Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 ตุลาคม 2555 (เกาะติดเล่นเน็ตทุกคลิ๊กเสียงเสียตังค์) ICT-กสทช. แสดงจุดยืนไม่เป็นทางการ ไทยไม่ยอมรับกฎใหม่ที่จะควบคุมNETของไอทียู

ประเด็นหลัก


แม้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า “ไทยไม่ยอมรับกฎใหม่ที่จะควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตของไอทียู” แต่อย่างน้อยก็ได้รู้ว่า ทั้งไอซีที และสำนักงาน กสทช. หน่วยงานที่จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปต่อรองสนธิสัญญาระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค. 2555 เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้มีการหารือร่วมกันถึงเรื่องนี้แล้ว

การควบคุมอินเทอร์เน็ต ครั้งนี้ จะมีทั้งการต่อต้านและสนับสนุนจากนานาประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมา เนื้อหาในอินเทอร์เน็ตไม่ได้มีการควบคุมดูแลเท่าที่ควร จึงไม่แปลกที่ ประเทศที่มาจากระบอบสังคมนิยมอย่างจีน รัสเซีย และอาหรับ จะสนับสนุนการเข้าควบคุมอินเทอร์เน็ตโดยหน่วยงานกลางอย่างไอทียู ในขณะเดียวกัน ประเทศที่มาจากระบอบเสรีอย่างสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาประกาศจุดยืนในการต่อต้านการควบคุมทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งในความเป็นจริงทางเทคนิคไม่มีใครสามารถ “ควบคุม” อินเทอร์เน็ต ได้อย่างแท้จริง เพราะโครงสร้างที่เป็นระบบเปิด และไม่มีจุดศูนย์กลาง สิ่งที่ไอทียูทำได้คือเข้ามาจัดระเบียบ และเก็บกวาดเท่านั้น ซึ่งตอนนี้วิธีการว่าจะดำเนินการอย่างไรยังไม่ออกมาชัดเจน จึงทำให้เป็นประเด็นขัดแย้ง ถ้ามีรายละเอียดออกมาชัดเจนขึ้น น่าจะได้รับการสนับสนุนมากกว่าต่อต้าน






__________________________________________

“ไอซีที-กสทช.” แสดงจุดยืน “กฎใหม่อินเทอร์เน็ตของไอทียู”


การร่วมหารือระหว่างกระทรวงเทค โนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) อย่างเป็นทางการครั้งแรก หัวข้อ “ไอทียู จะกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต : ไทยควรมีท่าทีอย่างไร” ซึ่งเป็นการระดมความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขเนื้อหาของสนธิสัญญาการบริหารเครือข่ายโทรคมนาคมของโลก หรือ อินเทอร์เน็ต เทเลคอมมูนิเคชั่น เร็กกูเรชั่น (ไอทีอาร์) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
แม้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า “ไทยไม่ยอมรับกฎใหม่ที่จะควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตของไอทียู” แต่อย่างน้อยก็ได้รู้ว่า ทั้งไอซีที และสำนักงาน กสทช. หน่วยงานที่จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปต่อรองสนธิสัญญาระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค. 2555 เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้มีการหารือร่วมกันถึงเรื่องนี้แล้ว
 
ดร.อาจิน จิรชีพพัฒนา ผู้อำนวยการสำนักกิจการระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงไอซีที เปิดเผยถึง ขั้นตอนเบื้องต้นในการแสดงท่าทีที่ชัดเจนต่อสนธิสัญญาที่แก้ไขของไอทียูว่า กระทรวงไอซีทีได้รวมตัวกับประเทศสมาชิกเอเชียและแปซิฟิก จำนวน 38 ประเทศ พิจารณาเนื้อหาที่ระบุในไอทีอาร์ ผ่านเวทีกลางอย่าง ประชุม World Conference on International Telecommunications 2012 หรือ (WCIT-12) เพื่อให้แต่ละประเทศเสนอข้อมูล ผลกระทบที่เกิดขึ้น แล้วนำไปรวบรวมต่อรองกับไอทียู ในฐานะข้อเสนอของเอเชียและแปซิฟิกให้การรับรอง
 
ดร.อาจิน ระบุว่า ท่าทีของไทย คือ ไม่ยอมรับและไม่สนับสนุนให้เพิ่มคำว่า “ไอซีที” เข้าไปในไอทีอาร์ ”
   
นอกจากนี้กระทรวงไอซีทีและกสทช. ยังได้เตรียมคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาการแก้ไขสัญญาข้อบังคับโทรคมนาคมระหว่างประเทศสำหรับการเข้าร่วมประชุมระดับโลกระหว่างประเทศ ค.ศ. 2012 รวม 2 คณะ โดยมีหน้าที่ศึกษารายละเอียดของทีไออาร์ เสนอแนวทางปฏิบัติเพื่อเตรียมสำหรับการประชุม WCIT–12  และจัดทำร่างเอกสารหรือข้อเสนอความคิดเห็นของไทยเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมต่าง ๆ
 
น.ส.ดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้บริหาร อินเทอร์เน็ต โซไซตี้ ประเทศไทย (ไอซอก) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิก ระบุว่า เนื้อหาของสนธิสัญญาที่แก้ไขจาก 15 ข้อ มี 6 ข้อที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ได้แก่ 1.จ่ายเงินตามปริมาณการใช้งาน หรือคลิกทุกครั้งต้องจ่ายเงิน 2. ผู้ให้บริการเนื้อหา(คอนเท้นท์) ต้องชำระค่าบริการให้กับเจ้าของโครงข่าย 3. เปิดเผยประวัติการใช้งาน 4. การกำหนดนิยามเรื่องบริการโทรคมนาคม 5. ความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต และ6.หากลงนามต้องยอมรับและทำตามสนธิสัญญาต้องแก้ไขกฎหมายของประเทศใหม่
   
