4 เมษายน 2556 TRUE และ สมิติเวช เร่งโฆษณา ดูแล 24 ชั่วโมง 7 วัน เตือนนัดหมายแพทย์
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้แนวคิดการพัฒนาทำภายใต้คอนเซ็ปต์ "คอนเน็คเต็ด เฮลธ์" (Connected Health) เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โอกาสเดียวกันนี้ได้นำประโยชน์ของเทคโนโลยี 3จี มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์ และการให้บริการได้แบบทุกที่ ทุกเวลา กำหนดให้บริการอย่างเป็นทางการประมาณกลางเดือนเม.ย. รองรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส
ดึง3จียกระดับการแพทย์
เธออธิบายถึงฟังก์ชั่นการทำงานแอพพลิเคชั่น ว่า เฟสแรกนี้คัดสิ่งที่จำเป็นมากที่สุดออกมาก่อนมี 4 ส่วนหลักคือ 1.ผู้ช่วยส่วนตัว (Personalized Health Secretary) โดยทีมเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลคอยตอบทุกคำถามเรื่องสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน 2. เตือนนัดหมายแพทย์ 3.บริการโทรศัพท์ฉุกเฉินถึงสามี ภรรยา หรือ ลูก และ 4.บริการเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินที่สามารถรู้ตำแหน่งของผู้ป่วยได้
"กุญแจสำคัญคือการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว วินิจฉัยได้ถูกต้อง ซึ่งทรูจะคอยเก็บสถิติการใช้งานอยู่สม่ำเสมอเพื่อนำไปปรับปรุงแอพในเฟสต่อๆ ไป"
ผู้บริหารทรูเผยว่า ปัจจุบัน ทรู แอพ เซ็นเตอร์ มีแอพพลิเคชั่นในคลังกว่า 400 แอพ ครอบคลุมทุกระบบปฏิบัติการทั้งไอโอเอส แอนดรอยด์ และวินโดว์สโฟน โมเดลรายได้มีทั้งแบบทางตรงที่เกิดจากตัวแอพเองเช่นซื้อเพลง และทางอ้อมช่วยผลักดันรายได้ให้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ภายในกลุ่มทรู
นอกจากนี้ รับพัฒนางานให้กับองค์กรภายนอกในรูปแบบเอ็กซ์คลูซีฟ ที่แต่ละรายจะมีความโดดเด่นต่างกันไป ขณะนี้องค์กรที่สนใจใช้โมบายแอพเสริมด้านการตลาดมีกลุ่มค้าปลีก ประกัน และบริษัทที่มีลูกค้าคอนซูเมอร์ใช้บริการจำนวนมาก สำหรับโรงพยาบาลร่วมงานกับสมิติเวชเป็นรายแรก
อย่างไรก็ดี ยอดดาวน์โหลดในทรู แอพ เซ็นเตอร์ ต่อปีมีประมาณ 3 ล้านครั้ง ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือด้านบันเทิง ประเภทดูทีวี ฟังเพลง นอกจากนั้นมีข่าว และชอปปิง เทรนด์ของการใช้แง่จำนวนผู้ใช้แอพสำหรับคอนซูเมอร์จะมีมากกว่า ทว่าการเข้าใช้แอพสำหรับองค์กรมีความถี่มากกว่า
สิ้นปีหวังผู้ใช้ 5,000 ราย
"แพทย์หญิงสมสิริ สกลสัตยาทร" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เครือโรงพยาบาลสมิติเวชและโรงพยาบาลบีเอ็นเอช เสริมว่า ใช้งบลงทุนไปราว 3 ล้านบาท แอพดังกล่าวคือมิติใหม่ของการให้บริการทางการแพทย์ในโลกยุคดิจิทัล โดยการนำเทคโนโลยีด้านไอทีมาเชื่อมโยงระบบงานโรงพยาบาลทำให้การบริการทำได้แบบไร้ข้อจำกัด
ทั้งนี้การบริการที่เกี่ยวข้องกับแอพเตรียมผู้เชี่ยวชาญรวมกว่า 10 คนไว้คอยแนะนำขั้นตอนการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องเช่น ควรจะมาพบแพทย์ หรือส่งรถพยาบาลไปรับเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน คนไข้จึงมั่นใจได้ว่าอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญตลอดเวลา 2 ภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
