Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 พฤษภาคม 2556 CTH เตรียมคลอด ดูพรีเมียร์ ลีกราคาไม่เกิน 1,000 บาท (ผ่านเคเบิลTV) เตรียมงบไว้กว่า 200 ล้านบาท ทำการตลาด++ ส่วนกรณีหุ้น 20% ที่เหลือนั้น ยังไม่รีบ


ประเด็นหลัก


นายวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการ บริษัท เคเบิลไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือซีทีเอช เปิดเผยว่า แผนการซื้อคอนเทนต์ของซีทีเอชในปีนี้เตรียมงบไว้กว่า 2,000-3,000 ล้านบาท ล่าสุดได้ใช้งบกว่า 2,000 ล้านบาทในการซื้อคอนเทนต์จากทางฟ็อกซ์ อินเตอร์เนชันแนล แชนแนล ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเป็นระยะเวลา 3-5 ปี ด้วยจำนวนช่องรายการกว่า 24 ช่อง เบื้องต้นในเฟสแรกจะออกอากาศตั้งแต่เดือน มิ.ย.นี้เป็นต้นไป จำนวน 15 ช่องที่เหลือจะทยอยออกอากาศให้ครบภายในไตรมาส 1 ปีหน้า


  ส่วนแผนการตลาดของพรีเมียร์ ลีกนั้น เตรียมงบไว้กว่า 200 ล้านบาท จะเริ่มทำตลาดได้ภายหลังที่ทางทรูวิชั่นส์ได้หมดสัญญาในฤดูกาลนี้จบลงอย่างเป็นทางการ ส่วนแพ็กเก็จรองรับพรีเมียร์ ลีก และแพ็กเกจอื่นๆ นั้น จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในเดือน มิ.ย.นี้ และแพ็กเกจที่จะเปิดตัวใหม่ครั้งนี้ สูงสุดจะมีราคาไม่เกิน 1,000 บาท (รวมพรีเมียร์ ลีก)
    นอกจากนี้ ซีทีเอช ยังทุ่มงบประมาณในการซื้อคอนเทนต์ในปีนี้ 2-3 พันล้านบาท แต่ในไตรมาสแรก ได้ใช้งบประมาณในการซื้อคอนเทนต์ไปแล้วกว่า 2 พันล้านบาท ปัจจุบัน ซีทีเอชมีช่องให้บริการ 120 ช่อง เป็นช่อง HD 34 ช่อง โดยคาดว่าปีนี้ ซีทีเอชจะได้กำไรแน่นอน

   
       ส่วนกรณีหุ้น 20% ที่เหลือนั้น ขณะนี้ขอเลื่อนเวลาในตัดสินใจออกไปก่อน ไม่มีความจำเป็นต้องรีบร้อนในการหาผู้ร่วมทุนเพิ่ม ขณะที่ปัจจุบันมีผู้สนใจซ้อหุ้นจำนวนดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 3-5 ราย
   
     
   
       ด้านนายวอร์ด แพลทท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ฟ็อกซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล แชนแนล ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก และตะวันออกกลาง กล่าวว่า การที่ฟ็อกซ์ร่วมมือกับทางซีทีเอช เพราะมองเห็นการเข้าถึงกลุ่มผู้ชมครอบคลุมได้มากขึ้นในราคาไม่สูง เบื้องต้นจะมีทั้งหมด 24 ช่อง ส่วนใหญ่เป็นช่องแบบเอชดี จากทั้งหมด 35 ช่องของทางฟ็อกซ์ที่ออกอากาศในภาคพื้นแห่งนี้
   
       ขณะที่ในประเทศไทยฟ็อกซ์เข้าถึงผู้ชมใน 4 แพลตฟอร์ม รวมถึงคอนเทนต์โพไวเดอร์รายย่อยในต่างจังหวัด เช่น แพลตฟอร์มจีเอ็มเอ็ม แซท, ทรูวิชั่นส์ และล่าสุดกับซีทีเอช ขณะที่ทางทรูวิชั่นส์นั้น ปัจจุบันมีช่องรายการของทางฟ็อกซ์ออกอากาศทั้งสิ้น 8 ช่อง จากที่เคยมีสูงสุด 11 ช่อง (รวมช่องเอชดี 1 ช่อง) ซึ่งช่องรายการที่ออกอากาศทางทรูวิชั่นส์และซีทีเอชนั้นเป็นช่องรายการที่ไม่ซ้ำกัน คาดว่าทางทรูวิชั่นส์จะดึงช่องรายการต่างๆ ของทางฟ็อกซ์ไปออกอากาศมากยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจา
   
