Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

8 เมษายน 2556 สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสาร (เพิ่มเติม) ประจำวัน 08/04/2556


สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสาร (เพิ่มเติม) ประจำวัน 08/04/2556

( ข้อจำกัดด้านข้อความ ข่าวที่เหลือ UP ผ่าน ช่องทางอื่นแทนครับ )

1....      ผู้บริหารAISและTOTพร้อมเลียนแบบ(สัปทานจำแลงCAT-TRUE)นำคลื่น2.3 GHz(คงจะทำ4G)แยกเสาแยกการตลาดเลี่ยงพรบ.ร่วมทุนและประมูล
2....       IPHONE โดน++ค่ายมือถือ Orange ชี้ คนใช้มองเงินในกระเป่ามากกว่าเทคโนโลยีเริ่ด++ คาด iRadio มา ซื้อเพลงที่วิทยุเปิด
3....       TRUEVISIONไม่กลัวลูกค้าหนีลงทุน2000ลบ.เอาใจจงรักภักดีอัดเนื้อหาเริ่ดเพิ่มเฟส1ในระดับลูกค้าจ่ายหนักและเฟส2ลูกค้าจ่ายกลาง



______________________________________


(เพิ่มเติม)
1....    สุดยอด ข่าวดีก่อนสงกรานต์!!! หมอลี่ ยกร่างประกาศ การร้องเรียนใหม่ให้ง่ายขึ้น ลดความยุ่งยาก ปรับปรุงขั้นตอนการไต่สวนกสทช.
2....    TOT3G ยอมรับ เจรจา MVNO มากกว่า 30 ครั่งไม่เป็นผล!! หากไม่มีเอกชนมาช่วยทำตลาดTOTก็ไม่มีรายได้จากบริการได้เลย
3....    กทค.มีมติให้ ทุกค่ายมือถือลงทุนเพิ่มคนละ200ลบ. // CAT TOT ไม่ยอมเปลี่ยนมาเป็นการย้ายแบบ general port ให้ลูกค้าย้ายตามใจ
4....    (บทความ) จับกรณีศึกษา"บีเอฟเคที"... ต้นแบบแห่งความปั่นป่วนวงการโทรคมนาคมไทย... // กสทช.ต้องระวังวุฒิสภาและป.ป.ช.



8 เมษายน 2556 TOT3G ยอมรับ เจรจา MVNO มากกว่า 30 ครั่งไม่เป็นผล!! หากไม่มีเอกชนมาช่วยทำตลาดTOTก็ไม่มีรายได้จากบริการได้เลย

ประเด็นหลัก




ประธานบอร์ดทีโอที กล่าวถึงความคืบหน้าการขยายโครงข่าย 3จี ย่านความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ว่า ได้เร่งให้ฝ่ายบริหารไปดำเนินการเกี่ยวกับสัญญาการทำตลาดด้วยการเช่าโครงข่ายทีโอที 3จี (เอ็มวีเอ็นโอ) เนื่องจากเดือนเม.ย.นี้ ทีโอทีจะทยอยเปิดให้บริการโครงข่าย 3จี จำนวน 4,350 สถานี และภายในเดือนพ.ค.จะครบ 5,320 สถานี ดังนั้นจะต้องมีผู้ทำการตลาด 3จี ให้ทีโอที ซึ่งที่ผ่านมาเจรจากันมาหลายครั้ง แต่ยังไม่มีข้อสรุป จึงได้กำชับให้ฝ่ายบริหารสรุปเรื่องสัญญาเอ็มวีเอ็นโอโดยเร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อรายได้ของทีโอทีอย่างแน่นอน

"ผมให้นโยบายไปแล้วว่า การทำธุรกิจต้องนึกถึงใจเขาใจเรา เอกชนก็ไม่ใช่มูลนิธิ หากไปบีบเขามาก ต้องจำกัดส่วนแบ่งเท่านี้ให้ได้ตัวเลขที่พอใจ การเจรจาเอ็มวีเอ็นโอก็จะไม่จบ ไม่เสร็จ ขณะเดียวกัน ก็ต้องคำนึงถึงการแข่งขันในตลาดด้วยว่า จะสู้กับเอกชนรายอื่นได้อย่างไร เพราะการร่วมมือกันต้องวิน-วินกันทุกฝ่าย”

