26 เมษายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) สุภิญญา ฝัน การจัดสรรและกำหนดจำนวนช่องรายการสำหรับทีวีดิจิตอลสาธารณะ ต้องคำนึงถึง พลเมืองมากกว่าการหารายได้
ประเด็นหลัก
1.กสท. เร่งจัดทำประกาศ หลักเกณฑ์พิจารณาการคัดเลือกผู้ขอรับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทกิจการบริการสาธารณะ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ยื่นขอใบอนุญาตเข้าสู่การพิจารณาภายใต้เกณฑ์เดียวกัน โดยอย่างน้อยเกณฑ์ที่ กสท. ต้องคำนึงถึง ได้แก่ โครงสร้างกรรมการนโยบายหรือกรรมการบริหารที่ปลอดจากรัฐและทุน ความหลากหลายของความคิดเห็นในผังรายการ ความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ ความโปร่งใสด้านการเงิน ตลอดจนแนวทางการประเมินผลการดำเนินกิจการ เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดทำประกาศดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมทั้งเปิดให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม โดย กสท.ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง รอบคอบ และรัดกุม เนื่องจากการจัดสรรคลื่นซึ่งเป็นสมบัติของประเทศชาติ จึงไม่ควรให้การพิจารณาคัดเลือกเป็นเพียงการใช้ดุลพินิจของ กสท. ในการอนุญาตให้ประกอบกิจการ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องตามกระบวนการศาลปกครองจากผู้ที่เสียผลประโยชน์ หรือไม่ได้รับใบอนุญาตจาก กสท.
2.นโยบายการจัดสรรและกำหนดจำนวนช่องรายการสำหรับทีวีดิจิตอลสาธารณะ กสทช.ต้องคำนึงถึงหลักการทีวีบริการสาธารณะตามมาตรฐานสากลในมุมมองด้านนิเทศศาสตร์ (Public Service Broadcasting) กล่าวคือ การคำนึงถึงผู้ชมในฐานะที่เป็นพลเมือง ดังนั้นการนำเสนอเนื้อหาสาระต้องเป็นการเปิดพื้นที่สาธารณะให้แก่พลเมืองให้มีความเห็นที่หลากหลาย ด้านการบริหารงานต้องมีความเป็นอิสระ มุ่งสร้างสังคมมากกว่าการหารายได้ และมีการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้
_____________________________
จับตาวาระ “ทีวีดิจิตอลสาธารณะ” เข้าบอร์ด กสท. 29 เม.ย.นี้
“สุภิญญา กลางณรงค์” ชงวาระข้อเสนอด้านนิเทศศาสตร์ นิติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ที่ได้จากเวทีวิชาการ ทีวีดิจิตอล...จุดเปลี่ยนประเทศไทย” เข้าบอร์ด กสท.29 เม.ย. พร้อมเสนอทบทวนจัดทำหลักเกณฑ์การประกวดตามกฎหมาย เน้นความเป็นอิสระโปร่งใส ตรวจสอบได้...
เมื่อวันที่ 26 เม.ย. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า วานนี้ (25 เม.ย.) ส่วนงานได้นำข้อสรุปที่ได้จากการจัดสัมมนาวิชาการร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ทีวีดิจิตอล...จุดเปลี่ยนประเทศไทย ตอน ทีวีดิจิตอลสาธารณะ เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อเสนอดังนี้
1.กสท. เร่งจัดทำประกาศ หลักเกณฑ์พิจารณาการคัดเลือกผู้ขอรับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทกิจการบริการสาธารณะ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ยื่นขอใบอนุญาตเข้าสู่การพิจารณาภายใต้เกณฑ์เดียวกัน โดยอย่างน้อยเกณฑ์ที่ กสท. ต้องคำนึงถึง ได้แก่ โครงสร้างกรรมการนโยบายหรือกรรมการบริหารที่ปลอดจากรัฐและทุน ความหลากหลายของความคิดเห็นในผังรายการ ความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ ความโปร่งใสด้านการเงิน ตลอดจนแนวทางการประเมินผลการดำเนินกิจการ เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดทำประกาศดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมทั้งเปิดให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม โดย กสท.ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง รอบคอบ และรัดกุม เนื่องจากการจัดสรรคลื่นซึ่งเป็นสมบัติของประเทศชาติ จึงไม่ควรให้การพิจารณาคัดเลือกเป็นเพียงการใช้ดุลพินิจของ กสท. ในการอนุญาตให้ประกอบกิจการ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องตามกระบวนการศาลปกครองจากผู้ที่เสียผลประโยชน์ หรือไม่ได้รับใบอนุญาตจาก กสท.