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 17 พ.ค.นี้ ทางซีทีเอชจะจัดงานรีแบรนด์ดิ้งซีทีเอชใหม่ รองรับธุรกิจเคเบิลทีวีแบบเต็มรูปแบบและคอนเท้นท์พรีเมียร์ลีกที่ได้มา ซึ่งในวันเดียวกันทางทรูวิชั่นส์ก็จะมีการจัดงานรีแบรนด์ดิ้งเช่นเดียวกัน เชื่อว่าจะเป็นการเปิดศึกเคเบิลทีวีอย่างไม่มีใครยอมใครอย่างแท้จริง















______________________________________







CTH อัด 200 ล้าน ลุยพรีเมียร์ลีก มิ.ย.เปิดแพกเกจต่ำพันได้ดู


       “ซีทีเอช” ทุ่ม 2,000 ล้านบาท จีบฟ็อกซ์ลงแพลตฟอร์มรวม 24 ช่อง สร้างแกร่งเอาใจรับสมาชิกคอหนัง ส่วนพรีเมียร์ลีกเตรียมงบ 200 ล้านบาท ระเบิดแคมเปญการตลาดหลังทรูวิชั่นส์หมดสัญญาอย่างเป็นทางการ แย้มเปิดม่านแพกเกจใหม่ในเดือนหน้า หลังรีแบรนด์ซีทีเอชในวันที่ 17 พ.ค.นี้ มั่นใจสิ้นปียอดสมาชิกทะลุ 3 ล้านครัวเรือน พร้อมรายได้ที่มีกำไร
     
       นายวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการ บริษัท เคเบิลไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือซีทีเอช เปิดเผยว่า แผนการซื้อคอนเทนต์ของซีทีเอชในปีนี้เตรียมงบไว้กว่า 2,000-3,000 ล้านบาท ล่าสุดได้ใช้งบกว่า 2,000 ล้านบาทในการซื้อคอนเทนต์จากทางฟ็อกซ์ อินเตอร์เนชันแนล แชนแนล ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเป็นระยะเวลา 3-5 ปี ด้วยจำนวนช่องรายการกว่า 24 ช่อง เบื้องต้นในเฟสแรกจะออกอากาศตั้งแต่เดือน มิ.ย.นี้เป็นต้นไป จำนวน 15 ช่องที่เหลือจะทยอยออกอากาศให้ครบภายในไตรมาส 1 ปีหน้า
     
       ส่วนแผนการตลาดของพรีเมียร์ลีกนั้น เตรียมงบไว้กว่า 200 ล้านบาท จะเริ่มทำตลาดได้ภายหลังที่ทางทรูวิชั่นส์ได้หมดสัญญาในฤดูกาลนี้จบลงอย่างเป็นทางการ ส่วนแพกเกจรองรับพรีเมียร์ลีกและแพกเกจอื่นๆ นั้น จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในเดือน มิ.ย.นี้ และแพกเกจที่จะเปิดตัวใหม่ครั้งนี้ สูงสุดจะมีราคาไม่เกิน 1,000 บาท (รวมพรีเมียร์ลีก)
     
       ส่วนกรณีหุ้น 20% ที่เหลือนั้น ขณะนี้ขอเลื่อนเวลาในตัดสินใจออกไปก่อน ไม่มีความจำเป็นต้องรีบร้อนในการหาผู้ร่วมทุนเพิ่ม ขณะที่ปัจจุบันมีผู้สนใจซ้อหุ้นจำนวนดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 3-5 ราย
     
       ด้านนายกฤษณัน งามผาติพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคเบิลไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวต่อว่า การร่วมมือกับทางฟ็อกซ์ในครั้งนี้ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มสมาชิกที่ชอบดูภาพยนตร์ จากก่อนหน้านี้ซีทีเอชได้คอนเทนต์พรีเมียร์ลีกรองรับสมาชิกที่ชอบกีฬาไปแล้ว ส่งผลให้ปัจจุบันซีทีเอชมีคอนเทนต์ที่หลากหลายครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยสามารถแบ่งคอนเทนต์ออกได้เป็น ในประเทศ 40% และต่างประเทศ 60% หรือภายในสิ้นปีนี้จะมีจำนวนช่องรายการทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 120 ช่อง และเป็นช่องระบบเอชดีไม่ต่ำกว่า 35 ช่อง
     
