Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

8 เมษายน 2556 (บทความ) จับกรณีศึกษา"บีเอฟเคที"... ต้นแบบแห่งความปั่นป่วนวงการโทรคมนาคมไทย... // กสทช.ต้องระวังวุฒิสภาและป.ป.ช.


ประเด็นหลัก


งานนี้เล่นเอาวงการโทรคมนาคม “อึ้งกิมกี่”กับบทสรุปที่กลับตาลปัตรไปจากอดีต ทั้งที่ก่อนหน้าบอร์ด กทค.ชุดเดียวกันนี้ที่เคยไล่บี้สอบสัญญาทำการตลาดมือถือรูปแบบใหม่ “กสท-ทรูมูฟ"ก่อนมีบทสรุปว่าขัดบทบัญญัติมาตรา 46  แต่ยังเห็นว่า ยังคงมีประเด็นที่ต้องสาวลึกต่อไปอีกว่า บริษัทบีเอฟเคทีที่เป็นบริษัทลูกที่แยกทำสัญญาจัดสร้างโครงข่ายมือถือดังกล่าวประกอบกิจการที่เข้าข่ายมาตรา 67 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 อีกกระทง จึงตั้งคณะทำงานขึ้นสอบข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายเพื่อสาวเอาผิดอีกเรื่อง...

แต่มติบอร์ดกทค.ล่าสุดที่ออกมาก็กลับตาลปัตรไปเป็นหนังคนละม้วน ท่ามกลางข้อกังขาของกรรมการบอร์ด กทค.บางคน ที่ยืนกรานหัวชนฝารับไม่ได้กับการกระเตงเผือกร้อนบีเอฟเคทีดังกล่าว  เพราะขนาดบริษัททั่วไปนำเข้าอุปกรณ์มือถือจากจีน โดยใช้ใบรับรองมาตรฐานของจีนผิดไปจากที่ กสทช.กำหนด กสทช.จับส่งฟ้องศาลทุกเคสกรณี...

แต่บริษัทเอกชนที่ลงทุนจัดสร้างเครือข่ายมือถือวงเงินกว่า 7,000 ล้านบาท กทค.และกสทช.กลับรวบรัด"ตัดตอน" ว่าไม่ถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามมาตรา 4 จึงไม่ต้องไปพิจารณาว่าเข้าข่ายประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ต้องมีใบอนุญาตหรือเข้าข่ายตามมาตรา 67 หรือไม่

รวบรัดตัดตอนกันดื้อๆ เช่นนี้ วันนี้กำลังจะกลายเป็น “ดาบ2 คม”ที่ย้อนศรีกลับมายัง กสทช.เองเพราะล่าสุด วิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส กล่าวว่าเอไอเอสกำลังศึกษารูปแบบของกรณีบีเอฟเคที ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่เอไอเอสจะเสนอความร่วมมือในลักษณะเดียวกันนี้ไปยังบริษัท ทีโอที ซึ่งเป็นคู่สัญญาสัมปทานเพื่อให้บริการในย่านความถี่ 2.3 GHz ที่ทีโอทีมีความถี่ในมือจำนวนมาก เพราะกทค.สร้างมาตรฐานเช่นนี้ขึ้นมาให้ปฎิบัติตามได้ถูกกฎหมายแล้ว

ไม่แต่เพียงเท่านั้นหากจะได้ย้อนกลับไปพิจารณา รายงานผลสอบข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายของคณะทำงานที่นำเสนอต่อบอร์ดกทค.จนนำมาสู่มติบอร์ดครั้งนี้  ได้ขมวดปมที่น่าคิดไว้แนบท้ายว่า...

"หากบอร์ดกทค.สรุปว่ากรณีนี้ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคม หรือเข้าข่ายแต่ขาดเจตนาก็ตาม..ก็ต้องพร้อมที่จะรับผลกระทบที่อาจถูกร้องทุกข์กล่าวโทษตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่.... ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และอาจถูกตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ด้านนี้ทั้งวุฒิสภา และคณะกรรมการป.ป.ช.เอาได้"

ยิ่งกรณีนี้ที่ถูกนำไปเปรียบเทียบกับวิทยุชุมชนทั้งหลายแหล่ที่คน กสทช. ไล่กวดจับเป็นรายวัน แค่ตั้งวิทยุชุมชนลงทุนไม่กี่แสนบาท หากไม่ขออนุญาตมีสิทธิ์ถูกเล่นงานทั้งแพ่ง อาญาขั้นเด็ดขาด แต่กลับกรณีจัดสร้างโครงข่ายมือถือที่ลงทุนกัน 6,000-7,000 ล้านให้หน่วยงานรัฐเช่าใช้กลับได้อภิสิทธิ์"ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคม" ตามมาตรา 67

อย่างที่บอกว่าตอนนี้วงการดทรคมนาคมไทย กำลังมีอะไรให้ต้องติดตามอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะบทสรุปของเผือกร้อน “บีเอฟเคที”….ที่อาจจะนำไปสู่...ต้นแบบของความปั่นป่วนในวงวการโทรคมนาคมของไทยในอนาคตอันใกล้นี้....









