Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 พฤษภาคม 2556 สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสาร (เพิ่มเติม) ประจำวัน 16/05/2556


สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสาร (เพิ่มเติม) ประจำวัน 16/05/2556

( ข้อจำกัดด้านข้อความ ข่าวที่เหลือ UP ผ่าน ช่องทางอื่นแทนครับ )

1....           จับตา(พรุ่งนี้)10.00น.เรียก3ค่ายแก้ปัญหาใช้3Gใหม่2100ความเร็วต่ำว่า edge ที่เก็บเหมาจ่ายรายเดือน // จี้ลดราคา 3G ต้อง 15
2....           CTH เปิดตัว++ผู้ให้บริการบรอดแบรนด์ครบวงจร ส่วนราคา EPLจะเปิดเผยในวันที่ 5 มิ.ย.นี้/TRUEVISION ชีส่วนน้อยยกเลิกเพราะ EPL
3....           เตรียมฟันธง++ 21 พฤษภามคม 2556 ค่าย้ายโครงค่ายเหลือ 29 บาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 99 บาท พอร์ตฯจะมีมากถึง 1 ล้านเบอร์



______________________________________________
(เพิ่มเติม)
1.....    (เกาะติดประมูลDigital TV) จับตากลุ่มทุนใหญ่ เช่น FREE TV และเคเบิล ลุยการประมูล เหตุ ค่าใช้จ่ายในการเช่าโครงข่าย (Mux) และ มัสต์ แคร์รี่ ทำต้นทุนสูงด้วย
2.....   (โทษกันเอง) แหล่งข่าวภายใน ชี้ TOT3G 3ปีติดเพียง 5,320 แห่ง แต่เอกชน6เดือน10,000 แห่ง เพราะมติครม.ทำให้หาผู้เช่าเสาและผู้ขายส่งไม่ได้แถม โยกย้ายบ่อย
3.....    AP ทุ่ม 100 ล้านดึง AIS3Gใหม่ วางระบบ In Building Network Infrastructure ( สัญญาณ แก้ปัญหาติดต่อสื่อสารภายในคอนโดมิเนียม )
4.....    Tesco Lotus ไทยลด 6000 บาท สำหรับ The New iPad // App Store โชว์ ยอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นทะลุ 50,000 ล้านครั้ง


16 พฤษภาคม 2556 (โทษกันเอง) แหล่งข่าวภายใน ชี้ 3G 3ปีติดเพียง 5,320 แห่ง แต่เอกชน6เดือน10,000 แห่ง เพราะมติครม.ทำให้หาผู้เช่าเสาและผู้ขายส่งไม่ได้แถม โยกย้ายบ่อย

ประเด็นหลัก



โครงการขยายโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G หรือ 3G TOT พร้อมทั้งให้รีบหาพันธมิตรในการดำเนินการ เพื่อสร้างรายได้ให้กับ ทีโอที เนื่องจากขณะนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3 ราย ได้เปิดบริการ 3G ใหม่  อย่างเป็นทางการแล้ว ขณะที่ทีโอที ไม่สามารถจะเดินหน้าการให้บริการได้อย่างเต็มที

โดยปัจจุบัน ทีโอที มีสถานีฐานเปิดให้บริการเพียง 5,320 แห่ง ขณะที่รายอื่นมีสถานีฐานให้บริการเกือบ 10,000 แห่ง สามารถทำการตลาดได้ทันที

ทั้งนี้สาเหตุที่ ทีโอที ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) กำหนดให้ ทีโอที เป็นผู้สร้างโครงข่ายเท่านั้น ส่วนการจำหน่าย หรือการทำตลาด ให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการในลักษณะการให้บริการขายต่อและขายส่งในโครงข่ายเสมือน(เอ็มวีเอ็นโอ) แต่จนถึงขณะนี้ทีโอที ก็ไม่สามารถที่จะหาผู้เช่าโครงข่ายเพื่อทำการตลาดบริการ 3G ได้ เพราะบอร์ดยังไม่มีการพิจารณาอนุมัติการทำสัญญาแต่อย่างใด  ฉะนั้นจึงต้องการให้รมว.ไอซีที เร่งรัดการดำเนินการของบอร์ด เพื่อให้ทีโอทีได้มีแนวทางในการทำงานและหารายได้  รวมถึงสร้างความชัดในการทำงานของทีโอทีด้วย