       ขณะนี้ทางบริษัทได้ทยอยเปลี่ยนกล่องเอชดีให้กับสมาชิกมาแล้ว 2 เดือน สามารถเปลี่ยนได้แล้ว 2-3 แสนรายทั่วประเทศ ภายในสิ้นปีนี้เชื่อว่าจะเปลี่ยนได้ครบ 2.5 ล้านครัวเรือนที่เป็นสมาชิก และจัดแคมเปญการตลาดในช่วงเดือน มิ.ย. ทำโปรโมชันร่วมกับแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อให้สมาชิกได้เลือกซื้อโทรทัศน์แบบเอชดี สำหรับรับชมคอนเทนต์ของทางซีทีเอชแบบเอชดีได้มากยิ่งขึ้นด้วย โดยมองว่าสิ้นปีนี้จะมีสมาชิกไม่ต่ำกว่า 3 ล้านราย ส่วนรายได้ปีนี้มั่นใจว่าจะมีกำไร หลังปีก่อนขาดทุน 200 ล้านบาท
     
       นายวิชัยกล่าวต่อว่า ความร่วมมือกับทางฟ็อกซ์อนาคตต้องการที่จะให้เกิดความร่วมมือในการผลิตคอนเทนต์ไทยเพื่อไปออกอากาศในต่างประเทศ จากการที่ซีทีเอชมีคอนเทนต์ท้องถิ่นทั้ง 900 อำเภอที่เข้าถึง ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของทางฟ็อกซ์ที่จะมีการผลิตโลคัลคอนเทนต์ไปเผยแพร่ในประเทศอื่นๆ เช่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ ซึ่งก่อนหน้านี้ซีทีเอชก็ได้มีความร่วมมือกับคอนเทนต์โพรไวเดอร์ในฮ่องกง ที่มีการเจรจาในการนำช่องรายการเก้ายอดไปออกอากาศทางประเทศฮ่องกงด้วย
     
       ด้านนายวอร์ด แพลทท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ฟ็อกซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล แชนแนล ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก และตะวันออกกลาง กล่าวว่า การที่ฟ็อกซ์ร่วมมือกับทางซีทีเอช เพราะมองเห็นการเข้าถึงกลุ่มผู้ชมครอบคลุมได้มากขึ้นในราคาไม่สูง เบื้องต้นจะมีทั้งหมด 24 ช่อง ส่วนใหญ่เป็นช่องแบบเอชดี จากทั้งหมด 35 ช่องของทางฟ็อกซ์ที่ออกอากาศในภาคพื้นแห่งนี้
     
       ขณะที่ในประเทศไทยฟ็อกซ์เข้าถึงผู้ชมใน 4 แพลตฟอร์ม รวมถึงคอนเทนต์โพไวเดอร์รายย่อยในต่างจังหวัด เช่น แพลตฟอร์มจีเอ็มเอ็ม แซท, ทรูวิชั่นส์ และล่าสุดกับซีทีเอช ขณะที่ทางทรูวิชั่นส์นั้น ปัจจุบันมีช่องรายการของทางฟ็อกซ์ออกอากาศทั้งสิ้น 8 ช่อง จากที่เคยมีสูงสุด 11 ช่อง (รวมช่องเอชดี 1 ช่อง) ซึ่งช่องรายการที่ออกอากาศทางทรูวิชั่นส์และซีทีเอชนั้นเป็นช่องรายการที่ไม่ซ้ำกัน คาดว่าทางทรูวิชั่นส์จะดึงช่องรายการต่างๆ ของทางฟ็อกซ์ไปออกอากาศมากยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจา
     
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 17 พ.ค.นี้ ทางซีทีเอชจะจัดงานรีแบรนด์ดิ้งซีทีเอชใหม่ รองรับธุรกิจเคเบิลทีวีแบบเต็มรูปแบบและคอนเท้นท์พรีเมียร์ลีกที่ได้มา ซึ่งในวันเดียวกันทางทรูวิชั่นส์ก็จะมีการจัดงานรีแบรนด์ดิ้งเช่นเดียวกัน เชื่อว่าจะเป็นการเปิดศึกเคเบิลทีวีอย่างไม่มีใครยอมใครอย่างแท้จริง

