Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

8 เมษายน 2556 (แก้ CAT TRUEผ่านไป282วันแล้ว) กทค.ในระหว่างยกร่าง.ฟอกขาว30วัน ลูกค้าTRUE H และ MY จะไม่ได้รับผลกระทบ


ประเด็นหลัก



ด้าน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทร คมนาคม และบอร์ด กทค. กล่าวว่า การลงมติว่า บีเอฟเคที ไม่ผิดไม่ใช่การประกอบกิจการโทรคมนาคม ตาม มาตรา 4 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 นั้น เป็นความขัดแย้งกับเมื่อครั้งบอร์ด กทค.ให้ไปแก้ไข 6 ข้อ โดยเฉพาะที่ให้ บีเอฟเคที นำไปแก้ไขใหม่ตาม มาตรา 46 พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.  2553 หากบีเอฟเคที ไม่ดำเนินการให้ กสท สามารถควบคุมดูแลการบริการจัดการคลื่นความถี่อย่างสมบูรณ์ ย่อมเข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมบางส่วน ส่วนด้านลูกค้าที่ใช้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวอยู่ ทางสำนักงาน กสทช. ยืนยันว่าลูกค้าจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน ดังนั้นมติวันนี้จึงเป็น 4 ต่อ 1




_________________________________


ฉลุย!สัญญา "บีเอฟเคที" ไม่ผิด...
วันจันทร์ที่ 8 เมษายน 2556 เวลา 00:00 น.


กรณีบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด เกิดมานับ 10 ปีในประเทศไทย โดยการเข้ามาลงทุนให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ออกให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบซีดีเอ็มเอพื้นที่ภาคกลางและ 25 จังหวัด หลังจากนั้นบีเอฟเคที ได้ทำสัญญาซื้อขายให้กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดังนั้น ทรูจึงมีสิทธิโครงข่ายทั้งหมดของ บีเอฟเคที ทันที

ในขณะเดียวกันวันที่ 27 ม.ค. 2554 ซึ่งผ่านมากว่า 2 ปี ที่ได้มีการลงนามสัญญาโครงการโทรศัพท์รูปแบบใหม่เทคโนโลยี 3จี เอชเอสพีเอ ระหว่าง กสท กับ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด เพื่อดำเนินการขายส่งบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเอชเอสพีเอ และทรูยังให้บริษัท บีเอฟเคที ทำสัญญาเช่าโครงข่ายและอุปกรณ์วิทยุโทรคมนาคมเพื่อให้บริการ 3จี เอชเอสพีเอ บนคลื่นความถี่ 800 เมกะเฮิรตซ์ แต่ปรากฏว่า บีเอฟเคที กลับเป็นผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่ไม่ได้รับใบอนุญาตบริหารคลื่นความถี่ประกอบกิจการ

ดังนั้น จึงทำให้หลายฝ่ายออกมาตรวจสอบและตั้งข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่นำเอาเรื่องดังกล่าวเข้าไปตรวจสอบ รวมทั้งเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (ส.ท.ช.) ได้ออกโรงส่งหนังสือถึง ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขอให้ระงับและทบทวนมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ผลตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่มีความโน้มเอียงจะเอื้อประโยชน์ต่อเอกชน

การประชุมบอร์ด กทค. นัดพิเศษเมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมาซึ่งใช้ระยะเวลากว่า 4 ชั่วโมงในการพิจารณาเรื่อง บีเอฟเคที และได้ข้อสรุปว่า สัญญาระหว่าง บีเอฟเคที และ กสท ในการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ไม่มีความผิด และไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต มาตรา 4 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.และประธาน กทค. กล่าวว่า บีเอฟเคที ไม่มีความผิดและไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต มาตรา 4 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เนื่องจากได้ระบุว่า การประกอบกิจการโทรคมนาคม หมายถึง การประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นการทั่วไป แต่บีเอฟเคที เป็นเพียงผู้จัดหา เช่า ซื้อ อุปกรณ์โทรคมนาคม ให้แก่ กสท รายเดียวจึงไม่มีความจําเป็นต้องเอาผิด กล่าวโทษบริษัท บีเอฟเคที

“บีเอฟเคที ไม่ใช่การประกอบกิจการโทรคมนาคม ตาม มาตรา 4 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เนื่องจาก บีเอฟเคที มีหน้าที่เป็นผู้จัดการอุปกรณ์เช่าใช้ให้ กสท เพียงรายเดียวไม่ได้ให้ผู้ประกอบการรายอื่นเช่าใช้อุปกรณ์โทรคมนาคม ที่กฎหมายระบุไว้ว่า การประกอบกิจการโทรคมนาคม กำหนดให้บริการทั่วไปเท่านั้น รวมทั้งยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ากระทำผิดใด ๆ จึงไม่สามารถร้องทุกข์กล่าวโทษได้”

การดำเนินการหลังจากนี้ กทค. ได้มอบหมายให้สำนักงานกสทช. วางแนวทางยกร่างออกหลักเกณฑ์ใหม่ภายใน 30 วัน เพื่อดำเนินการกิจการเช่าเครื่องและอุปกรณ์เข้ามาอยู่ในกรอบการกำกับดูแล ทุกผู้ประกอบการ เพื่อไม่ให้มีการเลี่ยงกฎหมายในการประกอบธุรกิจ โดยใช้หลักสำคัญของ พ.ร.บ.วิทยุและโทรคมนาคม พ.ศ. 2498 และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544

ด้าน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทร คมนาคม และบอร์ด กทค. กล่าวว่า การลงมติว่า บีเอฟเคที ไม่ผิดไม่ใช่การประกอบกิจการโทรคมนาคม ตาม มาตรา 4 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 นั้น เป็นความขัดแย้งกับเมื่อครั้งบอร์ด กทค.ให้ไปแก้ไข 6 ข้อ โดยเฉพาะที่ให้ บีเอฟเคที นำไปแก้ไขใหม่ตาม มาตรา 46 พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.  2553 หากบีเอฟเคที ไม่ดำเนินการให้ กสท สามารถควบคุมดูแลการบริการจัดการคลื่นความถี่อย่างสมบูรณ์ ย่อมเข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมบางส่วน ส่วนด้านลูกค้าที่ใช้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวอยู่ ทางสำนักงาน กสทช. ยืนยันว่าลูกค้าจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน ดังนั้นมติวันนี้จึงเป็น 4 ต่อ 1

วันนี้บทสรุปเรื่องการทำสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ ระหว่าง “ทรู – กสท” ถือว่าจบแบบทุกอย่างผ่านฉลุย!!!

สุรัสวดี สิทธิยศ

http://www.dailynews.co.th/technology/195815

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.