2.นโยบายการจัดสรรและกำหนดจำนวนช่องรายการสำหรับทีวีดิจิตอลสาธารณะ กสทช.ต้องคำนึงถึงหลักการทีวีบริการสาธารณะตามมาตรฐานสากลในมุมมองด้านนิเทศศาสตร์ (Public Service Broadcasting) กล่าวคือ การคำนึงถึงผู้ชมในฐานะที่เป็นพลเมือง ดังนั้นการนำเสนอเนื้อหาสาระต้องเป็นการเปิดพื้นที่สาธารณะให้แก่พลเมืองให้มีความเห็นที่หลากหลาย ด้านการบริหารงานต้องมีความเป็นอิสระ มุ่งสร้างสังคมมากกว่าการหารายได้ และมีการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้
อย่างไรก็ตามในแง่ของกฎหมายมหาชน เรื่องบริการสาธารณะ หมายถึง กิจการที่อยู่ในการอำนวยการของฝ่ายปกครอง โดยรัฐอาจเป็นผู้ดำเนินการเองหรือมอบให้ผู้อื่นไปดำเนินการ ทั้งนี้มีหลักการสำคัญคือการยึดโยงกับรัฐ และต้องตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ กสทช. ไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบให้ใบอนุญาตครบทั้ง 12 ช่องรายการ ตามมติของ กสท. แต่ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อวิเคราะห์ความต้องการของประชาชน และวิเคราะห์ผลกระทบจากการกำกับดูแลในมาตรการสำคัญ โดยพิจารณาทางเลือกต่างๆ อย่างเหมาะสมรอบด้าน และเปิดให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมมีส่วนร่วม ก่อนที่จะพิจารณาให้ใบอนุญาตในการประกอบกิจการทีวีดิจิตอลสาธารณะ
3.คำนึงถึงมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์ในทีวีดิจิตอลสาธารณะ ได้แก่ ต้นทุนโครงข่ายที่เหมาะสม ศักยภาพผู้ขอรับใบอนุญาตในการผลิตรายการ ตลอดจนการจัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินวัตถุประสงค์โดยรวมของการให้ใบอนุญาต เพื่อไม่ให้ทรัพยากรคลื่นความถี่ถูกนำไปใช้อย่างไม่คุ้มค่า
กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ข้อมูลจากการสัมมนาดังกล่าวเป็นมุมมองทางวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพิจารณาให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอล สำหรับประเภทกิจการบริการสาธารณะของ กสท. และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบถ้วน โปร่งใส จึงได้เสนอวาระนี้เพื่อพิจารณาอีกครั้งในการประชุมบอร์ด กสท. วันที่ 29 เม.ย.นี้
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/341199
1.กสท. เร่งจัดทำประกาศ หลักเกณฑ์พิจารณาการคัดเลือกผู้ขอรับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทกิจการบริการสาธารณะ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ยื่นขอใบอนุญาตเข้าสู่การพิจารณาภายใต้เกณฑ์เดียวกัน โดยอย่างน้อยเกณฑ์ที่ กสท. ต้องคำนึงถึง ได้แก่ โครงสร้างกรรมการนโยบายหรือกรรมการบริหารที่ปลอดจากรัฐและทุน ความหลากหลายของความคิดเห็นในผังรายการ ความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ ความโปร่งใสด้านการเงิน ตลอดจนแนวทางการประเมินผลการดำเนินกิจการ เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดทำประกาศดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมทั้งเปิดให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม โดย กสท.ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง รอบคอบ และรัดกุม เนื่องจากการจัดสรรคลื่นซึ่งเป็นสมบัติของประเทศชาติ จึงไม่ควรให้การพิจารณาคัดเลือกเป็นเพียงการใช้ดุลพินิจของ กสท. ในการอนุญาตให้ประกอบกิจการ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องตามกระบวนการศาลปกครองจากผู้ที่เสียผลประโยชน์ หรือไม่ได้รับใบอนุญาตจาก กสท.
2.นโยบายการจัดสรรและกำหนดจำนวนช่องรายการสำหรับทีวีดิจิตอลสาธารณะ กสทช.ต้องคำนึงถึงหลักการทีวีบริการสาธารณะตามมาตรฐานสากลในมุมมองด้านนิเทศศาสตร์ (Public Service Broadcasting) กล่าวคือ การคำนึงถึงผู้ชมในฐานะที่เป็นพลเมือง ดังนั้นการนำเสนอเนื้อหาสาระต้องเป็นการเปิดพื้นที่สาธารณะให้แก่พลเมืองให้มีความเห็นที่หลากหลาย ด้านการบริหารงานต้องมีความเป็นอิสระ มุ่งสร้างสังคมมากกว่าการหารายได้ และมีการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้
_____________________________
จับตาวาระ “ทีวีดิจิตอลสาธารณะ” เข้าบอร์ด กสท. 29 เม.ย.นี้
“สุภิญญา กลางณรงค์” ชงวาระข้อเสนอด้านนิเทศศาสตร์ นิติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ที่ได้จากเวทีวิชาการ ทีวีดิจิตอล...จุดเปลี่ยนประเทศไทย” เข้าบอร์ด กสท.29 เม.ย. พร้อมเสนอทบทวนจัดทำหลักเกณฑ์การประกวดตามกฎหมาย เน้นความเป็นอิสระโปร่งใส ตรวจสอบได้...
