Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

1 เมษายน 2556 นักวิชาการชี้(กสท.)ตะแบง!!กำลังทำผิดกม.หลายมาตรา!!(โดยเฉพาะช่อง5เนื้หาไม่ใช้TVสาธารณะ)จะทำอะไรถามคนไทยยัง!!


ประเด็นหลัก




เธอระบุว่า จะเสนอในการประชุม 7 ข้อ ที่ได้ระดมความเห็นจากนักวิชาการไปให้กับประธาน กสทช. โดยข้อ 1 เรียกร้องให้ กสท.ให้ผู้ประกอบการรายเดิมมีการปรับปรุงเงื่อนไขใหม่ ให้สอดคล้องหลักเกณฑ์ของทีวีสาธารณะ ไม่ใช่ออกอากาศในแบบเดิมที่ไม่ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 50 ข้อ 2.กสท.ต้องตั้งเกณฑ์การตรวจสอบเจ้าของผู้ประกอบการรายเดิมหรือรายใหม่ และหน่วยงานรัฐที่จะขอมาจัดสรรคลื่นความถี่ทีวีสาธารณะ ต้องคำนึงถึงเจ้าของ หน้าที่ความจำเป็นที่ไม่ควรจะครอบงำหมด ไม่ใช่ดูแค่ตัวบทกฎหมาย เหล่านี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน

ข้อ 3 กสท.ต้องจัดทำคำนิยามบริการสาธารณะ ดูเนื้อหารายการพันธกิจสาระสำคัญของช่องต่างๆ ให้ชัดเจนของทั้ง 12 ช่อง ข้อ 4 กสท.ต้องคำนึงถึงความเป็นเจ้าของสำหรับภาคประชาชน เพื่อจะได้ใช้คลื่นความถี่ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ในพื้นที่การประกอบกิจการ ข้อที่ 5 กสท.ต้องกำหนดให้แต่ละช่องเสนอโครงสร้างการบริหารที่ต้องสะท้อนความเป็นอิสระจากภาคการเมือง ภาคธุรกิจ ข้อที่ 6 กสท.ต้องมีเกณฑ์การคัดเลือกคุณสมบัติผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่สาธารณะออกมาเป็นประกาศ และข้อ 7 กสท.ควรชะลอผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ 12 ช่อง แล้วรับฟังความคิดเห็นข้อมูลรอบด้านจากทุกภาคส่วน แล้วนำมาเป็นข้อมูลในการใช้เป็นดุลยพินิจ


ข้อสรุปในเวทีเสวนาเห็นว่า กสทช.กำลังนำคลื่นฯสาธารณะของประชาชน ไปจัดสรรให้หน่วยงานที่อาจไม่ดำเนินการช่องทีวีดิจิทัล ในรูปแบบสาธารณะ ดังนั้นองค์กรสื่อและนักวิชาการสื่อในเวทีเสวนาได้ร่วมประกาศจุดยืนว่า หาก กสท.ไม่ทบทวนหลักเกณฑ์ให้ใบอนุญาตทีวีดิจิทัล สาธารณะ จะมีการรวมตัวองค์กรวิชาชีพสื่อ นักวิชาการสื่อ ภาคประชาสังคม และกลุ่มผู้ได้รับความเสียหายจากการจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล สาธารณะ ยื่นฟ้องศาลปกครอง และยื่นถอดถอนกรรมการ กสทช.ทั้งคณะ 11 คนต่อสมาชิกวุฒิสภา

"กสท.ควรต้องทบทวนและเปิดเวทีฟังความเห็นสาธารณะ รวมทั้งทำหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้เรียบร้อย ก่อนพิจารณาให้ใบอนุญาต ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ เวทีประชุมยังได้เรียกร้องให้ไทยพีบีเอส ที่ได้รับการจัดสรร 2 ช่องทีวีดิจิทัล สาธารณะ จาก กสท. ประกาศจุดยืนที่จะทำตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทีวีสาธารณะ โดยเฉพาะช่องใหม่ ก่อนที่จะรับ ใบอนุญาตจาก กสทช." นายวิสุทธิ์กล่าว





นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เสนอ|ให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทบทวนมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ที่เห็นชอบให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทสาธารณะแก่ช่อง 5 และช่อง 11 โดยไม่มีคำขอใบอนุญาต เพราะน่าจะผิดกฎหมายหลายมาตรา

ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นการจัดสรรคลื่นใหม่ ซึ่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรทัศน์ฯ มาตรา 11 ระบุว่า กสทช.ต้องกำหนดหลักเกณฑ์ความจำเป็นของผู้ขอรับใบอนุญาต แต่ปัจจุบัน กสทช.ยังไม่กำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงทราบได้อย่างไรว่าช่อง 5 และช่อง 11 จำเป็นต้องได้คลื่นทีวี


อย่างไรก็ตามแนวทางการพิจารณาให้ใบอนุญาตทีวีดิจิทัล สาธารณะ ซึ่งยังไม่กำหนดหลักเกณฑ์ แต่ได้ให้สิทธิฟรีทีวี อนาล็อก รายเดิมออกอากาศระบบดิจิทัล โดยยังไม่กำหนดระยะเวลาความจำเป็นในการใช้คลื่นฯ และปรับผังรายการให้เป็นไปตามกรอบทีวีสาธารณะ ซึ่งต้องนำเสนอผังรายการข่าวและสารประโยชน์ในอัตรา 70% อีกทั้งแนวทางการให้ใบอนุญาตกับ "รายใหม่" ยังไม่มีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ตามมาตรา28 พ.ร.บ. กสทช. พ.ศ.2553 ที่ระบุว่า "ให้ กสทช.จัดให้มีการรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไป เพื่อนำความเห็นมาประกอบพิจารณาก่อนออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เกี่ยวกับการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปและเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน หรือมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ" ดังนั้นกรณีดังกล่าว อาจเป็นขั้นตอนการจัดสรรคลื่นฯใหม่ที่เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.กสทช.


นางเอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา (มีเดียมอนิเตอร์) กล่าวว่า จากการศึกษาผังรายการฟรีทีวีของมีเดียมอนิเตอร์ ม.ค.2556 พบว่าช่อง5 นำเสนอรายการข่าวและสารประโยชน์ 44% ขณะที่ตามกฎหมายสื่อสาธารณะต้องเสนอสัดส่วน 70% ทั้งยังมีเนื้อหาบันเทิงสูง ช่อง11เสนอข่าวและสารประโยชน์สัดส่วน 90% แต่เนื้อหารายการยังนำเสนอความคิดเห็นไม่



















______________________________________



หวั่นทีวีดิจิตอลสะดุดศาล



ทีวีสาธารณะปลอมฮุบครองช่อง ชี้ กสท.ชะลอผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ 12 ช่อง ฟังความคิดเห็นรอบด้าน หวั่นสุดท้ายทีวีดิจิตอลกระบวนการสะดุดที่ศาล

ที่สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย ได้จัดเวทีเสวนา "ประเคนทีวีดิจิทัลสาธารณะ : กสทช.รัฐประหารการปฏิรูปสื่อ?" จากกรณีที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีมติ 3 ต่อ 2 เห็นชอบการกำหนดช่องรายการ 12 ช่องสาธารณะทีวีดิจิตอล ก่อนจะให้ช่อง 5, ช่อง 11 และไทยพีบีเอส โดยไม่ต้องทำการประมูล



น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช.กล่าวว่า ในส่วนของมติ กสทช.ที่ออกมาเป็น 3 ต่อ 2 เสียงนั้น เป็นการรวบรัดเปลี่ยนผ่านจากยุคอนาล็อกเป็นยุคดิจิตอลที่มีการถกเถียงกันมาตลอด ที่มีกลุ่มทีวีรายเดิมและ กสทช.เป็นผู้ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ ในลักษณะที่ต้องการให้มีความราบรื่นโดยทีวีรายเดิมไม่ต่อต้าน แต่สุดท้ายผลที่ออกมาได้เป็นอย่างที่เห็นกันคือ การให้สิทธิพิเศษกับทางช่อง 5 กับไทยพีบีเอส ขณะที่ช่อง 3 ,5, 7 และช่อง 9 อยากจะได้สิทธิพิเศษเช่นกัน แต่ก็ต้องไปอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่า ต้องประมูลหรือไม่ เพราะมีเรื่องของค่าเช่าโครงข่ายในส่วนของทีวีสาธารณะที่มติออกมา

เธอระบุว่า จะเสนอในการประชุม 7 ข้อ ที่ได้ระดมความเห็นจากนักวิชาการไปให้กับประธาน กสทช. โดยข้อ 1 เรียกร้องให้ กสท.ให้ผู้ประกอบการรายเดิมมีการปรับปรุงเงื่อนไขใหม่ ให้สอดคล้องหลักเกณฑ์ของทีวีสาธารณะ ไม่ใช่ออกอากาศในแบบเดิมที่ไม่ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 50 ข้อ 2.กสท.ต้องตั้งเกณฑ์การตรวจสอบเจ้าของผู้ประกอบการรายเดิมหรือรายใหม่ และหน่วยงานรัฐที่จะขอมาจัดสรรคลื่นความถี่ทีวีสาธารณะ ต้องคำนึงถึงเจ้าของ หน้าที่ความจำเป็นที่ไม่ควรจะครอบงำหมด ไม่ใช่ดูแค่ตัวบทกฎหมาย เหล่านี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน

ข้อ 3 กสท.ต้องจัดทำคำนิยามบริการสาธารณะ ดูเนื้อหารายการพันธกิจสาระสำคัญของช่องต่างๆ ให้ชัดเจนของทั้ง 12 ช่อง ข้อ 4 กสท.ต้องคำนึงถึงความเป็นเจ้าของสำหรับภาคประชาชน เพื่อจะได้ใช้คลื่นความถี่ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ในพื้นที่การประกอบกิจการ ข้อที่ 5 กสท.ต้องกำหนดให้แต่ละช่องเสนอโครงสร้างการบริหารที่ต้องสะท้อนความเป็นอิสระจากภาคการเมือง ภาคธุรกิจ ข้อที่ 6 กสท.ต้องมีเกณฑ์การคัดเลือกคุณสมบัติผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่สาธารณะออกมาเป็นประกาศ และข้อ 7 กสท.ควรชะลอผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ 12 ช่อง แล้วรับฟังความคิดเห็นข้อมูลรอบด้านจากทุกภาคส่วน แล้วนำมาเป็นข้อมูลในการใช้เป็นดุลยพินิจ

เธอระบุว่า ข้อเสนอเหล่านี้จะมีการพูดคุยกันในที่ 1 เม.ย. แต่ยังไม่ทราบผลจะออกมาเป็นอย่างไร ส่วนตัวคิดว่ากระบวนการจะสะดุด ถ้าบอร์ดรับฟังก็ต้องมาดูว่าเป็นไปตามเจตนารมณ์หรือไม่ แต่ถ้าบอร์ดไม่รับฟังอะไรเลย คิดว่า กระบวนการทางศาลจะเป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะคลื่นความถี่ดิจิตอลตรงนี้มีมูลค่ามหาศาล.

ไทยโพสต์
http://www.ryt9.com/s/tpd/1620824


________________________________



กสท.ส่อผิดกฎหมายให้ดิจิตอลช่อง5-11


เตือนให้ไลเซนส์ทีวีสาธารณะช่อง 5-11 ส่อผิดกฎหมาย แนะ กสทช.ทบทวนมติ

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เสนอ|ให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทบทวนมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ที่เห็นชอบให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทสาธารณะแก่ช่อง 5 และช่อง 11 โดยไม่มีคำขอใบอนุญาต เพราะน่าจะผิดกฎหมายหลายมาตรา

ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นการจัดสรรคลื่นใหม่ ซึ่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรทัศน์ฯ มาตรา 11 ระบุว่า กสทช.ต้องกำหนดหลักเกณฑ์ความจำเป็นของผู้ขอรับใบอนุญาต แต่ปัจจุบัน กสทช.ยังไม่กำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงทราบได้อย่างไรว่าช่อง 5 และช่อง 11 จำเป็นต้องได้คลื่นทีวี

นอกจากนี้ กสทช.ยังไม่มีการจัดรับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนก่อนออกหลักเกณฑ์ดังกล่าว ตามมาตรา 28 พ.ร.บ.กสทช.จึงน่าจะขัดต่อกฎหมาย

http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8
%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/213513/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97-
%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B
8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%B4%
E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8
%875-11

________________________________________-




ส.นักข่าววิทยุฯ จี้ กสทช.ทบทวนใบอนุญาต 12 ช่องสาธารณะ

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์ ขอให้ กสทช. ทบทวนมติเรื่องการกำหนดการออกใบอนุญาตทีวีดิจิทัลสาธารณะ 12 ช่อง ย้ำเกาะติดอย่างใกล้ชิด...