นอกจากนี้บอร์ดจะลงลึกในรายละเอียดของการบริหารจัดการภายใน โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายพนักงาน ซึ่งพนักงานทีโอที ได้จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากว่าผู้บริหารระดับสูงของบอร์ด ทีโอที  เข้ามาล้วงลูกการแต่งตั้งโยกย้ายในตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่าย และผู้จัดการส่วน ขณะที่นายยงยุทธ  วัฒนสินธุ์  กรรมการผู้จัดการใหญ่ ก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆได้

http://www.naewna.com/business/51874
______________________________________

16 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) จับตากลุ่มทุนใหญ่ เช่น FREE TV และเคเบิล ลุยการประมูล เหตุ ค่าใช้จ่ายในการเช่าโครงข่าย (Mux) และ มัสต์ แคร์รี่ ทำต้นทุนสูงด้วย

ประเด็นหลัก



จับตาทุนใหญ่ฮุบช่อง

แหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์ กล่าวว่า จากการกำหนดราคาตั้งต้นประมูลและหลักเกณฑ์วิธีการประมูลทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจของ กสท. เชื่อว่าจะมีผู้ประกอบการ 3 กลุ่มหลัก ที่จะเป็น "เจ้าของ" ทีวีดิจิทัล คือ 1 กลุ่มทุนฟรีทีวีเดิม ที่จำเป็นต้องประมูลเพราะเป็นธุรกิจหลักที่มีโครงสร้างพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว 2.กลุ่มทุนโทรคมนาคม ที่ต้องการต่อยอดธุรกิจสื่อโทรทัศน์กับกิจการโทรคมนาคม โดยเฉพาะการให้บริการทีวีดิจิทัลผ่าน "โมบายทีวี" โดยทั้ง 2 กลุ่มแรก ถือว่าเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมด้านเงินทุน และสามารถรองรับภาวะขาดทุนในการประกอบกิจการช่วงแรกที่มีฐานผู้ชมต่ำ จนทำให้รายได้จากโฆษณาไม่เพียงพอต่อต้นทุนค่าใช้จ่าย และ 3.กลุ่มคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ทั้งกลุ่มที่เป็นผู้ผลิตรายการผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ และเจ้าของช่องทีวีดาวเทียม ที่มีความพร้อมด้านคอนเทนท์

ขณะนี้ ปัจจัยที่ผู้ประกอบการต้องการรู้ข้อมูลเพื่อนำไปเตรียมแผนธุรกิจประมูลช่องทีวีดิจิทัล คือ ค่าใช้จ่ายในการเช่าโครงข่าย (Mux) และการบังคับใช้ประกาศ “มัสต์ แคร์รี่” ที่กำหนดให้ส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลครอบคลุมทุกแพลตฟอร์มการรับชมทีวีของครัวเรือนไทยในปัจจุบัน หากมีการบังคับใช้ประกาศมัสต์แคร์รี่ได้จริง ถือเป็นปัจจัย

กระตุ้นผู้ประกอบการให้เข้าร่วมประมูล แต่จะส่งผลต่อต้นทุนค่าเช่าโครงข่ายที่จะมีค่าบริการสูง

"ทั้งราคาตั้งต้น และหลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิทัล ธุรกิจ 24 ช่อง ที่ กสท.กำหนดขึ้น จะนำไปสู่การประมูลทีวีดิจิทัลแน่นอน และผู้ชนะการประมูลจะอยู่ในกลุ่มทุนใหญ่ด้านบรอดแคสต์และโทรคมนาคม แต่จะเป็นแพลตฟอร์มที่ประสบความสำเร็จหรือไม่อยู่ที่การบังคับใช้ประกาศมัสต์แคร์รี่ หากทำได้ในทุกแพลตฟอร์มตั้งแต่วันแรกที่ออกอากาศจะมีผู้ชมรับชมผ่านเคเบิลและจานดาวเทียมทันทีที่ 65% ของครัวเรือนไทย"แหล่งข่าวกล่าว

