โทนี่ กล่าวในวันนั้นว่า เหตุที่มาลงทุน MVNO ในประเทศไทยเป็นเพราะรู้จักประเทศไทยดี และสามารถใช้ประโยชน์จากฐานลูกค้าของแอร์เอเชียในการทำธุรกิจ โดยในปีนี้มีคนบินแอร์เอเชียประมาณ 33 ล้านคน ซึ่งมากกว่า 12 ล้านคนต้องแตะประเทศไทย ส่วนปีหน้าคาดว่าจะมีคนใช้บริการแอร์เอเชียกว่า 51 ล้านคน

เขายังกล่าวด้วยว่า "วิชั่นของทีโอทียังชัดเจนว่าจะต้องให้บริการผ่าน MVNO ซึ่งน่าจะเป็นโอเปอเรเตอร์รายแรกที่ไม่ทำธุรกิจเพื่อมาแข่งกับ MVNO ของตนเอง"

ในมุมมองของ โทนี่ เห็นว่าบริการโทรศัพท์มือถือต้องเป็นลักษณะให้บริการเชื่อมโยงคนในภูมิภาคใน ลักษณะ Regional Marketing ไม่ใช่เป็นแค่บริการเฉพาะในแต่ละประเทศ โทนี่ ต้องการให้ลูกค้าใช้ซิมการ์ดเดียว อัตราโรมมิ่งเดียวทั่วภูมิภาค (Seamless Roaming) นอกจากนี้ยังต้องการโปรโมตบริการ DATA ที่เป็นจุดแข็งของ 3G ในแบบโลว์คอสต์ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องโลว์ไพรซ์ หรือ โลว์ควอลิตี้ โดยมองว่าในเรื่อง DATA แล้วอุปกรณ์ประเภทแท็บเล็ตจะเติบโตอย่างมาก

ขณะ ที่ ทอม เครือโสภณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Tune Talk Thailand มองธุรกิจ MVNO ว่า MVNO ไม่ใช่ศัตรูหรือคู่แข่งของโอเปอเรเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเอไอเอส ดีแทค หรือทรูมูฟ โดยเฉพาะเอไอเอสนั้นยังต้องอาศัยการโรมมิ่งวอยซ์ซึ่งถือว่าเป็นพันธมิตรที่ ดีของ TOT 3G และ MVNO ทุกราย

ความสำเร็จของ MVNO คือต้องมีฐานลูกค้าชัดเจน ซึ่งสำหรับ Tune Talk Thailand ก็คือกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการแอร์เอเชีย ซึ่งเป็นไปตามคอนเซ็ปต์ง่ายๆ คือในเมื่อใครๆ ก็บินได้แล้ว หากต้องการชำระค่าสินค้าและบริการก็ต้องมีบัตรเครดิต ผ่านบริการของ Tune Money และเมื่อเดินทางไปไหนก็ต้อง มีโรงแรมที่พักอย่าง Tune Hotel รวมทั้งต้องสามารถใช้บริการโทรศัพท์มือถือโรมมิ่งในอัตราเดียวกันผ่านบริการ Tune Talk พูดง่ายๆ คือให้บริการทุกอย่างเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวของแอร์เอเชีย

ผู้สังเกตการณ์ ชี้ ปัญหาในอดีต มาจาก 3 ปัจจัย


อย่าง ไรก็ดี แม้สัญญาณของ TOT 3G จะไปได้สวย แต่เมื่อเราย้อนกลับไปมองปัญหาที่ผ่านมาในอดีต โดยเฉพาะด้าน MVNO นั้น ผู้สังเกตการณ์ในวงการโทรคมนาคมรายหนึ่ง กล่าวว่า ปัญหา TOT 3G ที่ผ่านมาทั้งหมดมาจาก 3 เหตุผลสำคัญ คือ

1. MVNO ที่เข้ามาร่วมขายให้ TOT 3G phase1 ที่ดำเนินการมาแต่แรกไม่มีความชัดเจนในธุรกิจ หรือฐานลูกค้าของตัวเอง ยกเว้นสามารถ ที่มีไอโมบายอยู่ในมือ หรือ Loxley ทำให้เมื่อนำบริการไปขายในโครงข่ายTOT 3G ที่มีอยู่ราว 600 สถานีฐานใน กทม. ณ เวลานั้น จึงไม่มีกิจกรรมต่อเนื่องดึงดูดลูกค้า

2. ทีโอที วางกลยุทธ์ในการสร้าง MVNO ผิด เพราะทีโอทีกำหนดเงื่อนไขไม่เอื้อให้ MVNO เกิดได้ เช่น ทีโอที ขาย TOT 3G SIM cardให้ MVNO อันละ 70 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงเกินความเป็นจริงในทางธุรกิจ หรือการกำหนดให้ MVNO หากจะให้บริการ voice นอกเขต 3G ใน กทม. ก็ต้องจ่ายค่า voice roaming ให้ AIS โดยจ่ายผ่านทีโอทีในราคานาทีละ 1.10 บาท ทำให้ที่ผ่านมา ไม่มีการให้บริการ voice serviceจาก TOT 3G SIM เลย เพราะ MVNO ไม่ต้องการมี extra cost เกิดขึ้น

