Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 เมษายน 2556 ( เร่งแก้ปัญหาร้องเรียน ) ประชุม กทค.มีมติเห็นชอบ ให้มีการปรับปรุงใน 8 ประเด็นหลักๆ ( ก่อน 3G เต็มรูปแบบมา )


ประเด็นหลัก




ดยร่างระเบียบฯที่ยกร่างขึ้นมาใหม่นี้เป็นไปตามกรอบของที่ประชุม กทค.มีมติเห็นชอบ ให้มีการปรับปรุงใน 8 ประเด็นหลักๆ อาทิ  ปรับปรุงขั้นตอนการยื่นเรื่องร้องเรียน และลดความยุ่งยากในเรื่องเอกสารประกอบการยื่นเรื่องร้องเรียน ปรับปรุงขั้นตอนการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของสำนักงาน กสทช. ปรับปรุงขั้นตอนการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนโดยกำหนดหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตฯให้มีความชัดเจนในการชี้แจงข้อเท็จจริงรวมทั้งส่งพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเรื่องร้องเรียนภายในระยะเวลาที่กำหนด

รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างกลไกรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนกับกลไกไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตามระเบียบ กสทช.ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและผู้ร้องเรียน พ.ศ. 2555   ปรับปรุงขั้นตอนการไต่สวนข้อเท็จจริงของสำนักงาน กสทช.ให้เกิดความชัดเจน ในการแสวงหาข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณา ตรวจสอบและแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอความเห็นต่อที่ประชุม กทค. เพื่อพิจารณา 
                 
อีกทั้งยังมีการ แบ่งประเภทเรื่องร้องเรียนเป็นประเภทๆ โดยให้มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับประเภทของเรื่องร้องเรียนที่สำนักงาน กสทช.สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ตามอำนาจหน้าที่ภายใต้มาตรา 57 (4) แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553  และกำหนดประเภทของเรื่องร้องเรียนที่เห็นควรให้เสนอคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมเพื่อกลั่นกรองก่อนเสนอ กทค. พิจารณา    และมีการปรับปรุงการแจ้งมติที่ประชุม กทค. ให้ผู้ร้องเรียนทราบ โดยต้องระบุเหตุผลตามรูปแบบที่กำหนดให้เกิดความชัดเจน

สำหรับความจำเป็นในการแก้ไขปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่องกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนฯ นั้น สืบเนื่องมาจากประกาศดังกล่าวมีการบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2549  ก่อนที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 จะมีผลใช้บังคับ ทำให้เกิดปัญหาความไม่ชัดเจนในขั้นตอนการปฎิบัติของสำนักงาน กสทช. โดยไม่ได้วางกรอบแนวทางหรือขั้นตอนการปฎิบัติที่ชัดเจนแก่ผู้ปฎิบัติ รวมทั้งไม่ได้กำหนดระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังไม่ได้กำหนดขอบเขตการปฎิบัติหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. และคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมให้ชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาการปฎิบัติหน้าที่ซ้ำซ้อนกัน
              







_____________________________________




ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ พลิกโฉมกลไกรับเรื่องร้องเรียน รับมือข้อพิพาทบริการ3Gส่อพุ่ง

เมื่อมีการให้บริการ 3G เต็มรูปแบบ ดังนั้นหากไม่มีกลไกรองรับที่มีประสิทธิภาพดีพอ ก็จะส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองผู้บริโภค




ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ค จำกัด, บริษัท ดีแทค เนทเวิร์ค จำกัด  และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ประกาศให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz  ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม2556 เป็นต้นไป ขณะที่หลายฝ่ายเชื่อว่าข้อพิพาทระหว่างผู้ให้บริการกับผู้บริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทาง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะรับมือปัญหานี้อย่างไร
               
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ  กสทช. ด้านกฎหมาย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการและปรับปรุงกฎหมายและระเบียบด้านโทรคมนาคม มีคำตอบในประเด็นนี้ โดยยืนยันว่า กสทช.มีการเตรียมการรับมือเรื่องนี้ไว้แล้วด้วยการ ร่างระเบียบ กสทช. ว่า ด้วยกระบวนการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการโทรคมนาคม พ.ศ....  เพื่อจะได้รองรับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีการให้บริการ 3G เต็มรูปแบบ ซึ่งเชื่อว่าจะมีปริมาณมาก ดังนั้นหากไม่มีกลไกรองรับที่มีประสิทธิภาพดีพอ ก็จะส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองผู้บริโภค
             
โดยก่อนหน้านี้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการฯได้พิจารณาร่างระเบียบ กสทช. ว่า ด้วยกระบวนการรับ และพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการโทรคมนาคม พ.ศ....  ตามที่กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และกลุ่มงานกฎหมายโทรคมนาคม  ทำการยกร่างเพื่อแก้ไขปรับปรุง ประกาศ กทช. เรื่องกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน และพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ
          
ขณะที่ คณะอนุกรรมการบูรณาการฯได้เห็นชอบร่างดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมเสนอต่อประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.)ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม กทค.
              
