Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

1 เมษายน 2556 ตอบไม่ชัดเจน!! ทำไมช่อง5จึงเป็นTVสาธารณะ ทั้งที่ผังรายการไม่ใช้(นทีบอกเพียงว่าทำถูกต้องตามกม.แล้ว)



ประเด็นหลัก



  โดยคำชี้แจงของ พ.อ.นที มีใจความว่า กสท.เริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิตอลโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และได้ประกอบกรอบระยะเวลาเปลี่ยนผ่านเมื่อเดือน ก.พ.2555 และได้ประกาศบังคับใช้แผนการเปลี่ยนระบบรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบ ดิจิตอลเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2555 ทั้งนี้ นโยบายในการอนุญาตกิจการบริหารสาธารณะ ตามแผนให้คำนึงถึง 1.หน้าที่ตามกฎหมาย หรือ 2.ความจำเป็นเพื่อบริการสาธารณะ ซึ่งการยุติระบบอนาล็อก มีการกำหนดให้ผู้ประกอบการรายเดิมสามารถใช้คลื่นความถี่ตามที่กฎหมายรับร้อง สิทธิในช่วงการเปลี่ยนผ่าน โดยจะต้องไม่สร้างภาวะมากเกินควรในการส่งสัญญาณแบบคู่ขนานทั้ง 2 ระบบ (Simulcast) ก่อนยุติการออกอากาศอนาล็อก

     "เช่นเดียวกับในหลายประเทศ การกำหนดบทบาทของฟรีทีวีรายเดิมให้ชัดเจนในห้วง Simulcast ก่อนการยุติระบบอนาล็อกเป็นสิ่งสำคัญ กสท.จะต้องวางแผนให้มีจำนวนความถี่เพียงพอ สำหรับ Simulcast ในขณะที่มีการอนุญาตคลื่นความถี่สำหรับช่องรายการโทรทัศน์ใหม่ๆ ซึ่งการกำหนดให้ฟรีทีวีรายเดิมออกอากาศคู่ขนานในห้วง Simulcast เป็นข้อกำหนดที่เป็นภาระเพิ่มเติมสำหรับผู้ประกอบการฟรีทีวีรายเดิม ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าแม้จะเปลี่ยนมารับระบบดิจิตอล ก็ยังได้รับเืนื้่อหาในระบบอนาล็อกเดิมอยู่อย่างครบถ้วน ซึ่งกระบวนการออกอากาศ Simulcast ที่เหมาะสม จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น และเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ" พ.อ.นทีกล่าว



ประธาน กสท กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ กสทช.ได้ออกใบอนุญาตประเภทบริการสาธารณะ โดยที่ไม่ได้มีการออกกฎเกณฑ์ก่อนนั้น ขอชี้แจงว่า การที่มีมติให้ช่อง 5 ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอสได้ ออกอากาศระบบดิจิตอลคู่ขนานไปกับระบบอะนาล็อกนั้น เป็นเพียงการอนุญาตให้ทดลอง ทดสอบออกอากาศไม่ได้เป็นการให้ใบอนุญาตตามที่นักวิชาการหลายท่านเข้าใจผิด อีกทั้ง ยังระบุว่าสาเหตุที่ให้ ช่อง 5 ช่อง 11 ออกอากาศได้ เพราะอยู่ในประเภทบริการสาธารณะโดยที่ไม่ต้องปรับผังรายการตามกำหนดของทีวีดิจิตอล เพราะช่อง 5 ช่อง 11 จัดอยู่ในผู้ประกอบการรายเดิมที่ยึดตามระบบอะนาล็อก เนื่องจาก กสท ยังไม่ได้ให้ใบอนุญาตในระบบดิจิตอลกับใครรายใดเลย และการออกอากาศคู่ขนานดังกล่าวป็นส่วนหนึ่งของแผนกระบวนการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปสู่ดิจิตอล ซึ่งทุกประเทศที่ออกอากาศดิจิตอลสำเร็จได้ใช้แนวทางการออกคู่ขนานไปจนกว่าจะยุติโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกเช่นเดียวกัน


