Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 เมษายน 2556 (บทความ) กสทช. กับการให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอล // คิดเหมือนกัน ตัวใบอนุญาติยังติดปัญหา วิธีการตรวจสอบโฆษณาแฝง และรูปแบบรายการ


ประเด็นหลัก



คนที่ติดตามข่าวสักหน่อยจะพบว่าการจัดสรรใบอนุญาตของ กสทช. กับทีวีบริการสาธารณะ ยังมีปัญหาอีกหลายๆ จุด เช่น กระบวนการคัดสรรใช้หลักเกณฑ์อะไร วิธีการตรวจสอบโฆษณาแฝง รูปแบบของช่องรายการ ฯลฯ ซึ่งผมขอยังไม่ลงรายละเอียดในคอลัมน์ตอนนี้นะครับ เดี๋ยวจะซับซ้อนเกินไป

เดิมที กสทช. วางแผนว่าจะจัดสรรทีวีดิจิตอลสาธารณะช่วงกลางปีนี้ แต่อาจต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากมีเสียงวิจารณ์จากภาคส่วนต่างๆ มากมาย




_____________________________________



กสทช. กับการให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอล


คอลัมน์นี้เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมแนะนำว่า “ทีวีดิจิตอล” คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้างไปแล้ว สัปดาห์นี้จะมาอธิบายต่อว่า กสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลด้านกิจการทีวี จะจัดสรรคลื่นสำหรับทีวีดิจิตอลในบ้านเราอย่างไรครับ

อย่างแรกสุดเลยต้องอธิบายว่านอกจากความถี่สำหรับฟรีทีวีทั้ง 6 ช่องในปัจจุบันแล้ว ประเทศไทยยังเหลือ “ความถี่” สำหรับฟรีทีวีได้อีก 1 ย่าน ความถี่ย่านนี้นำไปใช้สำหรับทีวีแบบแอนะล็อกได้ 1 ช่องพอดี แต่ถ้านำไปใช้ทำทีวีดิจิตอลกลับมาสามารถใช้ได้ถึง 48 ช่อง ซึ่ง กสทช. จะนำความถี่ย่านนี้มาจัดสรรให้เกิดทีวีดิจิตอลในประเทศไทย

ตามแผนของ กสทช. แบ่งทีวีดิจิตอลออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ครับ
•    บริการธุรกิจ 24 ช่อง
•    บริการสาธารณะ 12 ช่อง
•    บริการชุมชน 12 ช่อง

รวมแล้ว 48 ช่องพอดี ส่วนรายละเอียดของแต่ละประเภทจะอธิบายต่อไปครับ

ทีวีบริการธุรกิจ

ทีวีกลุ่มนี้เหมือนกับฟรีทีวีที่เรารู้จักกันดีอย่างช่อง 3-5-7-9 ครับ เจ้าของเป็นหน่วยงานธุรกิจ เช่น บริษัทหรือรัฐวิสาหกิจ สามารถโฆษณาได้ตามปกติ ส่วนวิธีการจัดสรรใบอนุญาตของ กสทช. ระบุว่าต้องประมูลเท่านั้น
กสทช. ยังแยกย่อยทีวีกลุ่มบริการธุรกิจออกเป็นหมวดๆ ตามลักษณะของรายการ ได้แก่ ช่องเด็กและเยาวชน 3 ช่อง, ช่องข่าว 7 ช่อง, ช่องบันเทิงทั่วไป 7 ช่อง และช่องบันเทิงความละเอียดสูง (HD) 7 ช่อง
คาดว่า กสทช. จะจัดประมูลได้ภายในปีนี้ (น่าจะช่วงปลายปี) ส่วนบริษัทที่เข้าประมูลก็ชัดเจนว่าเป็นบริษัทสื่อ ผู้ผลิตรายการทีวีรายใหญ่ๆ ที่ไม่ใช่ช่อง 3-7-9 และส่วนใหญ่ก็ทำทีวีดาวเทียมอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น เนชั่น แกรมมี่ อาร์เอส กันตนา เวิร์คพอยต์ เป็นต้น

