Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 มีนาคม 2556 สังคมมอง กสทช.อุ้มช่อง 5 ( TV สาธารณะเพื่อความมั่นคงมีโฆษณา10 นาทีต่อชม.ไม่ต่างกับทีวีดิจิทัล12นาทีต่อชม.)


ประเด็นหลัก



จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว ส่งผลให้คณะอนุกรรมการประสานงานการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐ เสนอหลักเกณฑ์กำหนดให้โทรทัศน์สาธารณะ มีโฆษณาได้ 10 นาทีต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นจำนวนที่ลดลงเมื่อเทียบกับประเภทธุรกิจที่โฆษณาได้ 12 นาทีต่อชั่วโมง โดยจะเสนอให้บอร์ด กสท. พิจารณาเห็นชอบในหลักเกณฑ์ดังกล่าววันนี้

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการ กสท. กล่าวว่าการออกหลักเกณฑ์ ทีวีดิจิทัลสาธารณะ ประเภทที่สอง ให้มีโฆษณาได้ 10 นาทีต่อชั่วโมง ของคณะอนุกรรมการฯ ถือเป็นสาระสำคัญต่อการจัดสรรคลื่นกลุ่มทีวีดิจิทัล สาธารณะ 12 ช่อง ซึ่งจะเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับใบอนุญาต ก่อนประเภทธุรกิจและชุมชน

ดังนั้น ทุกหลักเกณฑ์ต้องเข้าสู่กระบวนการฟังความคิดเห็นจากทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ก่อนกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ให้บอร์ด กสท. พิจารณาเห็นชอบ โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ ทีวีดิจิทัล สาธารณะเพื่อความมั่นคง ที่สามารถมีโฆษณาเชิงธุรกิจได้จะส่งผลต่อการประมูลทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจอีก 24 ช่องทันที เพราะในประเภทนี้โฆษณาได้ชั่วโมงละ 12 นาที ถือว่าจำนวนเวลาโฆษณาไม่ต่างกันมาก แต่ทีวีดิจิทัลสาธารณะไม่ต้องประมูล ขณะที่ประเภทธุรกิจต้องแข่งประมูลและมีต้นทุนสูงกว่า

"เกณฑ์ที่กำหนดให้ทีวีสาธารณะเพื่อความมั่นคง โฆษณาได้ 10 นาทีต่อชั่วโมง อาจถูกมองว่าเป็นเกณฑ์ที่ออกมาอุ้มช่อง 5 ที่จะขอใบอนุญาตทีวีดิจิทัล สาธารณะประเภทนี้ให้มีช่องหารายได้ และอาจมีหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆ เข้ามาขอใบอนุญาตประเภทนี้ด้วยเช่นกัน" นางสาวสุภิญญา กล่าว



อย่างไรก็ตาม วันนี้จะเสนอวาระจรให้บอร์ด กสท. พิจารณาตรวจสอบการระงับออกอากาศรายการตอบโจทย์ ประเทศไทย ตอนที่ 5 ของไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจของผู้บริหารสถานีฯ และอาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน








______________________



จับตาบอร์ด กสท. เคาะเกณฑ์อุ้ม 'ช่อง5'

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


อนุกรรมการฯ ชงเรื่องบอร์ด กสท. ออกเกณฑ์ "ทีวีดิจิทัล" สาธารณะเพื่อความมั่นคง กำหนดเวลาโฆษณา 10 นาที เข้าข่ายอุ้มช่อง 5


วาระการประชุม คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) หรือบอร์ดกระจายเสียงวันนี้ (จันทร์ 18 มี.ค.) คณะอนุกรรมการประสานงานการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐ ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ได้เสนอวาระกำหนดหลักเกณฑ์ "โทรทัศน์สาธารณะ" ประเภทที่สอง ซึ่งกำหนดให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยสาธารณะ โดยโทรทัศน์สาธารณะ ประเภทนี้ ตามกฎหมาย ระบุว่า "ให้หารายได้จากการโฆษณาได้เท่าที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการโดยไม่แสวงหากำไร"

