Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

2 เมษายน 2556 (บทความ) สมาร์ทวอทช์ นาฬิกาข้อมืออเนกประสงค์ "แก็ดเจต" ยอดฮิตอันดับถัดไป (ทคโนโลยีดังกล่าวค่อนข้างกินไฟน้อย)


ประเด็นหลัก

คอลัมน์ Click World



เริ่มจากนาฬิกา "ไอแอมวอทช์" ที่รองรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือผ่านเทคโนโลยีบลูทูท สนนราคา 11,000 บาท, นาฬิกา "มาร์เชียนวอทช์" ที่มาพร้อมหน้าจอแอลอีดีขนาดเล็กสำหรับแจ้งเตือนข้อมูลใหม่ และใช้การ "สะบัดข้อมือ" ในการตัดสายโทร.เข้า ราคา 7,470-8,970 บาท หรือนาฬิกา "เพบเบิ้ลวอทช์" ที่ให้เจ้าของได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์ หรืออีเมล์ผ่านหน้าจอที่ใช้เทคโนโลยี "อีเปเปอร์" ทำให้ใช้งานติดต่อกันได้นาน 7 วัน ทั้งผู้ใช้ยังสามารถเลือกรูปแบบการแสดงผลนาฬิกาได้ ราคา 4,500 บาท เป็นต้น

บรรดาผู้ผลิตสินค้าไอทีรายใหญ่ต่างมีแผนพัฒนาสมาร์ทโฟนออกสู่ตลาดภายใต้แบรนด์ของตนเอง อย่างน้อย ๆ ก็มียักษ์แดนกิมจิ "ซัมซุง" รายหนึ่งแล้วที่ออกมายืนยันแล้วว่า กำลังพัฒนานาฬิกาข้อมือของตนเอง

ขณะที่ "โซนี่" เผยโฉม "สมาร์ทวอทช์" ที่รองรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ออกมาแล้ว ฟาก "แอปเปิ้ล" มีรายงานข่าวออกมาเป็นระยะ ๆ ว่า บริษัทได้มอบหมายให้ทีมงานกว่า 100 คน ทุ่มเทสรรพกำลังไปกับการพัฒนา "ไอวอทช์" นาฬิกาข้อมือหน้าจอโค้งที่ใช้ระบบปฏิบัติการ "ไอโอเอส"

ก่อนหน้านี้ ยักษ์เสิร์ชเอ็นจิ้นดัง "กูเกิล" ก็เคยให้สัมภาษณ์ว่า กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์บอกเวลาแบบไฮเทคด้วยเช่นกัน
คอลัมนิสต์แห่ง "กิซโมโด้" ยังช่วยหาเหตุผลมาสนับสนุนศักยภาพของ "สมาร์ทวอทช์" ในอนาคตด้วยว่า อะไรคือ5 เหตุผลหลักที่จะทำให้ "สมาร์ทวอทช์" ไม่ได้เป็นแค่สินค้าฮอตฮิตตามกระแสชั่วครั้งชั่วคราวฟังก์ชั่นการชำเลืองดูข้อมูล
ขึ้นชื่อว่า "นาฬิกาข้อมือ" การดูข้อมูลต่าง ๆ จึงทำได้ง่ายเพียงแค่ชำเลืองมองข้อมือตนเองเท่านั้น และด้วยฟังก์ชั่นเสียงเตือนกิจกรรมต่าง ๆ แบบเดียวกับที่เราได้ยินทุกวันจากสมาร์ทโฟน ทำให้เจ้าของรู้ว่าควรรับสายเข้าในขณะนี้
หรือไม่, ข้อความไหนที่ควรให้ความสำคัญ และตอบกลับ, ทวีตใหม่อันไหนที่ควรใส่ใจ เป็นต้น ความสามารถนี้ทำให้ไม่ต้องพบกับเหตุการณ์น่าหงุดหงิด เช่น ต้องปลดล็อกสมาร์ทโฟนของตนเอง เพียงเพื่อจะพบข้อความเชิญชวนให้ใช้แอปพลิเคชั่น "my birthday calendar" ในเฟซบุ๊ก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญสำหรับผู้พัฒนาสมาร์ทวอทช์ต่อจากนี้คือ การทำให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งฟังก์ชั่นการแจ้งเตือนได้ด้วยตนเอง เพราะคงไม่มีใครอยากให้นาฬิกาข้อมือส่งเสียงร้องทั้งวันทั้งคืนเป็นแน่ทำให้ผู้ใช้อายุยืนมากขึ้น



