Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

4 เมษายน 2556 หมอลี่เดินหน้ามุกใหม่!! SMS กวนใจปรับค่ายมือถือ 100000บาท // ศาลปกครองยกฟ้อง!!! AIS TRUE ชี้กสทช.มีสิทธิปรับวันละ100000บาทถือว่าเป็นนเครื่องมือในการบริหารบริการสาธารณะ


ประเด็นหลัก

สำหรับการดำเนินการเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ในส่วนมาตรการทางปกครองกรณีผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตหากมีการกระทำอันเข้าลักษณะเป็นการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ใช้บริการแล้ว  กสทช. มีอำนาจสั่งระงับการดำเนินการได้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 แสนบาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฎิบัติตามคำสั่ง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์ในส่วนรายละเอียดว่าการกระทำใดบ้างที่เข้าลักษณะดังกล่าว แต่แม้ว่ายังไม่ได้มีหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นกฎใช้บังคับทั่วไป แต่ กสทช.ก็มีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดในการออกคำสั่งทางปกครองเฉพาะรายเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคได้


น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงาน กสทช. ได้มีคำสั่งปรับผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดการห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (แบบ pre-paid) กำหนดการใช้บริการในลักษณะบังคับให้เร่งใช้บริการ ในอัตราวันละ 100,000 บาท ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ให้บริการอย่างน้อย 2 ราย คือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว รวมทั้งขอทุเลาการบังคับตามคำสั่ง โดยล่าสุดศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งออกมาแล้วในคดีที่ เอไอเอส เป็นผู้ฟ้อง โดยศาลสั่งยกคำขอของ เอไอเอสและชี้ว่า มาตรการกำหนดค่าปรับทางปกครองของสำนักงาน กสทช. นั้นเป็นเครื่องมือในการบริหารบริการสาธารณะด้านโทรคมนาคม

“คำสั่งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับคำสั่งในคดีที่ทรูมูฟฟ้องร้อง ซึ่งศาลปกครองกลางได้ตัดสินตั้งแต่เมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2555 ว่า คำสั่งปรับของ เลขาธิการ กสทช.ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายโดยชอบแล้ว ดังนั้น ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือจึงไม่มีข้ออ้างที่จะยื้อเวลาการจ่ายค่าปรับออกไป ขณะเดียวกันสำนักงาน กสทช. ก็ควรต้องเร่งบังคับอย่างจริงจังให้ได้ค่าปรับที่เป็นตัวเงินจริงๆ มาเสียที ไม่ใช่แค่ปรับลม เพราะนับจากที่ได้แจ้งปรับไป เวลาก็ล่วงเลยมากว่า 10 เดือนแล้ว โดยยังไม่เคยมีการจ่ายค่าปรับกันจริงๆ แม้แต่บาทเดียว เมื่อศาลสั่งชัดเช่นนี้ ทุกฝ่ายจึงมีหน้าที่ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย” น.พ.ประวิทย์ กล่าว





นส่วนมาตรการทางอาญา กรณีไม่ว่าจะเป็น content provider หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ถ้ามีเจตนาปกปิดเงื่อนไขดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นจนได้เงินหรือทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกไป อาจเข้าลักษณะความผิดอาญาเรื่องฉ้อโกง ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  หรือในกรณีฉ้อโกงต่อประชาชนก็จะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษสูงขึ้นจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  นอกจากนี้ในส่วนของ SMS ที่มีการส่งข้อความโฆษณา อาจผิดในเรื่องของการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการได้  โดยหากผู้ใช้บริการได้รับความเสียหายก็อาจดำเนินการฟ้องร้องทางแพ่ง  เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ได้เช่นกัน
     
นอกจากนี้ หากการให้บริการ SMS ผู้รับใบอนุญาตมีการเปิดเผยเลขหมายของผู้ใช้บริการให้แก่ content provider โดยผู้ใช้บริการไม่ยินยอมและไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการกิจการโทรคมนาคม ย่อมเป็นการฝ่าฝืนประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม  เลขาธิการ กสทช. สามารถใช้อำนาจทางปกครองออกคำสั่งตามมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้อีกด้วย













