Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 มกราคม 2555 ทุนการเมืองเข้าแทรก TOT << หลังขาดหัวเรือใหญ่ >> ร้าวที่มาจากสังกัดต่างชั้วต่างแกนกัน ( แต่กลุ่มเดียวกัน )

ทุนการเมืองเข้าแทรก TOT << หลังขาดหัวเรือใหญ่ >> ร้าวที่มาจากสังกัดต่างชั้วต่างแกนกัน ( แต่กลุ่มเดียวกัน )


ประเด็นหลัก

ทีโอที วันนี้มีสภาพขาดหัวเรือ เช่นเดียวกับ กสท หลังจากที่ จิรายุทธ รุ่งศรีทอง ยื่นใบลาออกไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพราะได้รับสัญญาณพิเศษให้ลุกจากเก้าอี้ เพื่อเปิดทางให้คนในโควต้าของ ”เจ๊” เข้ามานั่งแทนเป็นสภาวะขาดหัวเรือทั้งสองหน่วยงาน เหมือนเมื่อครั้ง รมว.ไอซีทีเป็น ดร.มั่น พัธโนทัย เมื่อหลายปีก่อน

แต่บอร์ดทีโอทีที่ มาจากเสียงข้างมากของพรรคเพื่อไทยในวันนี้ ก็เกิดรอยปริร้าวอยู่บ้างแล้ว เป็นรอยร้าวระหว่างกลุ่มที่มีสัมพันธ์แน่นกับแกนนำบ้านเลขที่ 111 กับประธานบอร์ดที่ถูกระบุว่าเทคแคร์กลุ่มสามารถเกินพอดี

ค่ำวันเดียวกัน พันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานกรรมการ บริษัท ก็เปิดชี้แจงเพื่อยุติความคลุมเครือว่า

"การเลิกจ้างในครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับความล่าช้าของการเปิดให้บริการ 3G ถ่ายเดียว เพราะสาเหตุที่ล้าช้าเกิดจากเหตุสุดวิสัยทั้งสิ้น"

ดร. อานนท์ เปิดเผย Telecom Journal หลังจากที่มีการลงมติเลิกจ้างว่า เขาไม่ได้ติดใจในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และคงไม่ได้ดำเนินการเตรียมร้องหรือคัดค้านต่อสู้ทางกฎหมายแต่อย่างใด

“เขา ให้เหตุผลแบบนั้น เมื่อไปกันไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ผมก็ยุติบทบาทตรงนี้ และขณะนี้กำลังติดต่อหารือกับเพื่อนฝูงในสายวิชาการ โดยจะไปเป็นอาจารย์ที่สถาบันใดสถาบันหนึ่ง กำลังพิจารณาอยู่ เพราะผมก็เรียนมามาก และสามารถเอาความรู้ไปถ่ายทอดเป็นประโยชน์ให้คนอื่นได้” ดร.อานนท์ กล่าว


แหล่ง ข่าวกล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีแรงส่งแรงเชียร์ให้ ดร.อานนท์ ฟ้องหรือดำเนินการทางกฎหมายกับการเลิกจ้างในครั้งนี้ รวมไปถึงการให้สัมภาษณ์จากอดีตประธานบอร์ดบางคน ผ่านสื่อยักษ์ใหญ่ว่าเป็นการไม่ชอบธรรม และควรตอบโต้ ทั้งๆ ที่อดีตประธานบอร์ดผู้นี้ไม่ได้เป็นผู้ที่ให้ความเห็นเชิงรุกในช่วงที่ดำรง ตำแหน่งในทีโอที


แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมไทย อธิบายว่า กรณีของ ดร.อานนท์ ที่มีคนคิดว่า ไม่ได้วิ่งเต้นเข้าหา น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที หรือว่าเขาเข้ามานั่งเก้าอี้ซีอีโอในยุคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด


ทั้งนี้ ตั้งแต่ก่อนหน้าที่มีรัฐบาลใหม่และมีบอร์ดใหม่ในทีโอทีในช่วงที่เกิดน้ำท่วม ใหญ่เมื่อหลายเดือนก่อนนั้น จิรายุทธ รุ่งศรีทอง เคยทำหน้าที่พา ดร.อานนท์ พบหารือกับ รมต.อนุดิษฐ์ ในวงข้าวมื้อหนึ่ง ซึ่งในวันนั้นพร้อมด้วย น.ต.ศิธา ทิวารี สมาชิกบ้านเลขที่ 111 และเป็นที่ปรึกษาแบบไม่เป็นทางการของ รมว.ไอซีที

แหล่งข่าวกล่าวว่า สิ่งที่น่าจับตาจากนี้ไปคือรอยร้าวในบอร์ดทีโอที ซึ่งไม่ได้เกิดจากกรณีเลิกจ้าง อานนท์ แต่เป็นรอยร้าวที่มาจากสังกัดต่างชั้วต่างแกนกัน โดยเฉพาะระหว่างสายของ วาสุกรี กล้าไพรี กรรมการบอร์ด ที่มาจากอดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และเป็นคนดูไทยโมบายมาก่อนที่จะเป็น TOT 3G โดยวาสุกรี เป็นเพื่อนร่วมรุ่นของ พงษ์ศักดิ์ รักษ์พงษ์ไพศาล อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย และ บุญคลี ปลั่งศิริ อดีตผู้นำกลุ่มชินคอร์ป กับตัวประธานบอร์ด ที่ถูกจับตามองด้วยความสนเท่ห์ว่า เขามีแนวโน้มเอียงหากลุ่มทุนอย่าง สามารถคอร์ปอเรชั่นมากหรือไม่


อย่างไรก็ตาม วาสุกรี ให้ความเห็นผ่าน Telecom Journal ว่า เขาและบอร์ดไม่ได้มีรอยร้าวหรือความขัดแย้งกันอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพียงแต่ว่าเป็นเรื่องปกติที่ความเห็นในบางเรื่องอาจจะไม่ได้ไปในทิศทาง เดียวกันทั้งหมด ซึ่งสามารถคุยหารือกันได้..เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะต้องซ้ายหันขวาหันเสีย ทั้งหมด
________________________________________________________



ทีโอที-กสทซ้ำรอยยุคองค์กรขาดหัวเรือ บอร์ดต่างขั้วเปิดรอยร้าวจับตา 3G



การ ลงมติของบอร์ด ทีโอที เพื่อเลิกจ้าง กจญ. เมื่อ 20 มกราคม ไม่ได้เป็นไพ่ผิดมืออะไรนัก เพราะสัญญาณของความรู้สึก “ไปกันไม่ได้” อย่างที่เป็นเนื้อหาหลักของเหตุผลนั้น เกิดขึ้นมาระยะหนึ่ง แม้ ดร.อานนท์ เองก็คงได้ยินมาพอควร แต่อาจไม่คิดว่าจะเร็วขนาดนี้


ถึงอย่างไร แล้ว ธงที่ตั้งไว้ว่าความล่าช้าในการติดตั้งเครือข่าย TOT 3G ควรจะคืบหน้าตามเป้าที่อยากเปิดบริการให้ได้ 18 จังหวัดในวันเกิด ทีโอที คือ 24 ก.พ. และเป็นตัวชี้วัดการบริหารงานของ กจญ. ก็ได้ทำหน้าที่ของมันด้วยการเป็นวันทำงานวันสุดท้ายของ ดร.อานนท์


ที โอที วันนี้มีสภาพขาดหัวเรือ เช่นเดียวกับ กสท หลังจากที่ จิรายุทธ รุ่งศรีทอง ยื่นใบลาออกไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพราะได้รับสัญญาณพิเศษให้ลุกจากเก้าอี้ เพื่อเปิดทางให้คนในโควต้าของ ”เจ๊” เข้ามานั่งแทนเป็นสภาวะขาดหัวเรือทั้งสองหน่วยงาน เหมือนเมื่อครั้ง รมว.ไอซีทีเป็น ดร.มั่น พัธโนทัย เมื่อหลายปีก่อน