ประธาน กสท กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ กสทช.ได้ออกใบอนุญาตประเภทบริการสาธารณะ โดยที่ไม่ได้มีการออกกฎเกณฑ์ก่อนนั้น ขอชี้แจงว่า การที่มีมติให้ช่อง 5 ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอสได้ ออกอากาศระบบดิจิตอลคู่ขนานไปกับระบบอะนาล็อกนั้น เป็นเพียงการอนุญาตให้ทดลอง ทดสอบออกอากาศไม่ได้เป็นการให้ใบอนุญาตตามที่นักวิชาการหลายท่านเข้าใจผิด อีกทั้ง ยังระบุว่าสาเหตุที่ให้ ช่อง 5 ช่อง 11 ออกอากาศได้ เพราะอยู่ในประเภทบริการสาธารณะโดยที่ไม่ต้องปรับผังรายการตามกำหนดของทีวีดิจิตอล เพราะช่อง 5 ช่อง 11 จัดอยู่ในผู้ประกอบการรายเดิมที่ยึดตามระบบอะนาล็อก เนื่องจาก กสท ยังไม่ได้ให้ใบอนุญาตในระบบดิจิตอลกับใครรายใดเลย และการออกอากาศคู่ขนานดังกล่าวป็นส่วนหนึ่งของแผนกระบวนการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปสู่ดิจิตอล ซึ่งทุกประเทศที่ออกอากาศดิจิตอลสำเร็จได้ใช้แนวทางการออกคู่ขนานไปจนกว่าจะยุติโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกเช่นเดียวกัน



พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. กล่าวในรายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ทางสถานีวิทยุ 97.0 MHz ว่า กฎหมายได้คุ้มครองระบบอนาล็อกไว้ในระดับหนึ่ง ซึ่งแต่ละช่องอาจไม่เหมือนกัน ทั้งช่อง 5 ,11 และไทยพีบีเอส อย่างไทยพีบีเอสดำเนินการขอเปลี่ยนเป็นดิจิทัลภายใน 3 เดือน ทำให้สามารถออกอากาศได้ 2 ช่องรายการ และต้องคุ้มครองผู้บริโภคว่าจะต้องไม่สูญเสียประโยชน์เมื่อเป็นดิจิทัล อย่างไรก็ตาม กฎหมายกำหนดว่าเมื่อมีกสทช. ช่อง 5 และ 11 ต้องยื่นความจำเป็นถึงการออกอากาศเป็นระบบอนาล็อกเดิม เพราะเมื่อมีดิจิตอล 3 ปีแล้ว ก็ไม่มีคนดูระบบอนาล็อก ถึงเวลานั้นเราจึงออกใบอนุญาตระบบดิจิทัลให้เป็นประเภทสาธารณะ แต่ต้องเข้าตามกรอบบริการประเภทบริการสาธารณะ และการหารายได้ต้องเข้าสู่กรอบการบริการสาธารณะ อะไรก็ตามเมื่อเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านกฎหมายก็จะให้เวลา ขณะที่ไทยพีบีเอสมีกฎหมายเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้เลือกช่อง 5 ให้เป็นช่องที่ออกอากาศคู่ขนานไปกับการออกอากาศแบบอนาล็อกเดิม แต่เราเอาทั้งช่อง 3 ,5 ,7 ,9 และ 11 แต่ช่อง 5 ได้เลือกอยู่ในบริการสาธารณะไว้ก่อน ส่วนช่อง 3 ,7 ถือว่าเป็นกิจการธุรกิจ จึงต้องให้ทดลองออกอากาศบริการชุมชน ไม่มีการออกอนุญาตทั้งคลื่นความถี่และประกอบกิจการแต่อย่างใด และช่อง 5 จะขอเป็นกิจการธุรกิจ หรือชุมชนไม่ได้ ส่วนช่อง 3 ,7 จะเป็นชุมชน สาธารณะก็ไม่ได้ แต่หากช่อง 3 และ 7 จะเป็นทีวีสาธารณะ ก็ต้องเริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้และต้องเสนอแผนเข้ามา สำหรับค่าธรรมเนียมรายปีนั้น ไม่ต้องประมวลแต่ต้องเสียรายปี ทั้งนี้ ทีวีสาธารณะทั้ง 3 ประเภทมีโฆษณาได้ ส่วนความมั่นคงและสาธารณะ สามารถโฆษณาได้เท่าที่จำเป็นต่อการประกอบกิจการเท่านั้น


