Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 กรกฎาคม 2555 CAT ชี้ TRUE อย่ากลัวการทำสัญญา 3G ใหม่ !!! ยังให้สิทธิพิเศษทั้ง MVNO และ ขายโฮลเซลล์ ได้ แต่ความจุคงให้มาก 80% ไม่ได้

CAT ชี้ TRUE อย่ากลัวการทำสัญญา 3G ใหม่ !!! ยังให้สิทธิพิเศษทั้ง MVNO และ ขายโฮลเซลล์ ได้ แต่ความจุคงให้มาก 80% ไม่ได้


ประเด็นหลัก

ดังนั้น ในความเห็นส่วนตัว ทรู ควรกลับมาดูว่าสัญญาดังกล่าวยังไม่มีการแก้ไขให้ชัดเจนจึงไม่สมควรที่จะเร่ง ขยายธุรกิจอย่างที่ทำอยู่ในตอนนี้

ปัจจุบัน ทรูมูฟ เอช มีลูกค้าในระบบประมาณ 2 ล้านราย และสถานีฐานถึง 7,000 สถานีในตอนนี้
แต่ หากสัญญาใหม่ร่างเสร็จแล้ว ทรูฯ ก็มีสิทธิเข้าทำตลาดทั้งแบบเอ็มวีเอ็นโอ และขายโฮลเซลล์ให้ได้ แต่ความจุโครงข่ายที่ให้ตามสัญญาใหม่คงไม่ได้ให้สิทธิ์ ทรู ได้มากถึง 80%

กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่า การเจรจาเพื่อแก้ไข 6 รายการกับกลุ่มทรู ยังดำเนินต่อไปและเป็นไปด้วยดี



__________________________________________________


กสท ฉีดยาแรง หยุดแผลเรื้อรัง


เขียนสัญญาใหม่ แทนที่ดีลประวัติศาสตร์


บอร์ด กสท โทรคมนาคม เมื่อ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา เห็นชอบในข้อเสนอของฝ่ายบริหารที่เสนอเห็นควรให้ร่างสัญญาใหม่เพื่อก้าวข้าม ความคลุมเครือทั้งหมด ของสัญญา 6 ฉบับที่ได้ทำไว้กับกลุ่มทรู เมื่อต้นปีที่ผ่านมา



สัญญาที่ถูกพิจารณาจากหลายหน่วยงาน โดยที่บางหน่วยงานอย่าง กสทช. ก็สั่งให้ไปแก้ไข 6 รายการในสัญญา ด้านคณะอนุกรรรมการของกระทรวงก็พบความไม่ปกติ 5 รายการ เช่นเดียวกันกับอนุกรรมการของ ป.ป.ช.



แม้กระบวนการของการชี้ ขาดยังไม่ได้ไปถึงจุดสุดท้าย แต่การแก้ไขตามคำสั่ง กสทช. นั้นไม่สามารถทำได้โดยไม่เกี่ยวโยงกับเรื่องสำคัญๆ ต่างๆ มากมาย



จุดเริ่มต้นของการก้าวข้ามปัญหาที่เรื้อรังเกิดขึ้นแล้ว แต่จะนำไปสู่ทิศทางใด ยังหามีผู้ใดล่วงรู้ไม่



กิตติ ศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท เมื่อ 25 ก.ค. ว่าที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการเบื้องต้น ตามที่คณะทำงานพิจารณาภาพรวมสัมปทาน และกลุ่มโทรศัทพ์เคลื่อนที่บริการ 3G ซึ่งกำลังประเมินข้อดีข้อเสียในการแก้ไขสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูป แบบใหม่ระหว่างกลุ่มทรูกับ กสท ที่ทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในส่วนคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) สั่งให้แก้ไขใน 6 ประเด็นหลักเพื่อไม่ให้ขัดมาตรา 46 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ



โดย ล่าสุดคณะทำงานของ กสท เห็นว่าควรจะทำการร่างสัญญาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อทดแทนสัญญาเก่าที่เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งเมื่อสัญญาใหม่เสร็จลงตัว จะทำให้สัญญาที่มีอยู่ต้องยกเลิกไปโดยปริยาย



ทั้งนี้เบื้อง ต้นคณะทำงานได้มีแนวทางในการแก้ไขร่างสัญญาที่ถูกวิพากษ์ในลักษณะ 3 แนวทาง คือ 1. ทำสัญญาใหม่แนบท้ายต่อสัญญาเดิม 2. แก้ไขสัญญาเดิม และ 3. ยกเลิกสัญญาเดิมทั้งฉบับ แล้วทำสัญญาใหม่ขึ้นมา ซึ่งคณะทำงานและฝ่ายบริหารต่างเห็นด้วยกับแนวทางข้อที่ 3 คือ การยกเลิกสัญญาฉบับเดิม เนื่องจากการแก้ไขสัญญาเดิมมีความสลับซับซ้อน และยากจะหาข้อยุติโดยเร็ว อีกทั้งการทำสัญญาใหม่ขึ้นมายังช่วยให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับพาร์ทเนอร์ราย อื่นๆ ต่อไปด้วย