แต่บอร์ดทีโอทีที่ มาจากเสียงข้างมากของพรรคเพื่อไทยในวันนี้ ก็เกิดรอยปริร้าวอยู่บ้างแล้ว เป็นรอยร้าวระหว่างกลุ่มที่มีสัมพันธ์แน่นกับแกนนำบ้านเลขที่ 111 กับประธานบอร์ดที่ถูกระบุว่าเทคแคร์กลุ่มสามารถเกินพอดี

การประชุม คณะกรรมการบอร์ดทีโอทีเมื่อ 20 มกราคมที่ผ่านมา ได้ลงมติเลิกจ้าง ดร. อานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยจะมีผลใน 30 วัน หรือ 24 ก.พ.นี้ ซึ่งเป็นวันเกิดขององค์กร โดยการเลิกจ้างนี้เป็นไปตามเงื่อนไขการจ่ายค่าชดเชย 3 ล้านบาท


ทั้ง นี้ บอร์ดได้ให้ ธนวัฒน์ อัมพุนันทน์ รักษาการซีอีโอในช่วงรอยต่อที่ยังไม่มีหัวเรือคนใหม่ พร้อมตั้งวัลลภ พลอยทับทิม กรรมการบอร์ด ให้มาเป็นประธานสรรหาซีอีโอคนใหม่ ด้วยความหวังว่าจะสรรหาคนใหม่ได้ใน 3 เดือน


ข่าวลือได้สะพัด มาระยะหนึ่ง แต่มาอย่างเข้มข้นในวันที่ 20 มกราคม พร้อมๆ กับช่วงเวลาการหารือที่ทอดออกไป และมีกระแสหนึ่งระบุว่าการเลิกจ้างนี้ ถูกพิจารณาด้วยความรอบคอบ เพราะ ดร.อานนท์ ได้เข้ามาเป็น กจญ.คนใหม่จากบอร์ดที่แล้วในยุครัฐบาลประชาธิปัตย์


ที่สำคัญ ในการจ้างงานของเขานั้น เป็นการลงนามสัญญาจ้างและไม่ได้มีการลงนามการยินยอมรับผลการประเมินผลงานการ บริหารงาน เหมือนอย่างที่ปฏิบัติกันมาในหลายๆ ยุค ดังนั้น หากมีอุบัติเหตุก็อาจมีกรณีคลาสสิก เหมือนอดีต กจญ. ดร. สมควร บูรมินเหนทร์ ที่ฟ้องบอร์ด ยุค พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร กับศาลปกครองว่า เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้ บอร์ดทีโอทีชุดนี้จึงระวังและต้องการใช้วิธีการเจรจาโน้มน้าวมากกว่า การดำเนินการแบบแตกหัก

อย่างไรก็ตาม ค่ำวันเดียวกัน พันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานกรรมการ บริษัท ก็เปิดชี้แจงเพื่อยุติความคลุมเครือว่า เพราะวิธีการทำงานไปด้วยกันไม่ได้กับบอร์ด โดยระบุถึง 3 ประเด็นหลัก คือ 1. โครงการ 3G ไม่คืบ 2. ขาดสภาวะผู้นำ และ 3. ทำงานไม่สอดคล้องกับนโยบายของบอร์ดใหม่

"การเลิกจ้างในครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับความล่าช้าของการเปิดให้บริการ 3G ถ่ายเดียว เพราะสาเหตุที่ล้าช้าเกิดจากเหตุสุดวิสัยทั้งสิ้น"

ทั้ง นี้ เหตุผลหลักที่ทางบอร์ดตัดสินใจเลิกจ้างซีอีโอในครั้งนี้ เนื่องจากทางบอร์ดเล็งเห็นถึงวิธีการทำงาน และรูปแบบการทำงานที่ไม่สอดคล้องกับบอร์ดที่ต้องการพัฒนาองค์กรอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม บอร์ดได้พิจารณาจ่ายชดเชยให้ ดร.อานนท์ เป็นเวลา 6 เดือน คำนวณจากเงินเดือนๆ ละ 4.5 แสนบาท โดย ดร.อานนท์ จะได้รับเงินชดเชยรวมทั้งสิ้น 3 ล้านบาท