โดยร่างระเบียบฯที่ยกร่างขึ้นมาใหม่นี้เป็นไปตามกรอบของที่ประชุม กทค.มีมติเห็นชอบ ให้มีการปรับปรุงใน 8 ประเด็นหลักๆ อาทิ  ปรับปรุงขั้นตอนการยื่นเรื่องร้องเรียน และลดความยุ่งยากในเรื่องเอกสารประกอบการยื่นเรื่องร้องเรียน ปรับปรุงขั้นตอนการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของสำนักงาน กสทช. ปรับปรุงขั้นตอนการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนโดยกำหนดหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตฯให้มีความชัดเจนในการชี้แจงข้อเท็จจริงรวมทั้งส่งพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเรื่องร้องเรียนภายในระยะเวลาที่กำหนด

รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างกลไกรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนกับกลไกไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตามระเบียบ กสทช.ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและผู้ร้องเรียน พ.ศ. 2555   ปรับปรุงขั้นตอนการไต่สวนข้อเท็จจริงของสำนักงาน กสทช.ให้เกิดความชัดเจน ในการแสวงหาข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณา ตรวจสอบและแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอความเห็นต่อที่ประชุม กทค. เพื่อพิจารณา 
                 
อีกทั้งยังมีการ แบ่งประเภทเรื่องร้องเรียนเป็นประเภทๆ โดยให้มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับประเภทของเรื่องร้องเรียนที่สำนักงาน กสทช.สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ตามอำนาจหน้าที่ภายใต้มาตรา 57 (4) แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553  และกำหนดประเภทของเรื่องร้องเรียนที่เห็นควรให้เสนอคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมเพื่อกลั่นกรองก่อนเสนอ กทค. พิจารณา    และมีการปรับปรุงการแจ้งมติที่ประชุม กทค. ให้ผู้ร้องเรียนทราบ โดยต้องระบุเหตุผลตามรูปแบบที่กำหนดให้เกิดความชัดเจน

สำหรับความจำเป็นในการแก้ไขปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่องกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนฯ นั้น สืบเนื่องมาจากประกาศดังกล่าวมีการบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2549  ก่อนที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 จะมีผลใช้บังคับ ทำให้เกิดปัญหาความไม่ชัดเจนในขั้นตอนการปฎิบัติของสำนักงาน กสทช. โดยไม่ได้วางกรอบแนวทางหรือขั้นตอนการปฎิบัติที่ชัดเจนแก่ผู้ปฎิบัติ รวมทั้งไม่ได้กำหนดระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังไม่ได้กำหนดขอบเขตการปฎิบัติหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. และคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมให้ชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาการปฎิบัติหน้าที่ซ้ำซ้อนกัน
              
นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาในการยื่นเอกสารข้อร้องเรียนว่า ระบุไว้ไม่ชัดเจนและมีรายการที่มากเกินไป ทำให้เกิดความไม่สะดวกแก่ผู้ร้องเรียน ฯลฯ
                   
ที่สำคัญสามารถทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. และคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจน กสทช.และกทค.ให้มีแนวทางการปฎิบัติและกรอบการพิจารณาการใช้อำนาจตามกฎหมายอย่างถูกต้อง  อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องเรียนหรือผู้บริโภคที่จะได้รับการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมต่อการใช้บริการโทรคมนาคม
 
กสทช.จำเป็นต้องเร่งให้มีการบังคับใช้ระเบียบดังกล่าวโดยเร็วเพื่อจะได้รองรับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีการให้บริการ 3G เต็มรูปแบบ เชื่อว่าจะมีปริมาณมาก ดังนั้นหากไม่มีกลไกรองรับที่มีประสิทธิภาพดีพอ ก็จะส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองผู้บริโภค การออกระเบียบในครั้งนี้ถือเป็นแนวคิดใหม่ที่จะพลิกโฉมหน้าการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนมือถือให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคอย่างแท้จริงดร.สุทธิพล ย้ำในตอนท้าย

http://www.naewna.com/business/48429

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.