__________________________________________________




จี้สำนักงาน กสทช. ทวงค่าปรับพรีเพดค่ายมือถือ


“น.พ.ประวิทย์” จี้ สำนักงานกสทช. ทวงค่าปรับโอปอเรเตอร์กรณีเก็บค่าบริการล่วงหน้า (พรีเพด) เผย 10 เดือนแล้วยังไม่จ่ายเงินค่าปรับให้กสทช.
น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงาน กสทช. ได้มีคำสั่งปรับผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดการห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (แบบ pre-paid) กำหนดการใช้บริการในลักษณะบังคับให้เร่งใช้บริการ ในอัตราวันละ 100,000 บาท ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ให้บริการอย่างน้อย 2 ราย คือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว รวมทั้งขอทุเลาการบังคับตามคำสั่ง โดยล่าสุดศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งออกมาแล้วในคดีที่ เอไอเอส เป็นผู้ฟ้อง โดยศาลสั่งยกคำขอของ เอไอเอสและชี้ว่า มาตรการกำหนดค่าปรับทางปกครองของสำนักงาน กสทช. นั้นเป็นเครื่องมือในการบริหารบริการสาธารณะด้านโทรคมนาคม

“คำสั่งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับคำสั่งในคดีที่ทรูมูฟฟ้องร้อง ซึ่งศาลปกครองกลางได้ตัดสินตั้งแต่เมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2555 ว่า คำสั่งปรับของ เลขาธิการ กสทช.ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายโดยชอบแล้ว ดังนั้น ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือจึงไม่มีข้ออ้างที่จะยื้อเวลาการจ่ายค่าปรับออกไป ขณะเดียวกันสำนักงาน กสทช. ก็ควรต้องเร่งบังคับอย่างจริงจังให้ได้ค่าปรับที่เป็นตัวเงินจริงๆ มาเสียที ไม่ใช่แค่ปรับลม เพราะนับจากที่ได้แจ้งปรับไป เวลาก็ล่วงเลยมากว่า 10 เดือนแล้ว โดยยังไม่เคยมีการจ่ายค่าปรับกันจริงๆ แม้แต่บาทเดียว เมื่อศาลสั่งชัดเช่นนี้ ทุกฝ่ายจึงมีหน้าที่ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย” น.พ.ประวิทย์ กล่าว

สำหรับกรณีการออกคำสั่งปรับค่ายมือถือวันละ 100,000 บาท เกี่ยวเนื่องกับปัญหาเรื่องการกำหนดอายุของเงินที่เติมในระบบบริการโทรศัพท์แบบจ่ายเงินล่วงหน้า หรือพรีเพด ที่ยืดเยื้อมานาน โดยผู้บริโภคได้เรียกร้องมาตลอดระยะเวลาหลายปีให้ กสทช. บังคับผู้ให้บริการทำตามข้อ 11 ของประกาศ กทช.  เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 จนในที่สุดสำนักงาน กสทช. ต้องออกมาตรการสั่งปรับดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 แต่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ได้มีมติอนุญาตการกำหนดระยะเวลา 30 วันสำหรับการเติมเงินทุกมูลค่าให้แก่บริษัททรูมูฟ เอไอเอส และดีแทค ตามลำดับ ส่งผลให้มาตรการปรับดังกล่าวสิ้นผลลง

อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลานับแต่สำนักงาน กสทช มีคำสั่งปรับจนถึงเวลาที่ กทค. มีมติ บริษัทมือถือที่ละเมิดประกาศของ กทช. ย่อมต้องจ่ายค่าปรับในอัตราวันละ 100,000 บาท ซึ่งคิดแบบคร่าวๆ แต่ละบริษัทจะต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาท แต่จนถึงทุกวันนี้ทุกรายยังคงไม่จ่ายให้ กสทช.