จากการที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติเห็นชอบ 3 ต่อ 2 เสียง ในการกำหนดช่องรายการสำหรับกิจการบริการสาธารณะโทรทัศน์ระบบดิจิทัล จำนวน 12 ช่องรายการ ซึ่งมีการกำหนดประเภทและคุณสมบัติผู้มีสิทธิยื่นขอใบอนุญาตได้ตามมาตรา 10 ใน พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551

ทั้งนี้ ทีวีดิจิทัลสาธารณะ 12 ช่อง ตามกำหนดของ กสท. แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจัดให้แก่ผู้ประกอบการรายเดิม คือ ช่อง 5, ช่อง 11 และไทยพีบีเอส (ในส่วนของไทยพีบีเอส นอกจากได้ช่องทีวีดิจิทัลสาธารณะตามสิทธิการเป็นผู้ประกอบการรายเดิมแล้ว ยังได้เพิ่มอีก 1 ช่อง ภายใต้บันทึกข้อตกลงเบื้องต้น (MOU) ที่ทำไว้กับคณะกรรมการกิจการเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขณะที่อีก 8 ช่องนั้น กสท.จะพิจารณาออกใบอนุญาตตามคุณสมบัติ (บิวตี้คอนเทสต์)

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เห็นว่า มติของ กสท. เป็นการละเมิดเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อที่จะต้องกระจายคลื่นความถี่ที่อยู่ในการครอบครองของรัฐไปสู่สาธารณะ แต่มติของ กสท. กลับเป็นการมอบคลื่นความถี่ที่เป็นช่องบริการสาธารณะไปให้กับหน่วยงานของรัฐ โดยที่ กสท. ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ใดๆ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงขอเรียกร้องให้

1. กสทช. ทบทวนมติในการออกใบอนุญาตทีวีดิจิทัลสาธารณะทั้ง 12 ช่อง เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปสื่อ และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการของทีวีสาธารณะอย่างแท้จริง

2. กสทช.ต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาการให้ใบอนุญาตตามคุณสมบัติ (Beauty Contest) ให้ชัดเจน โดยจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมอย่างรอบด้าน

3.กสทช.ไม่ควรเร่งรีบการออกใบอนุญาตทีวีดิจิทัลสาธารณะพร้อมกันทั้ง 12 ช่องในครั้งเดียวกัน โดยขอให้พิจารณาจากความจำเป็น และคุณภาพของเนื้อหารายการที่จะนำเสนอเนื้อหาเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ

4.ในการออกใบอนุญาตทีวีจิดิทัลสาธารณะ กสทช. ต้องไม่ทำให้โครงสร้างการแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์บิดเบี้ยว เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ทั้งนี้ เนื่องจากการออกใบอนุญาตทีวีดิจิทัลสาธารณะไม่มีค่าใช้จ่ายในการประมูล, ค่าธรรมเนียมรายปี และสามารถหารายได้จากการโฆษณาได้โดยไม่จำกัด

อย่างไรก็ตาม สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และหาก กสทช.ไม่มีการแก้ไขทบทวนมติดังกล่าว สมาคมฯ จะใช้ช่องทางตามสิทธิในรัฐธรรมนูญต่อไป.





 http://www.thairath.co.th/content/tech/336160

____________________________________________


“สุภิญญา” โต้ เสนอ 7 ข้อเข้าบอร์ด กสท. พร้อมแจงหลักฐาน

“สุภิญญา กลางณรงค์” กก. กสท. โต้ เสนอ 7 ข้อทบทวนเร่องทีวีสาธาณะเข้าบอร์ด กสท. แล้วแต่ไม่ได้รับการพิจารณา พร้อมโชว์หลักฐาน...


เมื่อวันที่ 1 เม.ย. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการกโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า วันนี้ ตนได้นำข้อเสนอประเด็นทบทวนให้ช่อง 5 ช่อง 11 และไทยพีบีเอส ใช้คลื่นดิจิตอล โดยไม่ได้มีเงื่อนไขว่าการยุติระบบอะนาล็อกเมื่อไร และแผนรายการเป็นอย่างไร  ทั้งหมด 7 ข้อ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. แต่ไม่ได้รับการพิจารณา โดยมีมติให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณา และส่งเรื่องให้สำนักงาน กสทช. ไปศึกษามาอีกครั้ง ก่อนเสนอเข้าบอร์ดวันที่ 17 เม.ย.นี้ พร้อมเตรียมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในวันพรุ่งนี้ (2 เม.ย.) เวลา 11.00 น. ณ ห้องสื่อมวลชน ชั้น 2 สำนักงาน กสทช.


สำหรับ 7 ข้อเสนอ ได้แก่ 1. บอร์ด กสท ต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการรายเดิม ช่อง 5 ช่อง 11 และไทยพีบีเอสปรับตัวให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบกิจการสาธารณะ มิใช่ได้รับสิทธิ์ในการออกอากาศในระบบดิจิตอลโดยอัตโนมัติ มิเช่นนั้นจะส่งผลต่อการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 2. กสท ต้องสร้างเกณฑ์การตรวจสอบ “หน้าที่” และ “ความจำเป็น” ของผู้ประกอบการรายเดิม และหน่วยงานรัฐและองค์กรต่างๆ ที่ขอเข้ามาจัดสรรคลื่นความถี่โดยคำนึงถึงโครงสร้างความเป็นเจ้าของ 3. กสท ต้องจัดทำคำนิยาม “บริการสาธารณะ” และเนื้อหารายการ รวมทั้งพันธกิจสำคัญในแต่ละช่องรายการให้ชัดเจน และขอให้ทบทวนการจัดกลุ่มตามวัตถุประสงค์ของทั้ง 12 ช่อง 4. กสท ต้องคำนึงถึงความเป็นเจ้าของสำหรับภาคประชาชนเพื่อใช้คลื่นความถี่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ในทุกพื้นที่ของการประกอบกิจการ





5. กสท ต้องกำหนดให้แต่ละช่องเสนอโครงสร้างการบริหารที่สะท้อนความเป็นอิสระจากภาคการเมืองและภาคธุรกิจ และมีแผนการจัดสรรและที่มาของงบประมาณที่ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ 6. กสท ต้องมีเกณฑ์การคัดเลือกคุณสมบัติผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ช่องบริการสาธารณะ (Beauty Contest) ที่ชัดเจน และผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะ เนื่องจากเป็นแนวนโยบายที่มีผลกระทบต่อสาธารณะและ 7. กสท ควรชะลอการพิจารณาการจัดสรรคลื่นความถี่บริการสาธารณะ 12 ช่อง จนกว่าจะสำรวจและรับความเห็นจากทุกภาคส่วนและศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ในการใช้ดุลพินิจของ กสท .


 http://www.thairath.co.th/content/tech/336224



_______________________________________________________
จี้กสทช.ชะลอไลเซ่นทีวีสาธารณะ


องค์กรวิชาชีพสื่อ-นักวิชาการประกาศจุดยืน จี้กสทช.ทบทวนมติให้ใบอนุญาต 12 ช่องทีวีสาธารณะ แนะกำหนดเกณฑ์บิวตี้ คอนเทสต์-เปิดประชาพิจารณ์


วานนี้ (31 มี.ค.) สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์และสภาวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดเสวนา "ประเคนทีวีดิจิทัลสาธารณะ..กสทช.รัฐประหารการปฏิรูปสื่อ?" หลังคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติเสียงข้างมาก 3:2 "เห็นชอบ" ให้กำหนดแนวทางพิจารณาการให้ใบอนุญาต "โทรทัศน์ ประเภทบริการสาธารณะระบบดิจิทัล" (ทีวีดิจิทัล สาธารณะ) จำนวน 12 ช่อง ให้สิทธิการออกอากาศกับผู้ประกอบการ"รายเดิม" 3 ราย คือ ช่อง5 ,ช่อง11 และไทยพีบีเอส รวม 4 ช่อง และเตรียมจัดสรรให้ "รายใหม่" 8 ช่อง ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในมาตรา 11 พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.วิทยุทีวีปี51)

นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่าจากมติเสียงข้างมากของ กสท.ในการจัดสรรคลื่นความถี่ ทีวีดิจิทัล สาธารณะ ให้กับฟรีทีวี อนาล็อก 3 รายเดิม และแนวทางจัดสรรคลื่นฯ อีก 8 ช่อง ให้รายใหม่ โดยยังไม่กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขผู้ที่จะยื่นขอใบอนุญาต รวมทั้งเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะทำให้การจัดคลื่นฯทีวีดิจิทัล สาธารณะ ลักษณะดังกล่าวอาจเรียกว่า "เข้าข่ายประเคนทีวีดิจิทัลให้หน่วยงานรัฐ และกสทช.กำลังทำรัฐประหารการปฏิรูปสื่อ"

ข้อสรุปในเวทีเสวนาเห็นว่า กสทช.กำลังนำคลื่นฯสาธารณะของประชาชน ไปจัดสรรให้หน่วยงานที่อาจไม่ดำเนินการช่องทีวีดิจิทัล ในรูปแบบสาธารณะ ดังนั้นองค์กรสื่อและนักวิชาการสื่อในเวทีเสวนาได้ร่วมประกาศจุดยืนว่า หาก กสท.ไม่ทบทวนหลักเกณฑ์ให้ใบอนุญาตทีวีดิจิทัล สาธารณะ จะมีการรวมตัวองค์กรวิชาชีพสื่อ นักวิชาการสื่อ ภาคประชาสังคม และกลุ่มผู้ได้รับความเสียหายจากการจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล สาธารณะ ยื่นฟ้องศาลปกครอง และยื่นถอดถอนกรรมการ กสทช.ทั้งคณะ 11 คนต่อสมาชิกวุฒิสภา

"กสท.ควรต้องทบทวนและเปิดเวทีฟังความเห็นสาธารณะ รวมทั้งทำหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้เรียบร้อย ก่อนพิจารณาให้ใบอนุญาต ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ เวทีประชุมยังได้เรียกร้องให้ไทยพีบึ34 ?จากมติเสียงข้างมากของ กสท.ในการจัดสรรคลื่นความถี่ ทีวีดิจิทัล สาธารณะ ให้กับฟรีทีวี อนาล็อก 3 รายเดิม และแนวทางจัดสรรคลื่นฯ อีก 8 ช่อง ให้รายใหม่ โดยยังไม่กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขผู้ที่จะยื่นขอใบอนุญาต รวมทั้งเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะทำให้การจัดคลื่นฯทีวีดิจิทัล สาธารณะ ลักษณะดังกล่าวอาจเรียกว่า "เข้าข่ายประเคนทีวีดิจิทัลให้หน่วยงานรัฐ และกสทช.กำลังทำรัฐประหารการปฏิรูปสื่อ"

ข้อสรุปในเวทีเสวนาเห็นว่า กสทช.กำลังนำคลื่นฯสาธารณะของประชาชน ไปจัดสรรให้หน่วยงานที่อาจไม่ดำเนินการช่องทีวีดิจิทัล ในรูปแบบสาธารณะ ดังนั้นองค์กรสื่อและนักวิชาการสื่อในเวทีเสวนาได้ร่วมประกาศจุดยืนว่า หาก กสท.ไม่ทบทวนหลักเกณฑ์ให้ใบอนุญาตทีวีดิจิทัล สาธารณะ จะมีการรวมตัวองค์กรวิชาชีพสื่อ นักวิชาการสื่อ ภาคประชาสังคม และกลุ่มผู้ได้รับความเสียหายจากการจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล สาธารณะ ยื่นฟ้องศาลปกครอง และยื่นถอดถอนกรรมการ กสทช.ทั้งคณะ 11 คนต่อสมาชิกวุฒิสภา

"กสท.ควรต้องทบทวนและเปิดเวทีฟังความเห็นสาธารณะ รวมทั้งทำหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้เรียบร้อย ก่อนพิจารณาให้ใบอนุญาต ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ เวทีประชุมยังได้เรียกร้องให้ไทยพีบีเอส ที่ได้รับการจัดสรร 2 ช่องทีวีดิจิทัล สาธารณะ จาก กสท. ประกาศจุดยืนที่จะทำตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทีวีสาธารณะ โดยเฉพาะช่องใหม่ ก่อนที่จะรับ ใบอนุญาตจาก กสทช." นายวิสุทธิ์กล่าว

"สุภิญญา"ชง7ข้อเสนอบอร์ดทบทวน

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. และกรรมการ กสท. กล่าวว่ามติบอร์ด กสท.ที่ให้สิทธิฟรีทีวี อนาล็อกรายเดิม 3 ราย คือ ช่อง5, ช่อง 11 และไทยพีบีเอส ใช้คลื่นฯทีวีดิจิทัลกับอนาล็อกแบบคู่ขนาน (Simulcast) ไปจนกว่า กสท.จะประกาศกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด "ความจำเป็นในการใช้คลื่นฯ อนาล็อก" ของแต่ละราย มติดังกล่าวถือว่าไม่เป็นธรรมกับ "ช่องอนาล็อกอื่นๆ" ที่ต้องประมูลในประเภทธุรกิจ ทั้งไม่เป็นธรรมกับช่องธุรกิจรายใหม่ที่มีต้นทุนสูงกว่าจากการประมูล เชื่อว่าหากบอร์ด กสท.ไม่ทบทวนมติดังกล่าว อาจถูกฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้

ทั้งนี้ ในฐานะ "หนึ่งในเสียงข้างน้อย" ที่ไม่เห็นด้วยกับมติจัดสรร12 ช่องทีวีดิจิทัล สาธารณะ จะเสนอที่ประชุมบอร์ด กสท.วันนี้ (1เม.ย.) ทบทวนแนวทางจัดสรรทีวีดิจิทัล สาธารณะ ซึ่งรวบรวมจากการเปิดรับฟังความเห็นจากนักวิชาการสื่อสารมวลชน รวม 7 ข้อ ได้แก่ 1.กสท.ต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการรายเดิม (ช่อง 5,11 และไทยพีบีเอส) ปรับตัวให้สอดคล้องกับคุณสมบัติการเป็นผู้ประกอบกิจการสาธารณะ ไม่ใช่ได้รับสิทธิออกอากาศทีวีดิจิทัลโดยอัตโนมัติ เพราะส่งผลต่อการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม 2.กสท.ต้องสร้างเกณฑ์ตรวจสอบ "หน้าที่" และ"ความจำเป็น" ของผู้ประกอบการรายเดิม และหน่วยงานรัฐและองค์กรต่างๆ ที่เข้ามารับจัดสรรคลื่นฯโดยคำนึงถึงโครงสร้างความเป็นเจ้าของ 3.กสท.ต้องจัดทำคำนิยาม"บริการสาธารณะ" และเนื้อหารายการ รวมทั้งพันธกิจสำคัญแต่ละช่องรายการให้ชัดเจน และทบทวนการจัดกลุ่มตามวัตถุประสงค์ทั้ง12ช่อง

