Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 มีนาคม 2556 สุภิญญาออกตัว!!ไม่เห็นด้วยกับมติที่ประชุม3 ต่อ 2 (ต้านช่อง5-NBT-Thaipbsกลายร่างเป็นTVสาธารณะภาคDigital TV


ประเด็นหลัก


ด้าน น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกสท ออกมาแย้งว่า ตนไม่เห็นด้วยกับมติที่ประชุม เพราะเป็นการลงความเห็น 3 ต่อ 2 จากคณะกรรมการทั้งหมด 5 คน ซึ่งไม่เป็นเอกฉันท์ โดยการอนุมัติช่องทีวีดิจิตอลสาธารณะจำนวน 4 ช่อง ซึ่งไทยพีบีเอสได้ 2 ช่อง จากทั้งหมด 12 ช่อง ทำให้เหลือ 8 ช่อง อีกทั้งได้สิทธิ์ออกอากาศคู่ขนานระบบอนาล็อกไปพร้อมกับระบบดิจิตอลด้วย

"ส่วนตัวยอมรับว่าการอนุมัติของบอร์ดวันนี้ ทำให้พ่ายแพ้ 2 เรื่อง คือ 1.เรื่องการปฏิรูปสื่อในการเป็นช่องสาธารณะ และเป็นการเอาเปรียบช่อง 3, 7, 9 มีการโหวตว่าช่องสาธารณะจะออกมาอย่างไร เป็นความล้มเหลวในการปฏิรูปสื่อ ในการให้ช่องไปเลย 2.การจัดช่องทีวีสาธารณะ เพราะยังไม่มีเกณฑ์จัดช่องรายการสาธารณะ และยังไม่มีการแบ่งสัดส่วนทั้ง 8 ช่องให้ชัดเจน ซึ่งอาจทำให้หน่วยงานภาคการศึกษา และประชาชนไม่สามารถเข้ามาได้ อย่างไรก็ตาม บอร์ด กสทช.ต้องพิจารณาการจัดสรรช่องทีวีสาธารณะใหม่ ขณะที่ส่วนตัว และนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ จะสู้เพื่อสาธารณะจนถึงที่สุด" น.ส.สุภิญญา กล่าว

ทั้งนี้ ในวันเดียวกันที่มติของคณะกรรมการ กสท ออกมา ได้มีการจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นเรื่อง การปฏิรูปสื่อในทีวีดิจิตอลสาธารณะในหัวข้อ รูปแบบที่ควรจะเป็น โดยกลุ่มนักวิชาการและมีคณะกรรมการ กสท คือ น.ส.สุภิญญา เข้าร่วมฟังความคิดเห็น

ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งช่องทีวีสาธารณะ เปรียบเสมือนการลงทุนมหาศาลที่สูญเสียเงินของชาติมากมาย และแต่ละผู้ให้บริการต้องมีค่าใช้จ่ายในโครงข่ายไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท ซึ่งต้องแบกภาระทั้งหมด เป็นไปไม่ได้ว่าจะอยู่รอดได้ คิดว่าทั้ง 12 ช่อง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นมาจากการคาดการณ์ไว้แล้ว ซึ่งเอื้อกับข้าราชการ ทั้งนี้ควรตั้งผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์การนำเสนอรายการแต่ละอย่างว่าเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ และเกิดประโยชน์ต่อสังคมได้จริงหรือไม่ เช่น รายการสำหรับผู้พิการ ว่าเมื่อทำแล้วเข้าถึงผู้พิการได้หรือไม่

ขณะที่ ผศ.ดร.สุภาพร โพธิ์แก้ว อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขอตั้งคำถามและเรียกร้อง กสทช. ให้มีวัฒนธรรมในการทำงาน โดยให้เอาเสียงของทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจุดนี้ยังไม่เห็นความชัดเจน หรือความเปลี่ยนแปลงอะไรที่เกิดขึ้นกับ กสทช.เลย เพราะสิ่งที่เสนอไปกลับไม่ได้ถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของมติบอร์ด กสท อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าการมีทีวีสาธารณะนั้นจะทำให้สิ้นเปลืองหรือไม่ การตรวจสอบการหารายได้จะเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ น.ส.สุภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากเวทีดังกล่าวจะรวบรวมประเด็นทั้งหมดเพื่อนำไปเสนอต่อที่ประชุม กสท ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ เพื่อพิจารณาต่อไป ทั้งเรื่องการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการรายเดิม ปรับตัวให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบกิจการสาธารณะ มิใช่ได้รับสิทธิ์ในการออกอากาศในระบบดิจิตอลโดยอัตโนมัติ และเรื่องควรชะลอการพิจารณาการจัดสรรคลื่นความถี่บริการสาธารณะ 12 ช่อง จนกว่าจะสำรวจและรับความเห็นจากทุกภาคส่วน และศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการใช้ดุลพินิจของ กสท


