พ.อ.นที กล่าวอีกว่า ส่วนที่ขอให้มีการทบทวนมติ 3:2 ที่เห็นชอบทีวีดิจิทัลสาธารณะ 12 ช่อง โดยอนุมัติให้ช่อง 5 , 11 และ ไทยพีบีเอส ไม่เข้าข่ายเป็นช่องทีวีสาธารณะ เพราะเกรงว่าจะถูกฟ้องจากศาลปกครอง ว่า ไม่เป็นไร เราพิจารณาตามลำดับ ขั้นตอน เหตุผล ต้องเข้าใจว่า กสทช.5 คนมีหลายความคิด และนำไปพูดข้างนอกด้วย ซึ่งเราต้องพูดด้วยเหตุด้วยผล หากจะทบทวนจะทบทวนจุดไหน





______________________________________



ประธาน กสท.แจงเหตุอัพเกรด "3 ฟรีทีวีเจ้าเดิม" เป็นทีวีดิจิตอล


"พ.อ.นที ศุกลรัตน์" ประธาน กสท.ทวิตแจง อัพเกรด "ช่อง 5-ช่อง 11-ไทยพีบีเอส" เลย เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านไปดิจิตอลราบรื่น ตามหลัก Simulcast อ้่างนานาชาติก็ใช้วิธีเช่นนี้



(พ.อ.นที ศุกลรัตน์ - ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)

     ในวันนี้ (1 เม.ย.2556) พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้ทวิตข้อความผ่าน @DrNateeDigital ชี้แจงกรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ กสท.มีมติ 3 ต่อ 2 ให้อัพเกรดช่อง 5 ช่อง 11 และไทยพีบีเอส จากการออกอากาศทีวีระบบอนาล็อกไปเป็นระบบดิจิตอล ประเภทบริหารสาธารณะ อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ผ่านกระบวนการคัดเลือก หรือไม่กำหนดเงื่อนไงใดๆ ในการปรับตัว

     โดยคำชี้แจงของ พ.อ.นที มีใจความว่า กสท.เริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิตอลโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และได้ประกอบกรอบระยะเวลาเปลี่ยนผ่านเมื่อเดือน ก.พ.2555 และได้ประกาศบังคับใช้แผนการเปลี่ยนระบบรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบ ดิจิตอลเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2555 ทั้งนี้ นโยบายในการอนุญาตกิจการบริหารสาธารณะ ตามแผนให้คำนึงถึง 1.หน้าที่ตามกฎหมาย หรือ 2.ความจำเป็นเพื่อบริการสาธารณะ ซึ่งการยุติระบบอนาล็อก มีการกำหนดให้ผู้ประกอบการรายเดิมสามารถใช้คลื่นความถี่ตามที่กฎหมายรับร้อง สิทธิในช่วงการเปลี่ยนผ่าน โดยจะต้องไม่สร้างภาวะมากเกินควรในการส่งสัญญาณแบบคู่ขนานทั้ง 2 ระบบ (Simulcast) ก่อนยุติการออกอากาศอนาล็อก

