Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสท. อนุมัติเรียงช่องในSET TOP BOX แล้ว // 1- 12 ช่องสาธารณะ // 13-15 เด็ก // ข่าว 16-22 // วาไรตี้ 23-29 // HD 30-36 // ชุมชน 37-48


ประเด็นหลัก


นอกจากนี้ คณะกรรมการ กสท.ได้อนุมัติร่างประกาศ กสทช.เรื่องการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2546 ซึ่งจะนำไปสู่การอนุญาตจัดหาอุปกรณ์แปลงสัญญาณโทรทัศน์ให้รองรับระบบดิจิตอล หรือ SET TOP BOX ซึ่งจะนำเข้าที่ประชุม กสทช. 22 พฤษภาคมนี้ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ภายในเดือนมิถุนายน และเริ่มต้นกระบวนการอนุญาตนำเข้า SET TOP BOX ได้ ขณะที่การแจกและอุดหนุนอุปกรณ์ SET TOP BOX ให้แก่ประชาชนจะเริ่มในต้นปีหน้า


     สำหรับการกำหนดหมายเลขช่องรายการ ได้แก่ ช่องสาธารณะ หมายเลข 1- 12 และช่องรายการเด็ก 13-15 ,ช่องรายการข่าว 16-22, ช่องวาไรตี้ ความละเอียดมาตรฐาน (SD) 23-29 ,ช่อง30-36 เป็นช่องความละเอียดคมชัดสูง (HD) และช่องที่ 37-48 กำหนดให้เป็นช่องรายการประเภทชุมชน






______________________________________







ชิงไลเซนส์'ทีวีดิจิตอล'ส.ค.-ก.ย.นี้


บอร์ด 'กสท.' ไฟเขียวร่างหลักเกณฑ์ประมูลคลื่นทีวีดิจิตอล 24 ช่องธุรกิจ วางกรอบหลัก 3 หัวข้อ ส่งต่อ กสทช. 22 พ.ค.นี้ คาดประมูลภายใน ส.ค.-ก.ย.

                         พันเอกนที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท. เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ได้อนุมัติร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล สำหรับช่องธุรกิจ 24 ช่อง ซึ่งร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่ที่ประชุม กสทช. อีกครั้งในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ จากนั้นจะนำเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนที่จะดำเนินการตามขั้นตอนประมูลต่อไป คาดว่าจะมีการประมูลทีวีดิจิตอลประเภทช่องธุรกิจภายในเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้ โดยยังไม่ได้กำหนดประเภทช่องรายการที่จะเริ่มการประมูล
                         ทั้งนี้ ได้กำหนดกระบวนการ วิธีการประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ระบบดิจิตอลหลักๆ ใน 3 หัวข้อ ประกอบด้วย กำหนดเงื่อนไขการรับใบอนุญาต ที่ผู้รับใบอนุญาตจะต้องมีการตรวจสอบเนื้อหารายการที่ออกอากาศที่ชัดเจน, กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตจะต้องมีกลไกรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ และผู้รับใบอนุญาตต้องจัดบริการสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ เช่น ต้องมีบทบรรยายใต้ภาพ หรือมีล่ามภาษามือ เป็นต้น ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวเป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอ
                         ส่วนหลักเกณฑ์การประมูลจะกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องวางเงินเพื่อรับซองเข้าร่วมประมูล จำนวน 1 ล้านบาท ต่อ 1 ช่องสถานี วางเงินประกันซอง 10% ของราคาตั้งต้นในแต่ละประเภทช่องรายการ และผู้เข้าประมูลสามารถเคาะราคาเพิ่มเงินประมูลจากราคาตั้งต้น โดยช่องเด็ก เพิ่มครั้งละ 1 ล้านบาทต่อช่องข่าว เพิ่มครั้งละ 2 ล้านบาทต่อช่องมาตรฐานทั่วไป (วาไรตี้) เพิ่มครั้งละ 5 ล้านบาทและช่องความคมชัดสูง หรือเอชดี เพิ่มครั้งละ 10 ล้านบาท
                         สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสำหรับผู้ชนะการประมูล จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ก้อน คือการจ่ายเงินตั้งต้นการประมูล จะแบ่งจ่ายเป็น 4 งวด ระยะเวลา 4 ปี โดยงวดแรกต้องจ่ายในอัตรา 50% ของเงินประมูลตั้งต้น งวดที่ 2 จ่าย 30% งวดที่ 3 และ 4 งวดละ 10% ส่วนเงินที่เพิ่มขึ้นจากการแข่งขัน ผู้ชนะจะต้องแบ่งจ่าย 6 งวด ระยะเวลา 6 ปี โดยงวด 2 งวดแรก งวดละ 10% ของเงินส่งเพิ่มจากการแข่งขัน  ส่วนปีที่ 3-6 จะจ่ายงวดละ 20% ซึ่งจะมีการแบ่งเงินเข้ากองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนในการเปลี่ยนผ่านระบบอนาล็อก สู่ระบบดิจิตอล
                         นอกจากนี้ คณะกรรมการ กสท.ได้อนุมัติร่างประกาศ กสทช.เรื่องการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2546 ซึ่งจะนำไปสู่การอนุญาตจัดหาอุปกรณ์แปลงสัญญาณโทรทัศน์ให้รองรับระบบดิจิตอล หรือ SET TOP BOX ซึ่งจะนำเข้าที่ประชุม กสทช. 22 พฤษภาคมนี้ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ภายในเดือนมิถุนายน และเริ่มต้นกระบวนการอนุญาตนำเข้า SET TOP BOX ได้ ขณะที่การแจกและอุดหนุนอุปกรณ์ SET TOP BOX ให้แก่ประชาชนจะเริ่มในต้นปีหน้า