บอร์ด กสท ได้สั่งการให้คณะทำงานกลับไปทำรายละเอียดดังกล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการ แก้ไขทั้ง 3 ข้อ การทำตลาดใหม่ รวมถึงร่างสัญญาใหม่ เพื่อให้เป็นสัญญามาตรฐาน และเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาทำตลาดได้ และมีสิทธิ์ขอเข้าทำตลาดให้บริการขายต่อบริการ (MVNO) หรือ ทำตลาดขายส่ง (โฮลเซลล์) ได้เท่าเทียมกับ กลุ่มทรู ก่อนนำเข้าเสนอที่ประชุมบอร์ด กสท ในวันที่ 8 ส.ค. ต่อไป เพื่อให้บอร์ดพิจารณา จากนั้นจะส่งรายละเอียดทั้งหมดไปให้กับ กลุ่มทรู อีกครั้งในการเจรจา



พร้อม กันนี้ทาง กสท เตรียมส่งหนังสือไปยังคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค.เพื่อขอขยายเวลาในการแก้ไขสัญญาทั้ง 6 ข้อเพิ่มเติมอีก 30 วัน จากเดิมจะครบกำหนดเวลาที่ทาง กทค.ให้ไว้ในวันที่ 27 ก.ค.



“เบื้อง ต้นมีการพูดคุยกับทางผู้บริหารระดับสูงของทรูแล้วเพื่อแจ้งให้รับทราบถึง ความคืบหน้าการแก้ไขสัญญาว่าจะมีแนวโน้มยกเลิกสัญญาเดิม แล้วทำสัญญาใหม่ขึ้นมา”



ดังนั้น ในความเห็นส่วนตัว ทรู ควรกลับมาดูว่าสัญญาดังกล่าวยังไม่มีการแก้ไขให้ชัดเจนจึงไม่สมควรที่จะเร่ง ขยายธุรกิจอย่างที่ทำอยู่ในตอนนี้



ปัจจุบัน ทรูมูฟ เอช มีลูกค้าในระบบประมาณ 2 ล้านราย และสถานีฐานถึง 7,000 สถานีในตอนนี้
แต่ หากสัญญาใหม่ร่างเสร็จแล้ว ทรูฯ ก็มีสิทธิเข้าทำตลาดทั้งแบบเอ็มวีเอ็นโอ และขายโฮลเซลล์ให้ได้ แต่ความจุโครงข่ายที่ให้ตามสัญญาใหม่คงไม่ได้ให้สิทธิ์ ทรู ได้มากถึง 80%



กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่า การเจรจาเพื่อแก้ไข 6 รายการกับกลุ่มทรู ยังดำเนินต่อไปและเป็นไปด้วยดี



อย่าง ไรก็ตาม ในการเจรจาแก้ไข กสท พบว่าการแก้ไข 6 รายการนั้น จะไปเกี่ยวพันกับเรื่องอื่นมากมาย และหลายเรื่องซับซ้อน และต้องใช้เวลาเจรจาต่อและยากที่จะกำหนดข้อยุติได้ในเวลาสั้นๆ



เช่น การที่ กสท ต้องดำเนินการให้มีสิทธิเต็มที่ในความถี่และบริหารจัดการโครงข่าย รวมทั้งต้องย้าย Network Operations Centre (NOC) มาอยู่ในพื้นที่ กสท เอง นั่นหมายถึงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเช่า การเอาท์ซอร์สต่างๆ มากมาย ต้องมีการเจรจาราคาเช่ากันใหม่ จะตกลงเรื่องการติดตั้งอุปกรณ์กันอย่างไร ที่ไหนบ้าง



“มันจึงยากมากที่จะแก้ไขกัน 6 รายการให้เสร็จตามที่ กสทช.ระบุ โดยไม่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องรายละเอียดอื่นเลย ซึ่งเป็นไปไม่ได้”



ดัง นั้น สัญญาใหม่ถอดด้ามที่ควรจะทำนั้น จำเป็นต้องมีรายละเอียดหลักๆ ใหม่ เพื่อให้ก้าวข้ามเรื่องปัญหาที่อาจนำไปสู่ปัญหาใหม่ในอนาคต และต้องผ่านขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมายครบถ้วน ทั้งจากบอร์ด กสท ผ่านไปที่กระทรวงทำความเห็น เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งหากจบกระบวนการทั้งหมด สัญญาใหม่ก็จะไปทดแทนของเก่าและของเก่าจะถูกยกเลิกไป



ทั้งนี้ สัญญาใหม่ กลุ่มทรู ควรจะเป็นเหมือน MVNO ซึ่งก็จะต้องดูความเป็นไปได้ว่าถ้าจะไปถึงตรงนั้น เงื่อนไขทั้งหมดต้องเป็นอย่างไร



นอก จากนี้ จุดเริ่มของสัญญานี้ ทางคณะกรรมการสอบสวนของกระทรวงไอซีทีเคยระบุว่ามีเรื่องผิดปกติ 5 รายการ และส่งเรื่องต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำลังพิจารณาอยู่