     "เช่นเดียวกับในหลายประเทศ การกำหนดบทบาทของฟรีทีวีรายเดิมให้ชัดเจนในห้วง Simulcast ก่อนการยุติระบบอนาล็อกเป็นสิ่งสำคัญ กสท.จะต้องวางแผนให้มีจำนวนความถี่เพียงพอ สำหรับ Simulcast ในขณะที่มีการอนุญาตคลื่นความถี่สำหรับช่องรายการโทรทัศน์ใหม่ๆ ซึ่งการกำหนดให้ฟรีทีวีรายเดิมออกอากาศคู่ขนานในห้วง Simulcast เป็นข้อกำหนดที่เป็นภาระเพิ่มเติมสำหรับผู้ประกอบการฟรีทีวีรายเดิม ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าแม้จะเปลี่ยนมารับระบบดิจิตอล ก็ยังได้รับเืนื้่อหาในระบบอนาล็อกเดิมอยู่อย่างครบถ้วน ซึ่งกระบวนการออกอากาศ Simulcast ที่เหมาะสม จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น และเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ" พ.อ.นทีกล่าว



-----

คำชี้แจงของ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ผ่านทวิตเตอร์ @DrNateeDigital ทั้งหมดมีดังนี้

     1. มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นกรณีกรอบการอนุญาตโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ประเภทกิจการบริการสาธารณะของ กสท./กสทช.

     2. กสท. เริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลโดยมีกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนตามลำดับ

     3. มีลำดับเวลา เป้าหมายที่ชัดเจน โดยได้ประกาศกรอบระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิตอล (Digital Roadmap) เมื่อเดือน ก.พ.55

     4. ได้ประกาศบังคับใช้แผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล เมื่อ 21ธ.ค.55 เป็นการกำหนดนโยบายที่สำคัญ

     5. วัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนผ่านก็เพื่อพัฒนากิจการโทรทัศน์ให้รองรับความต้องการพื้นฐานในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน

     6. ให้ประชาชนสามารถรับบริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลได้อย่างทั่วถึง พัฒนาเทคโนโลยี ลดต้นทุน และมีการใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ

     7. นโยบายที่สำคัญด้านเทคโนโลยี คือ การกำหนดให้รับรองระบบ DVB-T2 เป็นมาตรฐานเทคโนโลยีโทรทัศน์ระบบดิจิตอลของประเทศไทย

     8. ซึ่งเป็นมาตรฐานเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับมติของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติรับทราบ เมื่อ 20 พ.ค.55

     9. นโยบายด้านการวางแผนความถี่นั้น กำหนดให้ใช้ย่านความถี่สูงยิ่ง (UHF) สอดคล้องกับแผนแม่บท และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ

     10. สามารถให้บริการในทุกระดับ และมีจำนวนความถี่เพียงพอสำหรับช่วงเวลาการส่งสัญญาณระบบดิจิตอลและอนาล็อกคู่ขนานกัน (Simulcast)

     11. นโยบายในการอนุญาตกิจการบริการสาธารณะนั้น ตามแผนได้กำหนดให้คำนึงถึงหน้าที่ตามกฎหมาย หรือความจำเป็นเพื่อการบริการสาธารณะ

     12. นโยบายด้านการยุติระบบอนาล็อก กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเดิมมีสิทธิใช้คลื่นความถี่ตามที่กฎหมายได้รับรองสิทธิไว้ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน

     13. โดยระยะเวลาการยุติการรับส่งสัญญาณระบบอนาล็อกจะต้องไม่สร้างภาระมากเกินควรในการส่งสัญญาณคู่ขนานทั้งสองระบบ (Simulcast)

     14. แผนการเปลี่ยนผ่านฯ ได้กำหนดหลักการสำคัญ ในห้วงการส่งสัญญาณคู่ขนานทั้งสองระบบ (Simulcast) ก่อนการยุติการออกอากาศอนาล็อก

     15. เช่นเดียวกับในหลายประเทศ การกำหนดบทบาทของฟรีทีวีรายเดิมให้ชัดเจนในห้วง Simulcast ก่อนการยุติระบบอนาล็อกเป็นสิ่งที่สำคัญ