_________________________________


รายงานพิเศษ : จับกรณีศึกษา"บีเอฟเคที"... ต้นแบบแห่งความปั่นป่วนวงการโทรคมนาคมไทย...


ขณะที่อุณหภูมิประเทศไทยกำลังร้อนระอุ...ประเด็นทางการเมืองที่กำลังรอวันปะทุ...โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และอีกหลายๆ กรณีที่กำลังจะเกิดขึ้นบ้านนี้เมืองนี้...ก็ต้องจับตากันแบบห้ามพลาดเหมือนกัน...และในวงการสื่อสารโทรคมนาคม ก็มีอีก 2-3 เรื่องที่สังคมรอคำตอบอย่าสมันจะออกมาในทางที่ถูกที่ควรหรือไม่...เช่นการเปิดไลน์เซ่นส์ทีวีดิจิตอล...การไล่บี้บริษัทมือถือ ที่ทุกวันนี้ยังถูกติฉินว่าเอาเปรียบผู้บริโภค...การเรียกคืนคลื่น 1800 MHz….กรณีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฏหมายกรณีการประกอบกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย)....ฯลฯ

ทั้งหลายทั้งปวงนี้หนีไม่พ้นที่...ดูเหมือน “คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ” หรือ “กสทช.” จะต้องรับบทหนัก...ในฐานะที่สังคมได้อมบดาบอาญาสิทธิ์ไปให้แล้ว และเป็นที่พึ่งทางกฎหมายแห่งเดียว...เรามีอยู่...

เรื่องแรก...กรณี บมจ.กสทโทรคมนาคม (Cat Telecom )...ที่มีมีคำสั่งทางปกครองไปยัง บมจ.กสทโทรคมนาคม เรียกคืนคลื่น1800 MHz ที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี)ใช้งานอยู่ และจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย.2556 นี้...แม้ฝ่ายบริหารกสท จะอ้างเหตุผลความจำเป็นที่ต้องใช้คลื่นดังกล่าวรองรับผู้ใช้บริการในระบบ 2 จีที่คาดว่ายังคงต้องดูแลอยู่อีกกว่า 10 ล้านเลขหมายภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน... แต่กสทช.ก็ยืนยันนั่งยันไม่สามารถผ่อนปรนให้กสท.ถือครองคลื่นดังกล่าวต่อไปได้…ก็ต้องตามกันดูว่าบทสรุปจะมาเป็นอย่างไร

ส่วนเรื่องทีวีดิจิตอล...สังคมก็ตั้งคำถามดังๆๆ...ว่าทีวีดิจิตอลที่เป็นช่องสาธารณะ...ที่เบื้องต้นกำหนดวส่าจะมอบให้..ช่อง 5 ช่อง 11 และไทยพีบีเอสอีก 2....นั้น....ขอให้คิดให้จงหนักว่ามีทุกรายหรือไม่...ที่ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะจริงๆ...

อีกเรื่องที่สังคมให้การติดตามมานาน...กับกรณีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฏหมายกรณีการประกอบกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) ที่จัดสร้างเครือข่ายระบบ 3 จีบนคลื่นความถี่ 800 เมกกะเฮิร์ตสให้ บมจ.กสท โทรคมนาคมเช่าใช้ ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) (หน่วยงานในสังกัด กสทช.) มีมติออกมาแบบที่ทำให้สังคมกังขาได้อีก....

เรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่า...มติบอร์ดกทค.นัดพิเศษ ที่มี พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช.เป็นประธานที่มีบทสรุปการประกอบกิจการของบริษัทบีเอฟเคทีฯ ที่ให้เช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคมแก่บริษัท กสทฯเพียงรายเดียวเป็นการเฉพาะเจาะจง.... ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่สำนักงาน กสทช. จะไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อการดำเนินการของบริษัท บีเอฟเคทีฯ ได้...