ทั้งนี้ในวันที่ 5 เมษายนนี้ ศาลยุติธรรมได้นัดสืบพยานในคดีที่ผู้ใช้บริการฟ้องบริษัท เอไอเอส เนื่องจากบริษัทกำหนดระยะเวลาใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบเติมเงิน ยกเลิกหมายเลขโทรศัพท์ รวมทั้งยึดเงินในระบบทั้งหมดของผู้ใช้บริการ โดยอ้างว่าผู้ใช้บริการไม่ได้เติมเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด อันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และขัดต่อประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 โดยมีคำขอให้บริษัทคืนหมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกยกเลิกบริการ เปิดสัญญาณโทรศัพท์ให้สามารถใช้ได้ตามปกติ และคืนเงินคงเหลือในระบบทั้งหมด รวมถึงขอให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการยกเลิกสัญญาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย.

http://www.dailynews.co.th/technology/195186


______________________________________________




กสทช.เตือน ส่ง SMSหลอกลวงผู้ใช้มือถือโดนโทษ จำคุก-ปรับ-ชดใช้ค่าเสียหาย



ดร.สุทธิพล  ทวีชัยการ  กรรมการกิจการกระจายเสียง  กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.)  เปิดเผยว่า

ในฐานะที่ กสทช. โดย บอร์ด กทค. เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม จึงต้องวางมาตรการรองรับปัญหาข้อพิพาทมือถือไว้ล่วงหน้าและเพื่อเป็นการทำงานเชิงรุกในกระบวนการทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้ พบตัวอย่างมีการสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และกำลังถูกสำนักงาน กสทช. จับตามองอย่างใกล้ชิดในขณะนี้ก็คือ การให้บริการ SMS ซึ่งเป็นบริการเสริมของบริการโทรศัพท์มือถือ  โดยผู้ให้บริการมีทั้งผู้ให้บริการที่เป็น content  provider  และผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือหรือให้บริการร่วมกัน   โดย  SMS ที่ส่งเข้าโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการ โดยส่วนใหญ่จะใช้ข้อความเชิญชวน หรือลวงผู้ใช้บริการว่าได้รับสิทธิต่างๆ และให้ติดต่อเพื่อรับสิทธิ ซึ่งไม่ได้แจ้งเงื่อนไขการใช้บริการที่ครบถ้วน เช่น ในเรื่องค่าใช้จ่าย หรือค่าบริการ ทำให้เมื่อเปิด SMS ดังกล่าว อาจเป็นการสมัครใช้บริการหรือทำให้ผู้บริโภคต้องเสียเงินให้แก่ผู้ให้บริการได้
     
สำหรับการดำเนินการเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ในส่วนมาตรการทางปกครองกรณีผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตหากมีการกระทำอันเข้าลักษณะเป็นการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ใช้บริการแล้ว  กสทช. มีอำนาจสั่งระงับการดำเนินการได้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 แสนบาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฎิบัติตามคำสั่ง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์ในส่วนรายละเอียดว่าการกระทำใดบ้างที่เข้าลักษณะดังกล่าว แต่แม้ว่ายังไม่ได้มีหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นกฎใช้บังคับทั่วไป แต่ กสทช.ก็มีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดในการออกคำสั่งทางปกครองเฉพาะรายเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคได้
     
ในส่วนมาตรการทางอาญา กรณีไม่ว่าจะเป็น content provider หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ถ้ามีเจตนาปกปิดเงื่อนไขดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นจนได้เงินหรือทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกไป อาจเข้าลักษณะความผิดอาญาเรื่องฉ้อโกง ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  หรือในกรณีฉ้อโกงต่อประชาชนก็จะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษสูงขึ้นจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  นอกจากนี้ในส่วนของ SMS ที่มีการส่งข้อความโฆษณา อาจผิดในเรื่องของการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการได้  โดยหากผู้ใช้บริการได้รับความเสียหายก็อาจดำเนินการฟ้องร้องทางแพ่ง  เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ได้เช่นกัน
     
นอกจากนี้ หากการให้บริการ SMS ผู้รับใบอนุญาตมีการเปิดเผยเลขหมายของผู้ใช้บริการให้แก่ content provider โดยผู้ใช้บริการไม่ยินยอมและไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการกิจการโทรคมนาคม ย่อมเป็นการฝ่าฝืนประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม  เลขาธิการ กสทช. สามารถใช้อำนาจทางปกครองออกคำสั่งตามมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้อีกด้วย
     
กรรมการ กสทช.กล่าวด้วยว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำการสังคายนาระบบงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในเชิงรุก และจะต้องทำให้เห็นเป็นรูปธรรมให้ได้ ดังนั้นวิธีการทำงานจึงอาจแตกต่างกันออกไป โดยจะไม่คิดว่างานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่บอร์ดทุกคนและกลุ่มงานในสำนักงาน กสทช. ทุกกลุ่มจะทำงานเชิงบูรณาการให้สอดรับประสานกันตามความรู้ ความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งตนมีความถนัดทางด้านกฎหมายจึงต้องใช้มาตรการกฎหมายเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการปรับยุทธศาสตร์การทำงานเพื่อให้เกิดการพัฒนากลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคจะต้องหันหน้าเข้าหากันปล่อยวางในเรื่องของอัตตาและไม่อยากให้มองเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเรื่องของผลประโยชน์ของคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด  เพราะเชื่อว่าผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายล้วนมีเจตนาดี แต่อาจจะมองคนละมุม และเกาปัญหาไม่ถูกที่คัน จึงอยากให้คิดในเชิงบวกแล้วร่วมมือร่วมใจทำงานในเชิงสร้างสรรค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=177506:-sms-&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524


______________________________________



กสทช.คุมSMSเสี่ยงโชค 'หมอลี่'เด้งรับรีบชงบอร์ด

  เครือข่ายรณรงค์ครอบครัวหยุดพนัน ยื่นหนังสือถึง กสทช. กรณี SMS เสี่ยงโชค
    นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยหลังรับหนังสือข้อเสนอมาตรการควบคุมและและกำกับดูแลการให้บริการ SMS การพนัน หรือเสี่ยงโชค จากเครือข่ายครอบครัวรณรงค์หยุดพนัน ว่า ทาง กสทช.ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวิทยุโทรทัศน์ หรือฝ่ายโทรคมนาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประเทศและสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่ไปใช้ในสิ่งที่เป็นอบายมุข แต่ก็ต้องเข้าใจก่อนว่า การที่มีการเสี่ยงโชค มันเป็นรูปแบบทางธุรกิจ ซึ่ง กสทช.อาจจะต้องหาแนวทางในการกำกับดูแลให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด โดยเฉพาะต่อเด็กและเยาวชน
    ดังนั้น ข้อเสนอของเครือข่ายรณรงค์ครอบครัวหยุดพนัน มีส่วนที่น่าจะทำได้เลย อาทิ กรณีการกำหนดหลักเกณฑ์โทรทัศน์ช่องเด็กและเยาวชน ว่า ต้องปลอดการพนัน เพราะหากช่องเด็กและเยาวชนยังเป็นช่องทางการให้ชิงโชคได้ เท่ากับทำให้เกิดวัฒนธรรมการยอมรับการเล่นการพนัน
    "หลังจากได้รับหนังสือแล้ว ผมจะต้องนำหนังสือเข้าสู่ระบบ คือ หารือกับทาง กสทช. ในสัปดาห์นี้ จะต้องทำหนังสือยื่นให้กับทั้งบอร์ด กสท. และบอร์ค กทค. เป็นวาระเพื่อทราบ และมอบหมายให้ทั้ง 2 บอร์ดไปพิจารณาอีกที เพื่อนำประเด็นดังกล่าวเข้าสู่บอร์ด กสทช.ในวันที่ 19 เม.ย.นี้"
    ด้าน นายจิรศิลป์ จยาวรรณ บัณฑิตวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิท
ยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ในต่างประเทศมีการร่างกฎหมายควบคุมการพนันออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น สวีเดน หรือ ออสเตรเลีย ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวครอบคลุม Spam รวมไปถึง SMS ด้วย ส่วนข้อเสนอระยะสั้นที่อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลคือ ควรระบุให้ชัดเจนว่ากิจกรรม SMS นั้นเป็นการเสี่ยงโชคในลักษณะใด และควรพัฒนากรอบความชัดเจนในเรื่องอัตราค่าบริการ และอัตราของรางวัล ซึ่งจะต้องตรวจสอบได้ ส่วนข้อเสนอในระยะยาวนั้น คืออยากให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478.