เมื่อวันที่ 26 เม.ย. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า วานนี้ (25 เม.ย.) ส่วนงานได้นำข้อสรุปที่ได้จากการจัดสัมมนาวิชาการร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ทีวีดิจิตอล...จุดเปลี่ยนประเทศไทย ตอน ทีวีดิจิตอลสาธารณะ เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อเสนอดังนี้
1.กสท. เร่งจัดทำประกาศ หลักเกณฑ์พิจารณาการคัดเลือกผู้ขอรับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทกิจการบริการสาธารณะ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ยื่นขอใบอนุญาตเข้าสู่การพิจารณาภายใต้เกณฑ์เดียวกัน โดยอย่างน้อยเกณฑ์ที่ กสท. ต้องคำนึงถึง ได้แก่ โครงสร้างกรรมการนโยบายหรือกรรมการบริหารที่ปลอดจากรัฐและทุน ความหลากหลายของความคิดเห็นในผังรายการ ความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ ความโปร่งใสด้านการเงิน ตลอดจนแนวทางการประเมินผลการดำเนินกิจการ เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดทำประกาศดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมทั้งเปิดให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม โดย กสท.ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง รอบคอบ และรัดกุม เนื่องจากการจัดสรรคลื่นซึ่งเป็นสมบัติของประเทศชาติ จึงไม่ควรให้การพิจารณาคัดเลือกเป็นเพียงการใช้ดุลพินิจของ กสท. ในการอนุญาตให้ประกอบกิจการ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องตามกระบวนการศาลปกครองจากผู้ที่เสียผลประโยชน์ หรือไม่ได้รับใบอนุญาตจาก กสท.
2.นโยบายการจัดสรรและกำหนดจำนวนช่องรายการสำหรับทีวีดิจิตอลสาธารณะ กสทช.ต้องคำนึงถึงหลักการทีวีบริการสาธารณะตามมาตรฐานสากลในมุมมองด้านนิเทศศาสตร์ (Public Service Broadcasting) กล่าวคือ การคำนึงถึงผู้ชมในฐานะที่เป็นพลเมือง ดังนั้นการนำเสนอเนื้อหาสาระต้องเป็นการเปิดพื้นที่สาธารณะให้แก่พลเมืองให้มีความเห็นที่หลากหลาย ด้านการบริหารงานต้องมีความเป็นอิสระ มุ่งสร้างสังคมมากกว่าการหารายได้ และมีการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้
อย่างไรก็ตามในแง่ของกฎหมายมหาชน เรื่องบริการสาธารณะ หมายถึง กิจการที่อยู่ในการอำนวยการของฝ่ายปกครอง โดยรัฐอาจเป็นผู้ดำเนินการเองหรือมอบให้ผู้อื่นไปดำเนินการ ทั้งนี้มีหลักการสำคัญคือการยึดโยงกับรัฐ และต้องตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ กสทช. ไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบให้ใบอนุญาตครบทั้ง 12 ช่องรายการ ตามมติของ กสท. แต่ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อวิเคราะห์ความต้องการของประชาชน และวิเคราะห์ผลกระทบจากการกำกับดูแลในมาตรการสำคัญ โดยพิจารณาทางเลือกต่างๆ อย่างเหมาะสมรอบด้าน และเปิดให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมมีส่วนร่วม ก่อนที่จะพิจารณาให้ใบอนุญาตในการประกอบกิจการทีวีดิจิตอลสาธารณะ
3.คำนึงถึงมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์ในทีวีดิจิตอลสาธารณะ ได้แก่ ต้นทุนโครงข่ายที่เหมาะสม ศักยภาพผู้ขอรับใบอนุญาตในการผลิตรายการ ตลอดจนการจัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินวัตถุประสงค์โดยรวมของการให้ใบอนุญาต เพื่อไม่ให้ทรัพยากรคลื่นความถี่ถูกนำไปใช้อย่างไม่คุ้มค่า
กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ข้อมูลจากการสัมมนาดังกล่าวเป็นมุมมองทางวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพิจารณาให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอล สำหรับประเภทกิจการบริการสาธารณะของ กสท. และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบถ้วน โปร่งใส จึงได้เสนอวาระนี้เพื่อพิจารณาอีกครั้งในการประชุมบอร์ด กสท. วันที่ 29 เม.ย.นี้
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/341199
ไม่มีความคิดเห็น: