Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2556 แม่ทัพคนใหม่!!! TRUEONLINE ทำงานTRUE 15ปี // ประกาศขอส่วนแบ่ง40%(แต้มต่อคือครบวงจร) // เชื่อคนใช้3Gชอบกลับบ้านมาพบกับเน็ตเสถียร

ประเด็นหลัก


ทำงานที่ทรูมานานแล้ว

จริง ๆ อยู่มาประมาณ 15 ปีแล้ว ตอนแรกเป็นวิศวกรด้านโทรคมนาคม ดูแลเรื่องการติดตั้งโครงข่ายต่าง ๆ มาก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ ขยับมาเป็นฝ่ายดูแลระบบโครงข่าย และต่อไปเป็นผู้ดูแลฝ่ายขายของออเรนจ์ (ชื่อเดิมของทรูมูฟ) โดยได้รับโอกาสให้ไปดูเรื่องการจัดจำหน่ายเครื่องลูกค้าทั้งค้าปลีกและค้าส่งให้ดีลเลอร์ต่าง ๆ ด้วย เพิ่งเข้ามาอยู่ในฝั่งธุรกิจอินเทอร์เน็ตช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา แต่เริ่มคุยงานเป็นชิ้นเป็นอันในเดือน มี.ค.

ความแตกต่างระหว่างมือถือกับอินเทอร์เน็ต

คนละแบบ เพราะถ้าลองกลับไปดูโทรศัพท์มือถือ ตอนรับผิดชอบตรงนั้นเป็นช่วงที่การแข่งขันหนักมาก มีการโหมโปรโมชั่นกันทุกวันพร้อม ๆ กับการเร่งขยายโครงข่ายเพื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทยโดยเร็วที่สุด ถึงตอนนี้ก็ยังแข่งกันหนัก แค่เปลี่ยนเป็นการเร่งทำโปรโมชั่นเพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้ดีที่สุด พร้อมขยายโครงข่าย 3G

ขณะที่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตไม่ได้แข่งกันขนาดนั้น แค่เพียงเร่งขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งเราก็ตั้งใจว่าจะทำให้ได้ภายใน 3 ปีข้างหน้า ในแง่การทำโปรโมชั่นก็เพื่อดึงดูดใจลูกค้ามากกว่าทำสงครามราคาใส่กัน และตอนนี้เรามีแต้มต่อเล็กน้อย ผ่านการให้บริการในรูปแบบที่เรียกว่า "ทริปเปิลเพลย์" หรือการผูกบริการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทั้งอินเทอร์เน็ตทรูวิชั่นส์ และโทรศัพท์บ้าน และที่สำคัญ อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นของทุกคน ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องหามาใช้

แสดงว่ากดดันน้อยกว่า

พูดอย่างนั้นก็คงไม่ได้ เพราะเมื่อมารับผิดชอบตรงนี้แล้วก็ได้รับเป้าหมายมาว่า ต้องเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้ถึง 40% ให้ได้ภายในปีนี้ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายนี้ก็ต้องเครียดเป็นธรรมดา แต่จะทำให้งานออกมาอย่างดีที่สุด

มี 3G คลื่น 2.1 GHz จะแย่งตลาดไหม

คิดว่าคงไม่ เพราะแม้คนในปัจจุบันจะใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปอยู่กับบริการโทรศัพท์มือถือ

แต่เมื่อทุกคนกลับบ้าน การเชื่อมต่อที่ดีกว่าก็ยังเป็นระบบมีสาย มีความเสถียร และเร็วมากกว่า ไม่ว่าอย่างไรถึงจะมี 3G คลื่นใหม่ที่มีความเร็วมากแค่ไหน แต่อินเทอร์เน็ตแบบสายก็ยังคงอยู่ และจะมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการแข่งขันกันของผู้ให้บริการในตลาด ดังนั้นจึงไม่มีทางเลยที่จะชะลอลง

มีแผนอะไรในใจบ้าง

อย่างแรกเลยคือการสร้างแบรนด์ในต่างจังหวัด เพราะถ้ามองแค่ในกรุงเทพฯอย่างเดียว เราค่อนข้างเป็นเบอร์หนึ่งไปแล้ว มีส่วนแบ่งตลาดในกรุงเทพฯ 66-67% แต่ในต่างจังหวัดนั้นยังสู้ไม่ได้ ทำให้ต้องเร่งจัดอีเวนต์ตามห้างต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าโดยตรง ผมเข้าใจว่าลูกค้าเหล่านั้นก็รอทรูไปให้บริการด้วย

ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการขยายบริการทริปเปิลเพลย์ออกไปให้เข้มข้นกว่านี้ เพื่อจูงใจให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ รวมถึงสร้างความแตกต่างให้ดีลการแข่งขันด้วย ไม่ใช่แข่งกันที่ความเร็วเพียงอย่างเดียว

ปีนี้จะรุกทำตลาดอย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ดังนั้นจึงจะใช้งบประมาณมากกว่าปีที่แล้วแน่นอน แต่คงบอกไม่ได้ว่าเป็นเท่าไร โดยไม่ลืมดูแลลูกค้าระดับครีมที่ใช้งานที่ความเร็วตั้งแต่ 10 Mbps ขึ้นไปด้วยบริการเสริมต่าง ๆ





















_____________________________________________






ภารกิจแม่ทัพ "ทรูออนไลน์" เร่งสปีดดันมาร์เก็ตแชร์ทะลุ 40%


ขับเคี่ยวกันไม่แพ้สมรภูมิโทรศัพท์มือถือ สำหรับธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ระหว่าง 3 รายใหญ่ "ทรู-3 บีบี และทีโอที" โดยรายหลังสุดมีสถานะเป็นเจ้าตลาดมานานปีด้วยว่ามีโครงข่ายทั่วประเทศ จนเมื่อไม่นานมานี้ "ทรู" ประกาศตัวเป็นผู้นำที่ 36-37% โดยยอมรับว่ามีมาร์เก็ตแชร์เหนือกว่าแบบฉิวเฉียด ทั้งประกาศตัวว่าจะเดินหน้าลงทุนขยายพื้นที่บริการเต็มสตรีมเพื่อเร่งสปีดปั๊มฐานลูกค้าหนีให้ห่างเจ้าสังเวียนเดิม

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มทรูมีการปรับเล็กขยับการทำงานภายใน หนึ่งในนั้นคือ ตำแหน่ง "ซีเอ็มโอ" หรือหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ ธุรกิจ "ทรูออนไลน์" "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "มนัสส์ มานะวุฒิเวช" ซีเอ็มโอทรูออนไลน์ ดังนี้

- ทำงานที่ทรูมานานแล้ว

จริง ๆ อยู่มาประมาณ 15 ปีแล้ว ตอนแรกเป็นวิศวกรด้านโทรคมนาคม ดูแลเรื่องการติดตั้งโครงข่ายต่าง ๆ มาก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ ขยับมาเป็นฝ่ายดูแลระบบโครงข่าย และต่อไปเป็นผู้ดูแลฝ่ายขายของออเรนจ์ (ชื่อเดิมของทรูมูฟ) โดยได้รับโอกาสให้ไปดูเรื่องการจัดจำหน่ายเครื่องลูกค้าทั้งค้าปลีกและค้าส่งให้ดีลเลอร์ต่าง ๆ ด้วย เพิ่งเข้ามาอยู่ในฝั่งธุรกิจอินเทอร์เน็ตช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา แต่เริ่มคุยงานเป็นชิ้นเป็นอันในเดือน มี.ค.

- ความแตกต่างระหว่างมือถือกับอินเทอร์เน็ต

คนละแบบ เพราะถ้าลองกลับไปดูโทรศัพท์มือถือ ตอนรับผิดชอบตรงนั้นเป็นช่วงที่การแข่งขันหนักมาก มีการโหมโปรโมชั่นกันทุกวันพร้อม ๆ กับการเร่งขยายโครงข่ายเพื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทยโดยเร็วที่สุด ถึงตอนนี้ก็ยังแข่งกันหนัก แค่เปลี่ยนเป็นการเร่งทำโปรโมชั่นเพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้ดีที่สุด พร้อมขยายโครงข่าย 3G

ขณะที่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตไม่ได้แข่งกันขนาดนั้น แค่เพียงเร่งขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งเราก็ตั้งใจว่าจะทำให้ได้ภายใน 3 ปีข้างหน้า ในแง่การทำโปรโมชั่นก็เพื่อดึงดูดใจลูกค้ามากกว่าทำสงครามราคาใส่กัน และตอนนี้เรามีแต้มต่อเล็กน้อย ผ่านการให้บริการในรูปแบบที่เรียกว่า "ทริปเปิลเพลย์" หรือการผูกบริการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทั้งอินเทอร์เน็ต, ทรูวิชั่นส์ และโทรศัพท์บ้าน และที่สำคัญ อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นของทุกคน ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องหามาใช้

- แสดงว่ากดดันน้อยกว่า

พูดอย่างนั้นก็คงไม่ได้ เพราะเมื่อมารับผิดชอบตรงนี้แล้วก็ได้รับเป้าหมายมาว่า ต้องเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้ถึง 40% ให้ได้ภายในปีนี้ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายนี้ก็ต้องเครียดเป็นธรรมดา แต่จะทำให้งานออกมาอย่างดีที่สุด