งานนี้เล่นเอาวงการโทรคมนาคม “อึ้งกิมกี่”กับบทสรุปที่กลับตาลปัตรไปจากอดีต ทั้งที่ก่อนหน้าบอร์ด กทค.ชุดเดียวกันนี้ที่เคยไล่บี้สอบสัญญาทำการตลาดมือถือรูปแบบใหม่ “กสท-ทรูมูฟ"ก่อนมีบทสรุปว่าขัดบทบัญญัติมาตรา 46  แต่ยังเห็นว่า ยังคงมีประเด็นที่ต้องสาวลึกต่อไปอีกว่า บริษัทบีเอฟเคทีที่เป็นบริษัทลูกที่แยกทำสัญญาจัดสร้างโครงข่ายมือถือดังกล่าวประกอบกิจการที่เข้าข่ายมาตรา 67 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 อีกกระทง จึงตั้งคณะทำงานขึ้นสอบข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายเพื่อสาวเอาผิดอีกเรื่อง...

แต่มติบอร์ดกทค.ล่าสุดที่ออกมาก็กลับตาลปัตรไปเป็นหนังคนละม้วน ท่ามกลางข้อกังขาของกรรมการบอร์ด กทค.บางคน ที่ยืนกรานหัวชนฝารับไม่ได้กับการกระเตงเผือกร้อนบีเอฟเคทีดังกล่าว  เพราะขนาดบริษัททั่วไปนำเข้าอุปกรณ์มือถือจากจีน โดยใช้ใบรับรองมาตรฐานของจีนผิดไปจากที่ กสทช.กำหนด กสทช.จับส่งฟ้องศาลทุกเคสกรณี...

แต่บริษัทเอกชนที่ลงทุนจัดสร้างเครือข่ายมือถือวงเงินกว่า 7,000 ล้านบาท กทค.และกสทช.กลับรวบรัด"ตัดตอน" ว่าไม่ถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามมาตรา 4 จึงไม่ต้องไปพิจารณาว่าเข้าข่ายประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ต้องมีใบอนุญาตหรือเข้าข่ายตามมาตรา 67 หรือไม่

รวบรัดตัดตอนกันดื้อๆ เช่นนี้ วันนี้กำลังจะกลายเป็น “ดาบ2 คม”ที่ย้อนศรีกลับมายัง กสทช.เองเพราะล่าสุด วิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส กล่าวว่าเอไอเอสกำลังศึกษารูปแบบของกรณีบีเอฟเคที ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่เอไอเอสจะเสนอความร่วมมือในลักษณะเดียวกันนี้ไปยังบริษัท ทีโอที ซึ่งเป็นคู่สัญญาสัมปทานเพื่อให้บริการในย่านความถี่ 2.3 GHz ที่ทีโอทีมีความถี่ในมือจำนวนมาก เพราะกทค.สร้างมาตรฐานเช่นนี้ขึ้นมาให้ปฎิบัติตามได้ถูกกฎหมายแล้ว

ไม่แต่เพียงเท่านั้นหากจะได้ย้อนกลับไปพิจารณา รายงานผลสอบข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายของคณะทำงานที่นำเสนอต่อบอร์ดกทค.จนนำมาสู่มติบอร์ดครั้งนี้  ได้ขมวดปมที่น่าคิดไว้แนบท้ายว่า...

"หากบอร์ดกทค.สรุปว่ากรณีนี้ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคม หรือเข้าข่ายแต่ขาดเจตนาก็ตาม..ก็ต้องพร้อมที่จะรับผลกระทบที่อาจถูกร้องทุกข์กล่าวโทษตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่.... ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และอาจถูกตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ด้านนี้ทั้งวุฒิสภา และคณะกรรมการป.ป.ช.เอาได้"

ยิ่งกรณีนี้ที่ถูกนำไปเปรียบเทียบกับวิทยุชุมชนทั้งหลายแหล่ที่คน กสทช. ไล่กวดจับเป็นรายวัน แค่ตั้งวิทยุชุมชนลงทุนไม่กี่แสนบาท หากไม่ขออนุญาตมีสิทธิ์ถูกเล่นงานทั้งแพ่ง อาญาขั้นเด็ดขาด แต่กลับกรณีจัดสร้างโครงข่ายมือถือที่ลงทุนกัน 6,000-7,000 ล้านให้หน่วยงานรัฐเช่าใช้กลับได้อภิสิทธิ์"ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคม" ตามมาตรา 67

อย่างที่บอกว่าตอนนี้วงการดทรคมนาคมไทย กำลังมีอะไรให้ต้องติดตามอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะบทสรุปของเผือกร้อน “บีเอฟเคที”….ที่อาจจะนำไปสู่...ต้นแบบของความปั่นป่วนในวงวการโทรคมนาคมของไทยในอนาคตอันใกล้นี้....

อนันตเดช พงษพันธุ์

http://www.naewna.com/business/47700

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.