Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 เมษายน 2556 (ภายใน สับแหลกเป็นโจ๊ก) แหล่งข่าวTOTชี้ 3GTOT ถอยหลังด้วยซ้ำ เอกชนเปิดตัว3Gแต่ตนเองทำได้เพียงเลือกMVNO คามากว่า 6 เดือน แถมเอาอดีตข้าราชการในวัยเกษียณมาบริหาร


ประเด็นหลัก



       แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าวว่า เอกชน 3 รายต่างมีความคืบหน้าในการเปิดบริการ 3G อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเอไอเอสที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการราววันที่ 8 พ.ค.ที่จะถึงนี้ ดีแทคเปิด TRi Net โปรโมตบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต 3G 3 ความถี่ กลุ่มทรูลอยลำกับสัญญามือถือรูปแบบใหม่กับกสท รวมทั้งโชว์ 4G ในขณะที่ทีโอทียังไม่ตัดสินใจเลือกสามารถ ไอ-โมบายมาทำตลาด ทั้งๆที่เรื่อง MVNO คามากว่า 6 เดือน ยังไม่นับรวมเรื่อง 3G เฟส 2 ที่ตั้งไข่แค่จ้างที่ปรึกษา คู่แข่งในตลาดก้าวหน้าไปหมด แต่ทีโอทีต้วมเตี้ยมไม่ใช่แค่อยู่กับที่ แต่ถอยหลังด้วยซ้ำ
      
       'ลำบากนักอย่าไปทำ 3G มันเลย บอร์ดก็ประชุมเดือนละครั้ง การเลือกประธานบอร์ดเป็นอดีตข้าราชการในวัยเกษียณ มากำกับดูแล มอบนโยบาย องค์กรที่กำลังวิกฤต ต้องมีการขับเคลื่อนและตัดสินใจอย่างรวดเร็ว มันผิดที่ผิดทาง ลองเทียบกับประธานบอร์ดคนก่อนดูก็ได้ ว่าใครทำงานเร็วหรือมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลกว่ากัน บอร์ดชุดนี้อาจเหมาะกับทีโอทีเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่ไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องรายได้สัมปทานหดหาย หรือ การแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรม'












_______________________________________



MVNO 3G TOT อืด รอบอร์ดครั้งหน้าเดือนพ.ค.ตัดสิน



       สงสารองค์กรที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพราะวันนี้แค่เรื่องเซ็นสัญญา MVNO 3G ยังตัดสินใจไม่ได้ บอร์ดทีโอทีสั่งฝ่ายบริหารกลับไปทำรายละเอียดมาเสนอบอร์ดอีกครั้งเดือนหน้า ในขณะที่ 3 ค่ายมือถือเตรียมเปิด 3G ความถี่ 2.1 GHz อย่างเป็นทางการต้นเดือนพ.ค.แล้ว
      
       นายอุดม พัวสกุล ประธานบอร์ดบริษัท ทีโอที กล่าวว่า การประชุมบอร์ดทีโอทีวันที่ 24 เม.ย. มีมติให้ใช้บริษัท เอซีที โมบาย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของทีโอที เป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการเสาและอุปกรณ์โทรคมนาคมหรือ บริษัท ทาวเวอร์โค ทั้งหมด โดยเอซีที โมบายจะเป็นผู้บริหารเสาและอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ได้รับโอนทรัพย์สินมาจากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอสซึ่งเป็นคู่สัญญาสัมปทานทีโอที โดยมีเสาโทรคมนาคมทั้งหมดมากกว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ และได้โอนให้ทีโอทีแล้ว 13,000 แห่งซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน (BTO)
      
       ทั้งนี้แผนดังกล่าวอยู่ระหว่างการเจรจากับเอไอเอส เพื่อให้โอนทรัพย์สินก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2558 โดยเอไอเอสยังมีสิทธิใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการ 2G ตามสัญญาสัมปทานเดิมจนกว่าจะหมดอายุสัมปทาน ส่วนเอไอเอส 3G ความถี่ 2.1 GHz ที่ได้รับใบอนุญาตจากกสทช.จะต้องเสียค่าเช่าในการติดตั้งอุปกรณ์บนเสาโทรคมนาคม ของบริษัททาวเวอร์โค เอซีที โมบาย
      
       ส่วนประเด็นที่เอไอเอสจะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในเอซีที โมบายด้วยส่วนสัดส่วนจำนวนเท่าไหร่นั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป แต่ที่สำคัญการร่วมทุนดังกล่าวจะต้องไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐพ.ศ.2535 เพราะหากเข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ จะทำให้ขั้นตอนการดำเนินงานล่าช้า แต่ขณะเดียวกันทีโอทีจะต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
      