     16. กสท. จะต้องวางแผนให้มีจำนวนความถี่เพียงพอ สำหรับ Simulcast ในขณะที่มีการอนุญาตคลื่นความถี่สำหรับช่องรายการโทรทัศน์รายใหม่ๆ

     17. การกำหนดให้ฟรีทีวีรายเดิมออกอากาศคู่ขนานในห้วง Simulcast เป็นข้อกำหนดที่เป็นภาระเพิ่มเติมสำหรับผู้ประกอบกิจการฟรีทีวีรายเดิม

     18. ในขณะที่ผู้บริโภคจะมั่นใจว่าการเปลี่ยนมารับบริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลจะ ยังคงได้รับบริการเนื้อหาในระบบอนาล็อกเดิมอยู่อย่างครบถ้วน

     19. กระบวนการออกอากาศคู่ขนาน (Simulcast) ที่เหมาะสม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านราบรื่น เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ

     20. กสท. ได้ศึกษาแนวทางในหลายประเทศ และคู่มือที่กำหนดโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) นำมาปรับใช้กับประเทศไทยครับ

http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/item/20342-nbtc-dtv-natee.html'นที' ปัดแจกไลเซ่นส์ทีวีดิจิตอล 'TV5-11-TPBS' อ้างให้ทดลอง




_____________________________________________________

มติบอร์ด กสท อนุมัติ อสมท-กรมประชาฯ ทดลองทดสอบระบบทีวีดิจิตอล นั่งยันมติให้ช่อง 5 ช่อง 11 ไทยพีบีเอสออกอากาศระบบดิจิตอลคู่ขนานกับระบบอะนาล็อกเป็นเพียงทดลอง ไม่ใช่ให้ใบอนุญาตตามที่นักวิชาการเข้าใจ ปัดประเด็น 7 ข้อทบทวนเข้าบอร์ด กสท วันนี้...


เมื่อวันที่ 1 เม.ย. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท ว่า ที่ประชุมมีมติให้บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการทดลองแพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (DVB-T2) เป็นการชั่วคราว โดยเริ่มทดลองหรือทดสอบในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น ลำปาง นครราชสีมา สุโขทัยสุราษฎร์ธานี และภูเก็ต และอนุมัติให้กรมประชาสัมพันธ์ทดลองทดสอบแพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล 3 พื้นที่ ได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์ ซ.อารีย์ ดอยสุเทพ และขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยและพัฒนากิจการโทรทัศน์



ประธาน กสท กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ กสทช.ได้ออกใบอนุญาตประเภทบริการสาธารณะ โดยที่ไม่ได้มีการออกกฎเกณฑ์ก่อนนั้น ขอชี้แจงว่า การที่มีมติให้ช่อง 5 ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอสได้ ออกอากาศระบบดิจิตอลคู่ขนานไปกับระบบอะนาล็อกนั้น เป็นเพียงการอนุญาตให้ทดลอง ทดสอบออกอากาศไม่ได้เป็นการให้ใบอนุญาตตามที่นักวิชาการหลายท่านเข้าใจผิด อีกทั้ง ยังระบุว่าสาเหตุที่ให้ ช่อง 5 ช่อง 11 ออกอากาศได้ เพราะอยู่ในประเภทบริการสาธารณะโดยที่ไม่ต้องปรับผังรายการตามกำหนดของทีวีดิจิตอล เพราะช่อง 5 ช่อง 11 จัดอยู่ในผู้ประกอบการรายเดิมที่ยึดตามระบบอะนาล็อก เนื่องจาก กสท ยังไม่ได้ให้ใบอนุญาตในระบบดิจิตอลกับใครรายใดเลย และการออกอากาศคู่ขนานดังกล่าวป็นส่วนหนึ่งของแผนกระบวนการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปสู่ดิจิตอล ซึ่งทุกประเทศที่ออกอากาศดิจิตอลสำเร็จได้ใช้แนวทางการออกคู่ขนานไปจนกว่าจะยุติโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกเช่นเดียวกัน