ทีวีบริการสาธารณะ

อันนี้เป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทย แนวคิดของมันจะคล้ายๆ “ทีวีสาธารณะ” แบบ Thai PBS แต่ไม่เหมือนซะทีเดียว (สังเกตคำว่า “บริการ” ที่เป็นจุดแตกต่าง) ทีวีกลุ่มนี้สามารถโฆษณาได้ “บางส่วน” เช่น โฆษณาข่าวสาร ข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานรัฐได้ หรือโฆษณาภาพลักษณ์องค์กรของบริษัทเอกชนได้ แต่ห้ามโฆษณาสินค้าและสรรพคุณของผลิตภัณฑ์

หน่วยงานที่มีสิทธิทำ “ทีวีบริการสาธารณะ” ได้แก่ หน่วยงานของรัฐบาลทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นกระทรวง กรม องค์การมหาชน หน่วยงานอิสระอื่นๆ (ยกเว้นรัฐวิสาหกิจที่ไปเข้าหมวดทีวีบริการธุรกิจ) มูลนิธิ สมาคม หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร และสุดท้ายคือสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา

กสทช. ไม่ใช้วิธีการประมูลแบบเดียวกับทีวีบริการธุรกิจ แต่ใช้วิธีให้องค์กรที่อยากได้คลื่นไปทำทีวีดิจิตอลยื่นใบสมัครเข้ามา แล้ว กสทช. จะคัดเลือกจากหน่วยงานที่มีคุณสมบัติและแผนงานเหมาะสม

คนที่ติดตามข่าวสักหน่อยจะพบว่าการจัดสรรใบอนุญาตของ กสทช. กับทีวีบริการสาธารณะ ยังมีปัญหาอีกหลายๆ จุด เช่น กระบวนการคัดสรรใช้หลักเกณฑ์อะไร วิธีการตรวจสอบโฆษณาแฝง รูปแบบของช่องรายการ ฯลฯ ซึ่งผมขอยังไม่ลงรายละเอียดในคอลัมน์ตอนนี้นะครับ เดี๋ยวจะซับซ้อนเกินไป

เดิมที กสทช. วางแผนว่าจะจัดสรรทีวีดิจิตอลสาธารณะช่วงกลางปีนี้ แต่อาจต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากมีเสียงวิจารณ์จากภาคส่วนต่างๆ มากมาย

ทีวีบริการชุมชน

กลุ่มสุดท้ายคือ “ทีวีบริการชุมชน” อันนี้ใช้แนวคิดใกล้เคียงกับ “วิทยุชุมชน” แต่เปลี่ยนรูปแบบของเนื้อหามาเป็นภาพและเสียงแทน

ทีวีชุมชนมีแนวคิดของ “ภูมิภาค” ซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อนในวงการทีวีของไทย อธิบายง่ายๆ ว่าเราจะเห็นทีวีแยกเป็นรายภาคหรือแยกตามกลุ่มจังหวัด โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายการทีวีที่เน้นกลุ่มผู้ชมเฉพาะภูมิภาค แทนรายการเดียวสำหรับผู้ชมทั้งประเทศ

ทีวีบริการชุมชนมีเงื่อนไขเข้มงวดกว่าทีวีบริการสาธารณะพอสมควร ผู้ที่มีสิทธิขอใบอนุญาตต้องเป็นมูลนิธิ-สมาคมตามแต่ละภูมิภาคเท่านั้น แถมห้ามมีโฆษณาเลย ต้องอาศัยเงินบริจาคจากผู้ชมหรือเงินสนับสนุนจาก กสทช. เป็นบางส่วนแทน ส่วนวิธีการคัดเลือกก็คล้ายกับทีวีบริการสาธารณะคือ กสทช. จะคัดเลือกจากใบสมัครของหน่วยงานที่ยื่นเข้ามาขอ

แผนการของ กสทช. เก็บทีวีบริการชุมชนไว้แจกทีหลังสุด ซึ่งเราน่าจะเห็นกระบวนการจัดสรรคลื่นให้ทีวีบริการชุมชน หลังจากที่ กสทช. จัดสรรคลื่นให้ทีวีบริการธุรกิจและบริการสาธารณะเรียบร้อยแล้ว (น่าจะต้องรอถึงปีหน้าเลย)

หวังว่าเนื้อหาในคอลัมน์ตอนนี้ (และตอนที่แล้ว) น่าจะช่วยให้คุณผู้อ่านเห็นภาพเรื่องทีวีดิจิตอล และกระบวนการจัดสรรใบอนุญาตของ กสทช. มากขึ้นนะครับ


มาร์ค Blognone



โดย: มาร์ค Blognone
http://m.thairath.co.th/content/tech/337878

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.