เฟสแรกนี้จะมอบสิทธิพิเศษแก่ผู้รับบริการของโรงพยาบาลในเครือสมิติเวชและบีเอ็นเอชจำนวน 1,000 ราย ภายในสิ้นปีนี้คาดว่าสามารถขยายผลได้ถึง 5,000 ราย
__________________________________________________
การแพทย์มิติใหม่ บนสมรภูมิ3จี
โดย : วริยา คำชนะ
วันนี้ของปีก่อน การดูแลรักษาสุขภาพของคนไทยส่วนใหญ่อาจหมายถึง ความเจ็บป่วยที่มากเกินความอดทนกระทั่งต้องเดินทางเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
แต่ พ.ศ.นี้ มิติใหม่ที่เกาะติดไปกับไลฟ์สไตล์ ออน โมบาย ทั้งบนสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต และโดยเฉพาะบริการ 3จี อย่างเป็นทางการของประเทศไทย กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ "นิวมีเดีย" มีรายงาน…
"นางสาวมนสินี นาคปนันท์" หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ และผู้จัดการทั่วไป ทรูไลฟ์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เล่าว่า กลุ่มทรูโดยทรูมูฟ เอชและทรูแอพเซ็นเตอร์ ร่วมมือกับโรงพยาบาลสมิติเวชและบีเอ็นเอช พัฒนาแอพพลิเคชั่น "สมิติเวช คอนเน็ค บาย ทรูมูฟ เอช" (Samitivej Connect by TrueMove H) และ "บีเอ็นเอช คอนเน็ค บาย ทรูมูฟ เอช" (BNH Connect by TrueMove H) เชื่อมโยงการดูแลสุขภาพคนไข้สู่สมาร์ทโฟนและแทบเล็ต
ทั้งนี้แนวคิดการพัฒนาทำภายใต้คอนเซ็ปต์ "คอนเน็คเต็ด เฮลธ์" (Connected Health) เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โอกาสเดียวกันนี้ได้นำประโยชน์ของเทคโนโลยี 3จี มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์ และการให้บริการได้แบบทุกที่ ทุกเวลา กำหนดให้บริการอย่างเป็นทางการประมาณกลางเดือนเม.ย. รองรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส
ดึง3จียกระดับการแพทย์
เธออธิบายถึงฟังก์ชั่นการทำงานแอพพลิเคชั่น ว่า เฟสแรกนี้คัดสิ่งที่จำเป็นมากที่สุดออกมาก่อนมี 4 ส่วนหลักคือ 1.ผู้ช่วยส่วนตัว (Personalized Health Secretary) โดยทีมเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลคอยตอบทุกคำถามเรื่องสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน 2. เตือนนัดหมายแพทย์ 3.บริการโทรศัพท์ฉุกเฉินถึงสามี ภรรยา หรือ ลูก และ 4.บริการเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินที่สามารถรู้ตำแหน่งของผู้ป่วยได้
"กุญแจสำคัญคือการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว วินิจฉัยได้ถูกต้อง ซึ่งทรูจะคอยเก็บสถิติการใช้งานอยู่สม่ำเสมอเพื่อนำไปปรับปรุงแอพในเฟสต่อๆ ไป"
ผู้บริหารทรูเผยว่า ปัจจุบัน ทรู แอพ เซ็นเตอร์ มีแอพพลิเคชั่นในคลังกว่า 400 แอพ ครอบคลุมทุกระบบปฏิบัติการทั้งไอโอเอส แอนดรอยด์ และวินโดว์สโฟน โมเดลรายได้มีทั้งแบบทางตรงที่เกิดจากตัวแอพเองเช่นซื้อเพลง และทางอ้อมช่วยผลักดันรายได้ให้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ภายในกลุ่มทรู
นอกจากนี้ รับพัฒนางานให้กับองค์กรภายนอกในรูปแบบเอ็กซ์คลูซีฟ ที่แต่ละรายจะมีความโดดเด่นต่างกันไป ขณะนี้องค์กรที่สนใจใช้โมบายแอพเสริมด้านการตลาดมีกลุ่มค้าปลีก ประกัน และบริษัทที่มีลูกค้าคอนซูเมอร์ใช้บริการจำนวนมาก สำหรับโรงพยาบาลร่วมงานกับสมิติเวชเป็นรายแรก