น.ส.ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ ประธานชมรมผู้ประกอบการธุรกิจโฮสติ้ง ได้แสดงความคิดเห็นต่อไอทียูที่เข้ามากำหนดร่างสนธิสัญญาไอทีอาร์ ว่า การกำหนดคำนิยาม นั้นต้องดูว่าแต่ละประเทศก็มีนิยามเป็นของตัวเอง การที่ไอทียูเข้ามากำหนดควบคุม ขยายขอบเขตนั้น เพื่อจุดประสงค์อะไร และไอทียูมีอำนาจเพียงพอที่จะบังคับหรือไม่ ส่วนประเทศไทยหากลงนามรับไอทีอาร์ ปัญหาเกิดกับผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตอย่างแน่นอน
 
สำหรับการหารือร่วมกันครั้งนี้สิ่งที่ได้รับรู้ชัดเจนคือ สำนักงาน กสทช. ระบุว่าถ้าตัวแทนจากประเทศไทยไม่ยอมเซ็นสัญญาดังกล่าว ไอทียู ก็ไม่สามารถมาบังคับได้ เนื่อง จากเนื้อหาของสนธิสัญญาที่แก้ไขเหมือนเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ของไอทียูเดิม
 
การหารือร่วมกันระหว่าง ไอซีที กับ สำนักงาน กสทช. ยังมีอีกหลายครั้ง ซึ่งสุดท้ายแล้วผลจะเป็นอย่างไร ต้องติดตามกันต่อไป.

..........................................

นโยบาย “คลิกเน็ตเสียตังค์” จุดชนวนขัดแย้งมากมาย

ดร.มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีข้อเสนอของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) จะพิจารณาหาข้อสรุปการกำกับดูแลการบริการอินเทอร์เน็ตตามบทบัญญัติว่าด้วยสนธิสัญญาการบริหารโทรคมนาคม (ITRs) และมีผู้เสนอให้นำอินเทอร์เน็ต และ IP Networks and Services เข้าอยู่ภายใต้กรอบดังกล่าวด้วย จึงอาจส่งผลกระทบต่อการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงธุรกิจและผู้ใช้ต้องจ่ายเงินเสียค่าบริการทุกครั้งที่คลิกก็ได้ ในการประชุมว่าด้วยการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (World Conference on International Telecommunications :WCIT) ที่จะมีขึ้นที่ดูไบ ระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค. 2555 ดังนี้
 
การควบคุมอินเทอร์เน็ต ครั้งนี้ จะมีทั้งการต่อต้านและสนับสนุนจากนานาประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมา เนื้อหาในอินเทอร์เน็ตไม่ได้มีการควบคุมดูแลเท่าที่ควร จึงไม่แปลกที่ ประเทศที่มาจากระบอบสังคมนิยมอย่างจีน รัสเซีย และอาหรับ จะสนับสนุนการเข้าควบคุมอินเทอร์เน็ตโดยหน่วยงานกลางอย่างไอทียู ในขณะเดียวกัน ประเทศที่มาจากระบอบเสรีอย่างสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาประกาศจุดยืนในการต่อต้านการควบคุมทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งในความเป็นจริงทางเทคนิคไม่มีใครสามารถ “ควบคุม” อินเทอร์เน็ต ได้อย่างแท้จริง เพราะโครงสร้างที่เป็นระบบเปิด และไม่มีจุดศูนย์กลาง สิ่งที่ไอทียูทำได้คือเข้ามาจัดระเบียบ และเก็บกวาดเท่านั้น ซึ่งตอนนี้วิธีการว่าจะดำเนินการอย่างไรยังไม่ออกมาชัดเจน จึงทำให้เป็นประเด็นขัดแย้ง ถ้ามีรายละเอียดออกมาชัดเจนขึ้น น่าจะได้รับการสนับสนุนมากกว่าต่อต้าน
 
ส่วนประเด็นเรื่องของการเก็บเงินในการใช้บริการนั้น อาจกระทบต่อผู้ให้บริการเนื้อหาบางรายที่ไม่แสวงผลกำไร เช่นในด้านการศึกษา และ public service ในขณะที่หลักการนี้เอื้อต่อผู้ให้บริการเนื้อหาในเชิงธุรกิจ แต่อย่างไรก็ดี การจ่ายค่าเชื่อมโยงโครงข่ายไม่ใช่เรื่องใหม่ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับที่ใช้กับระบบสื่อสารโทรคมนาคมอื่น ๆ และเป็นโมเดลทางธุรกิจที่สามารถช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มช่องทางทางธุรกิจในอินเทอร์เน็ตได้อย่างแท้จริง แต่ต้องเป็นการเก็บเงินที่สมเหตุสมผล ซึ่งต้องว่ากันเรื่องรายละเอียดในขั้นต่อไป จึงจะสามารถประเมินผลกระทบได้มากกว่านี้ แต่ที่สำคัญที่ทุกฝ่ายต้องเห็นด้วยกับหลักการว่า อินเทอร์เน็ตไม่ควรเป็นตัวขยายช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ในทางกลับกัน ควรเป็นตัวเชื่อมช่องว่างเหล่านี้ที่ดีที่สุด.

สุรัสวดี สิทธิยศ

เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/163925

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.