การเจรจาเรื่องการทำสัญญาเอ็มวีเอ็นโอหรือการทำตลาด 3จี ด้วยการเช่าโครงข่ายทีโอทีนั้น ได้มีการประชุมและหารือกันทั้งเจรจากับเอกชน และหารือกันเองภายในทีโอทีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ครั้ง แต่ก็ไม่มีข้อสรุป เพราะไม่สามารถตกลงกันเรื่องสัดส่วนรายได้ที่จะแบ่งกันระหว่างทีโอทีกับเอ็มวีเอ็นโอ อย่างไรก็ตาม คาดว่าปัญหาเอ็มวีเอ็นโอ จะต้องได้ข้อยุติโดยเร็ว เพื่อให้ทีโอทีมีเอกชนมาช่วยทำตลาด 3จี เพราะหากไม่มีเอกชนมาช่วยทำตลาด ทีโอทีก็ไม่สามารถสร้างรายได้จากบริการได้เลย


คาดว่าจะสามารถดำเนินการขยายการติดตั้งสถานีฐานเฟส 2 ได้อย่างช้าไม่เกินต้นปี 2557 ซึ่งประมาณการติดตั้งสถานีฐานไว้จำนวน 7,500 สถานี และ 4จี อีกจำนวน 2,000 สถานี ภายใต้งบประมาณการลงทุนกว่า 30,000 ล้านบาท หากแผนงานได้รับการอนุมัติจากกระทรวงไอซีที ก็พร้อมของบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)




สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130408/499359/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8
%A1-%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5-
%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%
B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A
A%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-
%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5-
%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B
8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87.html


_____________________________________________

8 เมษายน 2556 สุดยอด ข่าวดีก่อนสงกรานต์!!! หมอลี่ ยกร่างประกาศ การร้องเรียนใหม่ให้ง่ายขึ้น ลดความยุ่งยาก ปรับปรุงขั้นตอนการไต่สวนกสทช.

ประเด็นหลัก



โดยคณะอนุกรรมการบูรณาการฯ ได้เห็นชอบร่างดังกล่าวในการประชุมเมื่อ 1 เมษายนที่ผ่านมา และมีมติให้สำนักงาน กสทช. รีบนำเสนอที่ประชุม กทค. ก่อนสงกรานต์ปีนี้เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบความจำเป็นในการแก้ไขปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่องกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนฯ นั้น เนื่องมาจากประกาศดังกล่าวบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2549 ทำให้เกิดปัญหาความไม่ชัดเจนในขั้นตอนการปฏิบัติของสำนักงาน กสทช. โดยไม่ได้วางกรอบแนวทางหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจนแก่ผู้ปฏิบัติ

ร่างระเบียบฯ ที่มีการยกร่างขึ้นมาใหม่นี้เป็นไปตามกรอบของที่ประชุม กทค.มีมติเห็นชอบโดยจะปรับปรุงใน 8 ประเด็นหลักๆ คือ 1.ปรับปรุงขั้นตอนการยื่นเรื่องร้องเรียน และลดความยุ่งยากในเรื่องเอกสารประกอบการยื่นเรื่องร้องเรียน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ร้องเรียน 2.ปรับปรุงขั้นตอนการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของสำนักงาน กสทช. โดยปรับปรุงระบบงานในการกลั่นกรอง การตรวจสอบเอกสารและพยานหลักฐานให้กระชับและเกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบพิจารณาสั่งการให้ชัดเจน 3.ปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการแจ้งผลการรับเรื่องร้องเรียนให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว 4.ปรับปรุงขั้นตอนการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน โดยกำหนดหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตฯ ให้มีความชัดเจนในการชี้แจงข้อเท็จจริงรวม ทั้งส่งพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ภายในระยะเวลาที่กำหนด 5.ปรับปรุงกระบวนการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างกลไกรับ และพิจารณาเรื่องร้องเรียนกับกลไกไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตามระเบียบ กสทช.ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและผู้ร้องเรียน พ.ศ.2555