http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000057295


_____________________________________________



CTHชี้ดูบอลพรีเมียร์1พัน/เดือน สื่อจี้กสทช.คลอดเกณฑ์ทีวีสาธารณะ




  ซีทีเอส ประกาศแพ็กเกจดูบอลพรีเมียร์ลีก ไม่เกิน 1 พันบาท/เดือน เตรียมทุ่มงบ 200 ล้านบาท ทำตลาด ล่าสุดจับมือ ฟ็อกซ์ อินเตอร์ ซื้อรายการมาออกฉาย ด้านองค์กรสื่อเรียกร้อง กสทช. ออกหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทบริการสาธารณะ
    นายวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการ บมจ.ซีทีเอช  เปิดเผยว่า ขณะนี้ ซีทีเอช ดึง ฟ็อกซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล แชนแนล หรือ เอฟไอซี มาร่วมเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการ ด้วยจำนวนช่องรายการกว่า 24 ช่อง เบื้องต้นในเฟสแรกจะออกอากาศตั้งแต่เดือน มิ.ย.นี้เป็นต้นไป จำนวน 15 ช่อง ที่เหลือจะทยอยออกอากาศให้ครบภายในไตรมาส 1 ปีหน้า โดยความร่วมมือครั้งนี้ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มสมาชิกขึ้นเป็น 3.5 ล้านครัวเรือนภายใน 1 ปี และความร่วมมือครั้งนี้เป็นความร่วมมือแบบระยะยาว หรือประมาณ 3-5 ปี
    ส่วนแผนการตลาดของพรีเมียร์ ลีกนั้น เตรียมงบไว้กว่า 200 ล้านบาท จะเริ่มทำตลาดได้ภายหลังที่ทางทรูวิชั่นส์ได้หมดสัญญาในฤดูกาลนี้จบลงอย่างเป็นทางการ ส่วนแพ็กเก็จรองรับพรีเมียร์ ลีก และแพ็กเกจอื่นๆ นั้น จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในเดือน มิ.ย.นี้ และแพ็กเกจที่จะเปิดตัวใหม่ครั้งนี้ สูงสุดจะมีราคาไม่เกิน 1,000 บาท (รวมพรีเมียร์ ลีก)
    นอกจากนี้ ซีทีเอช ยังทุ่มงบประมาณในการซื้อคอนเทนต์ในปีนี้ 2-3 พันล้านบาท แต่ในไตรมาสแรก ได้ใช้งบประมาณในการซื้อคอนเทนต์ไปแล้วกว่า 2 พันล้านบาท ปัจจุบัน ซีทีเอชมีช่องให้บริการ 120 ช่อง เป็นช่อง HD 34 ช่อง โดยคาดว่าปีนี้ ซีทีเอชจะได้กำไรแน่นอน
    พร้อมกันนี้ ซีทีเอช กำลังเร่งดำเนินการในการเปลี่ยนกล่องรับสัญญาณจากระบบอะนาล็อก เป็นระบบดิจิตอล ให้กับสมาชิกเครือข่ายเคเบิลทีวีของซีทีเอชกว่า 2.5 ล้านครัวเรือน และหลังจากนี้ จะมีการเริ่มรับสมาชิกใหม่ โดยให้ผู้ที่สนใจใช้บริการ สามารถโทร.เข้ามาแจ้งความประสงค์ได้ที่คอลเซ็นเตอร์ของซีทีเอช
     ส่วนกรณีหุ้น 20% ที่เหลือนั้น ขณะนี้ขอเลื่อนเวลาในตัดสินใจออกไปก่อน ไม่มีความจำเป็นต้องรีบร้อนในการหาผู้ร่วมทุนเพิ่ม ขณะที่ปัจจุบันมีผู้สนใจซื้อหุ้นจำนวนดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 3-5 ราย
    เมื่อวันที่ 13 พ.ค. ที่ผ่านมา รายงานว่า องค์กรวิชาชีพสื่อ ประกอบด้วย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ทำจดหมายเปิดผนึก เรียกร้องไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง  กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หรือ กสทช. ออกหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทบริการสาธารณะ โดยพิจารณาในบอร์ดใหญ่ 11 คน โดยขอให้ประกาศหลักเกณฑ์ให้ใบอนุญาตโครงข่ายต้องโปร่งใส เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ
    จากการที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กำลังพิจารณาการให้ใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิตอลในประเภทต่างๆ อีกทั้งกำลังอยู่ระหว่างร่างหลักเกณฑ์ประกาศการคัดเลือกผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นทีวีในระบบดิจิตอลประเภทธุรกิจ แต่กลับไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับประเภทบริการสาธารณะ โดยในจำนวน 12 ช่อง มติเสียงข้างมาก กสท. 3 ต่อ 2 เห็นชอบที่จะอนุญาตให้ผู้ประกอบการรายเดิมคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.11) และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ทดลองออกอากาศในระบบดิจิตอลไปก่อน ทั้งที่ยังไม่มีรายละเอียดขั้นตอนกระบวนการพิจารณาใดๆ เพื่อขอรับใบอนุญาต โดยจะพิจารณาจัดสรรช่องที่เหลืออีก 8 ช่อง ซึ่งกระบวนการนี้ ทางองค์กรสื่อเห็นว่าควรมีกระบวนการที่รอบคอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้.

http://www.thaipost.net/news/140513/73493

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.