- มี 3G คลื่น 2.1 GHz จะแย่งตลาดไหม

คิดว่าคงไม่ เพราะแม้คนในปัจจุบันจะใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปอยู่กับบริการโทรศัพท์มือถือ

แต่เมื่อทุกคนกลับบ้าน การเชื่อมต่อที่ดีกว่าก็ยังเป็นระบบมีสาย มีความเสถียร และเร็วมากกว่า ไม่ว่าอย่างไรถึงจะมี 3G คลื่นใหม่ที่มีความเร็วมากแค่ไหน แต่อินเทอร์เน็ตแบบสายก็ยังคงอยู่ และจะมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการแข่งขันกันของผู้ให้บริการในตลาด ดังนั้นจึงไม่มีทางเลยที่จะชะลอลง

- มีแผนอะไรในใจบ้าง

อย่างแรกเลยคือการสร้างแบรนด์ในต่างจังหวัด เพราะถ้ามองแค่ในกรุงเทพฯอย่างเดียว เราค่อนข้างเป็นเบอร์หนึ่งไปแล้ว มีส่วนแบ่งตลาดในกรุงเทพฯ 66-67% แต่ในต่างจังหวัดนั้นยังสู้ไม่ได้ ทำให้ต้องเร่งจัดอีเวนต์ตามห้างต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าโดยตรง ผมเข้าใจว่าลูกค้าเหล่านั้นก็รอทรูไปให้บริการด้วย

ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการขยายบริการทริปเปิลเพลย์ออกไปให้เข้มข้นกว่านี้ เพื่อจูงใจให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ รวมถึงสร้างความแตกต่างให้ดีลการแข่งขันด้วย ไม่ใช่แข่งกันที่ความเร็วเพียงอย่างเดียว

ปีนี้จะรุกทำตลาดอย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ดังนั้นจึงจะใช้งบประมาณมากกว่าปีที่แล้วแน่นอน แต่คงบอกไม่ได้ว่าเป็นเท่าไร โดยไม่ลืมดูแลลูกค้าระดับครีมที่ใช้งานที่ความเร็วตั้งแต่ 10 Mbps ขึ้นไปด้วยบริการเสริมต่าง ๆ

- มีบริการเสริมอะไรบ้าง

เราจะให้ทั้งการรับชมฟุตบอลพรีเมียร์ลีกที่สามารถสมัคร และชำระเงิน 350 บาทต่อเดือนก็ใช้ได้ รวมถึงมอบสิทธิ์การใช้แอนตี้ไวรัสให้ลูกค้าโดยชำระค่าบริการเพียงเดือนละ 30 บาท ก็ได้ใช้อินเทอร์เน็ตซีเคียวริตี้ของเทรนด์ไมโคร

- พฤติกรรมการใช้งานปัจจุบันเป็นอย่างไร

การใช้งานของลูกค้าหลัก ๆ จะรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งจนทำให้ท่อ หรือแบนด์วิดท์ที่บริษัทใช้ส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตค่อนข้างหนาแน่น จนทำให้บางครั้งเกิดอาการเต็ม เราก็พยายามแก้ปัญหานี้โดยขยายท่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมเพิ่มฟีเจอร์ Speed Boost เพื่อให้ลูกค้าได้ความเร็วเพิ่มเติมเมื่อมีการใช้งาน

ส่วนปัญหาการโหลดบิตยังไม่ได้ส่งผลต่อบริการอินเทอร์เน็ตมากนัก เพราะมีการจัดระเบียบเวลา เช่น หากอยู่ในช่วงที่การเชื่อมต่อน้อย เราจะปล่อยให้โหลดบิตอย่างเต็มที่ แต่ช่วงที่มีการใช้งานเยอะ ก็จำเป็นต้องลดความเร็วลงเพื่อไปแบ่งให้การใช้งานอื่น ๆ

ผมคิดว่าเมื่อขยายโครงข่ายครบทั้ง 61 จังหวัด ตามแผนภายในปีนี้จะช่วยให้เราทำได้ตามเป้าเร็วขึ้น และยิ่งอีก 3 ปีที่จะขยายโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำตลาดได้มากขึ้น ซึ่งเวลานั้นการรุกต่างจังหวัดไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะโครงข่ายเข้าถึงทั้งหมดแล้ว เหลือแค่คิดแผนการตลาดเพื่อจูงใจให้คนเข้ามาใช้งานเท่านั้น

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1366365339&grpid=&catid=06&subcatid=0603

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.