4.กสท.ต้องคำนึงถึงความเป็นเจ้าของสำหรับภาคประชาชนเพื่อใช้คลื่นความถี่ไม่น้อยกว่า 20% ในทุกพื้นที่ประกอบกิจการ 5.กสท.ต้องกำหนดให้แต่ละช่องเสนอโครงสร้างบริหารที่อิสระจากภาคการเมืองและภาคธุรกิจ และมีแผนจัดสรรและที่มาของงบประมาณที่ชัดเจนตรวจสอบได้ 6.กสท.ต้องมีเกณฑ์คัดเลือกคุณสมบัติผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ช่องบริการสาธารณะ ที่ชัดเจน และผ่านรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะ เนื่องจากเป็นแนวนโยบายที่มีผลกระทบต่อสาธารณะ และ 7.กสท.ควรชะลอพิจารณาจัดสรรคลื่นฯ บริการสาธารณะ 12 ช่อง จนกว่าจะสำรวจและรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนและศึกษาข้อมูลรอบด้านเพื่อนำมาเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ในการใช้ดุลพินิจของ กสท.

"หากบอร์ด กสท. ไม่ทบทวนมติจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล สาธารณะใหม่ โดยออกหลักเกณฑ์คัดเลือกและเปิดเวทีรับฟังความเห็น หากมีผู้ได้รับผลกระทบไปฟ้องศาลปกครอง ตนเองในฐานเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วยกับมติ พร้อมจะไปเป็นพยานเพื่อนำเสนอข้อมูลต่อศาล โดยต้องการให้ภาคประชาสังคมออกมาร่วมขับเคลื่อนการจัดสรรคลื่นฯสาธารณะให้ตอบโจทย์การปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง" นางสาวสุภิญญากล่าว

จัดสรรทีวีสาธารณะส่อผิดกม.

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่าการจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล เป็นโอกาสการปฏิรูปสื่อยุคนี้ แต่หากกสทช.ไม่สร้างกติกาให้เกิดการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ถือเป็นความเสี่ยงในการปฏิรูปสื่อเช่นกัน โดยเฉพาะการพิจารณาใบอนุญาตทีวีดิจิทัล สาธารณะที่บอร์ด กสท.เห็นชอบไปแล้ว เชื่อว่าจะเป็นช่องทางให้หน่วยราชการพาเหรดมาทำทีวีดิจิทัล สาธารณะจำนวนมาก แต่จะทำเพื่อประโยชน์ของราชการไม่ใช่ประโยชน์เพื่อสาธารณะ เนื่องจากไม่มีต้นทุนประมูลเหมือนประเภทธุรกิจ ขณะที่ทีวีสาธารณะประเภท2 สามารถหารายได้จากโฆษณาเชิงพาณิชย์

อย่างไรก็ตามแนวทางการพิจารณาให้ใบอนุญาตทีวีดิจิทัล สาธารณะ ซึ่งยังไม่กำหนดหลักเกณฑ์ แต่ได้ให้สิทธิฟรีทีวี อนาล็อก รายเดิมออกอากาศระบบดิจิทัล โดยยังไม่กำหนดระยะเวลาความจำเป็นในการใช้คลื่นฯ และปรับผังรายการให้เป็นไปตามกรอบทีวีสาธารณะ ซึ่งต้องนำเสนอผังรายการข่าวและสารประโยชน์ในอัตรา 70% อีกทั้งแนวทางการให้ใบอนุญาตกับ "รายใหม่" ยังไม่มีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ตามมาตรา28 พ.ร.บ. กสทช. พ.ศ.2553 ที่ระบุว่า "ให้ กสทช.จัดให้มีการรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไป เพื่อนำความเห็นมาประกอบพิจารณาก่อนออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เกี่ยวกับการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปและเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน หรือมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ" ดังนั้นกรณีดังกล่าว อาจเป็นขั้นตอนการจัดสรรคลื่นฯใหม่ที่เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.กสทช.

"แม้พ.ร.บ.วิทยุทีวีปี51จะออกมาในสมัยรัฐประหาร แต่เจตนารมณ์ปฏิรูปสื่อมีมาตั้งแต่ปี 2540 เนื้อหากฎหมายโดยรวมจึงมีความก้าวหน้าและมุ่งมั่นปฏิรูปสื่อ แต่ยุคประชาธิปไตยปัจจุบัน กลับเห็นเจตนาละเมิดการปฏิรูปสื่อ" นายสมเกียรติกล่าว

ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะให้ กสทช.ทบทวนมติจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล สาธารณะ โดยกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์บิวตี้ คอนเทสต์ และจัดทำกติกาเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.วิทยุทีวีปี51 กำหนดให้สื่อสาธารณะต้องตอบโจทย์กลุ่มผู้ฟังผู้ชมที่ถูกละเลยจากกลไกตลาดที่สื่อเอกชนไม่ให้ความสนใจ ทั้งต้องกำหนดเกณฑ์นำเสนอเนื้อหาที่มีความสมดุล รับฟังความเห็นรอบด้าน ไม่ใช่เผยแพร่เพียงความเห็นรัฐบาลหรือราชการอย่างเดียว ทั้งต้องมีกลไกรับเรื่องร้องเรียน และกำหนดเงื่อนไขให้ใบอนุญาตไม่เกิน 4 ปี และหากไม่ทำตามเงื่อนไขควรเพิกถอนใบอนุญาต

ขณะที่ข้อเสนอต่อหน่วยงานเดิมที่จะขอรับใบอนุญาต คือ ช่อง 5 ต้องปรับผังรายการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์สื่อสาธารณะ ช่อง 11 ต้องวางกลไกรับเรื่องร้องเรียนและเสนอความเห็นรอบด้าน และไทยพีบีเอส ต้องทบทวนว่าสิ่งใดที่ยังไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามเกณฑ์สื่อสาธารณะให้ดำเนินการก่อนรับใบอนุญาต

นางเอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา (มีเดียมอนิเตอร์) กล่าวว่า จากการศึกษาผังรายการฟรีทีวีของมีเดียมอนิเตอร์ ม.ค.2556 พบว่าช่อง5 นำเสนอรายการข่าวและสารประโยชน์ 44% ขณะที่ตามกฎหมายสื่อสาธารณะต้องเสนอสัดส่วน 70% ทั้งยังมีเนื้อหาบันเทิงสูง ช่อง11เสนอข่าวและสารประโยชน์สัดส่วน 90% แต่เนื้อหารายการยังนำเสนอความคิดเห็นไม่
สมดุลรอบด้านจากทุกฝ่าย