_________________________________________



ค้าน กสทช.3ค่ายได้ช่องสาธารณะ นักวิชาการจวก ไม่ฟังสาธารณะ ระบบตรวจไม่มี

 

นักวิชาการตั้งคำถาม กสทช. ให้นำข้อเสนอจากการรับฟังความคิดเห็นส่วนรวมไปพิจารณาก่อนทุบโต๊ะ ให้ 3 ช่องทำทีวีสาธารณะ อีกทั้งไม่แน่ใจว่า ทีวีสาธารณะทำให้สิ้นเปลืองหรือไม่ ทั้งไม่มีการชี้แจงเรื่อง การวางระบบการตรวจสอบ ขณะที่ "สุภิญญา" รับปากนำข้อเสนอแนะเข้าที่ประชุม กสท 1 เม.ย.นี้

"อนาล็อกสู่ดิจิตอลทีวี" ใครได้ประโยชน์? การเปลี่ยนผ่านระบบทีวีไทย ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจดิจิตอลทีวีอย่างไร ควรเป็นหนึ่งในหน้าที่ของ กสทช.ก่อนการเริ่มประมูลใบอนุญาตหรือไม่ คำถามเหล่านี้เกิดขึ้นทุกครั้งในวงเสวนา แต่คงดังไม่พอที่จะไปถึงคณะกรรมการ


 
เมื่อล่าสุด บอร์ด กสท มีมติให้ 3 ช่อง ได้แก่ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือช่องไทยพีบีเอส เป็นช่องประเภทบริการสาธารณะบนระบบทีวีดิจิตอล และที่น่าสังเกตกรอบของการจัดประเภททีวีสาธารณะทั้ง 12 ช่องนั้น มีช่องที่จะต้องเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของรัฐถึง 4 ช่องรายการ

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท) สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท มีมติเห็นชอบกำหนดกรอบรายละเอียดช่องรายการทีวีดิจิตอลสำหรับประเภทการบริการสาธารณะ ทั้ง 12 ช่องรายการ ดังนี้ โดยช่องที่ 1-3 อนุญาตให้ ช่อง 5 ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอส ทำการออกอากาศคู่ขนานไปกับการออกอากาศแบบอนาล็อกเดิม โดยยังไม่ต้องทำตามเงื่อนไขของช่องทีวีดิจิตอลใหม่ มีระยะเวลาออกอากาศเท่ากับสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่เดิม

สำหรับช่องที่ 4 อนุญาตให้ไทยพีบีเอสได้บริการประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว สาเหตุที่ไทยพีบีเอสได้ 2 ช่องรายการ เนื่องจากได้ลงนามความร่วมมือร่วม หรือเอ็มโอยู กับ กสทช.ในการคืนคลื่นความถี่ระบบยูเฮชเอฟ เพื่อให้ กสทช.นำไปจัดสรรใหม่ ส่วนช่องที่ 5 จะให้บริการออกอากาศในการส่งเสริมความรู้ การศึกษา วิทยาศาสตร์ ช่องที่ 6 เป็นรายการด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพ ช่องที่ 7 เน้นรายการสุขภาพอนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิต

สำหรับช่องที่ 8 เป็นทีวีสาธารณะที่เน้นรายการเพื่อความมั่นคงของรัฐ ช่องที่ 9 เสนอเนื้อหาเน้นรายการเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ ช่องที่ 10 ออกอากาศรายการข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างรัฐบาลกับประชาชน และรัฐสภากับประชาชน ส่วนช่องที่ 11 ออกอากาศด้านข้อมูลข่าวสาร ส่งเสริมสนับสนุนเผยแพร่ให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสุดท้าย ช่องที่ 12 รายการเสนอข้อมูลข่าวสารแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส รวมถึงเด็กและเยาวชน หรือกลุ่มที่สนใจกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ

"การออกอากาศของช่อง 5, ช่อง 11 และไทยพีบีเอส เมื่อออกอากาศควบคู่กับช่องเดิมในปัจจุบัน ไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ที่กำหนด แต่ช่องที่ 4-12 ต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของแต่ละช่อง และมีอายุการอนุญาต 4 ปี หลังจากนั้น กสทช.จะพิจารณาการออกใบอนุญาตให้อีกครั้งว่าจะอนุญาตให้ 15 ปี ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ โดยเปิดโอกาสให้โฆษณาได้ ช่องที่ 8-9 สามารถหาโฆษณาเชิงธุรกิจได้ แต่ต้องเพียงพอและจำเป็นต่อการประกอบกิจการเท่านั้น ซึ่งจะมีการกำหนดกฎเกณฑ์อีกครั้ง ส่วนช่องที่ 5, 6, 7, 10, 11, 12 สามารถโฆษณาได้ในเชิงภาพลักษณ์องค์กร (ซีเอสอาร์) ได้ในระยะเวลา 12 นาที/ชั่วโมง ตามที่กฎหมายกำหนด" ประธานคณะกรรมการ กสท กล่าว