http://www.komchadluek.net/detail/20130515/158527/%EF%BF%BD%D4%A7%EF%BF%BD%EF%BF%BD%E0%AB%
B9%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%D5%B4%D4%A8%D4%B5%EF%BF%BD%E
F%BF%BD%EF%BF%BD.%EF%BF%BD.%EF%BF%BD.%EF%BF%BD.%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD.html#.
UZN5rqJxSz8

_________________________________________

สท.ใช้ "Forward Auction” ประมูล 24 ช่องธุรกิจทีวีดิจิตอล



       กสท. เลือก วิธี Forward Auctionใช้ประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ 24 ช่อง พร้อมปล่อยให้นำเข้ากล่องเซ็ตท้อปบอกซ์เดือน มิ.ย.ก่อนประมูลช่องทีวีดิจิตอลเดือนส.ค.นี้ ส่วนปี 2557 คาดแจกคูปองอุดหนุนเปลี่ยนสู่ระบบทีวีดิจิตอล
     
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท.เมื่อวันที่ 14 พ.ค.2556 มีมติอนุมัติร่างประกาศ กสทช.2 ร่างประกาศ ได้แก่ 1.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ 2556 (อุปกรณ์แปลงสัญญาณ หรือ set-top-box) 2.ร่างประกาศกสทช.เรื่องหลักเกณฑ์วิธีและเงื่อนไขการประมูลทีวีดิจิตอลประเภทบริการธุรกิจ
     
       ทั้ง 2ร่างประกาศฯ ดังกล่าว จะนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กสทช.ในวันที่ 22 พ.ค.ที่จะถึงนี้เพื่อให้ความเห็นชอบ โดยร่างประกาศฯเซ็ตท้อปบ็อกซ์ สามารถนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ทันที ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนหรือไม่เกินเดือนมิ.ย.ผู้ประกอบการก็จะสามารถขายเซ็ตท้อปบ็อกซ์ได้ ส่วนร่างประกาศฯหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลทีวีดิจิตอล ต้องมีการทำประชาพิจารณ์ในระยะเวลาประมาณ 30 วัน ก่อนนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าน่าจะเปิดประมูลได้ในเดือนส.ค.-ก.ย.นี้
     