หน่วยงานรัฐแห่ขอไลเซ่น

นายบัณฑิต จันทร์ศรีคำ บรรณาธิการเนชั่นสุดสัปดาห์ กล่าวว่า ช่วงที่ช่องทีวีดาวเทียมได้รับความนิยมและมีกว่า 200 ช่องปัจจุบัน พบว่ามีหน่วยงานรัฐ ราชการ และกระทรวงต่างๆ เปิดช่องทีวีดาวเทียมหลายหน่วยงาน ปัจจุบันมีช่องทีวีดาวเทียมของภาครัฐที่ยังดำเนินการราว 8 ช่อง คาดว่าจะเป็นกลุ่มที่มียื่นขอใบอนุญาต "ทีวีดิจิทัล สาธารณะ" ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย ,ไอซีที, เกษตรฯ ,สาธารณสุข,ท่องเที่ยวและกีฬา ,สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐสภา

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่ยังไม่ทำช่องทีวีดาวเทียม และสนใจยื่นขออนุญาต เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , สถาบันพระปกเกล้า ,กองทัพ เป็นต้น โดยรูปแบบบริหารช่องจะว่าจ้างผู้ผลิตรายการมืออาชีพร่วมผลิตรายการตามที่ประกาศฯ กสทช.เปิดช่องทางให้ทีวีดิจิทัล เปิดพื้นที่ให้ผู้ผลิตอื่นๆ เข้ามาร่วมผลิตรายการในช่องได้ในสัดส่วน 10-40%

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130401/498056/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8
%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B9%84
%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%
B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0.html


______________________________________________



______________________________________


สื่อ-นักวิชาการ จี้ กสทช.หยุด “ตะแบง” ให้ไลเซ่นส์ทีวีดิจิตอลสาธารณะ


เว็บบล็อกของ น.ส.ภัทราพร ตั๊นงาม ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส http://patnews.wordpress.com/2013/03/31/1545/  ได้รายงานเนื้อหาการเสวนา “ประเคนทีวีดิจิตอลสาธารณะ..กสทช.รัฐประหารการปฏิรูปสื่อ” ที่จัดโดยสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ และสภาวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์ไทย ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา

ที่มีวิทยากรได้แก่ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา น.ส.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา (Media Monitor) นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย นายบัณฑิต จันทร์ศรีคำ (แคน สาริกา) บรรณาธิการเนชั่นสุดสัปดาห์ และนายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อย่างละเอียด

“สำนักข่าวอิศรา” เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อ

-----

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช.

จากมติที่บอร์ดกระจายเสียง กสทช.สัปดาห์ที่แล้ว มีมติ 3 ต่อ 2 ให้สิทธิ์ ช่อง5 ช่อง 11 และไทยพีบีเอส ใช้คลื่นดิจิตอลนั้น เป็นไปอย่างรวบรัด ซึ่งการเปลี่ยนผ่านแม้ต้องการให้เป็นไปโดยความราบรื่น แต่การที่บอร์ดทำเช่นนี้ เสมือนเป็นการให้สิทธิ์พิเศษทั้ง 3 ช่อง โดยไม่เป็นธรรมกับช่องอื่นในการทำคลื่นความถี่ดิจิตอล โดยไม่ได้มีเงื่อนไขว่าการยุติระบบอนาล็อกจะเร็วขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ ซึ่งหากบอร์ดกระจายเสียงฯ ปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไป อาจถูกคนฟ้องร้องต่อศาลปกครองแน่นอน

ทั้งนี้ ส่วนตัวได้เสนอให้ทบทวนในที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงวันพรุ่งนี้ รวม 7 ข้อ ได้แก่

1. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการรายเดิม (ช่อง 5  ช่อง 11 และไทยพีบีเอส) ปรับตัวให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบกิจการสาธารณะ มิใช่ได้รับสิทธิในการออกอากาศในระบบดิจิตอลโดยอัตโนมัติ มิเช่นนั้นจะส่งผลต่อการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

2. กสท. ต้องสร้างเกณฑ์การตรวจสอบ “หน้าที่” และ “ความจำเป็น” ของผู้ประกอบการรายเดิม และหน่วยงานรัฐและองค์กรต่างๆ ที่ขอเข้ามาจัดสรรคลื่นความถี่โดยคำนึงถึงโครงสร้างความเป็นเจ้าของ

3. กสท.ต้องจัดทำคำนิยาม “บริการสาธารณะ” และเนื้อหารายการ รวมทั้งพันธกิจสำคัญในแต่ละช่องรายการให้ชัดเจน และขอให้ทบทวนการจัดกลุ่มตามวัตถุประสงค์ของทั้ง 12 ช่อง

4. กสท.ต้องคำนึงถึงความเป็นเจ้าของสำหรับภาคประชาชนเพื่อใช้คลื่นความถี่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ในทุกพื้นที่ของการประกอบกิจการ

5. กสท.ต้องกำหนดให้แต่ละช่องเสนอโครงสร้างการบริหารที่สะท้อนความเป็นอิสระจากภาคการเมืองและภาคธุรกิจ และมีแผนการจัดสรรและที่มาของงบประมาณที่ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้

6. กสท.ต้องมีเกณฑ์การคัดเลือกคุณสมบัติผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ช่องบริการสาธารณะ (Beauty Contest) ที่ชัดเจน และผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะ เนื่องจากเป็นแนวนโยบายที่มีผลกระทบต่อสาธารณะ

และ 7. กสท.ควรชะลอการพิจารณาการจัดสรรคลื่นความถี่บริการสาธารณะ 12 ช่อง จนกว่าจะสำรวจและรับความเห็นจากทุกภาคส่วนและศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ในการใช้ดุลพินิจของ กสท.

-----

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

จุดประสงค์ของการทำทีวี “ช่องสาธารณะ” เน้นการตอบโจทย์ในสิ่งที่ทีวีช่องพาณิชย์ไม่สามารถทำได้ หรือเป็นรายการเฉพาะกลุ่ม หรือ มีคุณภาพมากกว่ารายการแบบตลาด ซึ่งทีวีดิจิตอลเป็นโอกาสของการปฏิรูปสื่อ แต่หากมีการสร้างการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ก็จะมีความเสี่ยงในการแข่งขันมากขึ้น และหน่วยงานราชการจะพาเหรดมาทำทีวีสาธารณะ ซึ่งจะทำให้ช่องทีวีกลายเป็นประโยชน์ของราชการไม่ใช่ประโยชน์เพื่อสาธารณะ

ทั้งนี้ การที่บอร์ดกระจายเสียงฯ กสทช.ทำเช่นนั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการประเคนให้ช่องทีวี เพราะ กสทช.ยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ แต่ทำท่าจะอนุญาตให้ประกอบกิจการแล้ว ซึ่งหากทำเช่นนี้จริง ก็เสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการกำหนดผังรายการต้องมีเนื้อหาสาธารณะร้อยละ 70 ซึ่งคุณสมบัติของคนที่จะมาขอประกอบกิจการ ต้องดูว่า “มีหน้าที่” และ “ความจำเป็น” ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เพราะ กสทช.ยังไม่ได้กำหนด แล้วทราบได้อย่างไรว่า ช่องที่อนุมัติให้ไปมีหน้าที่ และความจำเป็นตามที่กฎหมายกำหนด

การทำเช่นนี้ นับเป็นการจัดสรรใบอนุญาตใหม่ โดยมาตรา 11 คนที่จะขอรับใบอนุญาต หากเป็นกระทรวง ทบวง กรม ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ต้องมาขอใบอนุญาต และเห็นว่าเรื่องนี้ควรรับฟังความเห็นสาธารณะ แต่ขณะนี้ก็ยังไม่มีการรับฟังความเห็นเลย

แม้กฎหมายฉบับนี้แม้จะออกมาในสมัยที่เกิดการรัฐประหาร แต่หัวใจสำคัญของการปฏิรูปสื่อมีมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งเนื้อหาโดยรวมมีความก้าวหน้า มุ่งมั่นในการปฏิรูปสื่อพอสมควร และอนุญาตให้หน่วยงานรัฐดำเนินการโดยมีโฆษณาได้ แต่สิ่งที่แย่คือ ประชาธิปไตยในปัจจุบัน ก็ยังมีการละเมิดการปฏิรูปสื่อ

สำหรับข้อเสนอแนะ ต้องการเห็น กสทช.ทบทวนมติที่ออกไป และประชุมใหม่ เพื่อกำหนดเงื่อนไขการทำบิวตี้คอนเทส ตามหลักเกณฑ์ และต้องเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ว่า ถ้าเป็นทีวีช่องสาธารณะ จะต้องมีประโยชน์สาธารณะ สนองตอบกลุ่มผู้ฟังที่ถูกละเลยตามกลไกตลาด และเนื้อหารายการต้องมีความสมดุล, ฟังความเห็นรอบด้าน ไม่ใช่เผยแพร่ความเห็นของรัฐ หรือราชการอย่างเดียว และต้องมีกลไกรับเรื่องร้องเรียน โดยกสทช.ควรออกเงื่อนไขในการทำบิวตี้คอนเทส และออกใบอนุญาตที่ไม่ยาวเกิน 4 ปี และหากไม่ได้ทำตามเงื่อนไขบิวตี้คอนเทส ก็ควรเพิกถอนใบอนุญาต สำหรับผู้ที่ได้รับ

ส่วนข้อเสนอต่อหน่วยงานที่จะขอรับใบอนุญาตนั้น ทางช่อง 5 ควรปรับผังรายการ , ช่อง 11 ก็ต้องวางกลไกรับเรื่องร้องเรียน ขณะที่ไทยพีบีเอส ต้องทบทวนดูว่ามีสิ่งใดที่ยังไม่ครบถ้วนก็ต้องพิจารณา

------

นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา

วันนี้มีการตีความที่ผิดเพี้ยนของกรรมการ กสทช.ทั้ง 11 คน คือ แยกกันทำหน้าที่ฝั่งละ 5 คน ระหว่างบอร์ดโทรคม และบอร์ดกระจายเสียง แต่เรื่องนี้มีคณะกรรมการเพียง 3 คน อนุมัติโดยยังไม่มีใครขอ ซึ่งต้องเป็นเรื่องที่ควรตรวจสอบว่าผิดกฏหมายหรือไม่ โดยคณะกรรมาธิการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคฯ จะเชิญ พันเอกนที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงฯ มาชี้แจงเร็วๆ นี้

สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการกระจายเสียงฯ ได้แบ่งชัดเจนเกี่ยวกับการประกอบกิจการ ซึ่งการที่ กสทช.จะพิจารณาอนุมัติให้ใบอนุญาต ก็ควรดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย รวมถึงพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ 2553 ซึ่ง กสทช.ถือเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ มีสิทธิ์ถูกตรวจสอบจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ตามกฎหมาย และจะโดนตรวจสอบทั้งคณะ 11 คน ไม่ใช่แค่คณะกรรมการชุดใดชุดหนึ่ง

การที่ กสทช.ไม่ได้กำหนดกติกา แต่อนุมัติคลื่นความถี่อย่างน้อย 4 คลื่น โดยยังไม่มีใครมาขอ เป็นที่น่าสังเกตว่าทางช่อง 5 นั้น แม้จะไม่สามารถตัดเรื่องช่องความมั่นคงออกไปได้ แต่จะมีช่องทางที่เหลืออยู่คือหากต้องการทำช่องธุรกิจ คือต้องเข้าประมูล แต่หากทำเป็นช่องเพื่อความมั่นคง จะเข้าข่ายต้องมีเนื้อหาสาระร้อยละ 70 ส่วนช่อง 11 ต้องเปลี่ยนไปสังกัดช่องรัฐที่ต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชน แต่กลับจัดอยู่ในกลุ่มสาธารณะ โดยเว้นในช่องความมั่นคง และช่องสร้างความเข้าใจของรัฐ

ส่วนช่องไทยพีบีเอส จะต้องทำตัวเองให้สมบูรณ์ก่อน โดยไม่เข้าใจว่า MOU จะอยู่เหนือกฎหมายได้อย่างไร ซึ่งไม่น่าจะเหนือกว่ากฎหมาย และไม่มีความจำเป็น

ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้น เห็นด้วยกับข้อเสนอของ น.ส.สุภิญญาในการนำข้อเสนอเข้าที่ประชุม 7 ข้อ นอกจากนี้ กสทช.ควรทำเงื่อนไขทุกกลุ่มให้ชัดเจน ทั้ง กลุ่มสาธารณะ,ธุรกิจ และชุมชน และควรทำประชาพิจารณ์ก่อนจะประกาศใช้ ซึ่งการตรวจสอบกสทช. สามารถทำได้ในช่องทางต่างๆ เช่น ส.ส.-สว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 หรือ ประชาชนล่ารายชื่อไม่น้อยกว่า 2 หมื่นคน รวมทั้งคณะกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบกสทช. 5 คน ทั้งหมดสามารถยื่นถอดถอน กรรมการ กสทช.ได้

“การที่เรามีตัวแทน กสทช.ซึ่งเป็นอิสระ และหวังให้เข้าไปปฏิรูปสื่อชัดเจน แต่ไม่อยากเห็นการตีความกฎหมายแบบตะแบง ต้องเดินตามเจตรนารมณ์ด้วย ไม่ใช่กฎหมายเขียนแค่นี้ก็ทำเท่านี้ อยากเห็นกรรมการคงความน่าเชื่อถือ เรามีปัญหาทางการเมืองมากอยู่แล้ว อย่าตะแบงตีความมาก และ กสทช.มีอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้มีแผนแม่บทต่างๆ และแผนความถี่ต่างๆ ทั้งหมด จะต้องลงไปสู่การปฏิบัติซึ่งเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงจะเกิดความลักลั่น โดยเฉพาะปัญหาวิทยุชุมชน ก็เป็นปัญหาใหญ่ แต่ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร และเห็นว่า กสทช.ควรแก้ไขและปรับปรุง”