6.ปรับปรุงขั้นตอนการไต่สวนข้อเท็จจริงของสำนักงาน กสทช.ให้เกิดความชัดเจน ในการแสวงหาข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณา ตรวจสอบและแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอความเห็นต่อที่ประชุม กทค. เพื่อพิจารณา 7.แบ่งประเภทเรื่องร้องเรียนเป็นประเภทๆ โดยให้มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับประเภทของเรื่องร้องเรียนที่สำนักงาน กสทช.สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ตามอำนาจหน้าที่ภายใต้มาตรา 57 (4) แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 และกำหนดประเภทของเรื่องร้องเรียนที่เห็นควรให้เสนอคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมเพื่อกลั่นกรองก่อนเสนอ กทค.พิจารณา และ 8.ปรับปรุงการแจ้งมติที่ประชุม กทค. ให้ผู้ร้องเรียนทราบ โดยต้องระบุเหตุผลตามรูปแบบที่กำหนดให้เกิดความชัดเจน

สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1626029

_________________________________


8 เมษายน 2556 กทค.มีมติให้ ทุกค่ายมือถือลงทุนเพิ่มคนละ200ลบ. // CAT TOT ไม่ยอมเปลี่ยนมาเป็นการย้ายแบบ general port ให้ลูกค้าย้ายตามใจ

ประเด็นหลัก



มติวันนี้เป็นผลมาจากการให้ค่ายมือถือทั้ง 5 รายในเคลียริ่งเฮาส์ไปเจรจากันให้ได้ข้อสรุป ทั้งเรื่องรูปแบบการโอนย้ายที่เดิมต้องการให้ย้ายแบบ Agree port คือโอนย้ายภายในระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งทีโอทีและ บมจ. กสท โทรคมนาคม ไม่เห็นด้วย ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นแบบ general port ที่จะย้ายไปค่ายไหนก็ได้ แล้วแต่ผู้ใช้บริการเป็นการส่งเสริมการแข่งขัน ส่วนขีดความสามารถของเคลียริ่งเฮาส์ ปัจจุบันรองรับได้ 40,000 เลขหมายอยู่แล้ว แต่ศักยภาพของระบบแต่ละค่ายมีไม่ถึง กทค.จึงให้แต่ละรายไปขยายให้ได้ 40,000 ราย"

ส่วนการลงทุนขยายระบบ MNP เพิ่ม ขณะนี้แต่ละค่ายมองว่า ถ้าความต้องการยังไม่เกิดก็จะยังไม่ขยายระบบ โดยพิจารณาเป็นรายไตรมาส

"ตอนนี้ทุกค่ายลงมติร่วมกันว่า จะลงทุนระบบเพิ่ม ถ้าต่อไป กทค.เห็นได้ชัดว่ามีอุปสรรคเพราะบางรายไม่ลงทุนก็จะมีคำสั่งออกไป ถ้าขยายถึง 40,000 ราย/วัน แต่ละรายต้องลงทุน 200 ล้านบาท"




สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1365408996&grpid=&catid=06&subcatid=0603

_________________________________


8 เมษายน 2556 (บทความ) จับกรณีศึกษา"บีเอฟเคที"... ต้นแบบแห่งความปั่นป่วนวงการโทรคมนาคมไทย... // กสทช.ต้องระวังวุฒิสภาและป.ป.ช.

ประเด็นหลัก


งานนี้เล่นเอาวงการโทรคมนาคม “อึ้งกิมกี่”กับบทสรุปที่กลับตาลปัตรไปจากอดีต ทั้งที่ก่อนหน้าบอร์ด กทค.ชุดเดียวกันนี้ที่เคยไล่บี้สอบสัญญาทำการตลาดมือถือรูปแบบใหม่ “กสท-ทรูมูฟ"ก่อนมีบทสรุปว่าขัดบทบัญญัติมาตรา 46  แต่ยังเห็นว่า ยังคงมีประเด็นที่ต้องสาวลึกต่อไปอีกว่า บริษัทบีเอฟเคทีที่เป็นบริษัทลูกที่แยกทำสัญญาจัดสร้างโครงข่ายมือถือดังกล่าวประกอบกิจการที่เข้าข่ายมาตรา 67 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 อีกกระทง จึงตั้งคณะทำงานขึ้นสอบข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายเพื่อสาวเอาผิดอีกเรื่อง...