ขณะ เดียวกัน BFKT ซึ่งปัจจุบันถือหุ้นโดยกลุ่มทรู ก็อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะทำงานของ กสทช. อยู่ด้วยเช่นกันว่า เข้าข่ายดำเนินการโดยไม่มีใบอนุญาตหรือไม่



กสท กังวลในหลายเรื่องแม้ว่าจะเป็นเจ้าของคลื่นความถี่และบริการนี้ การแก้ไขถ้าแก้แล้วควรที่จะไปสู่จุดที่เหมาะสมที่สุดต่อองค์กร และไม่ต้องถูกร้องหาการตรวจสอบได้อีก



ขณะเดียวกัน ในฐานะของฝ่ายบริหาร การบริหารหารตัดสินใจต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ไม่ทำให้เสียประโยชน์ เพราะหากละเลยอาจเข้าข่ายผิดมาตรา 157 กฎหมายอาญาได้



“เรา ต้องบาลานซ์สมดุลให้ดี เพราะต้องตัดสินใจทำในสิ่งที่ดีที่สุดให้องค์กร และไม่ควรแก้ปัญหาหนึ่งเพื่อให้ไปเกิดปัญหาอีกด้านหนึ่งแทน เราต้องแก้ให้ถูกจุดและทำในครั้งเดียว”



ก่อนหน้านี้ พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. กล่าวว่า กสทช. ด้านโทรคมนาคม ได้มีมติเห็นชอบตามผลการศึกษา วิเคราะห์และความเห็นของคณะอนุกรรมการการพิจารณาผลสรุปของคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาการศึกษาการทำสัญญาระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA บนคลื่นความถี่ 800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) โดยสัญญาดังกล่าวเข้าข่ายขัดมาตรา 46 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่กำหนดไว้ว่า คลื่นความถี่เป็นสิทธิ์เฉพาะตัวของผู้รับใบอนุญาต ไม่สามารถโอนแก่กันได้ และต้องประกอบกิจการด้วยตัวเองจะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วนหรือ ยินยอมให้คนอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนกันก็ไม่ได้ แต่ กสท ไม่ได้มีสิทธิ์ในคลื่นความถี่นั้นอย่างสมบูรณ์



ดังนั้น จึงมีมติให้ กสท ไปดำเนินการปฏิบัติกฎหมายมาตรา 46 อย่างสมบูรณ์ ด้วยการแก้ไขสัญญา เพื่อให้ กสท เข้ามีสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่อย่างสมบูรณ์ โดยให้ดำเนินการแก้ไขสัญญาแล้วนำมารายงานให้บอร์ด กทค.รับทราบภายใน 30 วัน



โดย การแก้ไขประกอบด้วย สัญญาการเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อนำไปให้บริการมือถือ ระหว่าง กสท กับบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ได้แก่ สัญญาข้อ 2.9 กสท จะต้องเข้าถึงข้อมูลการใช้งาน เพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ด้วยตัวเอง



ข้อ 2.11 ให้ กสท สามารถเข้าไปในสถานีติดตั้งเครื่องและอุปกรณ์และเสาโทรคมนาคมที่ให้เช่าได้ ข้อ 2.12 กสท นำคลื่นความถี่ย่าน 800MHz ไปใช้กับเครื่องและอุปกรณ์ของตนเองหรือของบริษัทอื่นได้



สัญญา ข้อ 2.17 และข้อ 2.18 กสท จะต้องเร่งรัดทำให้ตนเองเป็นผู้ควบคุมและบริการคลื่นความถี่ผ่านการเจรจาการ ให้บริการข้ามโครงข่ายภายในประเทศ และการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับผู้ประกอบการรายอื่นด้วยตนเอง



ข้อ 7.2 กสท ต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติและวิธีการบังคับ โดยแสดงให้เห็นถึงอำนาจในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ของ กสท ให้ชัดเจน และสัญญาบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G ระหว่าง กสท กับบริษัท เรียล มูฟ จำกัด



ข้อ 7.5 โดยให้ กสท สามารถเข้าถึงข้อมูลการใช้งานอย่างเพียงพอที่จะบริหารจัดการคลื่นความถี่ได้อย่างสมบูรณ์



พ.อ.รศ. ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า การแก้ไขสัญญาตามข้อเสนอดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 46 เพื่อให้ กสท เป็นเจ้าของคลื่นและมีอำนาจจัดการในคลื่นความถี่ด้วยตัวเอง หากไม่มีการแก้ไขตามวันเวลาที่กำหนด ทางบอร์ด กทค. ก็ต้องกลับมาพิจารณาอีกครั้งว่าจะมีบทลงโทษอย่างไรต่อไป แต่ถ้าพิจารณาตามกฎหมาย ก็จะมีความผิดมาตรา 47 กสท ก็จะอาจมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน ฉะนั้น คงต้องรอผลจาก กสท ก่อนจึงมีบทลงโทษได้



นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปพิจารณาข้อเท็จจริงว่าการดำเนินการของบริษัท บีเอฟเคที นั้น เข้าข่ายประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ และให้รายงานให้บอร์ด กทค. รับทราบภายใน 30 วันด้วยเช่นกัน ซึ่งครบกำหนดในสิ้นเดือนนี้

tjinnovation
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=2272


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.