สมาร์ทโฟนใช้งานได้ยาวนานขึ้นได้อย่างไร สาเหตุเพราะผลิตภัณฑ์สมาร์ทวอทช์ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบบลูทูท 4.0 เป็นมาตรฐาน เทคโนโลยีดังกล่าวค่อนข้างกินไฟน้อย ประกอบกับการที่หน้าจอของสมาร์ทโฟนปัจจุบันมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้บริโภคต่างมองหาวิธีที่จะใช้สมาร์ทโฟนของตนเองได้นานขึ้นก่อนชาร์จพลังงานใหม่




















_____________________________________________


สมาร์ทวอทช์ นาฬิกาข้อมืออเนกประสงค์ "แก็ดเจต" ยอดฮิตอันดับถัดไป

คอลัมน์ Click World

ถึงจะยังแรงฉุดไม่อยู่ แต่ก็เริ่มมีการคาดการณ์อุปกรณ์ไอทียอดนิยมลำดับถัดไปต่อจากสมาร์ทโฟน แท็บเลต และแฟบเลต (ลูกผสมระหว่างสมาร์ทโฟนผสมแท็บเลตที่มีหน้าจอขนาดใหญ่) กันแล้ว

บรรดากูรูทั้งหลายในแวดวงไอทีโลกต่างเห็นตรงกันว่า "สมาร์ทวอทช์" หรือนาฬิกาข้อมือที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานของสมาร์ทโฟนผสมอยู่ อาจเป็น "แก็ดเจต" สุดฮิตในอีกไม่ช้าไม่นานนี้ เพราะใช้สะดวกคล่องตัวและมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบสนองยุคสมัย ทั้งดูเวลา ดูความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ บนโซเชียลเน็ตเวิร์กในคราเดียว ความง่ายต่อการพกพาและใช้งานนี้เองที่จะทำให้ "ผู้บริโภค" ส่วนใหญ่ให้ความสนใจ "สมาร์ทวอทช์"



นอกจากนี้ยังมีข่าวลือออกมาว่า แบรนด์ดัง "แอปเปิ้ล" ซึ่งเคยจุดพลุให้สมาร์ทโฟนและแท็บเลตฮอตติดลมบนมาแล้ว กำลังสนใจทำตลาดผลิตภัณฑ์ "สมาร์ทวอทช์" ของตนเองเช่นกัน นี่ยิ่งทำให้อนาคตของนาฬิกาข้อมือไฮเทคน่าจับตามอง

"มาร์ค สปูนเออร์" คอลัมนิสต์แห่งเว็บไอทีชื่อดัง "กิซโมโด้" (www.gizmodo.com) แสดงความคิดเห็นในบทความชื่อ "เหตุใดท้ายที่สุดแล้วคุณจะหันมาใส่นาฬิกาข้อมือสมาร์ทวอทช์" โดยระบุว่า แม้ขณะนี้หลายคนอาจมีความเห็นในแง่ลบ

หรือเคลือบแคลงใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ "สมาร์ทวอทช์" เช่น การสวมใส่ทำให้ดูน่าตลกในสายตาคนอื่น เพราะปัจจุบันคนทั่วไปดูเวลาได้ง่ายดายผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว เป็นต้น แต่ "มาร์ค" ฟันธงว่า สุดท้ายแล้วนาฬิกาข้อมือลูกผสมที่ว่านี้จะไม่โดนปฏิเสธจากตลาดอย่างแน่นอน

ในเวลานี้ "สมาร์ทวอทช์" ทั้งหลายยังอยู่ในขั้นแรกเริ่มต้นทำให้รูปร่างหน้าตาอาจดูไม่น่าใช้เท่าไรนัก แต่การที่หลายบริษัทเริ่มหันมาให้ความสนใจผลิตภัณฑ์นี้อย่างจริงจัง ทำให้หนทางข้างหน้าของ "สมาร์ทวอทช์" ดูสดใสไม่ใช่น้อย แม้จะมีเผยโฉมให้เห็นกันบ้างแล้ว ในงานซีอีเอส 2013 ที่เพิ่งผ่านไป

เริ่มจากนาฬิกา "ไอแอมวอทช์" ที่รองรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือผ่านเทคโนโลยีบลูทูท สนนราคา 11,000 บาท, นาฬิกา "มาร์เชียนวอทช์" ที่มาพร้อมหน้าจอแอลอีดีขนาดเล็กสำหรับแจ้งเตือนข้อมูลใหม่ และใช้การ "สะบัดข้อมือ" ในการตัดสายโทร.เข้า ราคา 7,470-8,970 บาท หรือนาฬิกา "เพบเบิ้ลวอทช์" ที่ให้เจ้าของได้รับข้อความแจ้งเตือนจากเฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์ หรืออีเมล์ผ่านหน้าจอที่ใช้เทคโนโลยี "อีเปเปอร์" ทำให้ใช้งานติดต่อกันได้นาน 7 วัน ทั้งผู้ใช้ยังสามารถเลือกรูปแบบการแสดงผลนาฬิกาได้ ราคา 4,500 บาท เป็นต้น

บรรดาผู้ผลิตสินค้าไอทีรายใหญ่ต่างมีแผนพัฒนาสมาร์ทโฟนออกสู่ตลาดภายใต้แบรนด์ของตนเอง อย่างน้อย ๆ ก็มียักษ์แดนกิมจิ "ซัมซุง" รายหนึ่งแล้วที่ออกมายืนยันแล้วว่า กำลังพัฒนานาฬิกาข้อมือของตนเอง

ขณะที่ "โซนี่" เผยโฉม "สมาร์ทวอทช์" ที่รองรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ออกมาแล้ว ฟาก "แอปเปิ้ล" มีรายงานข่าวออกมาเป็นระยะ ๆ ว่า บริษัทได้มอบหมายให้ทีมงานกว่า 100 คน ทุ่มเทสรรพกำลังไปกับการพัฒนา "ไอวอทช์" นาฬิกาข้อมือหน้าจอโค้งที่ใช้ระบบปฏิบัติการ "ไอโอเอส"

ก่อนหน้านี้ ยักษ์เสิร์ชเอ็นจิ้นดัง "กูเกิล" ก็เคยให้สัมภาษณ์ว่า กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์บอกเวลาแบบไฮเทคด้วยเช่นกัน
คอลัมนิสต์แห่ง "กิซโมโด้" ยังช่วยหาเหตุผลมาสนับสนุนศักยภาพของ "สมาร์ทวอทช์" ในอนาคตด้วยว่า อะไรคือ5 เหตุผลหลักที่จะทำให้ "สมาร์ทวอทช์" ไม่ได้เป็นแค่สินค้าฮอตฮิตตามกระแสชั่วครั้งชั่วคราวฟังก์ชั่นการชำเลืองดูข้อมูล
ขึ้นชื่อว่า "นาฬิกาข้อมือ" การดูข้อมูลต่าง ๆ จึงทำได้ง่ายเพียงแค่ชำเลืองมองข้อมือตนเองเท่านั้น และด้วยฟังก์ชั่นเสียงเตือนกิจกรรมต่าง ๆ แบบเดียวกับที่เราได้ยินทุกวันจากสมาร์ทโฟน ทำให้เจ้าของรู้ว่าควรรับสายเข้าในขณะนี้
หรือไม่, ข้อความไหนที่ควรให้ความสำคัญ และตอบกลับ, ทวีตใหม่อันไหนที่ควรใส่ใจ เป็นต้น ความสามารถนี้ทำให้ไม่ต้องพบกับเหตุการณ์น่าหงุดหงิด เช่น ต้องปลดล็อกสมาร์ทโฟนของตนเอง เพียงเพื่อจะพบข้อความเชิญชวนให้ใช้แอปพลิเคชั่น "my birthday calendar" ในเฟซบุ๊ก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญสำหรับผู้พัฒนาสมาร์ทวอทช์ต่อจากนี้คือ การทำให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งฟังก์ชั่นการแจ้งเตือนได้ด้วยตนเอง เพราะคงไม่มีใครอยากให้นาฬิกาข้อมือส่งเสียงร้องทั้งวันทั้งคืนเป็นแน่ทำให้ผู้ใช้อายุยืนมากขึ้น

"มาร์ค" ยังให้ข้อมูลด้วยว่า ปัจจุบันเขาสวมนาฬิกาข้อมือ "ไนกี้ สปอร์ตวอทช์" ในการวิ่งออกกำลังกาย แม้เขาจะชื่นชอบความสามารถของนาฬิกาในการใช้เทคโนโลยีจีพีเอสเพื่อวัดระยะทาง รวมถึงความเร็วในการวิ่ง แต่ข้อเสียหลักของนาฬิการุ่นนี้คือมีขนาดใหญ่ และหนาเกินไปสำหรับการสวมตลอดเวลา ซึ่ง "สมาร์ทวอทช์" สามารถลบจุดด้อยตรงนี้ได้ด้วยการทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์นำเสนอข้อมูลด้านการออกกำลังหรือสุขภาพของผู้ใช้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้หน้าจอขนาดใหญ่เทอะทะเกินไป ว่ากันว่า "ไอวอทช์" ของ "แอปเปิ้ล" จะมีฟังก์ชั่นวัดระยะการเดินทางของผู้สวมใส่ รวมไปถึงมาตรวัดการเผาผลาญแคลอรี และอัตราการเต้นของหัวใจด้วย ซึ่งคู่แข่งตลอดกาลอย่าง "ซัมซุง" ก็เคยออกมาเปิดตัวแอปพลิเคชั่น "เอส เฮลท์" เมื่อครั้งที่มีการเปิดตัว "กาแล็กซี่ เอส 4" ไปแล้ว

ดังนั้นจึงพอสันนิษฐานได้ว่านาฬิกาไฮเทคตระกูลกาแล็กซี่ของซัมซุงน่าจะพกพาฟังก์ชั่นในลักษณะเดียวกันออกมาแบตเตอร่ใช้งานได้นานขึ้นหลายคนอาจสงสัยว่า "นาฬิกาข้อมือ" ที่ต้องใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้แบตเตอรี่ของ

สมาร์ทโฟนใช้งานได้ยาวนานขึ้นได้อย่างไร สาเหตุเพราะผลิตภัณฑ์สมาร์ทวอทช์ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบบลูทูท 4.0 เป็นมาตรฐาน เทคโนโลยีดังกล่าวค่อนข้างกินไฟน้อย ประกอบกับการที่หน้าจอของสมาร์ทโฟนปัจจุบันมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้บริโภคต่างมองหาวิธีที่จะใช้สมาร์ทโฟนของตนเองได้นานขึ้นก่อนชาร์จพลังงานใหม่

"สมาร์ทวอทช์" อาจเป็นคำตอบของปัญหานี้ เพราะมันจะเป็นอุปกรณ์ที่ผู้บริโภคสามารถใช้ฟังก์ชั่นพื้นฐานทุกอย่างแทน "สมาร์ทโฟน" ของตนเอง เพื่อประหยัดพลังงานให้โทรศัพท์ได้สั่งการโทรศัพท์โดยใช้เส"ยงลดลง

แม้ว่าผลิตภัณฑ์สมาร์ทวอทช์บางตัวจะทำให้ผู้ใช้สามารถโทรศัพท์ได้ผ่านนาฬิกาข้อมือของตนเอง แต่ฟังก์ชั่นนี้ไม่น่าประทับใจเท่าใดนัก และอาจก่อความรำคาญให้ผู้คนรอบข้างเป็นหลัก

ดังนั้นสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าคือการนำสมาร์ทวอทช์มาช่วยให้คนทั่วไปไม่ต้องพึ่งฟังก์ชั่นผู้ช่วยเสมือนอย่าง "ซีรี" ของแอปเปิ้ล หรือ "เอส วอยซ์" ของซัมซุงอีกต่อไป เพราะแม้ผู้บริโภคจะเก็บโทรศัพท์มือถือไว้ในกระเป๋า แต่ก็ยังโต้ตอบข้อความ, เปลี่ยนสถานะบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือดูผลการแข่งขันกีฬาและพยากรณ์อากาศได้อย่างง่ายดายบนข้อมือของตนเอง

เรียกได้ว่าเป็นวิธีใช้งานที่ง่าย รวดเร็ว และสร้างความรำคาญให้ผู้อื่นน้อยกว่าการสั่งการด้วยเสียงมากนักสุภาพกว่าโทรศัพท์-แว่นกูเกิลกลาส

เหตุสุดท้ายที่ทำให้ "สมาร์ทวอทช์" น่าสนใจก็คือ เป็นคำตอบของผู้ใช้งานที่กำลังอยู่ในห้องประชุม หรืออยู่ในระหว่างการออกเดตกับใคร แต่ต้องการเข้าดูกล่องสนทนาในเฟซบุ๊กและไม่อยากหยิบสมาร์ทโฟนกึ่งแท็บเลตที่มีขนาดหน้าจอใหญ่กว่า 5 นิ้วออกมา ซึ่งรวดเร็วและดูสุภาพเรียบร้อยกว่า "สมาร์ทวอทช์" ยังเป็นอุปกรณ์ที่ดูไม่โจ่งแจ้ง เหมือนกับแว่นตา "กูเกิลกลาส" ของกูเกิล ซึ่งในอนาคตอาจโดนสั่งห้ามใช้งานในบางพื้นที่

ทั้งยังเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยให้อุปกรณ์ไอทีรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะกูเกิลกลาสได้รับการยอมรับให้ใช้งานในสังคมทั่วไปมากยิ่งขึ้น


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1364879436&grpid=03&catid=06&subcatid=0603

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.