       'มีความเป็นไปได้ที่เอไอเอสจะคืนเสาให้ทีโอทีทั้งหมด แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องขอเป็นรายแรกในการทำทาวเวอร์โคก่อนผู้ประกอบการรายอื่นๆ โดยคาดว่าจะเห็นรูปเป็นร่างภายในปีนี้แน่นอน'
      
       ขณะที่ความคืบหน้าแผนการให้เอกชนเช่าใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการ หรือ MVNO ของบริษัท สามารถ ไอ-โมบายนั้นที่ประชุมได้สั่งให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ และฝ่ายบริหารเร่งกลับไปจัดทำรายละเอียดเพื่อนำเสนอเข้าบอร์ดภายในอีก 1 เดือน เนื่องจากปัจจุบันแผนงานดังกล่าวติดปัญหาทำให้ไม่มีความคืบหน้า โดยเฉพาะการพิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการคัดสรร MVNO ชุดใหม่ขึ้นมาแทนชุดเดิม เนื่องจากกรรมการชุดเก่าบางรายได้ลาออกไปทำให้ไม่สามารถเสนอแผน MVNO ของบริษัท สามารถ ไอ-โมบายต่อที่ประชุมบอร์ดได้
      
       'เบื้องต้นคาดว่าคณะกรรมการคัดสรรจะสามารถเสนอเรื่องMVNO เข้าบอร์ดพิจารณาได้ภายในเดือนพ.ค.นี้ จากนั้นหากบอร์ดอนุมติบริษัท สามารถ ก็สามารถทำตลาดได้ทันที'
      
       นายอุดม กล่าวว่าที่ประชุมยังสั่งให้ทีโอทีส่วนกลาง และภูมิภาคต่างๆสะสางปัญหาการติดตั้งสถานีฐาน3G เฟส1 จำนวน 5,320 แห่ง ภายใน 15 วันเพื่อนำเสนอที่ประชุมบอร์ดในครั้งต่อไป อาทิ ปัญหาเรื่องจำนวนสถานีฐานที่จะต้องติดตั้งในแต่ละพื้นที่ว่าต้องติดตั้งอีกกี่แห่ง และปัญหาที่ไม่มีซิมการ์ด 3G ในการทำตลาดในแต่ละพื้นที่ อีกทั้งบอร์ดยังได้สั่งให้ฝ่ายบริหารไปทบทวนแผนยุทธศาสตร์พลิกฟื้นทีโอทีระยะสั้นและระยะยาวใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และมีข้อมูลที่อ้างอิงชัดเจนโดยให้นำกลับมาเสนออีกครั้งภายใน 3 เดือน
      
       นอกจากนี้บอร์ดยังมีมติแต่งตั้ง นางวรรณพร ลีฬหาชีวะ ขึ้นเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายขายและบริการลูกค้าองค์กร นางช่อทิพย์ รื่นนาม ขึ้นเป็นผู้ช่วยกรรมผู้จัดการใหญ่สำนักงานกฎหมาย และนายธงชัย สุวรรณฉวี ขึ้นเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักงานอำนวยการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
      
       แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าวว่า เอกชน 3 รายต่างมีความคืบหน้าในการเปิดบริการ 3G อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเอไอเอสที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการราววันที่ 8 พ.ค.ที่จะถึงนี้ ดีแทคเปิด TRi Net โปรโมตบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต 3G 3 ความถี่ กลุ่มทรูลอยลำกับสัญญามือถือรูปแบบใหม่กับกสท รวมทั้งโชว์ 4G ในขณะที่ทีโอทียังไม่ตัดสินใจเลือกสามารถ ไอ-โมบายมาทำตลาด ทั้งๆที่เรื่อง MVNO คามากว่า 6 เดือน ยังไม่นับรวมเรื่อง 3G เฟส 2 ที่ตั้งไข่แค่จ้างที่ปรึกษา คู่แข่งในตลาดก้าวหน้าไปหมด แต่ทีโอทีต้วมเตี้ยมไม่ใช่แค่อยู่กับที่ แต่ถอยหลังด้วยซ้ำ
      
       'ลำบากนักอย่าไปทำ 3G มันเลย บอร์ดก็ประชุมเดือนละครั้ง การเลือกประธานบอร์ดเป็นอดีตข้าราชการในวัยเกษียณ มากำกับดูแล มอบนโยบาย องค์กรที่กำลังวิกฤต ต้องมีการขับเคลื่อนและตัดสินใจอย่างรวดเร็ว มันผิดที่ผิดทาง ลองเทียบกับประธานบอร์ดคนก่อนดูก็ได้ ว่าใครทำงานเร็วหรือมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลกว่ากัน บอร์ดชุดนี้อาจเหมาะกับทีโอทีเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่ไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องรายได้สัมปทานหดหาย หรือ การแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรม'
      
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000049498

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.