3. ทีโอที และรัฐกำหนดเงื่อนไข TOT 3G ทั่วประเทศ ณ ตอนนั้น ว่าการลงทุน 1.9 หมื่นล้าน จะเป็นแบบ MVNO เท่านั้น โดยทีโอทีจะเป็นแค่ Mobile Network Operator (MNO) ดังนั้น เมื่อมาตรา 46 ใน พ.ร.บ.กสทช. คลุมเครือ ก็จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่โต เพราะสถาบันการเงินจะกล้าปล่อยกู้ให้ทีโอทีหรือไม่ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องกฎหมาย


นอกจากนี้ MVNO ที่ดำเนินการอยู่ทั้ง 5 ราย มีการทำสัญญาแบบรายปี ก็อาจโดนหางเลขผลกระทบไปด้วย


ข้อพิพาท MVNO ก่อนน้ำท่วม

เมื่อไม่นานมานี้ ก่อนเกิดวิกฤตมหาอุทกภัย ได้มีข้อขัดแย้งที่สะสมมานานเกิดผลในทางกฎหมายขึ้นมา ระหว่าง MVNO และ ทีโอที


แหล่ง ข่าวในอุตสาหกรรมไอซีที เปิดเผยว่า บริษัท 365 Communication บริษัทหนึ่งใน MVNO ของทีโอที ได้ยื่นฟ้องผู้บริหารทั้ง 4 คน ของทีโอที ที่เป็นสมาชิกคณะกรรมการ 3G โดยยื่นฟ้องไปที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. และได้มีการรับเรื่องพิจารณาไว้แล้ว

โดยผู้บริหารที่ถูก ยื่นฟ้องคือ ดร.กำธร ไวทยกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่, นิวัฒน์ กิมตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และผู้จัดการส่วนอีก 2 คน ในความมาตรา 157 ข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของรัฐ

ทั้งนี้บริษัท 365 Communication ยังได้ร้องเรียนไปที่สำนักงานคณะกรรมการ กสทช. ด้วยว่า สัญญาและความร่วมมือของ ทีโอที ไม่ได้เป็นไปตามประกาศ หรือร่างกฎเกณฑ์ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามประกาศของ กทช. (เดิม) และสำนักงานพิจารณาแล้วได้สั่งให้ ทีโอที ไปดำเนินการแก้ไขสัญญาให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ กสทช. ด้วย


แหล่ง ข่าวกล่าวว่า สัญญา MVNO ของทีโอที ไม่สอดรับการแข่งขันมานานแล้ว เพราะทีโอทีกำหนดเงื่อนไขทำให้ต้นทุนของเอ็มเอ็นโอดำเนินการยากที่จะอยู่รอด โดยเฉพาะรายเล็กสายป่านน้อย นอกจากนี้ต้นทุนในการกำหนดราคาค่าซิมการ์ด และเงื่อนไขการเช่าใช้ Capacity เพื่อมาทำบริการออกสู่ตลาดด้วย

“ปัญหา สำคัญคือ ทีโอทีไม่ได้มองเขาเหล่านี้เป็นพันธมิตรหรือคู่ค้าธุรกิจ แต่ยังติดภาพเจ้าขุนมูลนายอยู่ และอาจเปิดโอกาสให้เป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมได้ โดยเฉพาะการเอื้อประโยชน์เอ็มวีเอ็นโอรายใหญ่ที่มีพลังทุนในการต่อรองมาก”
ปัจจุบันตลาด TOT 3G ที่เป็นส่วนของทีโอทีเองมี 80,000 เลขหมาย และที่เป็นของเอ็มวีเอ็นโอทั้งหมดรวมกว่า 200,000 เลขหมาย

ทั้ง นี้ ข้อพิพาทดังกล่าว สกล ถาวรกาญจน์ โฆษก บอร์ด ทีโอที เปิดเผยกับ “เทเลคอม เจอร์นัล” ว่ายังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในเรื่องคดีความ แต่บอร์ดได้รับข้อมูลแล้ว แต่ต้องตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อน เพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย


“ในกรณีที่บริษัท 365 ยื่นฟ้องผู้บริหารทีโอที ในจุดนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ เราเองก็ยังมิได้นำเรื่องดังกล่าวพิจารณาเข้าสู่บอร์ด แต่เรามีข้อมูลอยู่ในมือแล้ว ที่สำคัญ เราต้องตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อนดำเนินการใดๆ เพื่อความเป็นธรรมกับทุกๆ ฝ่าย ซึ่งประเด็นนี้ ครอบคลุมถึงการประเมิน MVNO ด้วย”

Telecom & Innovation Journal
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=1272

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.