http://www.thaipost.net/news/050413/71842



__________________________________________



กสทช.เข้มควบคุมส่งSMSหลอกลวงผู้ใช้บริการ
04 เมษายน 2556 เวลา 13:33 น. |เปิดอ่าน 1,195 | ความคิดเห็น 1

7

10

More Sharing Services
ทั้งหมด +


กสทช.เตือนส่ง SMS หลอกลวงผู้ใช้บริการมือถือโดนโทษหนักทั้ง“จำคุก-ปรับ-ชดใช้ค่าเสียหาย” ฐานฉ้อโกงประชาชน

นายสุทธิพล  ทวีชัยการ  กรรมการกิจการกระจายเสียง  กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.)  เปิดเผยว่า พบตัวอย่างมีการสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และกำลังถูกสำนักงาน กสทช. จับตามองอย่างใกล้ชิดในขณะนี้ก็คือ การให้บริการ SMS ซึ่งเป็นบริการเสริมของบริการโทรศัพท์มือถือ  โดยผู้ให้บริการมีทั้งผู้ให้บริการที่เป็น content  provider  และผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือหรือให้บริการร่วมกัน

โดย  SMS ที่ส่งเข้าโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการ ส่วนใหญ่จะใช้ข้อความเชิญชวน หรือลวงผู้ใช้บริการว่าได้รับสิทธิต่างๆ และให้ติดต่อเพื่อรับสิทธิ ซึ่งไม่ได้แจ้งเงื่อนไขการใช้บริการที่ครบถ้วน เช่น ในเรื่องค่าใช้จ่าย หรือค่าบริการ ทำให้เมื่อเปิด SMS ดังกล่าว อาจเป็นการสมัครใช้บริการหรือทำให้ผู้บริโภคต้องเสียเงินให้แก่ผู้ให้บริการได้

สำหรับการดำเนินการเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ในส่วนมาตรการทางปกครองกรณีผู้ให้บริการ  กสทช. มีอำนาจสั่งระงับการดำเนินการได้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 แสนบาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฎิบัติตามคำสั่ง ในส่วนมาตรการทางอาญา กรณีไม่ว่าจะเป็น content provider หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ถ้ามีเจตนาปกปิดเงื่อนไขดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นจนได้เงินหรือทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกไป อาจเข้าลักษณะความผิดอาญาเรื่องฉ้อโกง ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  หรือในกรณีฉ้อโกงต่อประชาชนก็จะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษสูงขึ้นจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  นอกจากนี้ในส่วนของ SMS ที่มีการส่งข้อความโฆษณา อาจผิดในเรื่องของการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการได้  โดยหากผู้ใช้บริการได้รับความเสียหายก็อาจดำเนินการฟ้องร้องทางแพ่ง  เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ หากการให้บริการ SMS ผู้รับใบอนุญาตมีการเปิดเผยเลขหมายของผู้ใช้บริการให้แก่ content provider โดยผู้ใช้บริการไม่ยินยอมและไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการกิจการโทรคมนาคม ย่อมเป็นการฝ่าฝืนประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม  เลขาธิการ กสทช. สามารถใช้อำนาจทางปกครองออกคำสั่งตามมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้อีกด้วย

http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8
%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/214305/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0
%B8%8A-
%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%
B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87SMS%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%
81%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%
B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.