       ทั้งนี้ร่างประกาศฯ หลักเกณฑ์วิธีและเงื่อนไขการประมูลทีวีดิจิตอลเป็นร่างประกาศฯ หลักเกณฑ์ วิธีและเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ (ประเภทธุรกิจ 24 ช่องรายการ) ซึ่งบอร์ด กสท.มีการปรับปรุงเพิ่มเติมตามข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประกอบด้วย 1.ผู้รับใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) ต้องจัดให้มีการตรวจสอบผังเนื้อหารายการ 2.จะต้องจัดให้มีการรองรับเรื่องร้องเรียน และ3. จัดให้มีบริการที่เหมาะสมเพื่อคนพิการ
     
       ขณะที่การประมูลทีวีดิจิตอลประเภทช่องธุรกิจ จะใช้วิธีการประมูลแบบการแข่งขันเพื่อที่จะซื้อใบอนุญาตโดยเคาะราคาเพิ่มขึ้น (Forward Auction) โดยมีลักษณะการประมูลเป็นการเคาะราคาครั้งละ 1 ล้านบาท และหากมีผู้เข้าร่วมประมูลที่เคาะราคาเท่ากันจะทำการขยายเวลาออกไปอีก 5 นาที
     
       พ.อ.นที กล่าวว่า ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการการชำระเงินงวดค่าไลเซ่นส์ ทีวีดิจิตอลประเภทช่องธุรกิจ จะแบ่งการชำระเงินเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 เป็นการชำระราคาขั้นต่ำ กำหนดชำระ 4 งวด โดยปีที่ 1 ชำระจำนวน 50% ของราคาขั้นต่ำ ปีที่ 2 อีก 30% และปีที่ 3 - 4 ปีละ 10% ส่วนที่ 2 เป็นการชำระเงินประมูลที่เพิ่มจากการแข่งขันการประมูล โดยแบ่งเป็นการชำระทั้งหมด 6 งวด ปีที่ 1-2 จำนวน 10% และปีที่ 3 - 6 จำนวน 20% โดยการชำระเงินทั้งหมดจะต้องชำระเป็นเวลา 6 ปี
     
       สำหรับจำนวนเงินงวดที่จะต้องนำส่งเพื่อเป็นคูปองเงินสนับสนุนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอลนั้นจะสิ้นสุดในปีที่ 4 ของการชำระเงินงวด โดยผู้ชนะการประมูลไลเซ่นส์ จะได้รับสิทธิ 3 ประเภท ประกอบด้วย 1.เป็นเจ้าของช่องรายการ 2. เลือกหมายเลขช่องรายการ และ3. เลือกผู้ให้บริการโครงข่าย
     
       ขณะที่การขยายโครงข่ายให้สอดคล้องกับข้อกำหนดการให้บริการโครงข่ายที่ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติอย่างน้อย ปีที่ 1 จะต้องขยายโครงข่ายไม่ต่ำกว่า 50% ของพื้นที่ และปีที่ 2 ไม่ต่ำกว่า 80%, ปีที่ 3 ไม่ต่ำกว่า 90% และปีที่ 4 ไม่ต่ำกว่า 100% ส่วนการแจกคูปองนั้น จะเริ่มต้นแจกคูปองส่วนลดในปี 2557 และสิ้นสุดในปีที่ 4 ซึ่งมีการขยายโครงข่ายครบ100%
     
       นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาซื้อข้อเสนอการประมูลจะต้องชำระค่าซองประมูล1 ล้านบาทต่อ 1ช่องรายการ และต้องจ่ายเงินค่ามัดจำอีกจำนวน 10% ของราคาประมูลขั้นต่ำ ซึ่งหากผู้เข้าร่วมประมูลไม่ชนะการประมูล กสทช.จะคืนเงินดังกล่าวให้แต่หากชนะจะหักเงินวางมัดจำดังกล่าวจากวงเงินที่ต้องชำระ
     
       สำหรับการกำหนดหมายเลขช่องรายการ ได้แก่ ช่องสาธารณะ หมายเลข 1- 12 และช่องรายการเด็ก 13-15 ,ช่องรายการข่าว 16-22, ช่องวาไรตี้ ความละเอียดมาตรฐาน (SD) 23-29 ,ช่อง30-36 เป็นช่องความละเอียดคมชัดสูง (HD) และช่องที่ 37-48 กำหนดให้เป็นช่องรายการประเภทชุมชน

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000057899

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.