แต่มติบอร์ดกทค.ล่าสุดที่ออกมาก็กลับตาลปัตรไปเป็นหนังคนละม้วน ท่ามกลางข้อกังขาของกรรมการบอร์ด กทค.บางคน ที่ยืนกรานหัวชนฝารับไม่ได้กับการกระเตงเผือกร้อนบีเอฟเคทีดังกล่าว  เพราะขนาดบริษัททั่วไปนำเข้าอุปกรณ์มือถือจากจีน โดยใช้ใบรับรองมาตรฐานของจีนผิดไปจากที่ กสทช.กำหนด กสทช.จับส่งฟ้องศาลทุกเคสกรณี...

แต่บริษัทเอกชนที่ลงทุนจัดสร้างเครือข่ายมือถือวงเงินกว่า 7,000 ล้านบาท กทค.และกสทช.กลับรวบรัด"ตัดตอน" ว่าไม่ถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามมาตรา 4 จึงไม่ต้องไปพิจารณาว่าเข้าข่ายประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ต้องมีใบอนุญาตหรือเข้าข่ายตามมาตรา 67 หรือไม่

รวบรัดตัดตอนกันดื้อๆ เช่นนี้ วันนี้กำลังจะกลายเป็น “ดาบ2 คม”ที่ย้อนศรีกลับมายัง กสทช.เองเพราะล่าสุด วิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส กล่าวว่าเอไอเอสกำลังศึกษารูปแบบของกรณีบีเอฟเคที ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่เอไอเอสจะเสนอความร่วมมือในลักษณะเดียวกันนี้ไปยังบริษัท ทีโอที ซึ่งเป็นคู่สัญญาสัมปทานเพื่อให้บริการในย่านความถี่ 2.3 GHz ที่ทีโอทีมีความถี่ในมือจำนวนมาก เพราะกทค.สร้างมาตรฐานเช่นนี้ขึ้นมาให้ปฎิบัติตามได้ถูกกฎหมายแล้ว

ไม่แต่เพียงเท่านั้นหากจะได้ย้อนกลับไปพิจารณา รายงานผลสอบข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายของคณะทำงานที่นำเสนอต่อบอร์ดกทค.จนนำมาสู่มติบอร์ดครั้งนี้  ได้ขมวดปมที่น่าคิดไว้แนบท้ายว่า...

"หากบอร์ดกทค.สรุปว่ากรณีนี้ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคม หรือเข้าข่ายแต่ขาดเจตนาก็ตาม..ก็ต้องพร้อมที่จะรับผลกระทบที่อาจถูกร้องทุกข์กล่าวโทษตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่.... ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และอาจถูกตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ด้านนี้ทั้งวุฒิสภา และคณะกรรมการป.ป.ช.เอาได้"

ยิ่งกรณีนี้ที่ถูกนำไปเปรียบเทียบกับวิทยุชุมชนทั้งหลายแหล่ที่คน กสทช. ไล่กวดจับเป็นรายวัน แค่ตั้งวิทยุชุมชนลงทุนไม่กี่แสนบาท หากไม่ขออนุญาตมีสิทธิ์ถูกเล่นงานทั้งแพ่ง อาญาขั้นเด็ดขาด แต่กลับกรณีจัดสร้างโครงข่ายมือถือที่ลงทุนกัน 6,000-7,000 ล้านให้หน่วยงานรัฐเช่าใช้กลับได้อภิสิทธิ์"ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคม" ตามมาตรา 67

อย่างที่บอกว่าตอนนี้วงการดทรคมนาคมไทย กำลังมีอะไรให้ต้องติดตามอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะบทสรุปของเผือกร้อน “บีเอฟเคที”….ที่อาจจะนำไปสู่...ต้นแบบของความปั่นป่วนในวงวการโทรคมนาคมของไทยในอนาคตอันใกล้นี้....



สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.naewna.com/business/47700

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.