Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

2 เมษายน 2556 กสทช.คุมทีวีดาวเทียมเรื่องยาไม่พอ++อึ้ง ! พบ 11 ราย โฆษณาไสยศาสตร์ - โหราศาตร์ เข้าข่ายผิด ม.37


ประเด็นหลัก


ในขณะเดียวกันกสทช.ยังได้ตรวจพบช่องรายการดาวเทียมจำนวน  11 รายที่อยู่ในกระบวนการขอรับใบอนุญาตช่องรายการจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)  มีการโฆษณาไสยศาสตร์และโหรศาสตร์  วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง ที่เข้าข่ายออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระลักษณะลามกอนาจารหรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง ตามม.37 แห่งพ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ.2551 โดยหลังจากนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานกสทช.ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนที่จะมีการให้ใบอนุญาตช่องรายการ  เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภค



_____________________________________________


กสทช.จ่อเปิดทีวีดาวเทียม-เคเบิลทีวีหลังรับใบอนุญาต


กสทช. เผยความคืบหน้า ร่อนหนังสือหาช่องโทรทัศน์ดาวเทียม 90 ราย จ่อ เปิดเวทีดึงผู้ประกอบการเคเบิลทีวี – ทีวีดาวเทียม สร้างความเข้าใจโฆษณาอาหารและยา อึ้ง ! พบ 11 ราย โฆษณาไสยศาสตร์ - โหราศาตร์ เข้าข่ายผิด ม.37
       วันนี้(2 เม.ย.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยความคืบหน้าการกำกับดูแลผู้ได้รับใบอนุญาตกิจการโทรทัศน์ประเภทไม่ใช้คลื่นความถี่ (ทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี) ว่า สำนักงานกสทช.ได้ดำเนินการส่งหนังสือไปยังผู้ประกอบการช่องรายการดาวเทียมจำนวน 90 ราย เมื่อวันที่ 21 ก.พ.56 เพื่อให้ผู้ประกอบการปฎิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายสัญญาห้ามมีการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง โดยเตรียมจัดเวทีสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้รับใบอนุญาตสำหรับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี )ให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน และปฏิบัติตามกฎหมายของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างเคร่งครัด


         ในขณะเดียวกันกสทช.ยังได้ตรวจพบช่องรายการดาวเทียมจำนวน  11 รายที่อยู่ในกระบวนการขอรับใบอนุญาตช่องรายการจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)  มีการโฆษณาไสยศาสตร์และโหรศาสตร์  วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง ที่เข้าข่ายออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระลักษณะลามกอนาจารหรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง ตามม.37 แห่งพ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ.2551 โดยหลังจากนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานกสทช.ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนที่จะมีการให้ใบอนุญาตช่องรายการ  เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภค


         “สำหรับโทษของการโฆษณาอาหารและยาเกินจริงนั้น มีการถูกควบคุมโดยกฎหมายของอย.ดูแล ส่วนการโฆษณาไสยศาสตร์ และโหรศาสตาร์ กสทช.เพิ่งทราบข้อมูลใหม่จากการร้องเรียนขอประชาชน โดยยังไม่มีกฎหมายดูแล ดังนั้นกสทช.จึงต้องหาข้อเท็จจริงว่าขัดม.37 หรือไม่ และออกมาตราการเพื่อกำกับก่อนที่จะสร้างความเสียหาย” น.ส.สุภิญญา กล่าว
        อย่างไรก็ตามในปัจจุบันกสท .ได้ให้ใบอนุญาตช่องรายการในกิจการที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ ประเภท ทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี จำนวน 401 รายและโครงข่ายจำนวน 345 โครงข่าย รวมทั้งสิ้นจำนวน 746 ราย ซึ่งหากผู้ประกอบการฝ่าฝืนกฎหมายอย.ที่ออกอากาศโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินคดีตามพ.ร.บ.กสทช. โทษจำคุก 5 ปี และปรับ 5 ล้านบาท

http://www.dailynews.co.th/technology/194739



_____________________________________________


กสทช.กำชับช่องดาวเทียมปฏิบัติตามเงื่อนไขการโฆษณาอย่างเคร่งครัด

 

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค แถลงกรณีการแก้ไขปัญหาโฆษณาอาหารและยาสำหรับกิจการโทรทัศน์ไม่ใช่คลื่นความถี่ว่า ทางสำนักงาน กสทช. ได้ส่งหนังสือกำชับให้ผู้รับใบอนุญาตกิจการโทรทัศน์ประเภทไม่ใช่คลื่นความถี่ ปฎิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายสัญญาโดยเคร่งครัด จำนวน 90 ราย ซึ่งมีผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตบางส่วนต้องการทำความเข้าใจในการปฏิบัติตามนโยบายของ กสทช. โดยเฉพาะด้านการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ



ทั้งนี้ได้หารือกับบอร์ด กสท. เตรียมจัดให้มีการหารือเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ที่ได้รับใบอนุญาต เพื่อให้การดำเนินการกำกับดูแลเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนกรณีของการทดลองออกอากาศแบบคู่ขนานในช่วงเปลี่ยนผ่าน ประเภทบริการสาธารณะในระบบดิจิตอล กรรมการ กสท. กล่าวว่า ไม่คัดค้าน แต่ต้องสร้างเงื่อนไขในการออกอากาศ อาทิ ไม่มีโฆษณาหารายได้ในระบบดิจิตอล ให้มีแค่ในระบบอนาล็อกเท่านั้น และแสดงเงื่อนไขว่าจะคืนคลื่นอนาล็อกเมื่อใด เหมือนในกรณีของไทยพีบีเอส รวมทั้งเสนอกรอบเวลาเพื่อเป็นทีวีบริการสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ ในเรื่องของผังรายการ และการหารายได้ โดยจะมีการพิจารณาหลักเกณฑ์ทีวีสาธารระอีกครั้ง ในการประชุมบอร์ด กสท. วันที่ 17 เมษายนนี้

อนึ่ง  เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556 เลขาธิการสมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยเครือข่ายผู้บริโภค 4 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสิงบุรี และแผนงานกลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย) ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เพื่อให้ดำเนินการต่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย

อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq01/1622346

___________________________________________________



กสทช.เตือนทีวีดาวเทียมคุมเข้มโฆษณาเกินจริง


กสทช.เผย กสทช.ออกหนังสือแจ้งเตือนผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมคุมเข้มโฆษณาเกินจริง-ผิดกฎหมาย

เมื่อวันที่ 2 เม.ย. น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค แถลงว่า จากกรณีวันที่ 8 มี.ค.เลขาธิการสมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยเครือข่ายผู้บริโภค 4 จังหวัดภาคกลาง และแผนงานกลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนเพื่อให้ดำเนินการต่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายนั้น

ล่าสุด กสทช. ได้ส่งหนังสือกำชับให้ผู้รับใบอนุญาตกิจการโทรทัศน์ประเภทไม่ใช่คลื่นความถี่ ปฎิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายสัญญาโดยเคร่งครัด จำนวน 90 ราย ซึ่งมีผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตบางส่วนต้องการทำความเข้าใจในการปฏิบัติตามนโยบายของ กสทช. โดยเฉพาะด้านการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ทั้งนี้ได้หารือกับบอร์ด กสท. เตรียมจัดให้มีการหารือเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ที่ได้รับใบอนุญาต เพื่อให้การดำเนินการกำกับดูแลเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนกรณีของการทดลองออกอากาศแบบคู่ขนานในช่วงเปลี่ยนผ่าน ประเภทบริการสาธารณะในระบบดิจิตอล กรรมการ กสท. กล่าวว่า ไม่คัดค้าน แต่ต้องสร้างเงื่อนไขในการออกอากาศ อาทิ ไม่มีโฆษณาหารายได้ในระบบดิจิตอล ให้มีแค่ในระบบอนาล็อกเท่านั้น และแสดงเงื่อนไขว่าจะคืนคลื่นอนาล็อกเมื่อใด เหมือนในกรณีของไทยพีบีเอส รวมทั้งเสนอกรอบเวลาเพื่อเป็นทีวีบริการสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ ในเรื่องของผังรายการ และการหารายได้ โดยจะมีการพิจารณาหลักเกณฑ์ทีวีสาธารณะอีกครั้ง ในการประชุมบอร์ด กสท. วันที่ 17 เม.ย.


http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%
B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/213865/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0
%B8%8A-
%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%
B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1
%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%
B8%86%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%88
%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87






ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.