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว ส่งผลให้คณะอนุกรรมการประสานงานการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐ เสนอหลักเกณฑ์กำหนดให้โทรทัศน์สาธารณะ มีโฆษณาได้ 10 นาทีต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นจำนวนที่ลดลงเมื่อเทียบกับประเภทธุรกิจที่โฆษณาได้ 12 นาทีต่อชั่วโมง โดยจะเสนอให้บอร์ด กสท. พิจารณาเห็นชอบในหลักเกณฑ์ดังกล่าววันนี้

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการ กสท. กล่าวว่าการออกหลักเกณฑ์ ทีวีดิจิทัลสาธารณะ ประเภทที่สอง ให้มีโฆษณาได้ 10 นาทีต่อชั่วโมง ของคณะอนุกรรมการฯ ถือเป็นสาระสำคัญต่อการจัดสรรคลื่นกลุ่มทีวีดิจิทัล สาธารณะ 12 ช่อง ซึ่งจะเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับใบอนุญาต ก่อนประเภทธุรกิจและชุมชน

ดังนั้น ทุกหลักเกณฑ์ต้องเข้าสู่กระบวนการฟังความคิดเห็นจากทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ก่อนกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ให้บอร์ด กสท. พิจารณาเห็นชอบ โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ ทีวีดิจิทัล สาธารณะเพื่อความมั่นคง ที่สามารถมีโฆษณาเชิงธุรกิจได้จะส่งผลต่อการประมูลทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจอีก 24 ช่องทันที เพราะในประเภทนี้โฆษณาได้ชั่วโมงละ 12 นาที ถือว่าจำนวนเวลาโฆษณาไม่ต่างกันมาก แต่ทีวีดิจิทัลสาธารณะไม่ต้องประมูล ขณะที่ประเภทธุรกิจต้องแข่งประมูลและมีต้นทุนสูงกว่า

"เกณฑ์ที่กำหนดให้ทีวีสาธารณะเพื่อความมั่นคง โฆษณาได้ 10 นาทีต่อชั่วโมง อาจถูกมองว่าเป็นเกณฑ์ที่ออกมาอุ้มช่อง 5 ที่จะขอใบอนุญาตทีวีดิจิทัล สาธารณะประเภทนี้ให้มีช่องหารายได้ และอาจมีหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆ เข้ามาขอใบอนุญาตประเภทนี้ด้วยเช่นกัน" นางสาวสุภิญญา กล่าว

ทั้งนี้ กระบวนการทำงานออกหลักเกณฑ์หรือคุณสมบัติ "ทีวีดิจิทัล สาธารณะ" ทั้ง 12 ช่อง ควรออกมาพร้อมกันทั้งควรกำหนดผังรายการให้ชัดเจนว่าจะนำเสนอรายการประเภทใด ต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ไม่ใช่เสนอหลักเกณฑ์รายประเภท เพื่อทำให้ภาพรวมการจัดสรรทีวีดิจิทัล สาธารณะ เป็นไปตามความต้องการของสังคมและผู้ชม และไม่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

"ปัจจุบันทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง มีหลักเกณฑ์ชัดเจนว่าต้องประมูลภายใต้เงื่อนไขที่ กสท.กำหนด ขณะที่ทีวีดิจิทัล สาธารณะ ที่ต้องจัดสรรเป็นกลุ่มแรก ยังไม่มีความชัดเจน และอาจเป็นจุดบอด การทำงานของ กสท. หากกำหนดเกณฑ์ให้ใบอนุญาตแบบบิวตี้ คอนเทสต์ ไม่ชัดเจน" นางสาวสุภิญญา กล่าว

อย่างไรก็ตาม วันนี้จะเสนอวาระจรให้บอร์ด กสท. พิจารณาตรวจสอบการระงับออกอากาศรายการตอบโจทย์ ประเทศไทย ตอนที่ 5 ของไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจของผู้บริหารสถานีฯ และอาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130318/495492/%A8%D1%BA%B5%D2%BA%CD%C3%EC%
B4-%A1%CA%B7.-%E0%A4%D2%D0%E0%A1%B3%B1%EC%CD%D8%E9%C1-%AA%E8%CD%A75.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.