Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 เมษายน 2556 (แก้ CAT TRUEผ่านไป282วันแล้ว) TRUE H ขอเช่าใช้โครงข่าย CAT เพิ่มขึ้นจากเดิม 80% รองรับลูกค้า13.33 ล้านราย เป็น 97% ส่วนที่เหลือ MY บริหารเอง


ประเด็นที่เกี่ยวข้อง



นายกิตติศักดิ์ กล่าวต่อว่า การทำสัญญากับกลุ่มทรูเมื่อวันที่ 27 ม.ค.2554 ที่ผ่านมา แต่ กสท ไม่สามารถรับรู้รายได้จากการทำสัญญาดังกล่าวได้เนื่องจากต้องรอ ครม.อนุมัติงบประมาณการลงทุนของ กสท ก่อน หาก ครม.อนุมัติ กสท จะสามารถรับรู้รายได้จากการทำสัญญาดังกล่าวคิดเป็นเงิน 25,000 ล้านบาท และเมื่อหักค่าเช่าใช้โครงข่ายของบีเอฟเคทีค่าเลขหมาย ค่าเชื่อมต่อโครงข่ายแล้ว กสท จะมีรายได้สุทธิ 4,200 ล้านบาท และรายได้จากสัญญา 3จี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ กลุ่มทรู ได้ขอเช่าใช้โครงข่ายเพิ่มขึ้นจากเดิม 80% เป็น 97% เนื่องจากผู้บริโภคต้องการใช้บริการ 3จี เพิ่มขึ้น ปัจจุบันกลุ่มทรูมีลูกค้า 3จี ประมาณ 3 ล้านเลขหมาย และส่วนที่เหลือ 3% ของโครงข่าย เป็นการให้บริการของ กสท ภายใต้แบรนด์ "มาย" มีลูกค้า 200,000 เลขหมาย โดยการเพิ่มสัดส่วนให้กับกลุ่มทรูนั้นเนื่องจากเป็นความจุโครงข่ายที่เหลือ และไม่มีการใช้งาน ฉะนั้น กสท ควรสร้างรายได้จากความจุโครงข่ายที่เหลือดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการใช้โครงข่ายนั้นมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้บริโภค หากลูกค้า กสท เพิ่มขึ้นก็เพิ่มสัดส่วนการใช้โครงข่ายได้ และหากกลุ่มทรูต้องการปรับลดลงก็สามารถทำได้ เพราะเป็นสัญญาแบบยืดหยุ่น ขณะเดียวกัน กสท และกลุ่มทรูก็ต้องมีการขยายโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีสถานีฐาน 13,500 สถานีฐานรองรับการใช้บริการลูกค้าได้ 6 ล้านเลขหมาย.











4 เมษายน 2556 (แก้ CAT TRUEผ่านไป278วันแล้ว) กทค.เตรียมฟ้อกผิด TRUE H (BFTK) พรุ่งนี้++ล่าสุดจากรายงานพบ!!BFTKผิดแต่ไม่เจตนา


ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. รายงานว่าได้พิจารณาทบทวนบันทึกความเข้าใจของคู่สัญญาแล้ว พบว่า แนวการแก้ไขสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมที่คู่สัญญาตกลงกันยังไม่ชัดเจนว่า บมจ. กสท จะมีสิทธิในการควบคุมสิทธิการใช้งานเครื่องและอุปกรณ์ของบริษัทบีเอฟเคทีอย่างสมบูรณ์ผ่าน Network Operation Center (NOC) เนื่องจากร่างสัญญาแก้ไขยังคงให้สิทธิแก่บริษัทบีเอฟเคทีสามารถปฏิบัติงานกับเครื่องและอุปกรณ์ได้ ส่วนตามสัญญาบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ HSPA คู่สัญญาได้ตกลงให้ข้อผูกพันการรับซื้อความจุสามารถรองรับผู้ใช้บริการจำลองของ บจ. เรียล มูฟ ได้ทั้งสิ้นกว่า 13.33 ล้านราย หรือใช้ความจุได้ถึงร้อยละ 80 ซึ่งทำให้การกำหนดความจุตามสัญญาดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ดังนั้นสำนักงาน กสทช. จึงเห็นว่าเงื่อนไขของข้อสัญญายังไม่ชัดเจนว่าสอดคล้องและเป็นไปตามมติ กทค.


http://somagawn.blogspot.com/2013/04/4-2556-cat-true278-true-h-bftk-bftk.html







___________________________________________







กสทคาดรายได้โปรเจ็ค3จีทรู2.5หมื่นล้าน

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


กสท ระบุปีนี้รับรู้รายได้โครงการ3จีเอชเอสพีเอคู่ทรูมูฟ เอช 2.5 หมื่นล้าน แต่รับเงินจริง 17% ตามสัดส่วนขายส่งขายต่อบริการสุทธิ 4.2 พันล้าน


นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสิรฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า ปี 2556 กสท จะรับรู้รายได้จากธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่ทำสัญญาร่วมกับบมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น ในโครงการโทรศัพท์มือถือ 3จีเอชเอสพีเอ บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ อายุ 14.5 ปีที่ลงนามในสัญญาไปเมื่อวันที่ 27 ม.ค.2554

ปีนี้จะรับรู้รายได้ราว 25,000 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มทรูจะได้สิทธิเป็นผู้ทำตลาดแบบขายส่ง (โฮลเซล) บนโครงข่ายที่บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) เป็นผู้สร้างขึ้นตามความต้องการของ กสท ซึ่งในสัญญาระบุให้ทรูได้สิทธิในความจุโครงข่ายทั้งหมด (คาปาซิตี้) จำนวน 80%

ส่วนของ กสท จะรับรู้รายได้จริงที่เข้าบริษัทคือตามสัดส่วนสัญญา 23% แต่เมื่อหักค่าเช่าอุปกรณ์ และการจ่ายค่าเช่าให้กับบีเอฟเคทีจะเหลือรายได้ 17% คิดเป็น 4,250 ล้านบาท ซึ่งเป็นการรับรู้รายได้ทางบัญชี แต่ในโครงการดังกล่าวการรับรู้รายได้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการจ่ายเช่าให้แก่บีเอฟเคที ซึ่ง กสท ได้ทำเรื่องขออนุมัติวงเงินงบประมาณไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ด้วย

ดังนั้น การรับรู้รายได้จะเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป ซึ่งจะเหลือสุดท้ายเข้า กสท ราว 2,500-3,300 ล้านบาท ส่วนรายได้รวมของ กสท ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 40,000-43,000 ล้านบาท

การสร้างเสาโทรคมนาคม และสถานีฐานตามสัญญา 3จีร่วมกับทรูดังกล่าว มีเป้าหมายสร้างสถานีฐานจำนวน 13,500 แห่ง ซึ่งปัจจุบันทรูระบุว่า ทรูมูฟ เอชที่ให้่บริการ 3จีแก่ลูกค้าบนโครงข่ายดังกล่าวนี้มีจำนวนสถานีแล้ว 12,000 แห่ง โดยบนโครงข่ายทั้งหมดจระรองรับลูกค้าได้ 16 ล้านเลขหมาย

ทั้งนี้ สอดคล้องกับจำนวนลูกค้าในระบบ 2จีเดิมที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานของทรูมูฟเดือนก.ย.นี้ ซึ่งขณะนี้ทรูมูฟ เอชมีลูกค้า 3จีแล้วจำนวน 3 ล้านราย แต่ก็ได้ให้ กสท เป็นผู้ขอจัดสรรเลขหมายต่อคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ล่าสุด 16.25 ล้านเลขหมาย เพื่อโอนย้ายลูกค้า (ไมเกรท) จากสัมปทาน 2จีมายังทรูมูฟ เอช

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130411/499923/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0
%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%
89%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%843%E0%B8%88%E0
%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B92.5%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8
%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.html

_________________________________


"ทรู" ถึงฝั่งปลดล็อกสัญญา 3 จี กสท ชงครม.ของบลงทุน 29,000 ล้านปูทางให้



นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การแก้ไขสัญญาการทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่เพื่อให้บริการ 3 จี บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิตรซ์ (MHz) ด้วยเทคโนโลยีเอชเอสพีเอ กับกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีความคืบหน้าไปมาก คาดว่าภายในเดือน มิ.ย.-ก.ค.นี้จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินการภายใต้สัญญา 3 จีมากยิ่งขึ้น โดยภายในสิ้นเดือน เม.ย.นี้ กสท จะนำส่งรายละเอียดโครงการลงทุนเกี่ยวกับเอชเอสพีเอทั้งหมด ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อพิจารณาและนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป

“ขั้นตอนต่อไป กสท ในฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจจะเสนอขออนุมัติงบประมาณการลงทุนจาก ครม. เพื่อดำเนินการภายใต้สัญญา 3 จีระหว่างทรูกับ กสท วงเงิน 29,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนระบบไฟเบอร์ออฟติก 15,000 ล้านบาท และการจ่ายค่าเช่าโครงข่ายให้กับบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทในเครือกลุ่มทรู วงเงิน 14,000 ล้านบาท”

นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า การทำสัญญากับกลุ่มทรูเมื่อวันที่ 27 ม.ค.2554 ที่ผ่านมานั้น กสท ไม่สามารถรับรู้รายได้จากการทำสัญญาดังกล่าวได้  เนื่องจากต้องรอ ครม.อนุมัติงบประมาณการลงทุนของ กสท ก่อน หาก ครม.อนุมัติ กสท จะสามารถรับรู้รายได้จากการทำสัญญาดังกล่าวคิดเป็นเงิน  25,000 ล้านบาท และเมื่อหักค่าเช่าใช้โครงข่ายของบีเอฟเคที  ค่าเลขหมาย  ค่าเชื่อมต่อโครงข่ายแล้ว กสท จะมีรายได้สุทธิ 4,200 ล้านบาท

และรายได้จากสัญญา 3 จี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มทรูได้ขอเช่าใช้โครงข่ายเพิ่มขึ้นจากเดิม 80% เป็น 97% เนื่องจากผู้บริโภคต้องการใช้บริการ 3 จี เพิ่มขึ้น ปัจจุบันกลุ่มทรูมีลูกค้า 3 จี ประมาณ 3 ล้านเลขหมาย ส่วนที่เหลือ 3% ของความจุโครงข่าย เป็นการให้บริการของ กสท ภายใต้แบรนด์ “มาย” มีลูกค้า 200,000 เลขหมาย โดยการเพิ่มสัดส่วนให้กับกลุ่มทรูนั้น เนื่องจากเป็นความจุโครงข่ายที่เหลือ และไม่มีการใช้งาน ฉะนั้น กสท ควรสร้างรายได้จากความจุโครงข่ายที่เหลือ.

โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
http://m.thairath.co.th/content/eco/338177


________________________________________________________


'กสท'ยิ้มแฉ่ง หวังสัญญา3จี ทรู ช่วยเพิ่มรายได้


“กสท” จ่อชง” ไอซีที-สศช.-ครม.” ปลดล็อกสัญญา 3จีทรู หวังสร้างรายได้และความชัดเจนในการทำธุรกิจ...

นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวว่า การแก้ไขสัญญาการทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่เพื่อให้บริการ 3จี บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิตรซ์ (MHz) ด้วยเทคโนโลยีเอชเอสพีเอ กับกลุ่มบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีความคืบหน้าไปมาก คาดว่าภายในเดือน มิ.ย.-ก.ค.ปีนี้จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินการภายใต้สัญญา 3จี ทรู-กสท มากยิ่งขึ้น โดยภายในสิ้นเดือน เม.ย.นี้ กสท จะนำส่งรายละเอียดโครงการลงทุนเกี่ยวกับเอชเอสพีเอทั้งหมดให้กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อพิจารณาและนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป

“การเจรากับกลุ่มทรู ถือว่าสำเร็จสมบูรณ์แล้วโดยเจรจาตามกรอบที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติแก้ไขและขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอขออนุมัติงบประมาณตามกระบวนการ ที่ถูกต้องตามขั้นตอนของรัฐวิสาหกิจเท่านั้นโดย กสท ได้เสนอขออนุมัติงบประมาณ เพื่อดำเนินการภายใต้สัญญาดังกล่าว วงเงิน 29,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนระบบไฟเบอร์ออฟติก 15,000 ล้านบาท และการจ่ายค่าเช่าโครงข่ายให้กับบริษัทบีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทในเครือกลุ่มทรู วงเงิน 14,000 ล้านบาท” กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าว

นายกิตติศักดิ์ กล่าวต่อว่า การทำสัญญากับกลุ่มทรูเมื่อวันที่ 27 ม.ค.2554 ที่ผ่านมา แต่ กสท ไม่สามารถรับรู้รายได้จากการทำสัญญาดังกล่าวได้เนื่องจากต้องรอ ครม.อนุมัติงบประมาณการลงทุนของ กสท ก่อน หาก ครม.อนุมัติ กสท จะสามารถรับรู้รายได้จากการทำสัญญาดังกล่าวคิดเป็นเงิน 25,000 ล้านบาท และเมื่อหักค่าเช่าใช้โครงข่ายของบีเอฟเคทีค่าเลขหมาย ค่าเชื่อมต่อโครงข่ายแล้ว กสท จะมีรายได้สุทธิ 4,200 ล้านบาท และรายได้จากสัญญา 3จี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ กลุ่มทรู ได้ขอเช่าใช้โครงข่ายเพิ่มขึ้นจากเดิม 80% เป็น 97% เนื่องจากผู้บริโภคต้องการใช้บริการ 3จี เพิ่มขึ้น ปัจจุบันกลุ่มทรูมีลูกค้า 3จี ประมาณ 3 ล้านเลขหมาย และส่วนที่เหลือ 3% ของโครงข่าย เป็นการให้บริการของ กสท ภายใต้แบรนด์ "มาย" มีลูกค้า 200,000 เลขหมาย โดยการเพิ่มสัดส่วนให้กับกลุ่มทรูนั้นเนื่องจากเป็นความจุโครงข่ายที่เหลือ และไม่มีการใช้งาน ฉะนั้น กสท ควรสร้างรายได้จากความจุโครงข่ายที่เหลือดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการใช้โครงข่ายนั้นมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้บริโภค หากลูกค้า กสท เพิ่มขึ้นก็เพิ่มสัดส่วนการใช้โครงข่ายได้ และหากกลุ่มทรูต้องการปรับลดลงก็สามารถทำได้ เพราะเป็นสัญญาแบบยืดหยุ่น ขณะเดียวกัน กสท และกลุ่มทรูก็ต้องมีการขยายโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีสถานีฐาน 13,500 สถานีฐานรองรับการใช้บริการลูกค้าได้ 6 ล้านเลขหมาย.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/338262



ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.