นายสุระ เกนทะนะศิล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อีกหนึ่งแนวทางในการเร่งขยายการ “เข้าถึง” การรับชมทีวีดิจิทัลให้เข้าถึงครัวเรือนไทยให้เร็วที่สุด คือ การเร่งออกใบอนุญาต “โมบาย ทีวี” ให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขยายโครงข่ายทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินให้เข้าถึงครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น ผ่านการรับชมทางมือถือ เพราะว่าพฤติกรรมการรับชมรายการต่างๆ ของผู้ชมไม่ยึดติดกับจอทีวีอีกต่อไป แต่จะดูผ่านทุกช่องทางที่สามารถเข้าถึงได้
ติงสูตรจ่ายค่าไลเซ่นปีแรก 50%

นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาตั้งต้นช่องเอชดี ที่ 1,510 ล้านบาท ถือว่าสูงมาก ซึ่งมองว่าไม่ควรเกินช่องละ 1,000 ล้านบาท เพราะว่าผู้ประกอบการต้องมีต้นทุนค่าเช่าโครงข่ายและต้นทุนการผลิต และค่าธรรมเนียมรวมอีก 4% ของรายได้ต่อปี ขณะที่หลักเกณฑ์วิธีการประมูลอื่นๆ เป็นเรื่องทั่วไป

นายไพบูลย์ ไม่เห็นด้วยกับวิธีการชำระใบอนุญาตปีแรก 50% ของราคาตั้งต้นประมูลรายประเภทช่อง และต้องชำระอีก 10% ของราคาส่วนเกินที่ชนะการประมูล เพราะเห็นว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงของผู้ประกอบการ และไม่สอดคล้องกับอัตราการเข้าถึงของการส่งสัญญาณและการกระจายอุปกรณ์การรับชมทีวีดิจิทัลในปีแรกที่อยู่ในอัตราต่ำ ซึ่งจะส่งผลต่อการหารายได้จากโฆษณา เนื่องจากยังมีฐานผู้ชมไม่มาก

"กสทช. ควรปรับสูตรการเก็บค่าไลเซ่นใหม่ ในปีแรกๆ ควรกำหนดให้ชำระในสัดส่วนต่ำที่สุด และค่อยๆ ทยอยเพิ่มในช่วงปีหลังๆ เพราะว่า กสทช. มีหน้าที่ดูแลทั้งประชาชนผู้รับชมให้เข้าถึงทีวีดิจิทัล ขณะเดียวกันก็ต้องดูแลผู้ประกอบการให้อยู่รอดได้ไปพร้อมกัน"นายไพบูลย์ กล่าว


ห่วงรายกลาง-เล็กอยู่ยาก

ด้าน นายปราโมทย์ โชคศิริกุลชัย นายกสมาพันธ์สมาคมดิจิทัลบันเทิงไทย กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลนั้น สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ ทุนหนาไม่น่าจะมีปัญหามาก อย่างเช่น ช่อง 3 5 7 และ 9 ที่ต่างเตรียมประมูลกันทั้งสิ้น แต่ที่น่ากังวลคือผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็ก ที่เคยเช่าช่วงเวลาฟรีทีวีปัจจุบันออกอากาศ เมื่อออกมาทำช่องของตัวเอง อาจมีพลังดึงเม็ดเงินโฆษณาน้อยกว่า ขณะเดียวกันผู้ผลิตคอนเทนท์เหล่านี้ก็คงยังต้องออนแอร์ในช่องฟรีทีวีเดิมด้วยระยะหนึ่ง

"ที่น่ากังวล คือ การมีจำนวนช่องทีวีมากขึ้น จากปัจจุบันมีฟรีทีวี ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี ต่อไปมีทีวีดิจิทัล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มฟรีทีวี ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาไม่ได้เติบโตอย่างรวดเร็วตาม คำถามคือแล้วเม็ดเงินโฆษณา หรือผู้ประกอบการรายใดจะสามารถแย่งเม็ดเงินโฆษณาไปได้บ้าง"นายปราโมทย์ กล่าว