เขาระบุในการชี้แจงด้วยว่า ทีโอที ขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจภายใน 1,000 กว่าล้านบาทต่อเดือน ดังนั้น บอร์ดจึงต้องหยุดเรื่องการขาดทุนนี้

ในช่วงรอยต่อนี้หากมีการ พิจารณา หรือลงนามในเอกสารที่สำคัญระหว่าง ทีโอที ยังไม่มีกรรมการผู้จัดการใหญ่ บอร์ดยังได้ตั้ง ธนา ธรรมวิหาร และ วาสุกรี กล้าไพรี บอร์ดทีโอทีเป็นผู้มีอำนาจในการลงนาม เนื่องจากการลงนามที่สำคัญจะต้องลงนามร่วม 2 คน


นอกจากนี้บอร์ด ยังได้แต่งตั้ง วัลลภ พลอยทับทิม รองประธานกรรมการ เป็นประธานการสรรหาซีอีโอคนใหม่โดยคาดว่าไม่เกิน 3 เดือนจะได้ซีอีโอทีโอทีคนใหม่

อย่างไรก็ตาม การเลิกจ้างได้ถูกยืนยันว่า ไม่ได้มาจากเพราะ ดร.อานนท์ การไม่ผ่านการประเมินผลงาน "บอร์ดชุดปัจจุบันเข้ามารับตำแหน่งตั้งแต่ในวันที่ 1 พ.ย.2554 โดยมีการหารือถึงแนวทางการทำงานร่วมกันกับฝ่ายบริหาร และมีคนถามผมว่า จะปลดซีอีโอหรือไม่ แต่ผมกลับอยากให้โอกาสเขาที่จะทำงานร่วมกัน แต่เราก็ใช้เวลาในการจูนความคิดอยู่ 2 เดือน แต่สุดท้ายก็ไม่ตรงกันจึงต้องมีการเลิกจ้างตำแหน่งซีอีโอในที่สุด" พันธ์เทพกล่าว

ดร.อานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2554 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลารวม 9 เดือนซึ่งถือว่าเป็นซีอีโอทีโอทีที่อยู่ในตำแหน่งสั้นที่สุด.....


ดร. อานนท์ เปิดเผย Telecom Journal หลังจากที่มีการลงมติเลิกจ้างว่า เขาไม่ได้ติดใจในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และคงไม่ได้ดำเนินการเตรียมร้องหรือคัดค้านต่อสู้ทางกฎหมายแต่อย่างใด

“เขา ให้เหตุผลแบบนั้น เมื่อไปกันไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ผมก็ยุติบทบาทตรงนี้ และขณะนี้กำลังติดต่อหารือกับเพื่อนฝูงในสายวิชาการ โดยจะไปเป็นอาจารย์ที่สถาบันใดสถาบันหนึ่ง กำลังพิจารณาอยู่ เพราะผมก็เรียนมามาก และสามารถเอาความรู้ไปถ่ายทอดเป็นประโยชน์ให้คนอื่นได้” ดร.อานนท์ กล่าว


แหล่ง ข่าวกล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีแรงส่งแรงเชียร์ให้ ดร.อานนท์ ฟ้องหรือดำเนินการทางกฎหมายกับการเลิกจ้างในครั้งนี้ รวมไปถึงการให้สัมภาษณ์จากอดีตประธานบอร์ดบางคน ผ่านสื่อยักษ์ใหญ่ว่าเป็นการไม่ชอบธรรม และควรตอบโต้ ทั้งๆ ที่อดีตประธานบอร์ดผู้นี้ไม่ได้เป็นผู้ที่ให้ความเห็นเชิงรุกในช่วงที่ดำรง ตำแหน่งในทีโอที


แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมไทย อธิบายว่า กรณีของ ดร.อานนท์ ที่มีคนคิดว่า ไม่ได้วิ่งเต้นเข้าหา น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที หรือว่าเขาเข้ามานั่งเก้าอี้ซีอีโอในยุคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด


ทั้งนี้ ตั้งแต่ก่อนหน้าที่มีรัฐบาลใหม่และมีบอร์ดใหม่ในทีโอทีในช่วงที่เกิดน้ำท่วม ใหญ่เมื่อหลายเดือนก่อนนั้น จิรายุทธ รุ่งศรีทอง เคยทำหน้าที่พา ดร.อานนท์ พบหารือกับ รมต.อนุดิษฐ์ ในวงข้าวมื้อหนึ่ง ซึ่งในวันนั้นพร้อมด้วย น.ต.ศิธา ทิวารี สมาชิกบ้านเลขที่ 111 และเป็นที่ปรึกษาแบบไม่เป็นทางการของ รมว.ไอซีที


อย่างไรก็ตาม การที่จิรายุทธ พา ดร.อานนท์ มาทำความคุ้นเคยกับสายไอซีที ก็ไม่ใช่การตอบโจทย์ที่สมบูรณ์ เพราะแม้ตัว จิรายุทธ เองที่มีสายสัมพันธ์ทางภรรยาเป็นเครือญาติกับ น.ต.ศิธา และ จิรายุทธ เป็นคนหนุ่มที่มีคอนเนคชั่นระดับชาติ สามารถผ่านรัฐมตรีไอซีทีมาได้สองคน


ใน วันหนึ่งเขาก็ได้รับสายสัญญาณพิเศษ ที่ปลายสายเป็น ”เจ๊” คนดังในวงการโทรคมนาคมในช่วงหลายปี และใม่ใช่เจ๊หน่อย ทั้งนี้ เจตนาของคู่สายบอกว่าถึงเวลาที่จิรายุทธต้องลงจากเก้าอี้ เพราะจะมีคนใหม่เข้ามาแทน ...และนี่คือเหตุที่ จิรายุทธ ยื่นใบลาออก ด้วยเหตุผลว่าต้องการเปิดโอกาสให้บอร์ดใหม่เลือกที่คนที่อาจมีความสามารถ หรือเหมาะสมกว่า เข้ามาบริหาร กสท โทรคมนาคม แทนเขา

การเลิกจ้าง ดร.อานน์ และการลาออกก่อนหน้านั้นของ จิรายุทธ ทำให้องค์กรสองพี่น้อง ทีโอที-กสท เข้าสู่ยุคขาดหัวเรืออีกครั้ง เหมือนเมื่อหลายปีก่อนในยุคสมัยของ ดร.มั่น พัธโนทัย ที่ กสท มีรักษาการ กจญ.คือ พิศาล และทีโอทีมีรักษาการ กจญ .ชื่อกิตติพงศ์

แหล่ง ข่าวกล่าวว่า สิ่งที่น่าจับตาจากนี้ไปคือรอยร้าวในบอร์ดทีโอที ซึ่งไม่ได้เกิดจากกรณีเลิกจ้าง อานนท์ แต่เป็นรอยร้าวที่มาจากสังกัดต่างชั้วต่างแกนกัน โดยเฉพาะระหว่างสายของ วาสุกรี กล้าไพรี กรรมการบอร์ด ที่มาจากอดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และเป็นคนดูไทยโมบายมาก่อนที่จะเป็น TOT 3G โดยวาสุกรี เป็นเพื่อนร่วมรุ่นของ พงษ์ศักดิ์ รักษ์พงษ์ไพศาล อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย และ บุญคลี ปลั่งศิริ อดีตผู้นำกลุ่มชินคอร์ป กับตัวประธานบอร์ด ที่ถูกจับตามองด้วยความสนเท่ห์ว่า เขามีแนวโน้มเอียงหากลุ่มทุนอย่าง สามารถคอร์ปอเรชั่นมากหรือไม่


อย่างไรก็ตาม วาสุกรี ให้ความเห็นผ่าน Telecom Journal ว่า เขาและบอร์ดไม่ได้มีรอยร้าวหรือความขัดแย้งกันอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพียงแต่ว่าเป็นเรื่องปกติที่ความเห็นในบางเรื่องอาจจะไม่ได้ไปในทิศทาง เดียวกันทั้งหมด ซึ่งสามารถคุยหารือกันได้..เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะต้องซ้ายหันขวาหันเสีย ทั้งหมด


........เป็นความเห็นที่ต้องจับตาต่ออย่างที่สุด.................


Telecom & Innovation Journal
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=1271

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.