พ.อ.นที กล่าวอีกว่า ส่วนการทำประชาพิจารณ์หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาในส่วนของเนื้อหากฎหมายอีกครั้ง เพราะบางกรณีกฎหมายบอกว่าไม่ต้องทำประชาพิจารณ์ แต่บางกรณีกฎหมายก็ให้ทำประชาพิจารณ์ ซึ่งถ้าจะทำประชาพิจารณ์จะมีการแจ้งให้ทราบแน่นอน ขณะเดียวกัน มองว่าการรับฟังความคิดเห็นเป็นเรื่องที่ดี


“ช่อง 5 และ ช่อง 11 ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต้องเป็นการออกอากาศประเภทสาธารณะเท่านั้น เพราะเงื่อนไขบังคับอยู่แล้ว แต่การออกอากาศคู่ขนานเป็นการออกอากาศตามเดิม ขณะที่ ช่อง 5 และ ช่อง 11 ห้ามเข้าประมูลประเภทช่องธุรกิจตามกฎหมาย แต่ช่อง 5 มีสิทธิ์ ยื่นขอจากช่องสาธารณะ 8 ช่องได้ ส่วนช่องไทยพีบีเอส ต้องยื่นเสนอขออีก 1 ช่อง แต่จะได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขเอ็มโอยูที่ระบุว่าให้คืนคลื่นภายใน 3 ปี โดยช่องไทยพีบีเอสได้ยื่นขอออกอากาศคู่ขนานระยะเวลา 3 ปี ส่วนช่อง 5 และช่อง 11 กสท จะพิจารณาให้ยุติออกคู่ขนานได้กี่ปี คาดจะได้ความชัดเจนเดือน พ.ค.นี้” พ.อ.นที กล่าว


ประธาน กสท กล่าวอีกว่า ส่วนอีก 8 ช่อง ที่เปิดให้ผู้ประกอบการเข้ามายื่นขอนั้น เป็นไปตามมาตรา 10 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ทั้งนี้ การกำหนดว่าช่องใดอยู่บริการสาธาณะประเภทใดนั้นเป็นไปตามกฎหมาย ส่วนการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกคุณสมบัติผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ช่องบริการสาธารณะ (บิวตี้คอนเทสต์) นั้น กฎหมายกำหนดเรื่องหน้าที่ตามกฎหมาย หรือ ความจำเป็นในการบริการสาธารณะ โดยให้ใช้คลื่นความถี่ที่จัดสรรไว้สำหรับภาครัฐ ขณะที่เบื้องต้นหลักเกณฑ์ช่องทีวีสาธารณะจะออกประมาณเดือน พ.ค. โดยคาดว่าเปิดให้ยื่นขอใบอนุญาตช่องทีวีสาธารณะได้เดือน มิ.ย.2556


ต้อข้อถามถึง การยื่นเรื่องข้อเสนอประเด็นให้ทบทวนกรณีช่อง 5 ช่อง 11 และไทยพีบีเอส ใช้คลื่นดิจิตอล โดยไม่ได้มีเงื่อนไขว่าการยุติระบบอะนาล็อกเมื่อไร และแผนรายการเป็นอย่างไร  ทั้งหมด 7 ข้อ ต่อที่ประชุม กสท นั้น พ.อ.นที กล่าวว่า ไม่มีประเด็นดังกล่าวเข้าที่ประชุมแต่อย่างใด.

http://www.thairath.co.th/content/tech/336223กสท.ยืนยันไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย


_________________________________________________________


กสท.ยืนยัน ไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย เพราะยังไม่ได้ออกใบอนุญาตในระบบดิจิตอลให้กับผู้ประกอบการบางรายตามที่เป็นข่าว
         
พันเอกนที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ยืนยันว่า กสท.ยังไม่ได้ออกใบอนุญาตในระบบดิจิตอลให้กับผู้ประกอบการรายใดทั้งสิ้น ทั้งหมดเป็นเรื่องเข้าใจผิด
         
ทั้งนี้ กสท.เตรียมออกใบอนุญาตโครงข่าย ในเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นบริการสาธารณะในระบบดิจิตอลทั้ง 12 ช่อง คาดว่าจะออกได้ในเดือนมิถุนายนนี้ โดย 8 ช่องจะเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งจะออกใบอนุญาตให้ 4 ปีก่อน จากนั้นจะพิจารณาอีกครั้ง
         
ส่วนช่องธุรกิจอย่างช่อง 3 , 7 และ 9 ยังคงให้ออกอากาศคู่ขนานในช่องบริการชุมชน จนกว่าช่องธุรกิจในระบบดิจิตอลจะเปิดใช้งานได้ พร้อมยืนยันว่า การออกอากาศแบบคู่ขนานไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ เพราะถือเป็นวิธีสากล เพื่อให้ผู้บริโภคได้ปรับตัวก่อนเข้าสู่ระบบดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ

http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-32/12623-2013-04-01-09-04-00.html

___________________________________________________________



กสท.ยืนยันไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย ระบุไม่ได้ออกใบอนุญาตฯให้ผู้ประกอบการรายใดทั้งสิ้น
วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 16:13:17 น.

 
กสท.ยืนยัน ไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย เพราะยังไม่ได้ออกใบอนุญาตในระบบดิจิตอลให้กับผู้ประกอบการบางรายตามที่เป็นข่าว

พันเอกนที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ยืนยันว่า กสท.ยังไม่ได้ออกใบอนุญาตในระบบดิจิตอลให้กับผู้ประกอบการรายใดทั้งสิ้น ทั้งหมดเป็นเรื่องเข้าใจผิด

ทั้งนี้ กสท.เตรียมออกใบอนุญาตโครงข่าย ในเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นบริการสาธารณะในระบบดิจิตอลทั้ง 12 ช่อง คาดว่าจะออกได้ในเดือนมิถุนายนนี้ โดย 8 ช่องจะเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งจะออกใบอนุญาตให้ 4 ปีก่อน จากนั้นจะพิจารณาอีกครั้ง

ส่วนช่องธุรกิจอย่างช่อง 3 , 7 และ 9 ยังคงให้ออกอากาศคู่ขนานในช่องบริการชุมชน จนกว่าช่องธุรกิจในระบบดิจิตอลจะเปิดใช้งานได้ พร้อมยืนยันว่า การออกอากาศแบบคู่ขนานไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ เพราะถือเป็นวิธีสากล เพื่อให้ผู้บริโภคได้ปรับตัวก่อนเข้าสู่ระบบดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ    