-----

น.ส.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา (Media Monitor)

ในภาคผนวก ที่ กสทช.ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์นั้น มีข้อสังเกตว่า เมื่อ กสทช.มีอำนาจแล้ว สามารถทำข้อกฎหมายให้มีความชัดเจนมากขึ้นได้ แต่กสทช.กลับไม่ได้ดูกฎหมายเลย โดยการแยกช่องรายการทั้ง 12 ช่อง ไม่มีเนื้อหาที่มีความสำคัญและจำเป็นกับกลุ่มคนดูเฉพาะ หรือที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความรู้ กสทช.ไม่สามารถทำได้เลย

ทั้งนี้ มีเดียมอร์นิเตอร์ เคยได้ศึกษาเดือนมกราคมที่ผ่านมา พบว่า เนื้อหาเกณฑ์ช่องทีวีสาธารณะนั้น พบว่าช่อง 5 มีการเสนอเนื้อหาสาระร้อยละ 44 ,รายการมีเนื้อหาบันเทิงสูง ,ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงตามคำอธิบาย ซี่ง กสทช.ต้องทำหลักเกณฑ์ และต้องมีข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า ลักษณะการใช้คลื่นความถี่ และสภาพการประกอบกิจการของแต่ละสถานีเป็นอย่างไร ก่อนจะพิจารณาให้ใบอนุญาต

-----

นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

ประเด็นที่ตั้งข้อสังเกต คือการให้คลื่นความถี่ โดยไม่กำหนดหลักเกณฑ์ชัดเจน เพราะควรต้องรับฟังความเห็นสาธารณะ เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประชาชน รวมทั้งมีข้อกังวลว่าเป็นการยกคลื่นความถี่ให้หน่วยราชการ แม้พันเอกนที ชี้แจงไม่ได้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่อ้างว่าได้ดำเนินการตามกฎหมายที่กำหนดเรื่องบริการสาธารณะ แต่หากมีการกำหนดเช่นนี้ ก็ควรพิจารณาว่า ใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดหรือพิจารณาให้ใบอนุญาต ซึ่งการให้ใบอนุญาตเช่นนี้ ก็ไม่ต่างกับการที่จะมีช่อง 11 อีก 2 ช่อง

นอกจากนี้ ยังเห็นว่า ปัจจุบัน ช่อง 11 ไม่ได้ประกอบกิจการเองทั้งหมด แต่เปิดช่องให้บริษัทภายนอกเข้ามาร่วมผลิตรายการได้ แต่กฎหมายกำหนดว่าต้องเป็นผู้ประกอบกิจการเอง ซึ่งอนาคตเชื่อว่าจะต้องมีเอกชนไปรับจ้างผลิตกับหน่วยราชการที่เป็นเจ้าของช่องรายการ และเป็นที่ชัดเจนว่าไม่สามารถวิจารณ์ได้รอบด้าน ซี่งเจตนารมย์ของการปฏิรูปสื่อก็จะไม่เกิด ประเด็นเรื่องผังรายการ ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการกำหนดว่าผังรายการเป็นอย่างไร

สำหรับข้อเสนอแนะ หากบอร์ดกระจายเสียงฯ ยังเดินหน้ากำหนดเงื่อนไขในรูปแบบการล็อกเสปคอยู่ ก็จะมีโอกาสถูกฟ้องร้องในอนาคต จากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย คือ สถานีโทรทัศน์ที่ได้สัมปทานที่จะได้รับผลกระทบ เพราะส่วนแบ่งเม็ดเงินโฆษณาจะหายไป แต่ก็เชื่อว่ากลุ่มนี้ไม่กล้าจะไปฟ้อง และอนาคตจะยังสามารถถือครองส่วนแบ่งตลาดได้ ซี่งหากจะมีการฟ้องร้อง ก็ต้องรอไปจนถึงการเปิดให้ยื่นประมูลช่องดิจิตอลกลุ่มธุรกิจ


-----

นายบัณฑิต จันทร์ศรีคำ (แคน สาริกา) บรรณาธิการเนชั่นสุดสัปดาห์

ขณะนี้มีภาครัฐ ทำช่องรายการทีวีเองอยู่แล้วรวม 8 ช่อง และมีกระแสข่าวมีหลายหน่วยงานจะทำช่องทีวีเพิ่ม

ซึ่งทั้ง 8 ช่องที่ออกอากาศนั้น จะเห็นว่ามีเนื้อหาที่เกี่ยวกับหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องจับตาดูว่า ทีวีดิจิตอลช่องสาธารณะใหม่ ที่จะออกมาจะเป็นอย่างไร และมีแนวโน้มว่าการทำช่องสาธารณะใหม่ การผลิตรายการจะตกไปเป็นของกลุ่มที่มีอยู่ในแวดวงสื่อทั้งหลาย จะต้องไปเสนอตัวกับหน่วยงานรัฐดำเนินการเพื่อขอผลิตรายการให้แน่นอน

ที่ผ่านมาแม้จะเห็น กสทช.แจกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงไปบ้างแล้ว แต่ส่วนตัวก็ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้น มันขึ้นอยู่กับว่า ผู้เกี่ยวข้องจะดำเนินการอย่างไร

----

นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

สิ่งที่ กสทช.กำลังทำ เกิดการบิดเบือนเจตนารมณ์ของการปฏิรูปสื่อ จึงขอเรียกร้องให้ กสทช.ปรับท่าที แต่หากไม่เปลี่ยนก็อาจใช้ช่องทางฟ้องร้องทางกฎหมาย ตอนนี้ยังไม่สายไปหาก กสทช.จะคิดทบทวน หรือวางมาตรการเพิ่มเติมขึ้นมาจากสิ่งที่ให้ใบอนุญาตไปแล้ว หรือการเยียวยา เช่น การปรับผังรายการให้มีสัดส่วนเป็นไปตามที่กำหนด ซึ่งได้บอก พ.อ.นที ศุกลรัตน์ (รองประธาน กสทช.และประธาน กสท.) ว่า หากสิ่งใดที่ทำนอกเหนือจากสิ่งที่ปฏิรูปสื่อ คุณอาจโดนประณามจากสังคมได้

นี่คือ สิ่งที่เราส่งสัญญาณ แต่หากยังไม่มีทบทวน องค์กรวิชาชีพสื่อ จะร่วมกันกำหนดท่าที ผลักดันเรื่องนี้ต่อไป

-----



http://www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C/item/20333-nbtc-dtv.html


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.