Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 พฤษภาคม 2556 อำเภอสร้างสุข ดึงเครือข่าย TrueMove H 3G+ ดการระบบข้อมูลสุขภาพครั้งแรกของไทยแบบเรียลไทม์ เชื้อ ลดเจ็บป่วยเรื้อรังได้ 20% ฟื้นฟูผู้ป่วยเรื้อรังได้ 60%


ประเด็นหลัก



   วันนี้ (14 พ.ค.) ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดร.สุปรีดา อดุลย์ยานนท์ รองผู้จัดการ สสส.กล่าวระหว่างการแถลงข่าวโครงการ “อำเภอสร้างสุข” การจัดการสุขภาพมิติใหม่ด้วยเครือข่าย TrueMove H 3G+ และเทคโนโลยีจาก Google ครั้งแรกของประเทศไทย ร่วมกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กูเกิล โรงพยาบาลสารภี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่า ปัจจุบันโรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขลำดับต้นๆ และมักมีอาการแทรกซ้อนทำให้เกิดเป็นผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนจำนวนมาก ในขณะที่สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรอยู่ที่ แพทย์ 1 คน ต่อประชากร 2,728 คน สสส.จึงมีแนวคิดจัดทำโครงการ “อำเภอสร้างสุข” เป็นการพัฒนาต้นแบบการทำงานของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเชื่อมโยงกับระบบบริการสุขภาพ ช่วยจัดการระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ นำไปสู่การลดภาระโรค โดยที่ชุมชนสามารถเรียนรู้และวางแผนร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด โดยมีอำเภอสารภีเป็นต้นแบบ และเตรียมดำเนินการในอีก 2 พื้นที่คือ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ และ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ร่วมเป็นพื้นที่ต้นแบบเพื่อให้พื้นที่อำเภออื่นๆ ได้ร่วมเรียนรู้



       “โครงการอำเภอสร้างสุข ถือเป็นการยกระดับการบริการสาธารณสุขครั้งแรกของไทย ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนากลไกระดับเขตบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใน 3 ปี หลังจากการสร้างข้อมูลสุขภาพชุมชนสำเร็จ จะช่วยลดภาระโรคจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง 20% เกิดการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างเป็นระบบอย่างน้อย 60% ของพื้นที่ นอกจากนี้จะเกิดศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาวะครอบคลุมทุกมิติในทุกพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 ตำบล” ดร.สุปรีดา กล่าว


______________________________________







ยก “อ.สารภี” ต้นแบบอำเภอสร้างสุข


       เปิดตัว “อ.สารภี” ต้นแบบอำเภอสร้างสุข ดึงเครือข่าย TrueMove และเทคโนโลยีจาก Google พัฒนาแอปพลิเคชัน SaraphiHealth จัดการระบบข้อมูลสุขภาพครั้งแรกของไทยแบบเรียลไทม์ ตั้งเป้า 3 ปี ลดเจ็บป่วยเรื้อรังได้ 20% ฟื้นฟูผู้ป่วยเรื้อรังได้ 60%
     
       วันนี้ (14 พ.ค.) ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดร.สุปรีดา อดุลย์ยานนท์ รองผู้จัดการ สสส.กล่าวระหว่างการแถลงข่าวโครงการ “อำเภอสร้างสุข” การจัดการสุขภาพมิติใหม่ด้วยเครือข่าย TrueMove H 3G+ และเทคโนโลยีจาก Google ครั้งแรกของประเทศไทย ร่วมกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กูเกิล โรงพยาบาลสารภี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่า ปัจจุบันโรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขลำดับต้นๆ และมักมีอาการแทรกซ้อนทำให้เกิดเป็นผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนจำนวนมาก ในขณะที่สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรอยู่ที่ แพทย์ 1 คน ต่อประชากร 2,728 คน สสส.จึงมีแนวคิดจัดทำโครงการ “อำเภอสร้างสุข” เป็นการพัฒนาต้นแบบการทำงานของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเชื่อมโยงกับระบบบริการสุขภาพ ช่วยจัดการระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ นำไปสู่การลดภาระโรค โดยที่ชุมชนสามารถเรียนรู้และวางแผนร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด โดยมีอำเภอสารภีเป็นต้นแบบ และเตรียมดำเนินการในอีก 2 พื้นที่คือ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ และ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ร่วมเป็นพื้นที่ต้นแบบเพื่อให้พื้นที่อำเภออื่นๆ ได้ร่วมเรียนรู้



       “โครงการอำเภอสร้างสุข ถือเป็นการยกระดับการบริการสาธารณสุขครั้งแรกของไทย ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนากลไกระดับเขตบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใน 3 ปี หลังจากการสร้างข้อมูลสุขภาพชุมชนสำเร็จ จะช่วยลดภาระโรคจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง 20% เกิดการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างเป็นระบบอย่างน้อย 60% ของพื้นที่ นอกจากนี้จะเกิดศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาวะครอบคลุมทุกมิติในทุกพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 ตำบล” ดร.สุปรีดา กล่าว
     
       ดร.กันทิมา กุญชร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการด้านการสื่อสารองค์กร ประชาสัมพันธ์การตลาด และกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การสนับสนุนโครงการอำเภอสร้างสุขสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของกลุ่มทรู ที่จะนำเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดและครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย ของทรูมูฟ เอช มาใช้พัฒนาด้านการศึกษา สาธารณสุข ชุมชน และสังคม โดยสนับสนุนซิม 3G+ และ data package เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพแบบ realtime นอกจากนี้ ทรูยังได้มอบ แอร์การ์ด 3G และ data package อีก 13 ชุด ให้แพทย์ของโรงพยาบาลสารภี สามารถให้คำปรึกษาทางการแพทย์แบบ real time แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เครือข่ายทั้ง 12 แห่งของโรงพยาบาลสารภี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 3G+ เพื่อโรงเรียนและชุมชที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งได้มอบชุดอุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญา 3G+ พร้อมแพกเกจใช้งานให้แก่โรงเรียนและสาธารณสุขชุมชนในถิ่นทุรกันดารแล้วร่วม 2,000 ชุด แบ่งเป็นโรงเรียนกว่า 900 แห่ง และ รพ.สต.รวมถึงแพทย์ในโรงพยาบาลที่ดูแล รพ.สต.เครือข่ายอีก 141 แห่งทั่วประเทศ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของโรงพยาบาล ช่วยให้ประชาชาชนในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงการรักษาเบื้องต้นมากขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายการเดินทาง
     
       น.ส.พรทิพย์ กองชุน หัวหน้าฝ่ายการตลาด กูเกิลประเทศไทย กล่าวว่า กูเกิล มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่โครงการได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำเทคโนโลยีกูเกิลไปใช้ในการจัดการระบบสุขภาพ เพื่อยกระดับสุขอนามัยของชุมชน เช่น กูเกิลแผนที่ที่สามารถนำไปเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันเก็บข้อมูลสาธารณสุขของพื้นที่ต่างๆ สามารถแสดงผลในมิติของภูมิศาสตร์สารสนเทศ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือติดต่อสื่อสาร Google+ แฮงเอาต์ ที่ให้ทุกคนได้พูดคุยแบบเห็นหน้ากันได้แบบเรียลไทม์ โดยโครงการนำไปใช้ในการเรียนรู้ ติดตามผล และการให้คำปรึกษา แนะนำด้านสุขอนามัยไปยังชุมชน ที่ทำได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกอุปกรณ์
     
       รศ.ดร.ธนารักษ์ สุวรรณประพิศ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า มช.ได้นำ กูเกิล แผนที่มาพัฒนาเป็นแอปพลิเคชัน “ข้อมูลสุขภาพสารภี” (SaraphiHealth) ทำให้สามารถระบุตำแหน่งพื้นที่หมู่บ้าน และชุมชุนที่ดูแล รวมทั้งสามารถเห็นสภาพพื้นที่อำเภอสารภีผ่าน “สตรีทวิว แอปพลิเคชัน” ใช้งานง่าย โดยโครงการได้จัดอบรมให้แก่เยาวชน และอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่สามารถเก็บข้อมูลสุขภาวะของประชาชนในอำเภอสารภีได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดการเก็บข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลที่ได้จะถูกรวบรวมมาจัดเก็บและประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ แบบ Realtime ลดความซ้ำซ้อน ความผิดพลาด ลดต้นทุนการบันทึกข้อมูลลงแบบสอบถามกระดาษ และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทันที จากเดิมที่ข้อมูลจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมาโรงพยาบาลและรวบรวมไว้ในเอกสารแต่ไม่ถูกนำมาประมวลผล โดยมีเพียงประวัติเฉพาะบุคลากร แต่แอปพลิเคชัน SaraphiHealth จะมีข้อมูลที่ครอบคลุมเชื่อมโยงไปถึงประวัติของบุคคลภายในครอบครัว ทำให้พยากรณ์โรคของคนในครอบครัว หรือชุมชนนั้นๆ ได้
     
       นพ.จรัส สิงห์แก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสารภี จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจุบันอำเภอสารภี มีผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 627คน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การสร้างข้อมูลสุขภาวะชุมชนจะนำไปสู่การนำปัญหามาเป็นตัวตั้งและจัดบริการสุขภาพให้ตรงกับสภาพปัญหาในชุมชน เพราะบริบทของแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังทำให้มีข้อมูลที่ครอบคลุม เช่น คนในครอบครัวมีความเสี่ยงเจ็บป่วยด้วยโรคทางกรรมพันธุ์หรือไม่ ความเสี่ยงที่จะเกิดจากการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือสภาพสิ่งแวดล้อม ที่พักอาศัย ซึ่งเป็นเรื่องของชีวอนามัย ก็จะถูกรวบรวมไว้และนำไปสู่การประสานงานกับทุกภาคส่วน เช่น อบต. อบจ. เพื่อจัดทั้งบริการสุขภาพ การรณรงค์ ป้องกันปัญหาที่ตรงจุด ซึ่งการมีข้อมูลที่เที่ยงตรงทำให้เกิดการทำงานได้ทั้งเชิงรับ และเชิงรุก สามารถวางแผนจัดลำดับความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึง


http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000057820&Keyword=true

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.