อย่างไรก็ดี ยอดดาวน์โหลดในทรู แอพ เซ็นเตอร์ ต่อปีมีประมาณ 3 ล้านครั้ง ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือด้านบันเทิง ประเภทดูทีวี ฟังเพลง นอกจากนั้นมีข่าว และชอปปิง เทรนด์ของการใช้แง่จำนวนผู้ใช้แอพสำหรับคอนซูเมอร์จะมีมากกว่า ทว่าการเข้าใช้แอพสำหรับองค์กรมีความถี่มากกว่า
สิ้นปีหวังผู้ใช้ 5,000 ราย
"แพทย์หญิงสมสิริ สกลสัตยาทร" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เครือโรงพยาบาลสมิติเวชและโรงพยาบาลบีเอ็นเอช เสริมว่า ใช้งบลงทุนไปราว 3 ล้านบาท แอพดังกล่าวคือมิติใหม่ของการให้บริการทางการแพทย์ในโลกยุคดิจิทัล โดยการนำเทคโนโลยีด้านไอทีมาเชื่อมโยงระบบงานโรงพยาบาลทำให้การบริการทำได้แบบไร้ข้อจำกัด
ทั้งนี้การบริการที่เกี่ยวข้องกับแอพเตรียมผู้เชี่ยวชาญรวมกว่า 10 คนไว้คอยแนะนำขั้นตอนการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องเช่น ควรจะมาพบแพทย์ หรือส่งรถพยาบาลไปรับเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน คนไข้จึงมั่นใจได้ว่าอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญตลอดเวลา 2 ภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
เฟสแรกนี้จะมอบสิทธิพิเศษแก่ผู้รับบริการของโรงพยาบาลในเครือสมิติเวชและบีเอ็นเอชจำนวน 1,000 ราย ภายในสิ้นปีนี้คาดว่าสามารถขยายผลได้ถึง 5,000 ราย
เธอเห็นว่า วิถีคนเมืองทุกวันนี้ชีวิตมีภารกิจรัดตัว เร่งรีบ ต้องเผชิญการจราจรติดขัด การมาโรงพยาบาลในแต่ละครั้งไม่ได้ทำได้โดยง่าย ดังนั้นมิติใหม่ของการบริการ โรงพยาบาลต้องออกไปหาคนไข้ ดูแลให้อุ่นใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เสมือนได้รับการดูแลตลอดเวลา
“ความรวดเร็วในการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยเป็นเรื่องสำคัญมาก เพียงเสี้ยววินาทีอาจหมายถึงชีวิตได้”
ขยายผลสู่โรคเฉพาะทาง
ผู้บริหารโรงพยาบาลสมิติเวช กล่าวต่อว่า เฟสที่ 2 จะร่วมกันกับทรูพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อดูแลกลุ่มคนไข้เฉพาะโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่ต้องเข้าถึงข้อมูลและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น คนไข้โรคไต เบาหวาน และหัวใจ
ขณะที่ กรอบของเวลายังไม่ได้กำหนดแน่ชัด ขอประเมินผลและเก็บสถิติการใช้งานในเฟสแรกเพื่อหาแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมก่อน
อย่างไรก็ตาม แต่ละปีสมิติเวชใช้งบลงทุนด้านไอทีกว่า 1.5% ของรายได้ สำหรับพัฒนาอินฟราสตรักเจอร์ และระบบบริหารจัดการภายในให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
"จุดยืนของโรงพยาบาลและแพทย์ยุคใหม่ ต้องเดินเข้าหาคนไข้ นำนวัตกรรมมาช่วยทำให้ไลฟ์สไตล์สะดวกมากขึ้น เฮลธ์แคร์ไม่ใช่แค่การรักษาอาการเจ็บป่วย แต่เป็นการดูแลสุขภาพในภาพรวม” แพทย์หญิงสมสิริ เผย
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130404/498814/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B
9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4
%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-
%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%
B8%B43%E0%B8%88%E0%B8%B5.html
ไม่มีความคิดเห็น: