Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 เมษยน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) TOSHIBA ไทยเดินหน้า เป็นเทคโนโลยีเป็น LCD FULL HD // LG เชื่อ TV จะโตอีก10% ทั้งในเชิงยูนิตและมูลค่า จากปีที่แล้วจำนวน 3 ล้านเครื่อง หรือคิดเป็นมูลค่า 3.3-3.4 หมื่นล้านบาท

ประเด็นหลัก

นายถกล นิยมไทย ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายขาย การตลาดและบริการ บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่าทิศทางการผลิตจอภาพในปัจจุบันจะเป็นรูปแบบ "แอลซีดี ฟูลเอชดี" สอดคล้องกับค่ายผู้ผลิตคอนเทนท์ทั้งในและต่างประเทศที่ปรับระบบการผลิตรายการระบบเอชดีเพิ่มขึ้น เชื่อว่าจอภาพแอลอีดียังคงอยู่ในตลาดไปอีก 5-10 ปี

ปัจจุบันค่ายผู้ผลิตทีวีพยายามปรับกระบวนการผลิตจากจอแอลซีดีเป็นจอแอลอีดี และจอแอลอีดี ฟูลเอชดี ให้ครอบคลุมทั้งตลาด หลังจากนั้นจะขยับสู่จอภาพที่สมบูรณ์แบบกว่า หรือ โอแอลอีดี (organic light emitting diodes) ที่มีขนาดบาง ประหยัดพลังงาน และสามารถเคลือบติดบนพื้นผิวหรือดีไวซ์ต่างๆ ที่จะเข้ามาทดแทนจอภาพแอลอีดีในอนาคต

นายอลงกรณ์ ชูจิตร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าผู้ผลิตจอภาพจะต้องปรับตัวตามเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงการส่งสัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัลในประเทศไทย โดยในช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย.นี้ จะยกเลิกไลน์การผลิตแอลซีดีทีวี โดยมุ่งพัฒนาระบบจอภาพ "แอลอีดี ฟูลเอชดี" เพื่อรองรับการออกอากาศทีวีดิจิทัลที่จะมีการจัดสรรช่องรายการใหม่ในปีนี้

ภาพรวมอุตสาหกรรมจอทีวีในปีที่ผ่านมามีจำนวน 3 ล้านเครื่อง หรือคิดเป็นมูลค่า 3.3-3.4 หมื่นล้านบาท คาดว่าตลาดรวมปีนี้จะเติบโต 10% ทั้งในเชิงยูนิตและมูลค่า อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการแข่งขันในปีนี้ จะเน้นที่ฟังก์ชั่นการใช้งานโดยเฉพาะเทคโนโลยี 3D รวมถึงคอนเทนท์ใหม่ ที่บรรจุอยู่ในสมาร์ททีวี

ด้านนายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ รองเลขาธิการกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าจากแผนการขยายโครงข่ายส่งสัญญาณทีวีดิจิทัล ของ กสทช. ที่กำหนดระยะเวลาเข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศภายใน 4ปี และการจัดสรรทีวีดิจิทัลใหม่ 48 ช่อง จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมจอทีวีกลุ่มจอแบนทุกประเภท ทั้งแอลซีดี ,แอลอีดี และพลาสมาทีวี ที่ติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ DVB-T2 สำหรับการรับสัญญาณทีวีดิจิทัลในประเทศไทยให้ขยายตัวสูง จากปกติที่มียอดขายปีละ 2 ล้านเครื่อง

นอกจากนี้กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์จอแบนที่อยู่ในครัวเรือนไทยอยู่แล้ว จะซื้ออุปกรณ์กล่องรับสัญญาณ (Set top box)ไปติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อรับชมทีวีดิจิทัล ซึ่งขณะนี้ช่องฟรีทีวีอนาล็อก ทั้ง 6 ช่อง กำลังอยู่ระหว่างการทดลองออกอากาศระบบดิจิทัล โดยผู้ประกอบการที่ผลิตกล่องรับสัญญาณในประเทศไทยมีความพร้อมด้านการผลิตและจัดจำหน่าย โดยมีราคาเฉลี่ยที่กล่องละ 1,500 บาท











________________________________________




ผู้ผลิต'แอลอีดี'เกาะเทรนด์'ทีวีดิจิทัล'เอชดีบูม

โดย : เมธาวี ตันเรืองเวชจรูญ


ผู้ผลิตโทรทัศน์ปรับทิศตลาดจอภาพ เกาะกระแส กสทช. จัดสรรทีวีดิจิทัล 48 ช่องใหม่ ลุยผลิต-ทำตลาด "แอลซีดี ฟูลเอชดี"


ภายใต้โรดแมพ "โก ดิจิทัล" การส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตโครงข่าย ขยายพื้นที่การส่งสัญญาณ "ทีวีดิจิทัล" ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศให้ได้ 95% ภายใน 4 ปี เพื่อกระตุ้นให้ภาครับ จำนวน 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศไทยเข้าถึงการรับชมทีวีดิจิทัลใหม่ 48 ช่อง ที่จะเริ่มจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ในปีนี้

จากการกำหนดสัดส่วนประเภท "ช่องรายการ" ในกลุ่มทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจ 24 ช่องใหม่ โดยเพิ่มช่องรายการความคมชัดสูง (high definition :HD) จากเดิม 4 ช่อง เป็น 7 ช่อง ขณะที่ประเภท ทีวีดิจิทัล ประเภทสาธารณะ ที่มีจำนวน 12 ช่อง กสทช.จะกำหนดให้มีช่องเอชดีเพิ่มขึ้นเช่นกัน

แนวโน้มการจัดสรรทีวีดิจิทัล ประเภทช่องเอชดีเพิ่ม ถือเป็นแนวโน้มเทคโนโลยี การรับชมช่องรายการคุณภาพสูง ที่เป็นอีกจุดเด่นของ "ทีวีดิจิทัล" จากแพลตฟอร์มอื่นๆ ในปัจจุบัน ส่งผลให้ค่ายผู้ผลิต "เครื่องรับโทรทัศน์"
ต้องพัฒนาระบบจอภาพให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการรับชมทีวี

นายถกล นิยมไทย ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายขาย การตลาดและบริการ บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่าทิศทางการผลิตจอภาพในปัจจุบันจะเป็นรูปแบบ "แอลซีดี ฟูลเอชดี" สอดคล้องกับค่ายผู้ผลิตคอนเทนท์ทั้งในและต่างประเทศที่ปรับระบบการผลิตรายการระบบเอชดีเพิ่มขึ้น เชื่อว่าจอภาพแอลอีดียังคงอยู่ในตลาดไปอีก 5-10 ปี

ปัจจุบันค่ายผู้ผลิตทีวีพยายามปรับกระบวนการผลิตจากจอแอลซีดีเป็นจอแอลอีดี และจอแอลอีดี ฟูลเอชดี ให้ครอบคลุมทั้งตลาด หลังจากนั้นจะขยับสู่จอภาพที่สมบูรณ์แบบกว่า หรือ โอแอลอีดี (organic light emitting diodes) ที่มีขนาดบาง ประหยัดพลังงาน และสามารถเคลือบติดบนพื้นผิวหรือดีไวซ์ต่างๆ ที่จะเข้ามาทดแทนจอภาพแอลอีดีในอนาคต

นายอลงกรณ์ ชูจิตร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าผู้ผลิตจอภาพจะต้องปรับตัวตามเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงการส่งสัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัลในประเทศไทย โดยในช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย.นี้ จะยกเลิกไลน์การผลิตแอลซีดีทีวี โดยมุ่งพัฒนาระบบจอภาพ "แอลอีดี ฟูลเอชดี" เพื่อรองรับการออกอากาศทีวีดิจิทัลที่จะมีการจัดสรรช่องรายการใหม่ในปีนี้

ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปีนี้จะทยอยเปลี่ยนโมเดลใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด และในช่วงไตรมาส 3 จะมีกลุ่มสินค้าแอลอีดีทีวี เข้ามาทำตลาดรวมกว่า 40 รุ่น ขณะที่พฤติกรรมการเลือกซื้อทีวีของคนไทยนิยมจอภาพขนาด 32 นิ้ว ซึ่งมีสัดส่วน 50% ,ขนาด 42-47 นิ้ว สัดส่วน 30% และที่เหลืออีก 20% ขนาด 47 นิ้วขึ้นไป

ภาพรวมอุตสาหกรรมจอทีวีในปีที่ผ่านมามีจำนวน 3 ล้านเครื่อง หรือคิดเป็นมูลค่า 3.3-3.4 หมื่นล้านบาท คาดว่าตลาดรวมปีนี้จะเติบโต 10% ทั้งในเชิงยูนิตและมูลค่า อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการแข่งขันในปีนี้ จะเน้นที่ฟังก์ชั่นการใช้งานโดยเฉพาะเทคโนโลยี 3D รวมถึงคอนเทนท์ใหม่ ที่บรรจุอยู่ในสมาร์ททีวี

ด้านนายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ รองเลขาธิการกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าจากแผนการขยายโครงข่ายส่งสัญญาณทีวีดิจิทัล ของ กสทช. ที่กำหนดระยะเวลาเข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศภายใน 4ปี และการจัดสรรทีวีดิจิทัลใหม่ 48 ช่อง จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมจอทีวีกลุ่มจอแบนทุกประเภท ทั้งแอลซีดี ,แอลอีดี และพลาสมาทีวี ที่ติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ DVB-T2 สำหรับการรับสัญญาณทีวีดิจิทัลในประเทศไทยให้ขยายตัวสูง จากปกติที่มียอดขายปีละ 2 ล้านเครื่อง

นอกจากนี้กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์จอแบนที่อยู่ในครัวเรือนไทยอยู่แล้ว จะซื้ออุปกรณ์กล่องรับสัญญาณ (Set top box)ไปติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อรับชมทีวีดิจิทัล ซึ่งขณะนี้ช่องฟรีทีวีอนาล็อก ทั้ง 6 ช่อง กำลังอยู่ระหว่างการทดลองออกอากาศระบบดิจิทัล โดยผู้ประกอบการที่ผลิตกล่องรับสัญญาณในประเทศไทยมีความพร้อมด้านการผลิตและจัดจำหน่าย โดยมีราคาเฉลี่ยที่กล่องละ 1,500 บาท

จากทิศทางดังกล่าวคาดว่าในช่วง 4 ปี ของการเปลี่ยนสู่การส่งสัญญาณทีวีดิจิทัล ให้ครอบคลุม 22 ล้านครัวเรือนไทยทั่วประเทศ จะทำให้มีเม็ดเงินสะพัดในอุตสาหกรรมจอโทรทัศน์จากการซื้อเครื่องรับระบบทีวีดิจิทัล และกล่องรับสัญญาณมูลค่ากว่า 4-5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันครัวเรือนไทยทั่วประเทศมีเครื่องรับโทรทัศน์เฉลี่ย 2 เครื่อง หรือราว 40 ล้านเครื่องทั่วประเทศ คาดภายใน 2 ปีอุตสาหกรรมโทรทัศน์และคอนเทนท์จะก้าวสู่ยุคเอชดี

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130417/500677/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B
8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B
5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0
%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%
94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E
0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.