นอกจากการแข่งขันที่มีผู้เล่นมากขึ้นแล้ว ปัจจัยเรื่องการเข้าถึง หรือการแจกกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัล เพื่อให้มีผู้ชมทีวีดิจิทัลมากที่สุด ก็เป็นเงื่อนไขสำคัญว่าผู้ที่เข้าประมูลทีวีดิจิทัลนั้น จะอยู่รอดในการทำธุรกิจหรือไม่

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130516/505851/%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B
9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%
E0%B8%AE%E0%B8%B8%E0%B8%9A-
%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B
8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5.html
______________________________________

16 พฤษภาคม 2556 AP ทุ่ม 100 ล้านดึง AIS3Gใหม่ วางระบบ In Building Network Infrastructure ( สัญญาณ แก้ปัญหาติดต่อสื่อสารภายในคอนโดมิเนียม )

ประเด็นหลัก



  นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP กล่าวว่า บริษัทได้ทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท เพื่อวางระบบการสื่อสารไร้สายร่วมกัน (In Building Network Infrastructure) โดยร่วมกับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ค จำกัด หรือ AWN ผู้ให้บริการ AIS 3G 2100 ในเครือ AIS เป็นผู้วางระบบดังกล่าวในโครงการคอนโดมิเนียมของ AP ที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จระหว่างปี 2013-2016 ประมาณ 19 โครงการ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
   
       “เราพบว่าการติดต่อสื่อสารภายในคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเรื่องสัญญาณ เนื่องจากรูปแบบโครงการที่เป็นตึกสูง ดังนั้น เราจึงตัดสินใจลงทุนติดตั้งเครือข่ายสัญญาณขึ้น เพื่อให้ประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารภายในอาคารสูงมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยคุณภาพสัญญาณจากเครือข่าย AIS 3G ที่จะให้บริการคลอบคลุมพื้นที่ส่วนกลาง (Public Area) มากถึง 80-90% เช่น Roof-Top Facilities สิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่ในชั้นบนสุดของคอนโดฯ พื้นที่ภายในลิฟต์ บริเวณทางเดินแต่ละชั้นภายในอาคาร เป็นต้น ซึ่งการลงทุนครั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า AP มากยิ่งขึ้น” นายอนุพงศ์กล่าว
   
       ทั้งนี้ คอนโดมิเนียมที่คาดว่าจะก่อสร้างแล้วภายในปี 2556 และพร้อมใช้งานระบบ ประกอบด้วย 4 โครงการ โดย Aspire พระราม 4 จำนวน 2 อาคาร สูง 32 ชั้น และ 27 ชั้น รวม 1,432 ยูนิต ซึ่งปัจจุบัน โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ และพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ย้ายเข้าอยู่ได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ จะเป็นโครงการแรกที่พร้อมใช้งาน จากนั้นตามมาด้วย RHYTHM สุขุมวิท 50 RHYTHM พหล-อารีย์ และ RHYTHM สุขุมวิท 44/1

http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000058690&Keyword=ais
______________________________________


16 พฤษภาคม 2556 Tesco Lotus ไทยลด 6000 บาท สำหรับ The New iPad // App Store โชว์ ยอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นทะลุ 50,000 ล้านครั้ง

ประเด็นหลัก



ตามนั้นเลยครับ ใครที่มองหาแท็บเล็ตราคาเบาๆ แนะนำเลยครับ Lotus เอา The new iPad มาเลหลังขายลดราคาไป 6,000 บาท ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับแรร์ไอเท็มอย่าง The new iPad (ที่ว่าแรร์คือหาคนใช้ยาก) ส่วนใหญ่เขาใช้ iPad 4 กันหมด


หลังจากเปิดตัว App Store ครั้งแรกเมื่อ มิถุนายน ปี 2008 มาจนถึงวันนี้กลายเป็นแอพพลิเคชั่นสโตร์ยอดนิยมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้ว เพราะยอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นแตะหลัก 50,000 ล้านครั้งไปแล้วเรียบร้อย


http://www.mxphone.net/160513-apple-app-store-50-billion-download/
http://www.i3.in.th/content/view/7412

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.