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364807547&grpid=03&catid=03

__________________________________________________________


'นที'ไม่หวั่นถูกฟ้อง ลั่นให้ไลเซ่นตามขั้นตอน


"นที" ไม่หวั่น ถูกฟ้องศาลปกครอง ยัน กสทช.พิจารณาทีวีดิจิทัลตามขั้นตอน

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. กล่าวในรายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ทางสถานีวิทยุ 97.0 MHz ว่า กฎหมายได้คุ้มครองระบบอนาล็อกไว้ในระดับหนึ่ง ซึ่งแต่ละช่องอาจไม่เหมือนกัน ทั้งช่อง 5 ,11 และไทยพีบีเอส อย่างไทยพีบีเอสดำเนินการขอเปลี่ยนเป็นดิจิทัลภายใน 3 เดือน ทำให้สามารถออกอากาศได้ 2 ช่องรายการ และต้องคุ้มครองผู้บริโภคว่าจะต้องไม่สูญเสียประโยชน์เมื่อเป็นดิจิทัล อย่างไรก็ตาม กฎหมายกำหนดว่าเมื่อมีกสทช. ช่อง 5 และ 11 ต้องยื่นความจำเป็นถึงการออกอากาศเป็นระบบอนาล็อกเดิม เพราะเมื่อมีดิจิตอล 3 ปีแล้ว ก็ไม่มีคนดูระบบอนาล็อก ถึงเวลานั้นเราจึงออกใบอนุญาตระบบดิจิทัลให้เป็นประเภทสาธารณะ แต่ต้องเข้าตามกรอบบริการประเภทบริการสาธารณะ และการหารายได้ต้องเข้าสู่กรอบการบริการสาธารณะ อะไรก็ตามเมื่อเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านกฎหมายก็จะให้เวลา ขณะที่ไทยพีบีเอสมีกฎหมายเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้เลือกช่อง 5 ให้เป็นช่องที่ออกอากาศคู่ขนานไปกับการออกอากาศแบบอนาล็อกเดิม แต่เราเอาทั้งช่อง 3 ,5 ,7 ,9 และ 11 แต่ช่อง 5 ได้เลือกอยู่ในบริการสาธารณะไว้ก่อน ส่วนช่อง 3 ,7 ถือว่าเป็นกิจการธุรกิจ จึงต้องให้ทดลองออกอากาศบริการชุมชน ไม่มีการออกอนุญาตทั้งคลื่นความถี่และประกอบกิจการแต่อย่างใด และช่อง 5 จะขอเป็นกิจการธุรกิจ หรือชุมชนไม่ได้ ส่วนช่อง 3 ,7 จะเป็นชุมชน สาธารณะก็ไม่ได้ แต่หากช่อง 3 และ 7 จะเป็นทีวีสาธารณะ ก็ต้องเริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้และต้องเสนอแผนเข้ามา สำหรับค่าธรรมเนียมรายปีนั้น ไม่ต้องประมวลแต่ต้องเสียรายปี ทั้งนี้ ทีวีสาธารณะทั้ง 3 ประเภทมีโฆษณาได้ ส่วนความมั่นคงและสาธารณะ สามารถโฆษณาได้เท่าที่จำเป็นต่อการประกอบกิจการเท่านั้น

ส่วนทีวีดิจิทัลอีก 8 รายใหม่นั้น ในการอนุญาตประกอบกิจการประเภทสาธารณะ กฎหมายให้คำนึงถึงหน้าที่ตามกฎหมายและบริการสาธารณะ ดังนั้นสิ่งที่กสทช.จะพิจารณาคือมีความจำเป็นบริการสาธารณะหรือไม่ และใช้คลื่นความถี่ที่จัดไว้สำหรับภาครัฐ สำหรับผู้มีหน้าที่หรือความจำเป็นต่อการบริการสาธารณะมี 3 กลุ่ม คือ 1.กระทรวง ทบวง กรม 2.องค์กร และมูลนิธิประเภทที่ไม่แสวงหากำไร และ 3.สถาบันการศึกษา

พ.อ.นที กล่าวอีกว่า ส่วนที่ขอให้มีการทบทวนมติ 3:2 ที่เห็นชอบทีวีดิจิทัลสาธารณะ 12 ช่อง โดยอนุมัติให้ช่อง 5 , 11 และ ไทยพีบีเอส ไม่เข้าข่ายเป็นช่องทีวีสาธารณะ เพราะเกรงว่าจะถูกฟ้องจากศาลปกครอง ว่า ไม่เป็นไร เราพิจารณาตามลำดับ ขั้นตอน เหตุผล ต้องเข้าใจว่า กสทช.5 คนมีหลายความคิด และนำไปพูดข้างนอกด้วย ซึ่งเราต้องพูดด้วยเหตุด้วยผล หากจะทบทวนจะทบทวนจุดไหน

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130401/498070/%B9%B7%D5%E4%C1%E8%CB%C7%D1%
E8%B9%B6%D9%A1%BF%E9%CD%A7-
%C5%D1%E8%B9%E3%CB%E9%E4%C5%E0%AB%E8%B9%B5%D2%C1%A2%D1%E9%B9%B5%CD%B9.html


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.