ทั้งนี้ การกำหนดช่องรายการทีวีดิจิตอลสาธารณะ 12 ช่องนั้น จะเป็นกรอบการทำงาน ซึ่งจะออกใบอนุญาตได้ภายในเดือน พ.ค.-มิ.ย.นี้

ด้าน น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกสท ออกมาแย้งว่า ตนไม่เห็นด้วยกับมติที่ประชุม เพราะเป็นการลงความเห็น 3 ต่อ 2 จากคณะกรรมการทั้งหมด 5 คน ซึ่งไม่เป็นเอกฉันท์ โดยการอนุมัติช่องทีวีดิจิตอลสาธารณะจำนวน 4 ช่อง ซึ่งไทยพีบีเอสได้ 2 ช่อง จากทั้งหมด 12 ช่อง ทำให้เหลือ 8 ช่อง อีกทั้งได้สิทธิ์ออกอากาศคู่ขนานระบบอนาล็อกไปพร้อมกับระบบดิจิตอลด้วย

"ส่วนตัวยอมรับว่าการอนุมัติของบอร์ดวันนี้ ทำให้พ่ายแพ้ 2 เรื่อง คือ 1.เรื่องการปฏิรูปสื่อในการเป็นช่องสาธารณะ และเป็นการเอาเปรียบช่อง 3, 7, 9 มีการโหวตว่าช่องสาธารณะจะออกมาอย่างไร เป็นความล้มเหลวในการปฏิรูปสื่อ ในการให้ช่องไปเลย 2.การจัดช่องทีวีสาธารณะ เพราะยังไม่มีเกณฑ์จัดช่องรายการสาธารณะ และยังไม่มีการแบ่งสัดส่วนทั้ง 8 ช่องให้ชัดเจน ซึ่งอาจทำให้หน่วยงานภาคการศึกษา และประชาชนไม่สามารถเข้ามาได้ อย่างไรก็ตาม บอร์ด กสทช.ต้องพิจารณาการจัดสรรช่องทีวีสาธารณะใหม่ ขณะที่ส่วนตัว และนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ จะสู้เพื่อสาธารณะจนถึงที่สุด" น.ส.สุภิญญา กล่าว

ทั้งนี้ ในวันเดียวกันที่มติของคณะกรรมการ กสท ออกมา ได้มีการจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นเรื่อง การปฏิรูปสื่อในทีวีดิจิตอลสาธารณะในหัวข้อ รูปแบบที่ควรจะเป็น โดยกลุ่มนักวิชาการและมีคณะกรรมการ กสท คือ น.ส.สุภิญญา เข้าร่วมฟังความคิดเห็น

ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งช่องทีวีสาธารณะ เปรียบเสมือนการลงทุนมหาศาลที่สูญเสียเงินของชาติมากมาย และแต่ละผู้ให้บริการต้องมีค่าใช้จ่ายในโครงข่ายไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท ซึ่งต้องแบกภาระทั้งหมด เป็นไปไม่ได้ว่าจะอยู่รอดได้ คิดว่าทั้ง 12 ช่อง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นมาจากการคาดการณ์ไว้แล้ว ซึ่งเอื้อกับข้าราชการ ทั้งนี้ควรตั้งผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์การนำเสนอรายการแต่ละอย่างว่าเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ และเกิดประโยชน์ต่อสังคมได้จริงหรือไม่ เช่น รายการสำหรับผู้พิการ ว่าเมื่อทำแล้วเข้าถึงผู้พิการได้หรือไม่

ขณะที่ ผศ.ดร.สุภาพร โพธิ์แก้ว อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขอตั้งคำถามและเรียกร้อง กสทช. ให้มีวัฒนธรรมในการทำงาน โดยให้เอาเสียงของทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจุดนี้ยังไม่เห็นความชัดเจน หรือความเปลี่ยนแปลงอะไรที่เกิดขึ้นกับ กสทช.เลย เพราะสิ่งที่เสนอไปกลับไม่ได้ถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของมติบอร์ด กสท อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าการมีทีวีสาธารณะนั้นจะทำให้สิ้นเปลืองหรือไม่ การตรวจสอบการหารายได้จะเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ น.ส.สุภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากเวทีดังกล่าวจะรวบรวมประเด็นทั้งหมดเพื่อนำไปเสนอต่อที่ประชุม กสท ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ เพื่อพิจารณาต่อไป ทั้งเรื่องการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการรายเดิม ปรับตัวให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบกิจการสาธารณะ มิใช่ได้รับสิทธิ์ในการออกอากาศในระบบดิจิตอลโดยอัตโนมัติ และเรื่องควรชะลอการพิจารณาการจัดสรรคลื่นความถี่บริการสาธารณะ 12 ช่อง จนกว่าจะสำรวจและรับความเห็นจากทุกภาคส่วน และศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการใช้ดุลพินิจของ กสท

บ้านเมือง
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1618004



ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.